สอนพนักงานครัว ให้เป็นงาน ก่อนเปิดร้าน 7 วัน - Amarin Academy

สอนพนักงานครัว ให้เป็นงาน ก่อนเปิดร้าน 7 วัน

สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการทำร้านอาหารก็คือ ประสิทธิภาพของทีมงานร้านอาหาร โดยเฉพาะทีมงานครัว ที่ถือเป็นกำลังฝ่ายผลิต ที่มีส่วนสำคัญต่อคุณภาพร้านอาหาร จึงต้องมีการฝึกอบรม เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนการปฏิบัติงานครัว เพื่อให้ทำงานสอดคล้องกับทีมงานในแต่ละส่วนได้อย่างดี ซึ่งก่อนที่เราจะไปดูว่าเทคนิค สอนพนักงานครัว ให้เป็นงานได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วันนั้น ทำได้อย่างไร เรามาทราบขั้นตอนเบื้องต้นของการฝึกอบรมทีมงานครัวกันก่อนค่ะ

 

ขั้นตอนเบื้องต้นของการฝึกอบรม สอนพนักงานครัว

1.ปฐมนิเทศพนักงาน

ร้านอาหารก็ควรจัดให้มีการปฐมนิเทศพนักงานเช่นเดียวกับการทำธุรกิจอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานเข้าใจภาพรวมขององค์กร สร้างความเข้าใจโครงสร้างองค์กร เข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเข้าใจกฏระเบียบต่าง ๆ

           ♦ ปฐมนิเทศพนักงานครัวด้วยเรื่องอะไรบ้าง?

  • ข้อมูลบริหารบุคคลที่ต้องรู้ก่อนร่วมงาน เช่น กฏระเบียบการเข้างาน ค่าตอบแทน โบนัส วันเวลาทำงาน
  • วิสัยทัศน์ ความมุ่งหมายของการทำร้านอาหาร
  • แนะนำทีมงานร้าน
  • รู้จักกับเมนูอาหารของร้าน หรือมีการทดลอง การชิมสูตรอาหารในวันนั้นๆ
  • แนะนำ Facility ต่าง ๆ ของห้องครัว
  • แนะนำขั้นตอนการอบรมงานครัวต่าง ๆ

 

2. แนะนำการปฏิบัติงาน

เริ่มการสอนงานด้วยการทำความเข้าใจขั้นตอน อุปกรณ์  หน้าที่ในแต่ละวัน ช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน รวมถึงเข้าใจภาพรวมของการทำงานในส่วนร้านอาหารทั้งหมด การอบรมพนักงนเป็นการเปิดโอกาสให้ได้ฝึกสังเกตการณ์งานในหลายๆส่วน ที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็น การจัดเตรียมอาหารก่อนการปรุง ขั้นตอนการปรุงของเชฟ การทำงานของบาร์เทนเดอร์ การรับลูกค้า การให้บริการเสิร์ฟ

3. การเทรนงาน ของหัวหน้างาน

หัวหน้างานจะมีการเทรนงานก่อน เพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอนการทำงานที่เป็นมาตรฐานอย่างถูกต้องทั้งหมด  ซักซ้อมทำความเข้าใจ ตอบข้อสงสัย รวมถึงตรวจสอบทักษะในการทำงานขั้นพื้นฐาน เพื่อฝึกปฏิบัติและให้คำแนะนำที่เหมาะสม อาจเริ่มจากวิธีการปฏิบัติให้ดู และให้ปฏิบัติตาม การปล่อยให้สอนงานทีมงานคนอื่น โดยในระยะเริ่มแรก อาจจับคู่ระหว่างพนักงานที่มีประสบการณ์แล้วมาเป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติงานเพื่อลดความผิดพลาด

4. เปิดโอกาสให้ประชุมร่วมกันของพนักงานเก่าและใหม่

ควรมีการประชุมร่วมกันระหว่างพนักงานเก่าและพนักงานใหม่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเริ่มทำงาน และเปิดโอกาสให้สอบถาม แนะนำการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

5. ทบทวนการปฏิบัติงาน

เมื่อได้รับทราบข้อมูล ได้ฝึกอบรมการปฏิบัติหน้าที่แล้ว ควรเปิดโอกาสให้พนักงานใหม่ได้ทบทวนข้อมูลการทำงาน และวางแผนการทำงานในส่วนของตัวเองให้สอดประสานกับทีมงาน และเป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของร้านอาหาร SOP ที่ได้วางเอาไว้

6. การทดสอบการปฏิบัติงาน

พนักงานใหม่อาจต้องใช้เวลาในการปรับตัว แม้ว่าจะมีการวางระบบการทำงานตามขั้นตอนไว้แล้ว การทดสอบการปฏิบัติงานเป็นการวัดผลทั้งการฝึกอบรม วัดผลการทำงานของพนักงาน ช่วยแก้ไขจุดบกพร่อง และยังช่วยให้เกิดการพัฒนาการทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

7. วัดผลการฝึกอบรม

เพราะงานบริการร้านอาหารจะมีความท้าทาย และโจทย์ใหม่ๆ ที่ต้องแก้ไขจากลูกค้าทุกวัน หลังจากร้านปิดจึงเป็นหน้าที่ของทีมงานร้านอาหารทุกคนที่ควรวัดผลการทำงานของตัวเอง  โดยหัวหน้างานซึ่งนอกจากมีหน้าที่ในการฝึกอบรมแล้ว ต้องสามารถวัดผลการทำงานจริงของทีม วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น วางแนวทางแก้ไข และพัฒนาทีมงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

คราวนี้ก็มาถึงการทำ Road Map Training ของพนักงานในแต่ละหน้าที่ต่างออกไป รวมถึงพนักงานครัวด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างการทำ Road Map Training ตำแหน่ง ผู้ช่วยพ่อครัว เรามาดูกันว่าเทคนิค สอนพนักงานครัว (ตำแหน่ง ผู้ช่วยพ่อครัว) ให้เป็นงานภายใน 7 วันก่อนเปิดร้านทำได้อย่างไร

วันที่ 1

  • แนะนำทีมงานร้านอาหาร และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขอนามัย

วันที่ 2

  • เรียนรู้การจัดเตรียมวัตถุดิบ และการเตรียมอุปกรณ์ตู้แช่

วันที่ 3

  • เรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์เตา + การจัดวางหน้าเตา +ระบบความปลอดภัย

วันที่ 4

  • เรียนรู้การเปิด-ปิดครัว + การปรุงวัตถุดิบซอสพื้นฐาน +การหมัก +การผัด

วันที่ 5

  • เรียนรู้การจัดทำสต็อก + การตรวจคุณภาพวัตถุดิบ +การทำเช็คลิสต์ + การทำ QSC

วันที่ 6

  • เรียนรู้การทำสูตร SOP + การจัดตารางคิวงานและกำลังคน

วันที่ 7

  • เรียนรู้ระบบการรันออเดอร์

 

                ระบบการฝึกอบรมทีมงานร้านอาหารที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการจัดทำ SOP ที่ชัดเจน จะทำให้ร้านประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยาก เป็นโอกาสดี ที่คุณสามารถเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ และนำไปใช้งานจริง และถ้าอยากให้ร้านของคุณเติบโตมากกว่าที่คุณคิด ไม่ควรพลาดกับหลักสูตรที่เข้มข้นที่สุดในรอบปี  Operation Setup วางระบบร้านอาหารอย่างมืออาชีพ รุ่นที่ 4  ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากวิทยากร  ที่การันตีความสำเร็จ จากประสบการณ์การบริหารธุกิจร้านอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ กับ Blue Elephant International, YUM Brand LSG Sky Chef , Minor Food และ Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์ คุณธามม์ ประวัติตรี   วันอังคารที่ 29 และวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 09.00 -17.00 น.

 

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ  คลิก!!

 

เรื่องแนะนำ

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

เผยสูตรคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร คุมค่าใช้จ่ายให้เป๊ะก่อนเปิดร้าน

เพราะการทำร้านอาหารจะกำไรหรือขาดทุน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของร้านอาหารควบคุม ต้นทุนร้านอาหาร ได้ดีขนาดไหน การกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะช่วยทำให้ตั้งราคาขาย และกำหนดยอดขายในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม  ที่สำคัญยังช่วยให้ป้องกันปัญหาต้นทุนพุ่งจนกระทบยอดรายได้  เพราะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม   โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ที่สำคัญมีอะไรบ้าง คำนวณอย่างไรไม่ขาดทุน   1.ต้นทุนอาหาร (วัตถุดิบ) ต้นทุนวัตถุดิบอาหาร หมายรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ปรุง การตกแต่งจาน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ การทราบต้นทุนอาหาร ช่วยให้กำหนดราคาขายต่อเมนูได้อย่างแม่นยำ สูตรการคิดคำนวณต้นทุนอาหาร ต้องคำนวณจาก Yield หรือวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง เป็นหลัก เพราะฉะนั้นร้านอาหารจะต้องหา Yield ของวัตถุดิบทุกชนิด โดยขั้นตอนก็คือ การชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ และทำการเตรียมวัตถุดิบพร้อมสำหรับการปรุง เช่น เนื้อปลา เมื่อหั่นให้ได้ขนาดชิ้นตามสูตร SOP ที่กำหนดแล้ว ให้นำเนื้อปลาหลังตัดแต่ง และเนื้อปลาส่วนที่ตัดทิ้ง มาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบเพื่อคำนวณ   ค่าเปอร์เซ็นต์ Yield =  ปริมาณหลังตัดแต่ง […]

ทำร้านอาหาร

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ!

เวลาได้คุยกับคนที่เริ่ม ทำร้านอาหาร หลายคนชอบบอกว่าเขาอยากทำร้าน เพราะชอบทำอาหาร เวลาทำให้ญาติหรือเพื่อนๆ กินมีแต่คนบอกว่าอร่อย และเชียร์ให้เปิดร้านเลย

  หาพนักงานไม่ได้ พนักงานลาออกกะทันหันทำอย่างไรดี เชื่อว่าปัญหานี้เจ้าของร้านอาหารทุกคนไม่อยากเจอ เพราะนอกจากเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการหาคนทำงานแทนแล้ว ความไม่พร้อมด้านกำลังคนอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการและเสียลูกค้าไปในที่สุด มาเรียนรู้ขั้นตอนแก้สถานการณ์ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องหัวหมุนนี้ไว้ก่อนจะดีกว่า   ประเมินสถานการณ์ วางแผนการทำงานโดยคาดการณ์จำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการต่อวัน  โดยร้านส่วนใหญ่จะมีระบบ POS สามารถดูสถิติจำนวนลูกค้าได้  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดจ้างพนักงานร้านอาหารแบบ Part time  การจ้างเฉพาะช่วงเวลาขายดีเพื่อทดแทนกำลังที่ขาด จะทำให้คุณไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายจาการจ้างงานเต็มวัน นอกจากนี้ควรวางแผนกำลังคนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับลักษณะร้าน เช่น ร้านอาหารแบบบุฟเฟต์เน้นการเตรียมของ เติมของ เคลียร์ภาชนะที่รวดเร็ว อาจเพิ่มพนักงานในส่วนนั้น และดึงพนักงานประจำที่เชี่ยวชาญแล้ว มาคอยบริหารจัดการลูกค้าหน้าร้านแทน   มอบหมายหน้าที่ บริหารจัดการคนที่มีอยู่ให้ดีที่สุด การมอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารผิดพลาด โดยเฉพาะพนักงานบริการที่ต้องรับมือกับลูกค้าโดยตรง  วิธีที่ง่ายวิธีหนึ่ง คือ การกำหนดจำนวนโต๊ะ  และโซนที่รับผิดชอบให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงานบริการที่มีอยู่ จากนั้นกำหนดเวลาในการบริการแต่ละขั้นตอน เช่น หลังจากลูกค้านั่งที่โต๊ะ ตั้งไว้เลยว่าอีกกี่นาทีรับออเดอร์ รวมถึงการเสิร์ฟอาหาร การเคลียร์จานเข้าออก พนักงานที่มีอยู่ต้องหมั่นคอยสังเกตความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เกิดการบริการที่ลื่นไหล และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการบริการและความใส่ใจอย่างเต็มที่ ในขณะที่ฝ่ายเตรียมอาหาร ต้องมีการวางแผนอาหารในแต่ละออเดอร์ให้แม่นยำ เพื่อการบริการอย่างดีที่สุด   ครอบคลุมโซนพื้นที่ในการให้บริการ ในกรณีที่ลูกค้าไม่เยอะ การปิดพื้นที่บางส่วน  หรือเชื้อเชิญลูกค้าให้นั่งในพื้นที่ที่กำหนด […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.