ร้านสวยแม้กาแฟแย่คนก็ซื้อ ชาวเน็ตถามหรือคาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว?

จริงหรือไม่!? ร้านสวยแม้กาแฟแย่คนก็ซื้อ? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์มุมมอง กาแฟแย่และแพง แต่คนเยอะมากเพราะถ่ายรูปสวย หรือคาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว?

จริงหรือไม่!? ร้านสวยแม้กาแฟแย่คนก็ซื้อ?
ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์มุมมอง กาแฟแย่และแพง
แต่คนเยอะมากเพราะถ่ายรูปสวย
หรือ “คาเฟ่” เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว?

เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในทวิตเตอร์ เมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ได้มีการแชร์มุมมองเกี่ยวกับรสชาติของเครื่องดื่มและอาหารของร้าน คาเฟ่ ว่ามักจะมีรสชาติแย่ ในขณะที่ราคาแพงมาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีผู้ไปใช้บริการเยอะมาก ด้วยเหตุผลว่าเพราะร้านนั้นถ่ายรูปสวย

และเธอยังได้ตั้งคำถามต่ออีกว่า ทำไมคาเฟ่ที่มีมุมถ่ายรูปถึงได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ ได้ขนาดนี้ จนบางทีเธอก็คิดว่าทำไมให้ทำคาเฟ่ให้เป็นสตูดิโอถ่ายรูปไปเลย…

โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้ยังได้เสริมถึงเรื่องนี้อีกว่า ที่เธอได้พูดถึงประเด็นนี้ขึ้นมา เพราะรู้สึกว่าการที่คนซื้อเครื่องดื่มหรืออาหารมาแล้วกินไม่หมด เพราะว่าไม่อร่อย ทำให้เกิด waste จากการบริโภคได้

🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬

ซึ่งหลังจากเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ให้ความสนใจเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม บ้างก็บอกว่า “ไปคาเฟ่ไหนๆ ก็ไม่เจอที่เครื่องดื่มถูกปากเลยค่ะ ราคาก็แรงมากส่วนใหญ่แก้วละ 60-150 เลยนะที่เจอมา” “คาเฟ่แบบนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ได้ไม่นานหรอก ต่อให้ร้านสวยถ้าของกินแพงแต่คุณภาพห่วย คงไม่มีใครไปซ้ำเกิน 2 ครั้งหรอกค่ะ มุมก็มุมเดิม เข้าใจแหละว่าช่วงนี้คนไม่ค่อยได้เที่ยวไหน ร้านกาแฟสวยๆ สักร้านก็ทำให้ผ่อนคลายเหมือนไปเที่ยวพักผ่อนได้ แต่สิ่งที่น่าจะดึงดูดได้จริงคือคุณภาพสินค้า”

บ้างก็บอกว่า “บางร้านก็อร่อยนะคะ แต่ชาวเซลฟี่เยอะไปหน่อย เดินวนถ่ายทั่วร้านจนทำให้คนที่อยากไปนั่งกินเฉย ๆ รู้สึกไม่เป็นส่วนตัวเหมือนโดนคุกคามก็มี นั่งกินอยู่ดี ๆ มายืนจ้องแบบฉันจะถ่ายตรงนี้แกลุกไปสิ”


🔸 คาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต?☕️

บ้างก็แสดงความคิดเห็นต่อข้อเท็จจริงในประเด็น ‘คาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน’ ว่า “ส่วนนึงก็คงไม่รู้จะไปไหนแหละ วิวทิวทัศน์อะไรก็ใช่จะมี พื้นที่สาธารณะไว้หย่อนใจก็ไม่ค่อยมี อยู่ข้างนอกก็ร้อนจัดจนจะอ้วก อีกส่วนก็คิดว่าการได้ถ่ายรูปสวยๆ มาอวดชาวบ้านเป็นการ fill in an empty void ในจิตใจเพราะชีวิตในหลายๆ aspect ไม่ได้รับการ fulfill พอมี demand supply ก็ต้องตามมาแหละ

“อันนี้ขอยกต่างจังหวัดนะคะ ทำไมร้านคาเฟ่กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดไปได้ ตามเว็บแนะนำว่าแบบต้องไปในจังหวัดนี้อะ มันไม่ใช่มั้ยแก หรือชั้นพลาดอะไร”


🔸ความสุขของชีวิต💝

ในทางกลับกันบางคนก็มองว่า “แล้วการคนที่ไปถ่ายรูปในคาเฟ่มันผิดมากเลยหรอ ก็มันเป็นความสุขของเขามันก็เรื่องของเขา” “มันเป็นกลุ่มเป้าหมายของร้านเขามากกว่า รสชาติอาหารหรือของที่กิน แต่ละคนก็ชอบไม่เหมือนกัน คนที่กินเหลืออาจจะไม่ใช่ทุกคน ในเมื่อมันเป็นสิทธิของผู้บริโภคที่เลือกได้ อย่าเอาความชอบของตัวเอง มาตัดสินคนอื่นเลย ไม่ชอบแบบนี้ก็หาร้านอื่น” เป็นต้น
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

Specialty Coffee คืออะไร ? แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ?

Specialty Coffee คืออะไร ? แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ? แชร์มุมมองโดย คุณมิน เจ้าของร้าน Gorilla Coffee&Bakery ทุกวันนี้มีร้านกาแฟให้เราได้เลือกกินอยู่เต็มไปหมด ซึ่งก็มีทั้งร้านที่เป็นรูปแบบคาเฟ่ ร้านกาแฟทั่วไป รวมถึงร้านแบบ Specialty ที่หลายคนให้คำจำกัดความร้านรูปแบบนี้ว่าเป็นร้านกาแฟที่มี “ความพิเศษ” ที่ต่างออกไปจากร้านกาแฟแบบอื่น ๆ ว่าแต่มันพิเศษยังไงล่ะ ? ลองมาดูมุมมองต่อความเป็นร้านกาแฟ Specialty ของคุณมิน ธมลวรรณ เจ้าของร้าน Gorilla Coffee&Bakery ร้านกาแฟ Specialty ย่านลาดกระบังกัน! . นิยามของ Specialty . ในมุมมองของเรา Specialty Coffee คือ กาแฟที่พิเศษแตกต่างจากกาแฟทั่ว ๆ ไป เพราะเราให้ความใส่ใจ สนใจตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่การเลือกสายพันธ์ุกาแฟ ประเทศที่ปลูก การชง คาแรกเตอร์ของกาแฟแต่ละแบบ เอามาให้ผู้บริโภคเลือกมากกว่าร้านที่ขายกาแฟแบบปกติ เพราะคาแรกเตอร์แต่ละประเทศก็จะแตกต่างกัน เมื่อก่อนคนกินกาแฟ ก็อาจจะดูจากเรื่องความขม ให้ความกระปรี้กระเปร่า แต่เดี๋ยวนี้คนให้ความสนใจกับรสชาติ […]

Food safety culture

Food safety culture มาตรฐานใหม่ของธุรกิจอาหาร by สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่

        ความสะอาดของอาหาร เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการร้านอาหารทุกคนต้องใส่ใจ แต่ Food safety culture หรือวัฒนธรรมความปลอดภัยของธุรกิจอาหารนี้ จะมีวิธีสร้างขึ้นได้อย่างไร และจะมีประโยชน์แค่ไหน คุณจันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จะมาแชร์ให้ฟังกันค่ะ Food safety culture ทางสู่ความยั่งยืนของธุรกิจอาหาร         Foodssafety culture: ก่อนและหลังวิกฤตไวรัส         Foodssafety culture เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ก่อนที่จะมีวิกฤต COVID-19 อาจารย์มองว่าเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหารยังเป็นอะไรที่ไม่ชัดเจน ในภาคฝั่งรัฐบาลเริ่มมีการพัฒนากฎหมายรองรับ ออกเป็นกฎกระทรวงในปี 2561 เกี่ยวกับเรื่องของสุขลักษณะในการให้บริการอาหารออกมา แต่ในด้านของผู้ประกอบการอย่างแท้จริงแล้ว พฤติกรรมของคนทั่วไปค่อนข้างจะยังละเลย ยังไม่ให้ความสำคัญมากนัก          แต่ธุรกิจที่ให้ความสำคัญมากๆ น่าจะเป็นกลุ่มของธุรกิจร้านอาหารเครือข่าย (Food chain) ซึ่งมีบริษัทแม่ที่มีนโยบายชัดเจน หรือว่ากลุ่มของโรงแรมห้าดาว […]

Mee OK

ต่อยอดโรงงานบะหมี่ สู่ธุรกิจร้านอาหาร Mee OK (หมี่ โอเค)

ไม่ใช่เรื่องง่ายของการทำธุรกิจที่จะเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้ “Mee OK” หนึ่งตัวอย่างความสำเร็จของ ธุรกิจร้านอาหาร ที่ต่อยอดมาจากโรงงานผลิตเส้นบะหมี่ (ส่งร้านสุกี้ชื่อดัง) และแป้งที่มีประสบการณ์มากกว่า 80 ปี  จากประสบการณ์ผลิตบะหมี่กว่า 80 ปี สู่ธุรกิจร้านอาหาร Mee OK (หมี่ โอเค)  “อยากให้เพื่อนได้กินบะหมี่ของตัวเอง” จุดเริ่มต้นง่ายๆ ของคุณม้ง – ปรมะ ห่อทองพูน เจ้าของร้าน Mee OK และเจ้าของบริษัทผู้ผลิตเส้นบะหมี่ให้ร้านดัง ที่คิดอยากจะทำแบรนด์ร้านอาหารของตัวเอง  แบรนด์มันคือสิ่งสำคัญที่ทำให้คนรู้จักเรา ธุรกิจโรงงานของเราเริ่มมาตั้งแต่รุ่นอากง จากทำเส้นบะหมี่ขายในชุมชนและย่านใกล้ๆ มาถึงรุ่นพ่อก็เริ่มขยับขยาย ขายให้ภัตตาคารหรือร้านอาหารในเยาวราช ธุรกิจเริ่มใหญ่ขึ้น มีลูกค้าเยอะขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เราจะได้ลูกค้าที่บอกกันปากต่อปาก ทีนี้พอมาถึงรุ่นผม ก็เลยตัดสินใจที่จะเปิดโรงงานผลิตเส้นบะหมี่และแป้ง เพื่อสร้างมาตรฐาน คุณภาพ และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ จนได้กลุ่มลูกค้าเพิ่มเป็นธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจส่งออกไปต่างประเทศ อยากทำแบรนด์ของตัวเอง  เหตุผลหลักๆ เลย ก็คือตอนที่เราทำโรงงานอย่างเดียว เหมือนเราต้องพึ่งลูกค้าเป็นหลักในการขาย เพราะเราเป็นโรงงาน ไม่มีหน้าร้านหรือแบรนด์แบบเค้า ยกเลิกออเดอร์ทีเราก็เสียกำไรตรงนั้นไป […]

my little boss

My Little Boss อาหารเด็กพรีเมี่ยม ไม่มีหน้าร้าน แต่ขายได้ 400 กล่องต่อวัน

My little boss ธุรกิจอาหารเด็กระดับพรีเมี่ยม ส่งตรงถึงบ้าน เจาะตลาดกลุ่มคุณแม่ที่ไม่มีเวลาทำอาหารให้ลูกๆ และกลุ่มเด็กที่รับประทานยาก นับเป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในตลาดอาหารเด็กปรุงสด โดยแทบจะไม่มีคู่แข่งเลย!

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.