เปิดร้านของตัวเอง VS ซื้อ แฟรนไชส์ แบบไหนดีกว่ากัน? - Amarin Academy

เปิดร้านของตัวเอง VS ซื้อแฟรนไชส์ แบบไหนดีกว่ากัน?

เชื่อว่าหลายคน มีความคิดว่าอยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเองสักครั้ง แต่การจะเริ่มต้นทำธุรกิจนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ โดยเฉพาะมือใหม่ที่อยากเริ่มมีธุรกิจของตัวเอง ที่ต้องคิดทั้งเรื่องสินค้า การตลาด บัญชี การเงิน เยอะแยะไปหมด และมักจะมีคำถามว่าจะลงทุน เปิดร้านของตัวเอง หรือซื้อแฟรนไชส์ จะเลือกแบบไหนดี? มาดูกันว่าข้อดี ข้อเสียของทั้งสองแบบว่าเป็นอย่างไร แล้วค่อยมาตัดสินใจให้เหมาะกับธุรกิจของคุณเองกันค่ะ

 

เปิดร้านของตัวเอง VS ซื้อแฟรนไชส์ เลือกแบบไหนดี?

ข้อดีของการเปิดร้านของตัวเอง

  1. มีอิสระในการบริหารจัดการ การตัดสินใจและกำหนดทิศทางธุรกิจของเราเองได้อย่างเต็มที่ สามารถทำตามไอเดียของตัวเอง สร้างแบรนด์ที่เป็นตัวตนของเราเองได้ ถ้าเป็นธุรกิจอาหารก็สามารถที่จะเพิ่ม หรือดัดแปลงสูตรเมนูของร้านได้ อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูง ในการปรับเปลี่ยนพัฒนาธุรกิจ การสร้างแบรนด์เองอาจจะเหมาะกับคนรุ่นใหม่ หรือคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ อยากทำอะไรใหม่ๆ แบบที่ไม่ต้องตามแบบใครค่ะ
  2. การเปิดร้านเอง อาจไม่ต้องลงทุนสูงมาก เพราะบางคนก็มีทุนน้อย หรือมีจำกัด แต่อยากที่จะทำธุรกิจ ก็สามารถทำได้ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านใหญ่จนเกินตัว ค่อยๆเริ่มต้นจากธุรกิจเล็กๆ แล้วต่อยอดไปเรื่อยๆ จนสามารถขยายกิจการ สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ในอนาคต
  3. เรื่องส่วนแบ่งกำไร หากคุณเปิดร้านเอง แน่นอนว่า คุณไม่จำเป็นต้องแบ่งกำไร คุณสามารถบริหารกำไรของคุณทั้งหมดได้เอง
  4. อย่างที่บอกว่าใครก็อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แล้วหากคุณทำได้ ข้อดีนี้ก็คือ ความภาคภูมิใจที่คุณทำ และมีความสุขที่ได้เริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ และถ้ายิ่งพัฒนาไปจนแบรนด์ประสบความสำเร็จ ก็คงเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจมากๆเลยค่ะ

 

ข้อเสียของการ เปิดร้านของตัวเอง

  1. อาจมีปัญหาเรื่องการลงทุน และค่าใช้จ่าย ด้วยความที่เป็นมือใหม่ ทำให้ต้องเริ่มลงทุนและสร้างธุรกิจด้วยตัวเองทั้งหมด และคาดการณ์การสั่งซื้อสินค้าด้วยตัวเอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายบานปลายเป็นจำนวนมาก
  2. เปิดร้านเองก็คือ การเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ต้องสร้างระบบการบริหารจัดการเอง ต้องวางแผนธุรกิจเอง ไม่มีการแนะนำขั้นตอนที่เป็นระบบถูกต้อง อาจทำให้เกิดความล่าช้า เพราะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ วางรากฐาน ศึกษาระบบต่างๆ ในระยะแรก ซึ่งถ้าขาดความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการทำธุรกิจอย่างเป็นระบบ ก็อาจทำให้ธุรกิจไปต่อได้ยาก
  3. ด้านความน่าเชื่อถือ สำหรับผู้ที่เปิดร้านเอง อาจจะต้องใช้เวลาในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เริ่มสร้างแบรนด์จากศูนย์ ยิ่งถ้ามีคู่แข่งจำนวนมาก ก็ยิ่งต้องเหนื่อยกับการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
  4. อำนาจการต่อรองกับผู้ผลิตน้อย ยังไม่สามารถต่อรองกับผู้ผลิตได้มากนัก เนื่องจากจำนวนการสั่งซื้อสินค้ายังเป็นจำนวนที่ไม่มาก

 

ข้อดี ของการซื้อแฟรนไชส์

  1. สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้เลย เร็วทันใจ เพราะมีระบบการจัดการและการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานเตรียมไว้ให้แล้ว สามารถนำไปใช้ได้เลย รวมถึงมีการฝึกอบรมก่อนเปิดร้าน ซึ่งในบางแฟรนไชส์อาจมีการจัดอบรมต่อเนื่อง และยังเตรียมพร้อมเรื่องการสนับสนุนวัตถุดิบ อุปกรณ์ และรูปแบบร้านให้อีกด้วย
  2. ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก ไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างแบรนด์ใหม่ ไม่ต้องทำการตลาดใหม่ เพราะส่วนใหญ่แฟรนไชส์ต่างๆ มักจะเป็นที่รู้จักในระดับหนึ่งแล้ว ลูกค้าก็เกิดความมั่นใจ การตัดสินใจซื้อสินค้าก็ง่ายตามไปด้วย
  3. ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพ เป็นบริษัทใหญ่ๆ มีสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน ก็มีโอกาสที่จะอยู่รอดสูง และยิ่งหากมีระบบการบริหารงานที่ดี ทำการตลาดต่อเนื่อง เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก ก็มีโอกาสทำกำไรสูงไปด้วยค่ะ
  4. สามารถที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์ มักร่วมมือกับสถาบันการเงินในการปล่อยกู้เพื่อทำธุรกิจแฟรนไชส์ หรือต้องการติดต่อขอสินเชื่อ ก็มีโอกาสที่จะอนุมัติสูงกว่าร้านที่เพิ่งเปิดและยังไม่เป็นที่รู้จัก

 

ข้อเสีย ของการซื้อแฟรนไชส์

  1. มีข้อกำหนด หรือข้อจำกัดจากเจ้าของแฟรนไชส์ ที่ไม่สามารถทำให้มีอิสระในการจัดการธุรกิจได้อย่างเต็มที่ เช่น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนสูตรได้ หรือแม้แต่ ราคา โปรโมชั่น ก็อาจต้องเป็นไปตามที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนดมา ซึ่งข้อเสียนี้อาจทำให้เสียโอกาสบางประการไปได้
  2. ต้องเตรียมเงินหนึ่งเพื่อใช้ซื้อสิทธิ์ในการบริหารร้าน ค่าแฟรนไชส์ หรืออาจต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าก่อนเริ่มธุรกิจด้วย
  3. อาจต้องมีการแบ่งกำไรจากยอดขายบางส่วนให้แก่แฟรนไชส์ เพื่อใช้ในการสนับสนุนการสร้างแบรนด์ และทำการตลาดอื่นๆ ทำไรกำไรลดลงกว่าเดิม
  4. เสี่ยงต่อการเสียชื่อเสียงโดยสาขาอื่น เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์นั้นมีหลายสาขา ซึ่งหากสาขาอื่นๆ บริการผิดพลาด หรือเกิดเรื่องที่ทำให้เสียชื่อเสียง ก็อาจส่งผลกระทบมาถึงสาขาของเราด้วยเช่นกัน ยิ่งอยู่ในยุคที่กระแสโซเชียลสามารถส่งข่าวสารไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วด้วยแล้ว ก็อาจส่งผลกระทบต่อยอดขายได้เลยทีเดียวค่ะ

 

ได้รู้ทั้งข้อดี และข้อเสียของการ เปิดร้านของตัวเอง กับการซื้อแฟรนไชส์กันไปแล้ว ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป คงจะตัดสินไม่ได้ซะทีเดียวว่าแบบไหนจะดีกว่ากัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของธุรกิจแต่ละประเภทด้วย รวมถึงความต้องการ และความพร้อมของเจ้าของธุรกิจ แต่ไม่ว่าจะทำธุรกิจใดๆ ก็ตาม ควรที่จะศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจนั้นๆ อย่างละเอียดรอบคอบ รวมถึงกลยุทธ์ต่างๆ ในการทำให้ธุรกิจอยู่รอด และไปได้สวยด้วยค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูล  taokaemai.com

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

How to 10 เทคนิค ถ่ายภาพอาหารให้น่ากิน

วิธีเก็บผัก เก็บอย่างไรให้ถูกต้อง และเก็บได้นาน

วิธี คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้! by คุณ ธามม์ ประวัติตรี

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหา รับมืออย่างไรให้เจ๋ง พลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้

เรื่องแนะนำ

Food Stylist อาชีพสุดครีเอทของวงการร้านอาหาร

หน้าที่ของฟู้ดสไตลิสต์ ( Food Stylist ) คือ ตกแต่งอาหารให้สวยงาม ชวนรับประทาน ส่วนใหญ่มักทำงานร่วมกับเชฟ ในการแต่งจานเพื่อถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ แน่นอนว่าหน้าตาอาหารที่สวยงามขึ้นจะทำให้สามารถเพิ่มราคาอาหารให้สูงขึ้นตามไปด้วย   ฟู้ดสไตลิสต์ ( Food Stylist ) อาชีพFood Stylist เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยเรื่องของรสนิยม เพราะฉะนั้นการหยิบจับ ผสมผสานของใกล้ตัวมาจัดวางให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ สร้างความแตกต่าง กระตุ้นให้คนเห็นอาหารแล้วอยากทานจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ ประสบการณ์ และจินตนาการ ฟู้ดสไตลิสต์ที่ดี ควรจะรักในการทำอาหาร เข้าใจธรรมชาติของวัตถุดิบ และวิธีการปรุงที่แตกต่างกัน มีความคิดสร้างสรรค์ พิถีพิถันใส่ใจในรายละเอียด และรักการเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถดึงจุดเด่น จิตวิญญาณ ดึงความเป็นตัวตนของอาหารออกมาให้เด่นชัด นำเสนอแก่คนที่ต้องการเสพสื่อจากเราให้ได้มากที่สุด ทำอย่างไรให้คนรู้สึกว่าเห็นอาหารแล้วอยากหยิบเข้าปาก ไม่ใช่ทำอาหารให้แค่ดูสวยเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องน่าทานด้วย “Food Stylist อาจไม่ใช่คนที่ทำอาหารเป็นหรือเก่ง แต่ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของอาหาร”   หลักจิตวิทยากับหน้าตาของอาหาร การจัดวางอาหารมีผลต่อความอยากรับประทานไม่น้อย ในยุคที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาท ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนหันมาสนใจการถ่ายภาพมากขึ้น แม้แต่ตัวนักเขียนเองยังชื่นชอบการถ่ายภาพรีวิวอาหาร เพราะอาหารคือปัจจัย 4 เป็นเรื่องที่ทุกคนทุกระดับเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งภาพอาหารยังเป็นวิธีที่ผู้คนใช้บอกเล่าคนอื่นๆ ว่ากำลังทำอะไรอยู่ โดยการโพสต์ภาพเมนูจานเด็ดผ่านโซเชียล […]

กิมมิกร้านอาหาร ร้าน Cabbages & Condom Restaurant แจก “ถุงยาง” ให้ลูกค้า!

ร้านอาหาร + ถุงยาง ร้าน Cabbages & Condom Restaurant เครื่องดื่มและอาหารของร้านจะไม่ทำให้คุณท้องแน่นอน ปกติหลังใช้บริการร้านอาหารเสร็จ ร้านมักจะแจกลูกอมเล็ก ๆ น้อย ๆ อะไรอย่างนี้ให้ใช่ไหมคะ แต่ร้านนี้เขาแจก “ ถุงยาง ” ค่ะ! ใช่ค่ะ คุณเห็นไม่ผิดหรอก เพราะร้านนี้เขาแจก ถุงยาง ให้ลูกค้าที่มาใช้บริการจริง ๆ ร้านที่ว่านี้มีชื่อว่า “Cabbages & Condom Restaurant” ตั้งอยู่ที่สุขุมวิท 12 เป็นร้านอาหารของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน หรือ The Population and Community Development Association หรือ PDA โดย คุณมีชัย วีระไวทยะ เจ้าของฉายา “ราชาแห่งถุงยาง อนามัย” ที่ส่วนหนึ่งริเริ่มมาจากความต้องการช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ ทำไมต้อง Cabbages & Condom […]

ซื้อเก้าอี้ร้านอาหาร

5 ปัจจัยที่ควรคำนึงก่อนเลือก ซื้อเก้าอี้ร้านอาหาร

หลายคนอาจคิดว่าการ ซื้อเก้าอี้ร้านอาหาร แค่ซื้อให้เหมาะสมกับสไตล์การตกแต่งร้านก็คงเพียงพอแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า การซื้อเก้าอี้ส่งผลต่อยอดขายของเราเหมือนกัน

4 ข้อเตรียมเปิดร้านที่บ้าน ร้านเล็กๆ  ลงทุนน้อย เตรียมตัวไม่มาก แค่ลงมือทำ!

#เทรนด์ใหม่ธุรกิจ ทำหน้าบ้านให้เป็นร้านเล็กๆ  ลงทุนน้อย เตรียมตัวไม่มาก แค่ลงมือทำ! 4 ข้อพื้นฐานเตรียมตัว เปิดร้านที่บ้าน หลัง ๆ มานี้เราสามารถพบเห็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่บ้านมาเป็นพื้นที่ในการทำธุรกิจ/หารายได้กันมากขึ้น เนื่องด้วยปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่พัฒนาและเอื้ออำนวยให้การ เปิดร้านที่บ้าน สามารถทำได้ง่ายขึ้น อย่างการมีแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ หรือพื้นที่โซเชี่ยลมีเดียในการประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จัก ทำให้พื้นที่ตั้งของร้านไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าเราจะขายได้หรือไม่ได้อีกต่อไป โดยทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า บ้าน ใครมีปัจจัยที่เอื้อต่อการทำร้านมากขนาดไหนด้วย การขายที่บ้านจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่อยากหารายได้ แต่ยังไม่กล้าลงทุนมาก ไม่อยากไปเสียค่าเช่า ไปจนถึงไม่อยากต้องไปขายในที่ไกล ๆ ฯลฯ แต่ทว่าการจะขายที่บ้านนั้น ไม่ใช่ว่าอยากจะเปิดก็เปิดได้เลย แต่ยังต้องมีการเตรียมพร้อมในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้ และไม่เกิดปัญหากวนใจภายหลัง ลองมาดูการเตรียมตัวขั้นพื้นฐาน เพื่อ เปิดร้านที่บ้าน กัน! 🔸ขายได้ไหม🤔 ถ้าบ้านใครไม่ได้อยู่ในบ้านจัดสรร ก็ข้ามข้อนี้ไปได้เลย แต่ถ้าบ้านเราอยู่ในหมู่บ้าน โครงการบ้านจัดสรร การขออนุญาต สอบถามทางผู้ดูแลโครงการ หรือผู้มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของหมู่บ้าน เพื่อยืนยันให้แน่ใจว่ากฎของที่พักอาศัยนั้น ๆ กำหนดไว้ ให้เราสามารถทำบ้านเป็นร้านได้หรือไม่ เนื่องจากเคยมีกรณีที่ลูกบ้านท่านหนึ่งต้องการจะเปิดร้านที่บ้าน แต่ไม่สามาถทำได้ เพราะโครงการไม่อนุญาต ทั้งนี้จึงขึ้นอยู่กับกฎ/ข้อตกลง มติของแต่ละหมู่บ้านว่ากำหนดไว้อย่างไร […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.