พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

        ร้านอาหารฟื้นตัว จากวิกฤตได้หรือไม่? เนื่องจาก “อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ขาดไม่ได้ ธุรกิจอาหารจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ไม่มีวันตาย เพียงแต่ว่าธุรกิจนี้มีการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ประกอบการจำนวนมากในตลาด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจขาลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัวพัฒนาอยู่เสมอ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ ก็ทำให้ร้านอาหารหลายๆร้านสามารถคิดหาหนทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจ แบบที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ หรือไม่เคยลองทำมาก่อนในภาวะปกติ เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้หลายคนได้ลองเปิดประตูบานใหม่

        ในด่านต่อไปที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องคิดวางแผนคือ หากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น และการแพร่ระบาดของไวรัสอยู่ในการควบคุมแล้ว ธุรกิจร้านอาหารจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไปต่อได้เร็ว และสามารถคว้าโอกาสได้ก่อน ลองมาดูปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว ได้เร็วหลังผ่านวิกฤตกันครับ  

ปัจจัยสำคัญช่วยให้ “ร้านอาหารฟื้นตัว” เร็วหลังวิกฤต

ร้านอาหารฟื้นตัว

 

1. สร้างฐานลูกค้าประจำให้กลับมาซื้อซ้ำ

        การขายแบบเดลิเวอรีหรือทางออนไลน์มากขึ้น ย่อมทำให้ทางร้านเก็บข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลการขายเมนูอาหารต่างๆ ได้ง่ายขึ้นมาก กลุ่มเป้าหมายของร้านก็จะชัดเจนมากขึ้น ทางร้านก็ต้องสร้างช่องทางการติดต่อ และช่องทางการสั่งอาหารให้ครบถ้วน มีแผนการตลาดที่ช่วยรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาซื้ออาหารซ้ำอีก อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ หากได้รับคำติชมก็สามารถแสดงความรับผิดชอบ และปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
        นอกจากนี้ การตลาดออนไลน์ของร้านอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกัน ควรมีการอัพเดตข้อมูลเมนูอาหาร โปรโมชันต่างๆ มาตรฐานความสะอาดในร้าน เพื่อสร้าง Brand awareness และเรียกความมั่นใจของลูกค้า รวมถึงพร้อมประชาสัมพันธ์ร้านอาหารในกรณีที่สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว 

2. รักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้าน

        ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมานี้ รายได้ที่ลดลงทำให้ผู้ประกอบการต้องจัดการกับต้นทุนที่ยังคงต้องจ่ายเท่าเดิม ตัวอย่างเช่น ค่าแรงพนักงาน ซึ่งร้านอาหารแต่ละที่ก็มีการจัดการแตกต่างกันไป บางแห่งใช้วิธีพูดคุยถึงปัญหาและหาทางออกร่วมกัน ทั้งการลดเงินเดือนพนักงานบางส่วน การเปลี่ยนช่วงเวลาทำงาน คิดหาผลิตภัณฑ์ใหม่มาจำหน่าย รวมถึงหารายได้เสริมทางอื่นๆ เพื่อให้ทั้งร้านและทีมงานสามารถไปต่อด้วยกันได้ 

        อย่าลืมว่าการบริหารจัดการพนักงานเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของร้านอาหาร กว่าที่ร้านจะรับสมัครพนักงานในทีมที่เหมาะสมมาได้ไม่ใช่เรื่องง่าย การรักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้าน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการหาพนักงานใหม่ ประหยัดเวลาที่ใช้เทรนงาน และการดำเนินงานในร้านไหลลื่นขึ้น เพราะร้านอาหารไม่สามารถทำคนเดียวได้ และทีมงานที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วขึ้นแน่นอน 

ร้านอาหารฟื้นตัว

3. วางแผนธุรกิจล่วงหน้า

        การวิเคราะห์และวางแผนล่วงหน้าจะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้เร็วขึ้น เพราะทุกอย่างได้ผ่านการคิดหาลู่ทางไว้แล้ว ไม่ใช่แค่ Plan A แต่จะต้องมี Plan B, C, D และอื่นๆ เท่าที่จะคิดได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อรองรับในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งอาจจะวางแผนในด้านต่างๆ ตามหลัก 7Ps ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ

  • People (พนักงาน)
    เช่น จำนวนพนักงานที่พร้อมทำงานเมื่อสามารถเปิดหน้าร้านได้ เงินเดือนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานต่างๆ การฝึกอบรมพนักงานใหม่ให้ได้ตามมาตรฐานของร้าน
  • Process (ขั้นตอนการทำงาน)
    การแบ่งหน้าที่ภายในร้านที่จะเปลี่ยนไปหลังจากให้คนนั่งทานในร้านได้ การปรับเปลี่ยนเวลาทำการของร้านหลังจบเคอร์ฟิว จะมีการจัดการต้นทุนอย่างไรให้ร้านมีกำไรเท่าที่ตั้งเป้าหมายไว้
  • Physical Evidence (สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ)
    การรักษามาตรฐานความสะอาดของอาหาร และภายในร้านเพื่อความมั่นใจของลูกค้า
  • Price (ราคา)
    การตั้งราคาเมนูอาหารที่ขายหน้าร้าน และราคาอาหารเมนูทางเดลิเวอรีที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า และร้านยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนให้ได้กำไร
  • Product (ผลิตภัณฑ์)
    ต้องปรับเมนูอาหารในร้านอย่างไรเมื่อสามารถให้ลูกค้านั่งทานในร้านได้แล้ว จะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่คิดไว้ในช่วงปิดร้านมาต่อยอดอย่างไร ให้ร้านมีช่องทางหารายได้มากขึ้น
  • Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย)
    ทั้งการขายผ่านสื่อออนไลน์ แอปพลิเคชันเดลิเวอรี และการขายหน้าร้าน ร้านอาหารจะสามารถรองรับลูกค้าได้แค่ไหน หรือวางผังที่นั่งในร้านอย่างไรจึงจะมี social distance ที่เหมาะสม? ทำเลของร้านอาหารเหมาะสมหรือไม่?
  • Promotion (การส่งเสริมการขาย) ร้านจะมีแผนการตลาดที่จะดึงดูดลูกค้าอย่างไร

        หรือแม้แต่คิดว่าถ้าเกิดการระบาดอีกครั้งจะมีแผนรองรับอย่างไร? คำถามเหล่านี้ก็เป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร เพราะต้องคำนึงถึงรายละเอียดมากมาย แต่การวางแผนเหล่านี้จะช่วยให้คว้าโอกาสในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดปัญหาต่างๆ  

ร้านอาหารฟื้นตัว


4. สร้างคุณค่าด้วยจุดเด่นของร้าน

        ในสถานการณ์ที่เพิ่งฟื้นตัว เกือบทุกร้านต้องแข่งกันเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค เพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปจากการปิดหน้าร้าน และแน่นอนว่าร้านอาหารขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็ก ย่อมไม่สามารถจัดโปรโมชันสู้ “สงครามราคา” กับเครือข่ายธุรกิจอาหารขนาดใหญ่แบบ Food Chain Restaurant ได้
        การแข่งขันลดราคาอย่างเดียวจึงไม่ใช่ทางออกที่ดี จะต้องใช้การตลาดแบบไหนที่จะช่วยดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น? ร้านควรหาสิ่งที่เป็นจุดเด่นของร้านมาชูเป็นจุดขาย สร้างความแตกต่างด้วยความคิดสร้างสรรค์ ทำเมนูใหม่ๆ ที่น่าประทับใจ และทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยต้นทุนที่มีอยู่

 

        หากช่วงเวลาที่แย่ที่สุดผ่านพ้นไป สถานการณ์ของร้านอาหารก็จะดีขึ้น เพราะมีผู้บริโภคที่ออกมาใช้จ่ายกันมากในช่วงแรกๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยอดขายของร้านในระยะยาวอาจจะไม่สามารถกลับมาเท่ากับช่วงปกติ ด้วยสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่ต้องใช้เวลาในการพักฟื้น ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างประหยัด รวมถึงบางส่วนก็มาทำอาหารเองมากขึ้น

ทำให้ความท้าทายของผู้ประกอบการร้านอาหารก็ยังมีอยู่เสมอ เราก็คงต้องติดตามข่าวสารต่างๆ ปรับแผนการไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่หยุดที่จะพัฒนาต่อไปครับ 

เรื่องแนะนำ

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

5 ปัญหาวัตถุดิบ สุดคลาสสิค แก้ได้ กำไรมา!

การบริหารจัดการวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ ถือเป็นกฎเหล็กของคนทำร้านอาหารที่ช่วยให้คุณสามารถควบคุมต้นทุนอาหารได้ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน มาดูกันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆกับคนทำร้านอาหารในด้าน ปัญหาวัตถุดิบ มีอะไรบ้าง แล้วสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยวิธีใด   5 ปัญหาวัตถุดิบ สุดคลาสสิค แก้ได้ กำไรมา!   1. วัตถุดิบเน่าเสีย วัตถุดิบเน่าเสีย เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยอันดับต้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการจัดเก็บผิดวิธี ขาดขั้นตอนในการนำไปใช้งาน เจ้าของร้านอาหารจึงต้องให้ความสำคัญกับวิธีการจัดเก็บวัตถุดิบที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมของวัตถุดิบแต่ละชนิด การตัดแต่งก่อนการจัดเก็บที่ถูกต้อง  รวมถึงวางระบบสต็อกวัตถุดิบ การจัดเรียงวัตถุดิบเพื่อให้สอดคล้องกับอายุการใช้งาน การทำบันทึกเพื่อให้เกิดการนำมาใช้ในลักษณะ first in first out  ให้ความสำคัญกับการกำหนดขั้นตอนการทำงานของทีมงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้การนำวัตถุดิบมาใช้เป็นระบบ รวมถึงอย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องว่าทำงานได้อย่างสมบูรณ์ทุกครั้ง ก็จะช่วยลดปัญหาเน่าเสียได้   2.คุณภาพของวัตถุดิบลดลง             การจัดเก็บวัตถุดิบ ส่งผลต่อคุณภาพของอาหารโดยตรง แต่ในบางครั้งจัดเก็บวัตถุดิบไว้อย่างดีแล้ว แต่คุณภาพของวัตถุดิบกลับลดลง เพราะการทำงานที่ซ้ำซ้อนของทีมงานครัว เช่น การทำความสะอาดวัตถุดิบก่อนจัดเก็บ และก่อนปรุง ทำให้สูญเสียคุณภาพของวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผักบางชนิด นอกจากนี้ปัญหาอาจเกิดจากการขาดการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบที่รับจากซัพพลายเออร์ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการจัดส่ง สินค้าตรงตามที่ต้องการ หรือการทดแทนวัตถุดิบที่ขาดตลาดทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น การกำหนด SOP ในแต่ละขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง […]

Go Mass หรือ Go Niche โตแบบไหนเหมาะกับร้านของคุณ

                “เมื่อสินค้าไม่ได้แตกต่าง ลูกค้าจะเปรียบเทียบที่ราคาเสมอ” นั่นเป็นเหตุผลว่าคุณจะต้องทำร้านอาหารให้แตกต่างจากคู่แข่ง สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความแตกต่าง นอกจากการออกแบบสินค้าและบริการ ก็คือ การทำการตลาดและการสร้างแบรนด์ แล้วจะสร้างแบบไหน Go Mass หรือ Go Niche ที่เหมาะสมกับร้านของคุณ บทความนี้มีคำตอบ   >>MASS คืออะไร Niche เป็นแบบไหน ?             การมุ่งตลาด Mass คือ การทำร้านอาหารเพื่อตอบโจทย์คนหลายกลุ่ม มีความต้องการชัดเจน มีขนาดตลาดที่ใหญ่ ในขณะที่ Niche คือ การเจาะกลุ่มตลาดเฉพาะ มีขนาดตลาดที่แคบลงมา มีผู้เล่นน้อยราย มุ่งการสร้างมูลค่าให้กับสินค้า และสามารถขายสินค้าในระดับราคาที่สูงมากกว่า Mass ยกตัวอย่าง สมัยก่อนร้านอาหารญี่ปุ่นมีความนิยมที่จำกัด เนื่องจากมีราคาสูง นิยมแค่คนไทยที่เคยไปท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่น ร้านอาหารญี่ปุ่นจึงไปแฝงตัวตามย่านธุรกิจที่มีคนญี่ปุ่นทำงานและใช้ชีวิตอยู่ เช่น สุขุมวิท สีลม จึงเป็นตลาดที่ค่อนข้าง Niche […]

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง   โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost) ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.