เจาะกลุ่มลูกค้า ในร้านอาหาร บริการให้ตรงใจ ❤︎ - Amarin Academy

เจาะกลุ่มลูกค้า ร้านอาหาร บริการให้ตรงใจ ❤︎

ในยุคที่ธุรกิจร้านอาหารมีการแข่งขันสูง ทางร้านย่อมจะต้องหาวิธีดึงดูดและจูงใจลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ แต่ผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การทำความเข้าใจลูกค้าแต่ละกลุ่มจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยให้พนักงานบริการลูกค้าที่ต่างกันอย่างเหมาะสม ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากร้าน ในบทความนี้เราจึง เจาะกลุ่มลูกค้า แต่ละแบบในร้านอาหาร เพื่อแนะนำแนวทางในการบริการให้เหมาะสม และเพิ่มโอกาสในการขายของร้านอาหารครับ

เจาะกลุ่มลูกค้า ในร้านอาหาร บริการให้ตรงใจ

1. ลูกค้าที่มาเป็นคู่

ลูกค้าที่มากันสองคนหรือเป็นคู่รัก มักจะต้องการใช้เวลาด้วยกันมากกว่าต้องการให้พนักงานบริการเพิ่มเติม ดังนั้น พนักงานควรจะเลือกที่นั่งที่ให้ความรู้สึกค่อนข้างส่วนตัว เช่น โต๊ะที่อยู่ด้านในของร้าน หรือโต๊ะที่ห่างออกไปจากกลุ่มลูกค้าที่มาด้วยกัน เพื่อลดเสียงรบกวน
หลังจากลูกค้าสั่งอาหารแล้วก็คอยสังเกตห่างๆ ว่าลูกค้าต้องการบริการใดเพิ่มเติมแล้วค่อยเข้าไปบริการ โดยเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารหลักใกล้เสร็จ อาจจะขออนุญาตเข้าไปเก็บจานที่ไม่ใช้แล้ว พร้อมกับแนะนำเมนูของหวานเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้านอาหารได้

พนักงานออฟฟิศ

2. กลุ่มคนทำงาน พนักงานออฟฟิศ

สำหรับร้านที่อยู่บริเวณที่ทำงานในเมือง พนักงานออฟฟิศคงเป็นกลุ่มลูกค้าหลักในร้าน  ส่วนใหญ่จะมาในเวลาพักกลางวัน หรือหลังเลิกงานในตอนเย็น จากเวลาพักที่ใกล้เคียงกันของพนักงานออฟฟิศ ทำให้ร้านอาหารต้องบริหารจัดการโต๊ะให้ดีเพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าต่อวันให้มากขึ้น และหาวิธีทำงานที่รวดเร็วขึ้น เช่น อาจจะปรุงวัตถุดิบบางส่วนล่วงหน้าไว้ เพื่อลดระยะเวลาการทำอาหาร หรือมีกระดาษให้เลือกเมนูอยู่ที่โต๊ะเพื่อลดภาระของพนักงาน

ลูกค้ากลุ่มนี้มักจะมาเป็นกลุ่มย่อยๆ ประมาณ 3-4 คน โดยสั่งอาหารจานหลักคนละจาน และอาจจะสั่งเมนูอื่นๆ มาแชร์กัน พนักงานอาจจะแนะนำเมนูทานเล่นอื่นๆ ที่มีขายภายในร้านนอกเหนือจากอาหารจานหลัก เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอยากสั่ง และเพิ่มยอดขายต่อโต๊ะให้มากขึ้น 

3. กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา 

ลูกค้ากลุ่มนี้มักจะมาด้วยกันหลายคน สิ่งที่ลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการคือ โต๊ะขนาดใหญ่ที่สามารถนั่งด้วยกันได้ทั้งหมด เพื่อให้พูดคุยกันได้สะดวกระหว่างทานอาหาร ดังนั้น หากร้านอยู่ในละแวกโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย และเน้นลูกค้ากลุ่มนี้เป็นลูกค้าเป้าหมาย ก็ควรจะใช้โต๊ะและที่นั่งที่น้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายสะดวกและปรับเปลี่ยนได้ง่าย เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในกลุ่มนี้

พนักงานเสิร์ฟสามารถบริการลูกค้ากลุ่มนี้แบบเป็นมิตร เข้าถึงง่าย และสร้างความเป็นกันเองกับลูกค้ากลุ่มนี้ได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆ ส่วนมากลูกค้ากลุ่มนี้มักจะสั่งอาหารมาลองทานด้วยกันแล้วค่อยแชร์ค่าอาหาร จึงสั่งอาหารได้หลากหลายเมนู พนักงานจึงสามารถแนะนำเมนูได้เยอะ และอย่าลืมแนะนำของหวานเพิ่มเติมหลังจากมื้อหลัก อย่างพวกบิงซู ฮันนี่โทสต์  ซึ่งที่แบ่งกันทานได้ จะช่วยเพิ่มยอดขายได้มาก

สิ่งสำคัญนอกจากรสชาติอาหารที่ดีแล้ว ยังต้องหมั่นสังเกตความต้องการของลูกค้า และให้บริการอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจ ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะกลับมาเป็นลูกค้าประจำในภายหลัง และแนะนำบอกต่อกับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ หรือรีวิวลงในโซเซียลมีเดียอีกด้วย 

กลุ่มครอบครัว

4. กลุ่มครอบครัว

ลูกค้าที่มาเป็นครอบครัวก็มักจะมากันหลายคน และมีกำลังซื้อสูง สิ่งที่พนักงานควรทำคือใส่ใจเกี่ยวกับการบริการ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็ก หรือผู้สูงอายุ ที่อาจจะต้องการเก้าอี้เสริม หรือความช่วยเหลือต่างๆ รวมถึงแนะนำเมนูที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือเมนูสำหรับเด็ก ก็จะช่วยให้ตัดสินใจสั่งอาหารได้เร็วขึ้น แน่นอนว่าต้องไม่พลาดการแนะนำเมนูของหวานด้วย

5. ลูกค้าที่มาคนเดียว

สำหรับลูกค้าที่มาคนเดียว พนักงานควรทำให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายและไม่ต้องเสนอเมนูมากมาย เพราะสั่งอาหารได้จำกัด แต่หากต้องการอยากเพิ่มยอดขายจากลูกค้าที่มีคนเดียว อาจจะแนะนำเมนูเครื่องดื่มเพิ่มเติม หรือเสนอขายเซตเมนูภายในร้านได้
(อ่านเพิ่มเติม >> วิธีเพิ่มยอดขายจากลูกค้าที่มาคนเดียว)

เจาะกลุ่มลูกค้า

6. กลุ่มลูกค้าที่คุยงานหรือธุรกิจ

สำหรับลูกค้าวัยทำงานบางส่วน อาจจะเลือกเลี้ยงรับรองลูกค้า หรือเจรจาธุรกิจในร้านอาหาร เพื่อให้ความรู้สึกที่ไม่เคร่งเครียด และสร้างความสนิทสนมกันมากขึ้น  ดังนั้น ทางร้านควรจะให้ความเป็นส่วนตัวแก่ลูกค้ากลุ่มนี้ โดยเลือกโต๊ะที่อยู่ในมุมสงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน และพนักงานควรให้บริการอย่างสุภาพ ไม่จำเป็นต้องเสนอโปรโมชันอะไรมาก แต่ควรแนะนำเมนูเด็ดของร้านที่ดูดีมีราคา ให้ลูกค้าสั่งครั้งเดียวจบ และพนักงานควรหมั่นสังเกตอยู่ห่างๆ เพื่อให้บริการอย่างเหมาะสม

จะเห็นว่ากลุ่มลูกค้าในร้านอาหารนั้น มีความหลากหลายและความต้องการที่แตกต่างกันไป พนักงานที่เป็นคนมีปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง ควรจะมีความเข้าใจในลูกค้า เพื่อจะแนะนำเมนูและให้บริการได้ตรงใจมากที่สุด เจ้าของร้านไม่ควรพลาดจุดนี้และเน้นกับทางทีมงานนะครับ

เรื่องแนะนำ

เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ดี

เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ดี และมีกำไร

หลายคนที่ลงทุนเปิดร้านอาหาร มีทำเลมี ทีมงานแน่น อาหารอร่อย แต่ตกม้าตายตรงการจัดการซะนี่ อย่างนั้นมาดูวิธี เปิดร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ดี และมีกำไร กันดีกว่า

ส่วนผสมของ SOP กับวิธีทำคู่มือ ง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้

ส่วนผสมของ SOP ที่ดี และวิธีทำคู่มือมาตรฐานสำหรับร้าน อย่างง่ายๆใครก็ทำได้! ตามสัญญาจากบทความที่แล้วที่ผมได้พูดถึง เจ้า SOP (Standard Operating Procedure) หรือ “คู่มือร้านอาหาร” ว่ามันมีความสำคัญอย่างไร และ อุปสรรคของเจ้าของร้านคืออะไร .. แล้วควรมีมุมมองยังไงเกี่ยวกับเรื่องนี้กันไปแล้ว  วันนี้ผมขอแนะนำเรื่อง ส่วนผสมที่ดีสำหรับ SOP ว่ามีอะไรบ้าง สำหรับคนที่สนใจทำเจ้าคู่มือนี้ จะได้มี “ตัวชี้วัด” ง่ายๆ ไว้ใช้เป็น Benchmark หรือตัวเปรียบเทียบกันนะครับ…ไปดูกันเลย 1.ต้องสื่อสารอย่างเข้าใจง่าย และ เหมาะกับพนักงานทุกประเภท  เพราะไม่ใช่ทุกร้านที่จะมีโอกาสจ้างทีมงานเรียนจบมาจากสถาบันสอนทำอาหาร หรือมีประสบการณ์การทำงานร้านอาหารมาหลายปีแล้ว มาสมัครร้านเรา ส่วนใหญ่ที่ร้านผมเจอ จะเป็นญาติห่างๆ ของแม่บ้าน ,น้องๆ AEC หรือไม่ก็เป็น พาร์ทไทม์ วัยเรียน ที่อยากจะมาหาประสบการณ์กัน ร้านอาหารหลายๆ ร้านคงจะเข้าใจกับ ประโยคที่ว่า “พนักงานดีๆ หายาก” หรือ “อยู่ไม่ทน” มากที่สุด นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ “คู่มือร้านอาหาร” เหมาะกับ […]

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง   โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost) ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน   […]

เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ

8 Checklists อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ!

ก่อนเปิดร้านอาหาร เราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ? เราจึงรวบรวม 8 Checklists ที่เจ้าของร้านที่อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ มาแชร์ให้ทุกคนรู้กัน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.