พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

        ร้านอาหารฟื้นตัว จากวิกฤตได้หรือไม่? เนื่องจาก “อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ขาดไม่ได้ ธุรกิจอาหารจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ไม่มีวันตาย เพียงแต่ว่าธุรกิจนี้มีการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ประกอบการจำนวนมากในตลาด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจขาลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัวพัฒนาอยู่เสมอ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ ก็ทำให้ร้านอาหารหลายๆร้านสามารถคิดหาหนทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจ แบบที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ หรือไม่เคยลองทำมาก่อนในภาวะปกติ เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้หลายคนได้ลองเปิดประตูบานใหม่

        ในด่านต่อไปที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องคิดวางแผนคือ หากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น และการแพร่ระบาดของไวรัสอยู่ในการควบคุมแล้ว ธุรกิจร้านอาหารจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไปต่อได้เร็ว และสามารถคว้าโอกาสได้ก่อน ลองมาดูปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว ได้เร็วหลังผ่านวิกฤตกันครับ  

ปัจจัยสำคัญช่วยให้ “ร้านอาหารฟื้นตัว” เร็วหลังวิกฤต

ร้านอาหารฟื้นตัว

 

1. สร้างฐานลูกค้าประจำให้กลับมาซื้อซ้ำ

        การขายแบบเดลิเวอรีหรือทางออนไลน์มากขึ้น ย่อมทำให้ทางร้านเก็บข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลการขายเมนูอาหารต่างๆ ได้ง่ายขึ้นมาก กลุ่มเป้าหมายของร้านก็จะชัดเจนมากขึ้น ทางร้านก็ต้องสร้างช่องทางการติดต่อ และช่องทางการสั่งอาหารให้ครบถ้วน มีแผนการตลาดที่ช่วยรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาซื้ออาหารซ้ำอีก อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ หากได้รับคำติชมก็สามารถแสดงความรับผิดชอบ และปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
        นอกจากนี้ การตลาดออนไลน์ของร้านอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกัน ควรมีการอัพเดตข้อมูลเมนูอาหาร โปรโมชันต่างๆ มาตรฐานความสะอาดในร้าน เพื่อสร้าง Brand awareness และเรียกความมั่นใจของลูกค้า รวมถึงพร้อมประชาสัมพันธ์ร้านอาหารในกรณีที่สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว 

2. รักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้าน

        ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมานี้ รายได้ที่ลดลงทำให้ผู้ประกอบการต้องจัดการกับต้นทุนที่ยังคงต้องจ่ายเท่าเดิม ตัวอย่างเช่น ค่าแรงพนักงาน ซึ่งร้านอาหารแต่ละที่ก็มีการจัดการแตกต่างกันไป บางแห่งใช้วิธีพูดคุยถึงปัญหาและหาทางออกร่วมกัน ทั้งการลดเงินเดือนพนักงานบางส่วน การเปลี่ยนช่วงเวลาทำงาน คิดหาผลิตภัณฑ์ใหม่มาจำหน่าย รวมถึงหารายได้เสริมทางอื่นๆ เพื่อให้ทั้งร้านและทีมงานสามารถไปต่อด้วยกันได้ 

        อย่าลืมว่าการบริหารจัดการพนักงานเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของร้านอาหาร กว่าที่ร้านจะรับสมัครพนักงานในทีมที่เหมาะสมมาได้ไม่ใช่เรื่องง่าย การรักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้าน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการหาพนักงานใหม่ ประหยัดเวลาที่ใช้เทรนงาน และการดำเนินงานในร้านไหลลื่นขึ้น เพราะร้านอาหารไม่สามารถทำคนเดียวได้ และทีมงานที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วขึ้นแน่นอน 

ร้านอาหารฟื้นตัว

3. วางแผนธุรกิจล่วงหน้า

        การวิเคราะห์และวางแผนล่วงหน้าจะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้เร็วขึ้น เพราะทุกอย่างได้ผ่านการคิดหาลู่ทางไว้แล้ว ไม่ใช่แค่ Plan A แต่จะต้องมี Plan B, C, D และอื่นๆ เท่าที่จะคิดได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อรองรับในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งอาจจะวางแผนในด้านต่างๆ ตามหลัก 7Ps ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ

  • People (พนักงาน)
    เช่น จำนวนพนักงานที่พร้อมทำงานเมื่อสามารถเปิดหน้าร้านได้ เงินเดือนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานต่างๆ การฝึกอบรมพนักงานใหม่ให้ได้ตามมาตรฐานของร้าน
  • Process (ขั้นตอนการทำงาน)
    การแบ่งหน้าที่ภายในร้านที่จะเปลี่ยนไปหลังจากให้คนนั่งทานในร้านได้ การปรับเปลี่ยนเวลาทำการของร้านหลังจบเคอร์ฟิว จะมีการจัดการต้นทุนอย่างไรให้ร้านมีกำไรเท่าที่ตั้งเป้าหมายไว้
  • Physical Evidence (สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ)
    การรักษามาตรฐานความสะอาดของอาหาร และภายในร้านเพื่อความมั่นใจของลูกค้า
  • Price (ราคา)
    การตั้งราคาเมนูอาหารที่ขายหน้าร้าน และราคาอาหารเมนูทางเดลิเวอรีที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า และร้านยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนให้ได้กำไร
  • Product (ผลิตภัณฑ์)
    ต้องปรับเมนูอาหารในร้านอย่างไรเมื่อสามารถให้ลูกค้านั่งทานในร้านได้แล้ว จะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่คิดไว้ในช่วงปิดร้านมาต่อยอดอย่างไร ให้ร้านมีช่องทางหารายได้มากขึ้น
  • Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย)
    ทั้งการขายผ่านสื่อออนไลน์ แอปพลิเคชันเดลิเวอรี และการขายหน้าร้าน ร้านอาหารจะสามารถรองรับลูกค้าได้แค่ไหน หรือวางผังที่นั่งในร้านอย่างไรจึงจะมี social distance ที่เหมาะสม? ทำเลของร้านอาหารเหมาะสมหรือไม่?
  • Promotion (การส่งเสริมการขาย) ร้านจะมีแผนการตลาดที่จะดึงดูดลูกค้าอย่างไร

        หรือแม้แต่คิดว่าถ้าเกิดการระบาดอีกครั้งจะมีแผนรองรับอย่างไร? คำถามเหล่านี้ก็เป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร เพราะต้องคำนึงถึงรายละเอียดมากมาย แต่การวางแผนเหล่านี้จะช่วยให้คว้าโอกาสในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดปัญหาต่างๆ  

ร้านอาหารฟื้นตัว


4. สร้างคุณค่าด้วยจุดเด่นของร้าน

        ในสถานการณ์ที่เพิ่งฟื้นตัว เกือบทุกร้านต้องแข่งกันเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค เพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปจากการปิดหน้าร้าน และแน่นอนว่าร้านอาหารขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็ก ย่อมไม่สามารถจัดโปรโมชันสู้ “สงครามราคา” กับเครือข่ายธุรกิจอาหารขนาดใหญ่แบบ Food Chain Restaurant ได้
        การแข่งขันลดราคาอย่างเดียวจึงไม่ใช่ทางออกที่ดี จะต้องใช้การตลาดแบบไหนที่จะช่วยดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น? ร้านควรหาสิ่งที่เป็นจุดเด่นของร้านมาชูเป็นจุดขาย สร้างความแตกต่างด้วยความคิดสร้างสรรค์ ทำเมนูใหม่ๆ ที่น่าประทับใจ และทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยต้นทุนที่มีอยู่

 

        หากช่วงเวลาที่แย่ที่สุดผ่านพ้นไป สถานการณ์ของร้านอาหารก็จะดีขึ้น เพราะมีผู้บริโภคที่ออกมาใช้จ่ายกันมากในช่วงแรกๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยอดขายของร้านในระยะยาวอาจจะไม่สามารถกลับมาเท่ากับช่วงปกติ ด้วยสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่ต้องใช้เวลาในการพักฟื้น ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างประหยัด รวมถึงบางส่วนก็มาทำอาหารเองมากขึ้น

ทำให้ความท้าทายของผู้ประกอบการร้านอาหารก็ยังมีอยู่เสมอ เราก็คงต้องติดตามข่าวสารต่างๆ ปรับแผนการไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่หยุดที่จะพัฒนาต่อไปครับ 

เรื่องแนะนำ

เผยสูตรคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร คุมค่าใช้จ่ายให้เป๊ะก่อนเปิดร้าน

เพราะการทำร้านอาหารจะกำไรหรือขาดทุน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของร้านอาหารควบคุม ต้นทุนร้านอาหาร ได้ดีขนาดไหน การกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะช่วยทำให้ตั้งราคาขาย และกำหนดยอดขายในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม  ที่สำคัญยังช่วยให้ป้องกันปัญหาต้นทุนพุ่งจนกระทบยอดรายได้  เพราะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม   โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ที่สำคัญมีอะไรบ้าง คำนวณอย่างไรไม่ขาดทุน   1.ต้นทุนอาหาร (วัตถุดิบ) ต้นทุนวัตถุดิบอาหาร หมายรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ปรุง การตกแต่งจาน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ การทราบต้นทุนอาหาร ช่วยให้กำหนดราคาขายต่อเมนูได้อย่างแม่นยำ สูตรการคิดคำนวณต้นทุนอาหาร ต้องคำนวณจาก Yield หรือวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง เป็นหลัก เพราะฉะนั้นร้านอาหารจะต้องหา Yield ของวัตถุดิบทุกชนิด โดยขั้นตอนก็คือ การชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ และทำการเตรียมวัตถุดิบพร้อมสำหรับการปรุง เช่น เนื้อปลา เมื่อหั่นให้ได้ขนาดชิ้นตามสูตร SOP ที่กำหนดแล้ว ให้นำเนื้อปลาหลังตัดแต่ง และเนื้อปลาส่วนที่ตัดทิ้ง มาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบเพื่อคำนวณ   ค่าเปอร์เซ็นต์ Yield =  ปริมาณหลังตัดแต่ง […]

เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์ ทำอาหารต้องถอดเครื่องประดับ! แหล่งสะสมเชื้อโรค มาตรฐานที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ

ถอดบทเรียน เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์ ทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ! เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี มาตรฐานความปลอดภัย ที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ เวลาทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ!!! รู้หรือไม่ว่าเครื่องประดับที่เราใส่ ๆ กันอยู่ทุกวันเนี่ย เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดีเลยนะ วันก่อนแอดได้เห็นโพสต์ที่เจ้าของร้านจิวเวลรีคนหนึ่งได้มาแชร์เป็นอุทาหรณ์ให้กับสมาชิกในกลุ่ม “เบเกอรี่พอเพียง” ถึงเรื่องการใส่เครื่องประดับทำขนมว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะการใส่แหวน เพราะว่ามันสกปรกมาก อีกทั้งยังได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์เรื่องความสะอาดของอาหารและร้านนั้น ๆ ด้วย 🔸แหล่งสะสมเชื้อโรค🤢 เจ้าของร้านจิวเวลรี่รายนี้ได้โพสต์ถึงประเด็นนี้ว่า “ว่ากันด้วยเรื่องของการใส่แหวนในการทำเบเกอรี่ ในฐานะของเจ้าของร้านจิวเวลรี่ อยากจะบอกทุกคนว่าให้ถอดก่อนทำเถอะค่ะ เพราะแหวนที่เราเห็นว่าสวยวิบวับเนี่ย ด้านในท้องแหวนหรือตามซอกเตยที่เกาะเพชร มันสกปรกมากเลยนะคะ เวลาเห็นคนที่ไลฟ์สดหรืออาจารย์ที่สอนตามคอร์สออนไลน์ใส่แหวนทำแล้วนี่รู้สึกไม่ดีทุกครั้ง เพราะเจอเวลาลูกค้าส่งแหวนมาทำความสะอาด มันไม่โอเคจริงๆ ค่ะ แล้วถ้าแม่ค้าใส่แหวนด้วยความเคยชินไม่ได้ถอด นึกภาพกันออกมั้ยคะว่าเรากำลังกินเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ แม้มันจะผ่านความร้อนแล้วก็ตาม” พร้อมเสริมว่า “การทำความสะอาดแหวนทุกวันไม่ได้การันตีว่าแหวนเราจะสะอาดหมดจด เพราะตามซอกหลืบเล็กที่แปรงเข้าไม่ถึงยังมีเชื้อโรคที่สะสมอยู่ต้องทำความสะอาดด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิค เครื่องใหญ่แบบที่ใช้ในโรงงานเท่านั้น ถึงจะสะอาดจริง ๆ ซึ่งเธอยังได้บอกอีกว่าการมาโพสต์ในครั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาโจมตีใคร หากทำให้ท่านใดรู้สึกเห็นต่าง หรือไม่พอใจก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย 🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬 เมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มเบเกอรี่พอเพียงทั้งคนขายและลูกค้าต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์ว่าการใส่เครื่องประดับทำอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งคนทำเบเกอรีหลายคนก็ได้บอกว่าตั้งแต่ทำขนมขายก็ไม่ได้ใส่เครื่องประดับเลย ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ความถนัด ความสะอาด เป็นต้น […]

โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ พลิกโฉมกาแฟห้องแถว สู่ร้านกาแฟทันสมัยแต่แฝงกลิ่นไอความคลาสสิก

โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ มีวิธีการปรับตัวเพื่ออยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงอย่างไร และมีเคล็ดลับการรักษาแบรนด์อย่างไร ไม่ให้ถูกกลืนหายไปกับกระแสสังคม

ลดต้นทุน เพิ่่มกำไร

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หัวใจของการลด ต้นทุน ในร้านอาหาร อยู่ที่การจัดการกับวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการเตรียมและปรุงอาหาร แม้จะเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ แต่เจ้าของร้านไม่ควรละเลย เพราะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้จริง โดยไม่ต้องขึ้นราคาอาหารให้ลูกค้าหนีไปไหน  ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด หากร้านของคุณยังมีปัญหาต้นทุนอาหารสูง วัตถุดิบขาดสต๊อกจนไม่พอขาย หรือมากเกินไปจนใช้ไม่ทัน จัดเก็บวัตถุดิบไม่ดีจนบางส่วนเน่าเสีย หรือลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทั้งหมดนี้เป็นเงินทุนของเราที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ทั้งนั้น ลองเอาวิธีการลดต้นทุนร้านอาหารเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ ใส่ใจการจัดการวัตถุดิบอาหาร เรียงลำดับการใช้วัตถุดิบ ทำ Tracking number หรือจัดเรียงวัตถุดิบแบบ FIFO (First In First Out) ให้วัตถุดิบที่หมดอายุเร็วกว่าให้ถูกหยิบไปใช้ก่อน ป้องกันไม่ให้วัตถุดิบเสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุ สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) เช่น สเต็กหนึ่งจาน จะใช้เนื้อปริมาณกี่กรัม เพื่อเตรียมแบ่งวัตถุดิบเนื้อเป็นไซส์เท่าที่ต้องการเท่า ๆ กันไว้ให้พร้อมใช้งาน ช่วยควบคุมต้นทุนอาหาร และมาตรฐานของอาหารแต่ละจานให้คงที่ ทำให้เจ้าของร้านวางแผนได้คร่าวๆ ว่าควรสต๊อกวัตถุดิบไว้เท่าไหร่ และคำนวณต้นทุนได้ง่ายขึ้น   ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม อาหารในแต่ละเมนูควรจะเสิร์ฟในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสังเกตจากปริมาณอาหารที่เหลือกลับมาในแต่ละเมนู ถ้าจานไหนมีอาหารเหลือบ่อยๆ อาจจะปรับปริมาณให้เหมาะกับการทานมากขึ้น หลักการปรุงแบบ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.