ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง?

ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ”

วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน”

ประเมินความพร้อมในการขายแบบสั่งกลับบ้าน

1.ประเมินความพร้อม:

จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป

2.ต่อรองประนอมหนี้:

“รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้

คุยกับพนักงาน
3.เอายังไงกับพนักงาน:

แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ 1 คนทำได้หลายหน้าที่ ซึ่งอาจรวมไปถึงการขับรถส่งอาหารด้วย

ในอีกทางหนึ่งการที่ผู้ประกอบการยังคงรักษาพนักงานเอาไว้ อาจเป็นข้อดีในภายหน้า ในตอนที่สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ร้านขายได้เหมือนเดิม คุณจะไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับการสรรหาพนักงานใหม่ ต้องเทรนใหม่ หรือเสียค่าใช้จ่ายในการเทรนนิ่งพนักงานใหม่ ค่ายูนิฟอร์ม รวมถึงสวัสดิการอื่น ๆ และอาจจะทำให้ร้านคุณได้พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความเข้าใจและผูกพันกับองค์กรอย่างลึกซึ้งอีกด้วย

4.ปรับกลยุทธ์:

จากเดิมที่โฟกัสการขายหน้าร้านเป็นหลักก็เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์ด้วย โดยนำกลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้ โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชี่ยลมีเดียว่าทางร้านมีเมนูอะไรบ้าง มีโปรโมชั่นอะไร โดยอาศัยการถ่ายรูปเมนูอาหารให้น่ากิน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม แปลกตาเข้ามาใช้ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้อยากสั่ง อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคเห็นว่าร้านเราให้ความสำคัญกับความสะอาด ปลอดภัย อาหารทุกกล่องที่ส่งไปผ่านการตรวจสอบมาอย่างดี เพราะทุกคนในตอนนี้ก็มีความกังวลในโรคระบาด

สต็อกวัตถุดิบ
5.จัดการสต็อกให้ดี:

ด้วยสถานการณ์โรคระบาด ร้านเปิดได้ไม่เต็มรูปแบบรวมถึงผู้บริโภคมีพฤติกรรมรัดเข็มขัดกันแน่น เซฟค่าใช้จ่ายมากขึ้น ก็มีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะเลือกทำอาหารกินเองที่บ้าน และสั่งอาหารมากินน้อยลง ดังนั้นร้านควรมีการประเมินยอดขายต่อวันเพื่อนำข้อมูลมาใช้พิจารณาการซื้อวัตถุดิบเข้าร้านให้สอดคล้องกับยอดขาย แต่ในกรณีที่ร้านซื้อวัตถุดิบมาไว้ก่อนหน้าแล้ว ให้ดูว่าสต็อกนั้นสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง โดยเลือกใช้วัตถุดิบตามหลัก FIFO หรือ First in First out มาก่อน ใช้ก่อน เพื่อลดต้นทุนร้านอาหาร ของไม่เหลือทิ้ง
.
แต่ทั้งนี้เมื่อเผชิญวิกฤตสิ่งที่ร้านอาหารควรทำไม่ใช่แค่การปรับตัวหรือวางแผนสำรองเพื่อพร้อมรับสถานการณ์ในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังต้องสร้างกำลังใจให้ตัวเองเยอะ ๆ หันมาเติมใจ เติมพลังให้ตัวเองบ้าง
.
ยอมรับว่าการระบาดรอบนี้หนักและมีแต่จะซ้ำเติมเราให้ยิ่งทรุดจนบางคนแทบทนไม่ไหว แต่อยากบอกว่ามาถึงจุดนี้ก็เก่งที่สุดแล้ว สักวันหนึ่งแอดเชื่อว่าเราจะกลับมายืนหยัดได้เหมือนเดิม แอดเชื่อว่าอย่างนั้นและพร้อมอยู่เคียงข้าง คอยเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการทุกคน เราจะผ่านมันไปได้ค่ะ✌🏻
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

Operation Setup วางระบบร้านอาหารไม่ยากอย่างที่คิด

รู้ว่ากำลังทำร้านอาหารประเภทไหน             ร้านอาหารแต่ละประเภท มีลักษณะที่ต่างกัน การวางระบบก็มีความแตกต่างกันด้วย ก่อนที่จะเริ่มต้นวางระบบร้านอาหารจึงต้องรู้ว่าร้านอาหารของเรามีรูปแบบการบริการแบบไหน ยกตัวอย่าง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่เน้นการบริการ แต่เน้นที่ความรวดเร็ว ร้านอาหารภัตตาคารเน้นการบริการที่มีมาตรฐานแบบ Table Service ประเภทของร้านอาหารจะสัมพันธ์กับการวางโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างทีมงานร้านอาหาร และระบบงานครัว อย่างไรก็ดี ร้านอาหารลักษณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีระบบร้านที่เหมือนกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่า เป้าหมายและจุดขายที่แตกต่างกันของแต่ละร้านด้วย คลิกอ่าน เทคนิควางระบบร้านอาหาร 5 ประเภท Click link การวางโครงสร้างงาน             ลำดับต่อมา คือการวางโครงสร้างงานร้านอาหาร ซึ่งจะเป็นการวางรูปแบบการทำงานของทีมงานร้านอาหาร ที่สามารถแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ส่วน คือทีมงานบริหาร มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทิศทาง ซึ่งประกอบไปด้วย เป็นเจ้าของ หุ้นส่วน ลูกจ้างบริหารระดับสูง  ทีมงานเบื้องหน้า ได้แก่ทีมที่ให้บริการหน้าร้าน ตั้งแต่ ฝ่ายต้อนรับ ผู้จัดการร้าน พนักงานเสิร์ฟ ทีมงานเบื้องหลัง ได้แก่ ทีมงานการผลิต ทีมครัว และทีมสนับสนุนดูแลระบบ เป็นต้น การวางโครงสร้างงานเป็นการกำหนดกำลังคน ขอบเขตในการทำงาน […]

ของถูกหรือของแพง

ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่ “คุ้ม” หรือ “ไม่คุ้ม”

สงสัยไหม ทำไมร้านอาหารราคาแพงบางร้าน ลูกค้าเยอะ ขณะที่ร้านราคาถูก กลับไม่มีลูกค้าเลย สิ่งนีทำให้เห็นว่า ลูกค้าไม่ได้ดูที่ ของถูกหรือของแพง เพียงอย่างเดียว

5 เรื่องพลาดที่คุณต้องรู้! ก่อน วางระบบร้านอาหาร เจ๊ง

เจ้าของร้านอาหารหลายแห่งประสบกับปัญหาการดำเนินงานร้านอาหาร สุดท้ายพาร้านอาหารเจ๊งไปได้ไม่รอด เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วพบว่าเกิดจากการ วางระบบร้านอาหาร  ที่ผิดพลาด และมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในที่สุด 1. พลาด…เพราะวางระบบไม่ตอบโจทย์ร้าน ร้านอาหารรูปแบบต่างกัน ก็มีระบบการทำงานที่ต่างกันด้วย ก่อนวางระบบร้านอาหาร จึงต้องรู้ว่าร้านของคุณเป็นร้านประเภทไหน เสิร์ฟอาหารแบบไหน เน้นการบริการรูปแบบใด การเซตอัพที่เหมาะสมกับประเภทของร้าน จะช่วยให้เกิดแผนงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้การวางแผนต้นทุนต่าง ๆ เป็นไปอย่างรัดกุม มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการลงทุนไปกับสิ่งที่จำเป็น จัดการต้นทุนได้ ส่งผลต่อระยะเวลาในการคืนทุนของร้าน ในทางกลับกันหากระบบที่วางไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานร้านอาหารก็ทำให้เกิดผลตรงกันข้าม 2. พลาด…เพราะไม่เคยคำนึงเรื่องพื้นที่ ในการวางระบบงานครัว ทราบไหมว่า ปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้าอาจแก้ได้แค่การเปลี่ยนผังครัว ? แต่ร้านอาหารหลายร้านอาจไม่เคยนึกถึงก่อนวางระบบ เมื่อเจอกับปัญหาการเสิร์ฟอาหารช้า ล้มเหลวในการบริหารจัดการเวลาพีคไทม์ มักไปแก้ด้วยวิธีการเปลี่ยนสูตรหรือการลดขั้นตอนบางอย่างที่ต้องใช้เวลา ซึ่งส่งผลต่อรสชาติอาหาร ปัญหาความล่าช้า อาจต้องวิเคราะห์ว่าพนักงานเสียเวลาไปกับอะไรบ้าง ซึ่งต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการทำงาน การจัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสมด้วย ร้านที่มีผังครัวที่ดี ทำให้พนักงานเคลื่อนไหวน้อยลง มีการจัดเรียงวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้งาน จะช่วยกระชับเวลาในการจัดทำอาหารได้ไม่น้อยเลย 3. พลาด… เพราะขาดระบบสอนงานที่ดี แม้ว่าจะวางระบบร้านอาหารไว้อย่างดีแล้ว แต่หากขาดการวางโครงสร้างงานที่ดี ขาดระบบในการฝึกอบรมงาน ก็มีส่วนทำให้ระบบงานที่วางไว้ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารที่มีอัตราการเข้าออกสูง ขาดระบบการฝึกงานพนักงานใหม่ นอกจากจะทำให้เสียต้นทุนเวลา ต้นทุนค่าจ้างแล้ว […]

ตั้งราคาอาหาร

5 สิ่งที่ควรรู้ก่อน ตั้งราคาอาหาร

หลายคนไม่รู้จะตั้งราคาอาหารของตัวเองเท่าไร ตั้งสูงไปก็กลัวขายไม่ได้ ตั้งต่ำไปก็กลัวจะขาดทุน วันนี้จึงขอนำข้อมูลเกี่ยวกับการ ตั้งราคาอาหาร มาฝาก

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.