อุทาหรณ์ลูกค้าโอนเงิน แต่ดูสลิปไม่ดี เงินเข้าแค่ 7 บาท วิธีป้องกันลูกค้าขอสแกน

อุทาหรณ์ลูกค้าโอนเงิน แต่ดูสลิปไม่ดี ดูอีกทีเงินเข้าแค่ 7 บาท วิธีป้องกันกรณีลูกค้าขอสแกน

ลูกค้า โอนเงิน แต่ดูสลิปไม่ดี
สุดท้ายดูอีกทีเงินเข้าแค่ 7 บาท
อุทาหรณ์แม่ค้า – สมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ให้กำลังใจ
พร้อมแชร์วิธีป้องกันกรณีลูกค้าขอสแกน

ถือว่าลูกค้ามาให้ประสบการณ์… ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้มาโพสต์แชร์เรื่องราวในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” หลังเธอได้ขายเครื่องดื่มให้กับลูกค้า และใช้การจ่ายด้วยการ โอนเงิน แต่พอมาตรวจสอบรายการเดินบัญชีดูอีกที ถึงกับงานเข้า เมื่อยอดเงินที่ได้รับโอนมามีแค่ 7 บาท!

 

ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายนี้โพสต์ว่า “ลูกค้ามาให้ประสบการณ์ค่ะ สั่งอเมริกาโน่ร้อน 1 แก้ว ราคา 35.- คาปูชิโน่เย็น 1 แก้ว ราคา 40.- ลูกค้าขอสแกน เสร็จก็ให้เราดู ไอ้เราก็ตาดี๊ดี มองเห็นเลข 7 ก็ว่าขอบคุณค่ะ พอมาดูยอด งานเข้าแล้วตรู555 ขอบคุณคุณลูกค้าที่มาให้ประสบการณ์” พร้อมแนบหลักฐานเงินเข้ามาด้วย ซึ่งในนั้นก็ได้ระบุว่ามีเงินเข้าแค่ 7 บาท จริงๆ

ซึ่งเมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มคนบ้ากาแฟทั้งผู้บริโภคและเจ้าของร้านต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลาย โดยส่วนใหญ่รู้สึกเห็นใจเจ้าของร้านรายนี้เป็นอย่างมาก และขอเป็นกำลังใจให้เธอ ในขณะเดียวกันหลายคนก็มองว่าลูกค้ารายนี้ใจร้ายมาก ๆ ที่ทำแบบนี้กับที่ตั้งใจทำมาหากิน ไปจนถึงบางคนก็มองว่าลูกค้าอาจจะไม่ได้ตั้งใจหรือเปล่า แต่อาจจะกดผิด เป็นต้น

🔸ประสบการณ์ตรงจากคนทำมาค้าขายที่เคยพบเจอกรณีเช่นเดียวกัน

🗣💬 “ยังดีที่ได้ตั้ง 7 บาท ของเค้าไม่ได้สักบาท ทำยืนๆ กดๆ คุยกับเพื่อน เสร็จแล้วรีบพากันออกไปเลย พีคสุดคือสั่งเมนูแพงสุดในร้านด้วยค่ะ ”

🗣💬 “ของผมก็เคยเจอ ราคาเครื่องดื่ม 60 โอนให้ผม 6 บาท ฮ่าๆ เเต่ก็ถือว่าเลี้ยง ลูกค้าไปครับ”

🗣💬 “เป็นค่ะ ลูกค้าสั่งชาไข่มุกเนอะ แล้วสั่งใส่ไข่มุก โอนมา 19 บาท ทั้งที่จริง 24 บาท จ้า!!! ทำเสร็จแล้วอะกำลังจะไปส่ง อะ แจกกก”

🗣💬 “เคยค่ะ ต้องโอน 70 โอนมา 7 บาท แต่ของเราดูได้ทัน และแก้ทันที คิดว่าลูกค้าคงไม่ได้ตั้งใจ ”

🗣💬 “จำได้แม่น ลูกค้าซื้อ 140 โอนมา 14 บาท ”

🗣💬 “เคยเจอค่ะ ค่าน้ำ 70 โอนมาแค่ 30 แล้วรีบเดินไปเลย ตอนนั้นยุ่งออเดอร์อยู่ได้ยินเสียงเงินเข้าก็เลยบอกลูกค้าว่าเข้าแล้วค่ะ ”

🔸โอนเงิน = วัดใจ🤔

🗣💬 “เป็นการวัดดวงเลยค่ะ ที่ร้านบางคนเค้าก็ให้ดูสลีป บางคนก็ไม่ บอกแค่โอนแล้วนะ เราก็ค่ะๆ จ้าๆ ไป ในใจแอบหวั่นนะ555

🗣💬 “เรานี่ไม่ค่อยจะดูเหมือน วัดใจ เเต่ก็ยังไม่เคยโดน ส่วนตัวจำได้นะใครโอนบ้าง เพราะที่ร้านน้อยคนที่จะโอนจ่าย ลูกค้าอย่าคิดว่าเขาจำไม่ได้นะ รอบหน้าถ้าเขาต้อนรับไม่ดีก็ให้คิดไว้เลยว่าเขาจำคุณได้เเต่เขาไม่อยากพูดให้มากความเเค่นั้นเอง ลูกค้า ถ้าเห้นโพสต์ควรโอนเพิ่ม เพราะมันมีประวัติการโอนอยู่”

🗣💬 “ปกติแล้วแม่ค้าจะไม่ค่อยดูเลย ให้ใจลูกค้าแน่น เราเองในฐานะลูกค้าจะบอกว่า เช็คก่อนนะคะ เข้ารึเปล่าคะ ไม่ได้มาแสดงว่าตัวเองดี แต่ใจเขาใจเรา คนทำมาหากิน แม่ค้ามีต้นทุนเสมอ”

📌ไปจนถึงหลายคนก็ได้แชร์วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ เช่น

1.เช็คความถูกต้องของยอดเงินเข้าทุกครั้ง ก่อนลูกค้าออกจากร้าน
2.ใช้การถ่ายสลิปโอนเงินของลูกค้าเอาไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการโอนเงิน และการตรวจสอบยอดขายในแต่ละวัน
3.โหลดแอปฯ ของธนาคารผู้ที่เรานำมาใช้ในการรับเงินโอนเพื่อการขาย และเปิดการแจ้งเตือน เพื่อให้เรารู้ว่ามียอดเงินเข้า แต่ก็ยังคงต้องตรวจสอบความถูกต้องของยอดเงินด้วยอยู่ดี
4.เมื่อลูกค้าโชว์สลิปการโอนเงินให้ดู ต้องดูแบบถี่ถ้วน ถ้าผิดจะได้บอกเลย ถ้ามัวเกรงใจ สุดท้ายมารู้ว่าโอนผิด โอนขาด ร้านจะเจ็บเอง ไม่ต้องอายที่จะตรวจสอบ เราไม่ได้จะจับผิด แต่เราค้าขายก็ต้องมีการตรวจสอบจำนวนเงินให้ถูก

จากการอ่านคอมเมนต์มีพ่อค้าแม่ค้าหลายคนมากที่มองข้ามการตรวจสอบยอดเงินที่ลูกค้าโอนเข้า ด้วยเหตุผลเกรงใจบ้าง ในช่วงเวลานั้น ๆ คนเยอะบ้าง ไม่มีเวลาดู แล้วต้องมาอาศัยการวัดใจว่าลูกค้าจะโอนให้จริง ๆ แบบไม่ผิด ซึ่งค่อนข้างเป็นการกระทำที่เสี่ยงต่อตัวเองมาก แล้วพอเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเราเองนี่แหละที่เจ็บ ดังนั้นเพื่อความสบายใจและไม่เกิดปัญหาทีหลัง กันไว้ดีกว่าแก้นะ🥰

Reference: https://www.facebook.com/groups/259809032544230/posts/511140874077710/
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

ต้นทุนอาหารควบคุมได้ กำไรเห็น ๆ

  การกำหนดต้นทุนอาหารส่วนใหญ่จะกำหนดไม่เกิน 35-40 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมด โดยสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กันคือต้นทุน เท่ากับ ยอดขาย (ราคาขาย ) คูณด้วยเปอร์เซนต์ของต้นทุน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำหนดต้นทุนและยอดขายโดยประมาณไว้แล้ว เราก็จะได้จำนวนต้นทุนเพื่อควบคุมไว้ให้ไม่เกิน ยกตัวอย่าง ยอดขาย 90,000 คูณด้วย 35 เปอร์เซนต์ เท่ากับต้นทุนต้องไม่เกิน 31,500  บาท เป็นต้น ระบบการควบคุมต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ควรทำควบคู่กับระบบการจัดทำ Recipe  เพื่อกำหนดราคาขาย  และการกำหนด SOP เพื่อจัดการเมนูอาหาร   การจัดทำ  recipe เพื่อลงรายละเอียดของวัตถุดิบ   การจัดทำ recipe นั้นจะช่วยให้เรากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ประเมินงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบ และยังช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบ ยกตัวอย่าง ดังนั้น ข้าวไข่ข้นกุ้งเมนูนี้ จึงมีต้นทุนอยู่ที่ 14.4 % หากขายที่ราคา 90  บาท นอกจากนี้ การคำนวณวัตถุดิบควรลงละเอียดในเรื่องของ yield  (การหาค่าเฉลี่ยวัตถุดิบ) ลงไปด้วยเพื่อการกำหนดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของการจัดทำ Recipe […]

เปิดร้านอาหารวันแรก

เปิดร้านอาหารวันแรก ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารวันแรก หลายคนคงตื่นเต้นและดีใจที่ความฝันของตัวเองสำเร็จสักที แต่อย่าเพิ่งดีใจจนเกินไป เพราะบางครั้งวันแรกก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด

การบริหารพนักงาน

เทคนิค การบริหารพนักงาน หลายเชื้อชาติ

ทุกวันนี้ร้านอาหารไทย มีพนักงานหลากหลายเชื้อชาติ กลายเป็นความท้าทายของเจ้าของร้านอาหารไทยในยุคนี้ว่าจะปรับตัวอย่างไรเพื่อ การบริหารพนักงาน หลายเชื้อชาติ

การจัดการธุรกิจอาหาร

เจาะลึกเบื้องหลัง การจัดการธุรกิจอาหาร ระดับโลก

เมื่อพูดถึงธุรกิจอาหาร หลายคนมักนึงถึง ร้านอาหาร แต่จริงๆ แล้ว ธุรกิจร้านอาหารมากกว่านั้น เราเลยอยากแชร์เกี่ยวกับ การจัดการธุรกิจอาหาร รูปแบบอื่นๆ ให้รู้กัน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.