นายจ้างที่ได้รับความช่วยเหลือมีแค่ 11% ส่องสถิติการเข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

นายจ้างที่ได้รับความช่วยเหลือมีแค่ 11% ส่องสถิติการเข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

        แม้ว่าวิกฤต COVID-19 จะกระทบต่อประชาชนคนไทยทุกคน แต่ มาตรการเยียวยา ของภาครัฐนั้นเข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบทั่วถึงหรือไม่? เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้ทำการสำรวจ ผลกระทบเบื้องต้นจากการใช้มาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 ผ่านระบบ online ในช่วงวันที่ 9-13 เม.ย. 63 โดยมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 8,929 คน จากทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทย 

สถิติประชาชน 4 กลุ่มอาชีพ
ที่เข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

        โดยผู้ตอบแบบสอบถามจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ นายจ้าง พนักงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ว่างงาน ในภาพรวมแล้ว มีคนไทยมากถึง 88% ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐ เพราะส่วนใหญ่ “ติดเงื่อนไข” ซึ่งมีทั้งผู้ที่ไม่เข้าข่าย และผู้ที่ควรได้รับสิทธิ์แต่ถูกปฏิเสธ โดยมาตรการที่คนได้รับมากที่สุดเป็นมาตรการของนโยบายการคลัง แต่มาตรการเหล่านี้ก็ไม่เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน ในกรณีที่สถานการณ์ยาวนานมากกว่า 3 เดือน   

มาตรการเยียวยากลุ่มนายจ้าง  

        เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่มีรายได้ลดลงหรือถูกสั่งปิด นายจ้างโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs จึงต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือในด้านเงินทุนสำหรับฟื้นฟูธุรกิจ ลดภาระค่าจ้างแรงงาน ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง แต่มีกลุ่มนายจ้างแค่เพียง 11% จากทั้งหมดที่ได้รับความช่วยเหลือ ในด้านการพักเงินต้นและดอกเบี้ย การผ่อนผันภาษี และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ดอกเบี้ย 2% ต่อปี)

        นอกจากนี้ มาตรการด้านการเงินที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการพยุงธุรกิจ หรือแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในช่วงวิกฤติ 3-6 เดือน ประชาชนกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมในด้านการลดภาระค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ การเตรียมเงินทุนสำหรับการฟื้นฟูกิจการ รวมถึงหาช่องทางในการระบายสินค้า 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มพนักงาน ลูกจ้าง แรงงาน 

        ผลกระทบต่อประชาชนในกลุ่มนี้มีทั้งการถูกลดค่าจ้าง รายได้ลดลง หรือธุรกิจที่ทำงานถูกสั่งปิด โดยมีผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 12% และความช่วยเหลือส่วนใหญ่ที่ได้รับเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายและมาตรการด้านการคลัง เช่น การลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลดหรือเลื่อนจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ พักเงินต้นและดอกเบี้ย เงินเยียวยา 5,000 บาทจากโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ปรับเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ สินเชื่อพิเศษ ฯลฯ 

        มาตรการที่กลุ่มลูกจ้างต้องการเพิ่มเติม คือการลดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพเพิ่มเติม อาทิเช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ อาหารและสินค้าที่จำเป็น รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเทอม กำหนดมาตรฐานการพักหนี้ให้ทุกสถาบันการเงินไปในลักษณะเดียวกัน เพื่อลดเงื่อนไขที่ยุ่งยากลง สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ความช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบ และชดเชยผลประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในประกันสังคม 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มอาชีพอิสระ

        ฟรีแลนซ์เป็นกลุ่มอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอน จึงไม่ผ่านเงื่อนไขต่างๆ ที่ภาครัฐตั้งไว้ ทำให้ส่วนใหญ่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และมีกลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือแค่ 11% ที่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ลดหรือเลื่อนการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ดังนั้น กลุ่มนี้จึงต้องการให้ภาครัฐปรับเงื่อนไขให้เหมาะสม ครอบคลุมทุกกลุ่มที่เดือดร้อน ประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจนทั่วถึง ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ยกเว้นการชำระภาษีทุกชนิด โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมถึง เพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ หรือต้องการให้รัฐมีงานทางเลือกให้ 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มผู้ว่างงาน

        ผู้ว่างงานเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด แต่กลับเข้าถึงความช่วยเหลือได้แค่ 9% ที่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ลดหรือเลื่อนการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งหากภาครัฐไม่เร่งเข้าช่วยเหลือ กลุ่มนี้ก็อาจจะอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน โดยผู้ว่างงานต้องการมาตรการที่ลดภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ช่วยจัดหางาน หรือส่งเสริมการพัฒนาทักษะ และการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ให้มากขึ้น 

        ข้อเสนอแนะในภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามทุกกลุ่ม คือต้องการให้รัฐบาลขยาย มาตรการเยียวยา ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ลดเงื่อนไขการเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือ จัดหางานให้ประชาชนที่ถูกเลิกจ้าง ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่จำเป็น เพื่อนำงบประมาณกลับมาช่วยเหลือประชาชน ลดความซับซ้อนในการเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ คืนภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือลดหย่อนภาษี รวมถึง ผ่อนปรนให้บางธุรกิจกลับมาเปิดทำการได้โดยมีเงื่อนไขที่เหมาะสมและปลอดภัย 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สามารถดูรายละเอียดของการสำรวจต่อได้ที่นี่ 

เรื่องแนะนำ

พาณิชย์ฯ ประกาศรางวัลการประกวด Thailand Franchise Award 2023 จัดพิธีมอบสุดยิ่งใหญ่เป็นปีที่ 4

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ประกาศรางวัลสุดยอดแฟรนไชส์ การประกวด Thailand Franchise Award 2023 : TFA 2023 จัดพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติสุดยิ่งใหญ่กับความสำเร็จอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 กับรางวัลแห่งเกียรติยศ 5 ประเภท 13 รางวัล เพื่อเชิดชูธุรกิจ แฟรนไชส์ที่มีศักยภาพและมีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน พัฒนาและส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีภาพลักษณ์ที่ดี น่าเชื่อถือ ก้าวสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจแฟรนไชส์ และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ และนักลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดประกวดรางวัลธุรกิจแฟรนไชส์ไทย (Thailand Franchise Award) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ไทย สร้างการรับรู้ ภาพลักษณ์ที่ดี และเผยแพร่ธุรกิจแฟรนไชส์ผ่านการจัดงานประกวดธุรกิจแฟรนไชส์ โดยปีนี้มีธุรกิจแฟรนไชส์สนใจสมัครเข้าร่วมจำนวน 54 แบรนด์ ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกอย่างเข้มข้น เพื่อที่จะได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศเกียรติคุณในฐานะต้นแบบธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในวันนี้ (10 กรกฎาคม 2566) ซึ่งรางวัลในการประกวดแบ่งออกเป็น 5 ประเภท 13 รางวัล โดยแฟรนไชส์ที่ได้รับรางวัลในปีนี้ ได้แก่ ประเภทที่ 1 รางวัลแฟรนไชส์ไทยยอดเยี่ยมตามขนาด รวม 3 รางวัล […]

การตลาดออนไลน์ ร้านอาหาร

4 อันดับ การตลาดออนไลน์ ร้านอาหาร ที่มาแรงสุดๆ

การตลาดออนไลน์ ร้านอาหาร มีความสำคัญมากสำหรับธุรกิจในยุคนี้ อย่างนั้นเรามาดูกันสิว่า การตลาดออนไลน์รูปแบบไหนที่เจ้าของร้านอาหารกำลังนิยมใช้ในขณะนี้

เปิดเพลงในร้านอาหาร

5 วิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์

ก่อนหน้านี้เรามักจะได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆว่า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่เปิดเพลงต่างๆ ภายในร้านของตัวเอง ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์งานเพลง หรือแม้แต่ข่าวตัวศิลปินเอง ที่นำเพลงมาร้องก็ถูกดำเนินคดีเช่นกัน ต้องบอกเลยว่าในยุคปัจจุบันนี้ ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เพลงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน และมีรายละเอียดมาก ซึ่งเจ้าของร้านบางราย หรือตัวศิลปินที่นำเพลงมาร้องตามร้านนั้น อาจจะยังไม่เข้าใจถึงข้อกฎหมายในเรื่องลิขสิทธิ์เพลงที่ชัดเจนมากพอ วันนี้ Amarin Academy จะมาอธิบายให้ทราบว่า จะมีวิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย และหากถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์งานเพลง ต้องทำอย่างไร มาดูกันค่ะ   5 วิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ ตรวจสอบรายชื่อเพลงที่จะใช้เปิด ว่ามีบริษัทใดจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์บ้าง ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.go.th เลือกใช้เพลงที่ศิลปินหรือค่ายเพลง ประกาศอนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ จำกัดการใช้งานเพลงเพื่อลดต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ และลดปัญหาการถูกดำเนินคดี ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของรายชื่อเพลงที่แจ้งจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง และต้องการจ่ายค่ายอมความจะต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ และระบุรายชื่อเพลง และจำนวนเงินที่ยอมความในบันทึกยอมความไว้เป็นหลักฐานเสมอ   สำหรับทั้ง 5 คำแนะนำข้างต้น เจ้าของร้านที่จะ เปิดเพลงในร้านอาหาร ควรจะต้องรีบตรวจสอบเลยค่ะ ว่างานเพลงที่ใช้เปิดอยู่นั้นมีเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ และดำเนินการเจรจาค่าลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตัวเจ้าร้านเองก็จะได้สบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกดำเนินคดีค่ะ แต่ถ้าหากพูดถึงอีกหนึ่งกรณี […]

ผู้ประกอบการ

ใจเขา ใจเรา…สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

นี่ไม่ใช่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู หรือยุคที่อยากจับจ่ายของฟุ่มเฟือยอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทุกคนต่างตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ อยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น และเริ่มวางแผนการเงินระยะยาว เพราะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด วิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบทั่วประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหาร ต่างได้รับผลกระทบ ล้มเรียงต่อกันเป็นโดมิโน ไม่เพียงแต่เจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนที่บาดเจ็บ แต่พนักงานระดับล่างของระบบที่รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน อาจเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกจ้าง และหยุดชั่วคราว ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน   ธุรกิจร้านอาหาร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส หากลองมองในมุมของ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารในช่วงนี้ แต่ละเจ้าต่างพลิกวิกฤติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเริ่มนำกลยุทธิ์ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นช่องทางหลัก โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย มีการปรับแผนการดำเนินงาน เน้นการซื้ออาหาร เครื่องดื่มกลับบ้านมากขึ้น เปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟให้กลายเป็นพนักงานส่งของ หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้เข้างานเป็นกะ สลับการเข้าออฟฟิศ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบางวิธีการที่ ผู้ประกอบการ พยายามรักษาเงินทุนและรักษาพนักงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ประกอบการจะประคับประคองปัญหาเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเรื่องที่น่าคิดต่อจากนี้คือ หลังวิกฤติครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะมีวิธีบริหารและจัดการกับหน้าร้านของตัวเองอย่างไร ให้สามารถนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ โดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อย่าง Social Distancing เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.