อยากขายแอลกอฮอล์ต้องรู้! ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราสำหรับร้านอาหาร

อยากขายแอลกอฮอล์ต้องรู้! ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราสำหรับร้านอาหาร

กลางวันเปิดคาเฟ่ กลางคืนอยากเปิดบาร์
เจ้าของร้านกาแฟถาม อยากขายแอลกอฮอล์กลางคืน

แชร์ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่าย สุรา สำหรับร้านอาหาร

เพิ่มรายได้ร้าน ตอนเช้าเป็นร้านกาแฟ ตอนเย็นเป็นร้านนั่งชิลล์ดีปะ ? วันก่อนแอดได้ไปเห็นโพสต์หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ที่เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์ขอคำแนะนำ เนื่องจากเขาทำร้านกาแฟอยู่และต้องการเปิด ขายสุรา ในช่วงเย็นด้วย ในกรณีนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง? โพสต์นี้มีคำตอบ!

  • การขายสุรา

ใบอนุญาตมี 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ขายส่งสุราทุกชนิด ครั้งละสิบลิตรขึ้นไป
ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ครั้งละต่ำกว่าสิบลิตร (สำหรับร้านอาหาร คือ ประเภทที่ 2)

ซึ่งสำหรับการขออนุญาตขายสุราทาง “คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง” ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

  • ขอใบอนุญาตได้จากไหน

ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขายสุรา สามารถติดต่อขอใบอนุญาต ณ สำนักงานสรรพสามิต พื้นที่สาขาแห่งท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยเปิดทำการในเวลาราชการ

การขอใบอนุญาตสุราผ่านอินเตอร์เน็ต ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.excise.go.th/…/LIQUOR-TOBACCO…/index.htm

  • ต้องใช้อะไรบ้าง

ผู้ขอรับใบอนุญาตรายใหม่ นำเอกสารฉบับจริง ดังต่อไปนี้ไปแสดง

1.บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการที่ทางราชการออกให้ซึ่งมีภาพถ่ายของเจ้าของบัตร
2.สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ประกอบการค้า ในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้เช่า ต้องมีสัญญาเช่า สำเนาบัตรประชาชนผู้เช่าและผู้ให้เช่า และหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ให้เช่าด้วย
3.ใบทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี)
4.ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องนำหนังสือรับรองการจดทะเบียนของกระทรวงพาณิชย์ไปแสดงด้วย

**ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำสำเนาเอกสารข้างต้น ซึ่งลงลายมือชื่อรับรองแล้วมายื่นต่อเจ้า พนักงานสรรพสามิตด้วย**

-กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอำนาจลงนามลงลายมือชื่อและประทับตรานิติบุคคลในแบบคำขออนุญาต สยพ.1 ในช่องผู้ขออนุญาต

-ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่สามารถมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตได้ด้วยตนเอง ให้จัดทำหนังสือ มอบอำนาจและติดอากรแสตมป์จำนวน 10 บาท (กรณีขอใบอนุญาตประเภทใดประเภทหนึ่ง) และ 30 บาท (กรณีขอใบอนุญาตมากกว่าหนึ่งประเภท ) พร้อมนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมาด้วย

  • ข้อกำหนดในการออกใบอนุญาตขายปลีกสุรา

-สถานที่ขายสุราต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานศึกษาหรือศาสนาสถาน รวมทั้งบริเวณต่อเนื่องติดกับสถานศึกษาหรือศาสนาสถาน

-สถานที่ขายสุราต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงรวมทั้งบริเวณต่อเนื่องติดกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

-สถานที่ขายสุราต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่ที่เคยถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขายสุรา เว้นแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี

-สถานที่ขายสุราต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตขายสุราเว้นแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตขายสุราเป็นห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว หรือไม่เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว

และเว็บไซต์กรมสรรพสามิต เคยได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขออนุญาตขายสุราไว้ ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมขอใบอนุญาต

ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชำระ 2,200 บาท

ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชำระ 330 บาท

  • ข้อปฏิบัติ

ใบอนุญาตขายสุรา มีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนขายสุราโดยไม่มีใบอนุญาต/ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ใน ที่เปิดเผย/ใช้ใบอนุญาตไม่ตรงกับสถานที่ระบุ มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท (ม.196,ม.205)

โดยสามารถยื่นต่อใบอนุญาตปีต่อไปได้ตั้งแต่ตุลาคม – ธันวาคม ก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุในวันสิ้นปี วันที่ 31 ธันวาคม

References: http://taxclinic.mof.go.th/…/9F0F99F7_1A0E_E7C2_7A55…, https://www.excise.go.th/…/mzk4/~edisp/uatucm398343.pdf, https://www.excise.go.th/…/mzax/~edisp/uatucm301252.pdf, https://excise.go.th/cs/idcplg?IdcService=GET_FILE…, https://www.facebook.com/groups/259809032544230/permalink/542710997587364/

เรื่องแนะนำ

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา”

กรณีศึกษา PRODUCT IS KING ขายดีได้ ไม่ต้องแข่งที่ “ราคา” ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือพรีเมียม ที่เลือกจะไม่แข่งขันเรื่องราคา แต่กลับทำให้ขายดีได้   เคยสงสัยไหม ? ทำไมร้านอาหารประเภทเดียว ๆ กัน บางร้านขายราคาค่อนข้างสูงเลย แต่ขายดีมาก นั่นเป็นเพราะ ลูกค้าไม่ได้โฟกัสแค่ราคาขายของสินค้า แต่ยังให้ความสำคัญกับความรู้สึกคุ้มค่าที่จะได้รับจากราคาที่จ่ายไปด้วย ซึ่งเมื่อพูดถึงประเด็นนี้แล้ว ก็ทำให้นึกถึงโพสต์หนึ่งของคุณหนุ่ย การตลาดวันละตอน ที่ได้พูดถึงราคาขนมถ้วยของร้านทองสมิทธิ์ ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือสุดพรีเมียม ของคุณปลา อัจฉรา เจ้าของ iberry Group เครือร้านอาหารที่มีกว่า 50 สาขา PRODUCT IS KING โดยคุณหนุ่ยได้กล่าวประมาณว่า แม้ขนมถ้วยของทองสมิทธ์ จะมีราคาขายต่อถ้วยอยู่ที่คู่ละ 29 บาท ซึ่งดูแล้วก็อาจจะเทียบเท่าราคาขนมถ้วย 1 กล่องที่ขายกันตามท้องตลาด แต่ถึงอย่างนั้นผู้บริโภคหลาย ๆ คนก็ต่างบอกว่าขนมถ้วย และกล้วยทอดของทองสมิทธิ์อร่อยมาก จนบางคนไปเพื่อซื้อขนมของทองสมิทธิ์โดยเฉพาะ หรืออย่างเช่นร้าน Copper ที่ได้แตกไลน์ร้านอาหารใหม่ออกมาเป็น “เตี๋ยวคอปเปอร์” ที่ได้นำเมนูก๋วยเตี๋ยวเรือยอดนิยมในร้าน […]

ภูมิคุ้มกันร้านอาหาร ที่ชื่อว่า SOP

  มาทำความรู้จักกับ “ภูมิคุ้มกันร้านอาหาร ที่ชื่อว่า SOP ที่เจ้าของร้านทุกคนต้องมีกัน”   ผมเชื่อว่า ร้านอาหาร ก็เปรียบเสมือน ร่างกาย ของคนเรา ที่ประกอบไปด้วย อวัยวะ หลายส่วน ถ้าเจ้าของร้าน เปรียบเสมือน ส่วนหัว พนักงาน ก็จะเป็นแขนขา มือ และส่วน อื่นๆ ที่ทำงาน เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน สุขภาพของร้านอาหารที่ดี ก็เหมือนร่างกายที่มีสุขภาพดี คือทำงานออกมาได้ดี มีผลงานออกมาตามแผนที่วางไว้ แต่ถ้าร่างกาย เกิดเจ็บป่วย เราก็จะเห็นว่า มีอาการแปลกประหลาด เช่น อาหารออกมารสชาติ ไม่เหมือนเดิม คุณภาพการบริการเปลี่ยนไป จนลูกค้าเริ่มต่อว่า จะดีแค่ไหนถ้าร้านของเรามีเครื่องมือบางอย่าง ที่ทำหน้าที่ เป็นเหมือนภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง สามารถที่จะ ซ่อมแซมตัวเองได้ โดยที่เจ้าของร้านไม่ต้องคอยควบคุมอยู่ตลอด หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น วันนี้ผม จึงอยากเสนอ เครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยให้ร้านอาหารของเรา มีสุขภาพที่แข็งแรง การทำงานราบรื่นขึ้น สิ่งนี้เรียกว่า “SOP” (เอสโอพี) […]

ต้นทุนอาหารควบคุมได้ กำไรเห็น ๆ

  การกำหนดต้นทุนอาหารส่วนใหญ่จะกำหนดไม่เกิน 35-40 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมด โดยสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กันคือต้นทุน เท่ากับ ยอดขาย (ราคาขาย ) คูณด้วยเปอร์เซนต์ของต้นทุน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำหนดต้นทุนและยอดขายโดยประมาณไว้แล้ว เราก็จะได้จำนวนต้นทุนเพื่อควบคุมไว้ให้ไม่เกิน ยกตัวอย่าง ยอดขาย 90,000 คูณด้วย 35 เปอร์เซนต์ เท่ากับต้นทุนต้องไม่เกิน 31,500  บาท เป็นต้น ระบบการควบคุมต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ควรทำควบคู่กับระบบการจัดทำ Recipe  เพื่อกำหนดราคาขาย  และการกำหนด SOP เพื่อจัดการเมนูอาหาร   การจัดทำ  recipe เพื่อลงรายละเอียดของวัตถุดิบ   การจัดทำ recipe นั้นจะช่วยให้เรากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ประเมินงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบ และยังช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบ ยกตัวอย่าง ดังนั้น ข้าวไข่ข้นกุ้งเมนูนี้ จึงมีต้นทุนอยู่ที่ 14.4 % หากขายที่ราคา 90  บาท นอกจากนี้ การคำนวณวัตถุดิบควรลงละเอียดในเรื่องของ yield  (การหาค่าเฉลี่ยวัตถุดิบ) ลงไปด้วยเพื่อการกำหนดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของการจัดทำ Recipe […]

โครงสรา้ง ต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร รู้ไว้…ไม่มีเจ๊ง

โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร คือตัวชี้แนะแนวทางว่า ถ้าคุณจะเปิดร้านอาหารสัก 1 ร้าน ควรลงทุนกับสิ่งใดเท่าไรบ้าง และถ้าลงทุนเท่านี้ กี่ปีถึงจะคืนทุน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.