ถอดบทเรียน ชื่อร้าน "พยางค์เดียว"ตั้งชื่อร้านสั้นๆ จำง่าย แต่ไม่ได้มีแค่ข้อดี

ถอดบทเรียน ชื่อร้าน “พยางค์เดียว” ตั้งชื่อร้านสั้นๆ จำง่าย แต่ไม่ได้มีแค่ข้อดี

ถอดบทเรียน ชื่อร้าน “พยางค์เดียว”
ตั้งชื่อร้านสั้นๆ จำง่าย แต่ไม่ได้มีแค่ข้อดี

สังเกตไหมว่าทุกวันนี้ร้านอาหารในไทยมักจะมีการตั้งชื่อสั้น ๆ 1 พยางค์บ้าง 2 พยางค์บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นชื่อไทยๆ ที่สามารถสื่อความหมายถึงร้านได้ในพยางค์เดียว เช่น เขียง ฉัน ฉุน ครก คั่ว จุ่มหรือเป็นการใช้คำซ้ำอย่าง เผ็ดเผ็ด เปี๊ยะเปี๊ยะ บ้านบ้าน เป็นต้น แล้วชื่อสั้นๆ แบบนี้ มันดียังไงนะ ทำไมเดี๋ยวนี้เขาฮิตตั้งชื่อร้านสั้นๆ กันจัง ลองมาดูข้อดีของชื่อสั้น ๆ แล้วลองไปตั้งชื่อร้านเก๋ของตัวเองดูกัน!
.


✨ข้อดี👍🏻
.
🔸จำง่าย🧠
.
อย่างแรกเลยคือลูกค้ามีแนวโน้มที่จะจำชื่อสั้น ๆ ง่าย ๆ ได้มากกว่า ชื่อที่อ่านยาก เขียนยาก ยิ่งเป็นชื่อที่สั้นและสามารถสื่อถึงความเป็นร้านได้จบในพยางค์เดียว ก็เหมือนกับการปล่อยหมัดฮุคใส่คู่ต่อสู้ ที่อ่านแค่ครั้งเดียวก็จำขึ้นใจ และเห็นภาพร้านได้ชัด
.


🔸รู้เลยว่าขายอะไร🍚
.
แต่ละร้านก็จะมีชื่อที่บ่งบอกเอกลักษณ์ความเป็นร้านของตัวเองที่ต่างกันออกไป บ้างก็ตั้งชื่อเพื่อบ่งบอกว่าประเภทอาหารที่ขาย เช่น ร้านคั่ว ร้านอาหารไทยจีนฟิวชั่น ที่มีเอกลักษณ์ตรงที่ใช้เตาถ่านในการประกอบอาหาร โดยเน้นเมนู “คั่ว” เช่น เมนูที่ชื่อคั่ว ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับคั่วไก่ ข้าวผัดคั่วพริกเกลือกุ้ง หรือร้านครก ร้านน้ำพริก Fine Dining โดยเชฟมิชลิน ที่เมนูเด่น ๆ คือน้ำพริกกะปิ น้ำพริกไข่เค็ม น้ำพริกปลาร้าไฮโซ ที่ลูกค้าสามารถ D.I.Y เมนูอาหารของตัวเองได้ ไปจนถึงเป็นชื่อที่บอกคอนเซปต์ร้าน อย่าง ร้านบ้านบ้าน ร้านข้าวแกง ที่มีคอนเซปต์ร้านเป็นแบบบ้านๆ ให้ความรู้สึกเหมือนกินข้าวอยู่บ้าน เป็นต้น
.
🔸ทำสื่อง่าย📷
.
ด้วยชื่อที่สั้น จึงเอื้อให้ง่ายต่อการออกแบบโลโก้ สร้างคาแรคเตอร์ ป้ายร้าน สกรีนลงแก้ว ลงเสื้อ หรือสื่ออะไรก็ตามของร้าน มากไปกว่านั้นยังสร้างภาพจำให้ลูกค้าต่อ Branding ได้ง่ายอีกด้วย
.
📌ความท้าทาย❗️
.


🔸ชื่อมีผลต่อการตัดสินใจ🤔
.
ไม่ใช่ทุกชื่อที่สามารถนำมาตั้งเป็นชื่อร้านอาหารได้ เพราะชื่อร้านมีส่วนในการตัดสินใจของลูกค้าในการเข้ามาใช้บริการร้านอาหาร ถ้าหากลูกค้าอ่านชื่อแล้ว ไม่เข้าใจ หรือชื่อไม่สื่อถึงความเป็นร้านอาหารเลย ก็อาจทำให้ลูกค้าเมินหน้าหนีร้านเราไปได้ อย่างเช่น ร้านชื่อคอม อะไรคือคอม คอมเกี่ยวอะไรกับอาหาร ก็อาจจะทำให้ลูกค้างงได้ ดังนั้นถ้าหากจะใช้ชื่อร้านที่คนไม่สามารถเข้าใจได้เลยในทันทีว่าเราทำร้านอาหาร เช่น ชื่อคน ก็ต้องมีการทำการตลาด หรือใช้การเพิ่มคำขยายความ หลังชื่อร้านในสื่อต่างๆ เช่น ร้านเขียง ที่ได้ขยายความหลังชื่อว่า “Thai Street Food” เพื่อให้คนรับรู้ว่าร้านเราขายอะไร เป็นร้านอาหารประเภทไหน เขาจะได้เข้าใจและเข้าถึงความเป็นร้านเรามากขึ้น
.
🔸มีโอกาสชื่อซ้ำ👥
.
เป็นไปได้มากว่าชื่อร้านสั้น ๆ มีโอกาสเกิดการตั้งชื่อซ้ำกับคนอื่นมาก เพราะหลายชื่อเป็นชื่อที่มีความเฉพาะและบ่งบอกถึงอาหารนั้นโดยตรง ชื่อนั้นจึงมีโอกาสที่คนจะหยิบมาใช้กันเยอะ ดังนั้นถ้าหากเราไม่อยากตั้งชื้อซ้ำกับคนอื่น ก่อนตั้งชื่อให้ลองค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เพื่อตรวจสอบรายชื่อร้านอาหารก่อน หรือถ้ายืนยันว่าจะใช้ชื่อนี้ก็ได้ แต่เราต้องทำให้ตัวเองโดดเด่น เป็นที่หนึ่งของทั้งชื่อนี้และอาหารด้านนี้ด้วย เพื่อให้ร้านเราเป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้า
.
จะว่าไปการตั้งชื่อร้านสั้น ๆ นอกจากจะทำให้จำง่ายแล้ว ในแง่ของการนำมาใช้ออกแบบสื่อร้านก็ทำให้สื่อนั้นมีความเก๋ไก๋มินิมอล ด้วยความน้อยของตัวอักษร ช่วยให้ Branding มีเอกลักษณ์ไปอีกแบบ
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

มัดใจลูกค้า

กระตุ้นการซื้อซ้ำ มัดใจลูกค้า ด้วยLine@

โลกในยุคนี้ที่อะไรๆ ก็ทำได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกสบายที่มีมากขึ้น คู่แข่งทางการตลาดในสินค้าหรือบริการชนิดเดียวกันที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

Food Trend

อัปเดตเทรนด์คอนเทนต์อาหาร ช่วงนี้ผู้บริโภคชอบอะไร ? แนวการทางโปรโมทร้านให้ลูกค้าอยากซื้อ!

อัปเดตเทรนด์คอนเทนต์อาหาร ช่วงนี้ผู้บริโภคชอบอะไร ? แนวการทาง ” โปรโมทร้าน ” ให้ลูกค้าอยากซื้อ! เชื่อว่าทุกวันนี้ก่อนที่ทุกคนจะซื้อหรือใช้อะไรจะต้องหารีวิวมาดู เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อน ยิ่งตอนนี้หลายคนหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เพราะกังวลเรื่องโรคระบาดด้วยแล้วนั้น การจะออกมาเลือกซื้อ เลือกดู จับจ่ายใช้สอยก็เป็นอะไรที่หลายคนไม่อยากเสี่ยง ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้คนจึงหันไปเสพคอนเทนต์ของเหล่า Reviewer หรือ Blogger เพื่อใช้ในการตัดสินใจสั่งผ่านเดลิเวอรี่แทน  “อาหาร” สิ่งหนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจดูเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นรีวิวอาหารหรือวิดีโอสอนทำอาหาร ซึ่งคอนเทนต์เหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มยอดขายให้ผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้นลองมาดูแนวทางการทำคอนเทนต์จาก คุณณีรนุช อิทธิปัญญาวรกุล Food Blogger เจ้าของเพจ Thintomorrow ที่ได้มาเล่าใน Club House ถอดบทเรียนสู้วิกฤติ ธุรกิจร้านอาหารดัง ถึงเทรนด์คอนเทนต์อาหาร ช่วงนี้ผู้บริโภคชอบอะไร ? และแนวการทางโปรโมทร้านให้ลูกค้าอยากซื้อ! จะมีอะไรบ้างมาดูกัน!      พฤติกรรมของคนในตอนนี้👤: ช่วงนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคค่อนข้างจะเปลี่ยนไป อย่างช่วงก่อนหน้านี้เราจะรู้สึกว่าคนทั่วไปที่อยู่คนเดียวหรืออยู่กันไม่กี่คนจะ จะใช้บริการแอปเดลิเวอรี่เยอะกว่าคนที่อยู่เป็นครอบครัว แต่หลัง ๆ มานี้คนที่อยู่เป็นครอบครัวขนาดกลางไปจนถึงครอบครัวใหญ่มีการสั่งเดลิเวอรี่มากขึ้น ซึ่งจากที่เราเคยสอบถามเหตุผลของคนที่อยู่รอบตัว ได้คำตอบว่าช่วงนี้คนออกไปข้างนอกน้อยลง เขาไม่ค่อยอยากเดินตลาดหรือไม่อยากเดินซุปเปอร์บ่อย ๆ เพราะไม่อยากเสี่ยงกับโรคหรือว่าอยู่บ้านล็อกดาวน์นาน ๆ […]

เจาะพฤติกรรมคนเลือกร้านอาหารยุคใหม่

ในยุคปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับเลยว่าเทรนด์ต่าง ๆ บนโลกใบนี้ เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี แฟชั่น หรือแม้แต่เรื่องอาหารการกิน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.