ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง?

ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ”

วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน”

ประเมินความพร้อมในการขายแบบสั่งกลับบ้าน

1.ประเมินความพร้อม:

จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป

2.ต่อรองประนอมหนี้:

“รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้

คุยกับพนักงาน
3.เอายังไงกับพนักงาน:

แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ 1 คนทำได้หลายหน้าที่ ซึ่งอาจรวมไปถึงการขับรถส่งอาหารด้วย

ในอีกทางหนึ่งการที่ผู้ประกอบการยังคงรักษาพนักงานเอาไว้ อาจเป็นข้อดีในภายหน้า ในตอนที่สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ร้านขายได้เหมือนเดิม คุณจะไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับการสรรหาพนักงานใหม่ ต้องเทรนใหม่ หรือเสียค่าใช้จ่ายในการเทรนนิ่งพนักงานใหม่ ค่ายูนิฟอร์ม รวมถึงสวัสดิการอื่น ๆ และอาจจะทำให้ร้านคุณได้พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความเข้าใจและผูกพันกับองค์กรอย่างลึกซึ้งอีกด้วย

4.ปรับกลยุทธ์:

จากเดิมที่โฟกัสการขายหน้าร้านเป็นหลักก็เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์ด้วย โดยนำกลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้ โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชี่ยลมีเดียว่าทางร้านมีเมนูอะไรบ้าง มีโปรโมชั่นอะไร โดยอาศัยการถ่ายรูปเมนูอาหารให้น่ากิน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม แปลกตาเข้ามาใช้ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้อยากสั่ง อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคเห็นว่าร้านเราให้ความสำคัญกับความสะอาด ปลอดภัย อาหารทุกกล่องที่ส่งไปผ่านการตรวจสอบมาอย่างดี เพราะทุกคนในตอนนี้ก็มีความกังวลในโรคระบาด

สต็อกวัตถุดิบ
5.จัดการสต็อกให้ดี:

ด้วยสถานการณ์โรคระบาด ร้านเปิดได้ไม่เต็มรูปแบบรวมถึงผู้บริโภคมีพฤติกรรมรัดเข็มขัดกันแน่น เซฟค่าใช้จ่ายมากขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะเลือกทำอาหารกินเองที่บ้าน และสั่งอาหารมากินน้อยลง ดังนั้นร้านควรมีการประเมินยอดขายต่อวันเพื่อนำข้อมูลมาใช้พิจารณาการซื้อวัตถุดิบเข้าร้านให้สอดคล้องกับยอดขาย แต่ในกรณีที่ร้านซื้อวัตถุดิบมาไว้ก่อนหน้าแล้ว ให้ดูว่าสต็อกนั้นสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง โดยเลือกใช้วัตถุดิบตามหลัก FIFO หรือ First in First out มาก่อน ใช้ก่อน เพื่อลดต้นทุนร้านอาหาร ของไม่เหลือทิ้ง
.
แต่ทั้งนี้เมื่อเผชิญวิกฤตสิ่งที่ร้านอาหารควรทำไม่ใช่แค่การปรับตัวหรือวางแผนสำรองเพื่อพร้อมรับสถานการณ์ในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังต้องสร้างกำลังใจให้ตัวเองเยอะ ๆ หันมาเติมใจ เติมพลังให้ตัวเองบ้าง
.
ยอมรับว่าการระบาดรอบนี้หนักและมีแต่จะซ้ำเติมเราให้ยิ่งทรุดจนบางคนแทบทนไม่ไหว แต่อยากบอกว่ามาถึงจุดนี้ก็เก่งที่สุดแล้ว สักวันหนึ่งแอดเชื่อว่าเราจะกลับมายืนหยัดได้เหมือนเดิม แอดเชื่อว่าอย่างนั้นและพร้อมอยู่เคียงข้าง คอยเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการทุกคน เราจะผ่านมันไปได้ค่ะ✌🏻
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

ปั้น พนักงานร้านอาหาร

ปั้น พนักงานร้านอาหาร ให้บริการลูกค้าเหมือนเจ้าของร้าน

ทำยังไงให้พนักงานบริการดี ? เรารวบรวมเทคนิคดีๆ จากการสัมภาษณ์เจ้าของร้านอาหาร ที่ใช้ในการ  ปั้น พนักงานร้านอาหาร ให้บริการดี เหมือนที่เราบริการลูกค้าเองมาฝาก

ศูนย์การค้า

รวมเรื่องเข้าใจผิด! เกี่ยวกับการเปิดร้านในศูนย์การค้า

เชื่อเลยว่า มีเจ้าของร้านอาหารหลายคน หรือแม้แต่คนที่ยังไม่มีร้านอาหารก็ตาม ต้องเคยมีความคิดว่า การจะนำร้านอาหารของตัวเองเข้าไปเปิดอยู่ในศูนย์การค้าใหญ่ๆได้นั้น ทำอย่างไรถึงจะเข้าได้ คงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก และดูไกลตัวจนเกินไป ซึ่งทีมงาน Amarin Academy ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square ได้เผยว่าความจริงแล้ว การนำร้านเข้ามาเปิดในศูนย์การค้านั้น ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปอย่างที่หลายคนกังวล และเข้าใจผิดกันไปก่อน แล้วสิ่งที่เจ้าของร้านมักเข้าใจผิด ในการคิดจะนำร้านอาหารเข้าศูนย์การค้า มีอะไรบ้าง มาดูกันครับ   รวมเรื่องเข้าใจผิด! เกี่ยวกับการเปิดร้านในศูนย์การค้า 1. ต้องเป็นร้านใหญ่ แบรนด์ดังเท่านั้น! สาเหตุที่เจ้าของร้านหลายราย มักเข้าใจผิดเป็นอันดับต้นๆ ในการมาเปิดร้านในศูนย์การค้า ก็คือเรื่องแบรนด์ บางรายคิดว่า ศูนย์การค้ามักรับแต่แบรนด์ดังเท่านั้น เราเป็นเพียงร้านเล็กๆ คงไม่สามารถนำร้านเข้าไปอยู่ได้ ซึ่งความจริงแล้ว ศูนย์การค้ารับพิจารณาทั้งแบรนด์ใหญ่ และแบรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ แต่ที่สำคัญมากๆ เป็นประเด็นหลักเลย ก็คือ ร้านของคุณจะต้องอร่อยจริง คุณภาพดีจริง เพราะฉะนั้น ทำให้อาหารร้านของคุณอร่อยก่อน […]

เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี!

หนึ่งในระบบเซตอัพร้านอาหารที่สำคัญ ก็คือการออกแบบเครื่องมือในการ ประเมินมาตรฐาน หรือผลการปฏิบัติงานของร้าน ที่เรียกว่า QSC  ถือเป็นคู่มือที่ใช้ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยจะครอบคลุม 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่   เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี! Q = Quality การประเมินด้านคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหารและการเสิร์ฟ ทั้งรสชาติ ปริมาณ หน้าตาอาหาร   S =Service การประเมินด้านการบริการ เริ่มตั้งแต่การต้อนรับลูกค้า การแนะนำรายการสินค้า ความเต็มใจบริการ ความสุภาพของพนักงาน ความถูกต้องในการรับรายการอาหาร   C = Cleanliness การประเมินด้านความสะอาด เริ่มประเมินตั้งแต่ การแต่งกายของพนักงาน ความสะอาดของหน้าร้านและหลังร้าน รวมไปถึงการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ครัว   ตัวอย่างการทำ QSC : ร้านกาแฟ มาดูกันว่าการทำ QSC ร้านกาแฟ จะกำหนดให้ควบคุมในเรื่องใดบ้าง ยกตัวอย่างเช็กลิสต์ […]

เริ่มทำธุรกิจ

8 สิ่งที่คน เริ่มทำธุรกิจ ควรรู้! ลดโอกาสเจ๊ง

เมื่อ เริ่มทำธุรกิจ ย่อมต้องเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิดให้แก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา เราจึงขอรวบรวม 8 สิ่งที่คนเริ่มทำธุรกิจควรรู้! ที่มาจากผู้ประกอบการตัวจริงมาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.