วิเคราะห์ ปัญหาร้านอาหาร ทำการตลาดดีแต่ไม่มีลูกค้าประจำ - Amarin Academy

วิเคราะห์ ปัญหาร้านอาหาร ทำการตลาดดีแต่ไม่มีลูกค้าประจำ

เชื่อไหมว่า… ปัญหาร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านประสบชะตากรรมยอดขายตก มักจะมีคำถามว่าทำการตลาดอย่างไรดีช่วงนี้ให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะ ๆ แทนที่จะตั้งคำถามว่า Operation อย่างไรให้ดี จนลูกค้าบอกต่อโดยไม่ต้องทุ่มงบทำการตลาด ซึ่งเจ้าของร้านอาหารบางท่าน ก็ไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า Operation ทำหน้าที่ไล่ลูกค้าไปกี่คนแล้วต่อเดือน !

 

ทำไมการตลาดเรียกลูกค้า Operation ไล่ลูกค้า ?

            ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การจัดทำโปรโมชั่น ล้วนเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับร้าน ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และตัดสินใจลองใช้บริการมากขึ้นในช่วงนั้น ๆ ซึ่งร้านอาหารมีโอกาสที่จะเปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้เป็นลูกค้าประจำ และทำให้ลูกค้าประจำมีการซื้อมากขึ้นได้ ในทางกลับกันถ้า Operation มีจุดบอดก็จะเปิดโอกาสให้ลูกค้ามาเจอกับประสบการณ์ที่ไม่ดีได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริการไม่ดี อาหารออกช้า ความไม่คงที่ของรสชาติและปริมาณ แทนที่จะเพิ่มยอดขาย กลับทำให้ร้านเกิดผลกระทบด้านลบในระยะยาวแทน เช่นเดียวกัน ถ้าหากร้านของคุณยังมีปัญหาด้าน Operation ก็ยากที่จะครองใจลูกค้าไว้ได้ แม้จะดันการตลาดมากแค่ไหนก็ตาม

 

การตลาดที่ดีต้องคำนึงถึงการ Operation หน้าร้านด้วย

            กรณีศึกษา เกิดขึ้นกับร้านอาหารในประเทศจีน ทำการตลาดกินฟรี โดยกำหนดช่วงเวลา เพื่อหวังให้ร้านเป็นที่รู้จักในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ปรากฏว่าการจัดการหน้าร้านไม่สามารถรองรับจำนวนลูกค้าที่ล้นหลามได้ และยังทำให้ร้านอาหารประสบกับปัญหาขาดทุนจากการจัดการต้นทุนที่ผิดพลาด แทนที่ร้านจะมีชื่อเสียงกลับทำให้เจ้าของร้านต้องตัดสินใจปิดร้านในเวลาอันรวดเร็ว การทำการตลาดจึงต้องคำนึงถึงความพร้อมของการจัดการหน้าร้านด้วย

 

แก้ปัญหา Operation ให้ส่งเสริมการทำตลาดได้อย่างเหมาะสม

            อย่างที่กล่าวว่า การตลาดที่ดีจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการรับมือกับการจัดการหน้าร้านได้ แต่บางครั้งการแข่งขันที่รุนแรง จำเป็นที่จะต้องทำการตลาดเชิงรุกเพื่อเข้าหาลูกค้ากลุ่มใหม่ และสร้างโอกาสขายให้ได้มากที่สุดด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม เพราะฉะนั้นก่อนที่จะละทิ้งไอเดียการตลาดที่ดีบางอย่าง ควรใช้เป้าหมายเป็นที่ตั้ง และขบคิดเพื่อหาแนวทางร่วมกันเสียก่อน เพื่อทำให้เซต Operation ให้สามารถรับมือกับการทำการตลาดได้อย่างเหมาะสม

 

การทำงานที่ไม่เกิดการแชร์ข้อมูลกันและกัน

            ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการนำมาวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์ทำการตลาด  

เจ้าของร้านอาหารจึงควรสร้างระบบการทำงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ได้ โดยเฉพาะข้อมูลจากฝ่ายการให้บริการลูกค้า ที่ใกล้ชิดกับลูกค้าโดยตรง ฝ่ายครัวที่ให้ข้อมูลด้านการจัดการวัตถุดิบ ความยากง่ายในการเตรียมเมนูต่าง ๆ ต้นทุน เพดานราคาในการทำส่วนลด เพื่อให้เกิดการวางกลยุทธ์ที่สอดคล้องกันและกันได้

 

เมื่อทำการตลาดจึงต้องวัดผล Operation ด้วย

            การทำการตลาดแต่ละครั้ง จะต้องมีการวัดผลว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ เช่น การเข้าถึงลูกค้าใหม่ การรับรู้แบรนด์หรือสินค้าใหม่ หรือดันยอดขายให้เพิ่มมากขึ้น ร้านอาหารควรจะใช้โอกาสนี้ในการวัดผลความพึง   พอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการ เพื่อคาดถึงแนวโน้มการใช้บริการซ้ำอีกด้วย ซึ่งควรตรวจสอบความคุ้มค่าของต้นทุนที่ใช้ ทั้งต้นทุนการตลาดที่ใช้ ต้นทุนเวลา ต้นทุนแรงงาน เพื่อสามารถวิเคราะห์ได้ว่าความสำเร็จ และความล้มเหลวเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง เกิดจากแผนการตลาดที่ไม่ดีหรือการ Operation ที่ผิดพลาดหน้างาน และควรจะแก้ไขอย่างไรบ้าง

 

            การตลาดที่ดีเป็นเหมือนการรบเชิงรุกต้อนคนเข้าร้าน  ส่งให้ Operation เป็นการรบเชิงรับสร้างความพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าทั้งรสชาติและการบริการ ทั้งสองฝ่ายจึงต้องทำงานสอดคล้องกันและกัน บ่อยครั้งที่ร้านอาหารทุ่มงบทำการตลาด แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ นั่นก็เพราะโฟกัสไปที่การปรับกลยุทธ์การตลาด หรือเพิ่มงบประมาณในการทำการตลาดเพียงอย่างเดียว แทนที่จะแก้ไขงาน Operation ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

 

“เพราะอย่าลืมว่า มาตรฐานการบริการ และรสชาติ

นั้นคือการโฆษณาของร้านที่ดีที่สุด

 

มาร่วมเรียนรู้หลักสูตรที่จะทำให้คุณเซตทุกระบบร้านอาหารได้อย่างมืออาชีพ กับหลักสูตร  Operation Setup  วางระบบร้านอาหารอย่างมืออาชีพ รุ่นที่ 4  ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากวิทยากร ที่การันตีความสำเร็จจาร้านอาหารกลุ่ม Minor Food คุณธามม์ ประวัติศรี วันอังคารที่ 29 และวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 09.00 -17.00 น.

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ  คลิก

Operation Setup

เรื่องแนะนำ

หลุด!! โพสต์ขายโปรแกรมปลอมสลิป เนียนจนน่ากลัว เตือนผู้ประกอบการเช็กยอดเงินเข้าก่อนให้ออกจากร้าน

ระวังโปรแกรม ปลอมสลิป ตั้งได้ทุกย่าง เลือกธนาคาร เวลาโอน ชื่อคนรับ!! หลุด! โพสต์ขายโปรแกรม ปลอมสลิป เนียนจนน่ากลัว เช็กยอดเงินเข้าก่อนให้ออกจากร้าน เตือนภัยร้านอาหาร และคนทำมาค้าขายทุกคน! เดี๋ยวนี้มิจฉาชีพมีมาในทุกรูปแบบจริง ๆ อย่างเช่นกรณีนี้ที่แอดได้ไปเจอมาว่าตอนนี้มันมีโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำ “ สลิปปลอม ” ที่สามารถกรอกข้อมูลอะไรได้ทุกอย่างเสร็จสรรพ แบบเนียนมาก ใครไม่เช็คดี ๆ อาจถูกหลอกได้อย่างง่าย ๆ     แล้วที่สำคัญกลุ่มคนพวกนี้ดูจะไม่ได้เกรงกลัวกฎหมายอะไรเลย เพราะเขาโพสต์ขายสลิปปลอมกันโต้ง ๆ บนกลุ่มเฟซบุ๊ก! ซึ่งจากที่แอดได้ลองแฝงตัวเข้าไปในกลุ่ม จะมาเตือนภัย และชี้ให้เห็นว่าภัยจากสลิปปลอมอยู่ใกล้ตัวเรามาก ๆ     อย่างที่บอกว่าเจ้าตัวเว็บทำ “ปลอมสลิป” เนี่ย มันเนียนมาก เพราะมันสามารถกรอกทั้งชื่อบัญชีที่โอน, เลขบัญชี, ชื่อบัญชีรับเงินที่เป็นใครก็ได้, ยอดเงินเท่าไหร่, โอนวัน/เวลาไหน แถมยังมีรหัสอ้างอิง คิวอาร์โค้ดครบ พร้อมโลโก้ธนาคารที่เราใช้กันได้อย่างเหมือนเด๊ะ น่ากลัวมาก     แสดงให้เห็นเลยว่าเทคโนโลยีเป็นเหมือนดาบสองคม ถ้าคนเอาไปใช้ในทางที่ดี ก็ส่งเสริมให้ดีไป […]

ต้นทุนอาหารควบคุมได้ กำไรเห็น ๆ

  การกำหนดต้นทุนอาหารส่วนใหญ่จะกำหนดไม่เกิน 35-40 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมด โดยสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กันคือต้นทุน เท่ากับ ยอดขาย (ราคาขาย ) คูณด้วยเปอร์เซนต์ของต้นทุน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำหนดต้นทุนและยอดขายโดยประมาณไว้แล้ว เราก็จะได้จำนวนต้นทุนเพื่อควบคุมไว้ให้ไม่เกิน ยกตัวอย่าง ยอดขาย 90,000 คูณด้วย 35 เปอร์เซนต์ เท่ากับต้นทุนต้องไม่เกิน 31,500  บาท เป็นต้น ระบบการควบคุมต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ควรทำควบคู่กับระบบการจัดทำ Recipe  เพื่อกำหนดราคาขาย  และการกำหนด SOP เพื่อจัดการเมนูอาหาร   การจัดทำ  recipe เพื่อลงรายละเอียดของวัตถุดิบ   การจัดทำ recipe นั้นจะช่วยให้เรากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ประเมินงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบ และยังช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบ ยกตัวอย่าง ดังนั้น ข้าวไข่ข้นกุ้งเมนูนี้ จึงมีต้นทุนอยู่ที่ 14.4 % หากขายที่ราคา 90  บาท นอกจากนี้ การคำนวณวัตถุดิบควรลงละเอียดในเรื่องของ yield  (การหาค่าเฉลี่ยวัตถุดิบ) ลงไปด้วยเพื่อการกำหนดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของการจัดทำ Recipe […]

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง   โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost) ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน   […]

5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง

ผู้จัดการร้าน เปรียบเสมือนตัวแทนของเจ้าของร้านอาหาร  ถ้าผู้จัดการร้านทำหน้าที่ได้อย่างดี เจ้าของร้านอาหารแทบจะไม่ต้องแก้ปัญหาจุกจิกใด ๆ เลย และยังมีส่วนสำคัญให้ร้านของคุณเติบโตได้ตามเป้าหมายอีกด้วย   5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง เก่งคน             การจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานให้เหมาะสม  ให้คำแนะนำในการทำงานแก่พนักงาน  ผู้จัดการที่ดีจะต้องเป็นตัวแทนในการคัดเลือก ฝึกอบรม จ้างพนักงาน รักษาพนักงานที่ดี และคัดพนักงานที่เป็นปัญหาออก รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานอีกด้วย ถ้าผู้จัดการร้านไม่สามารถจัดการทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าเกิดปัญหาหน้างานขึ้นมาแล้วก็เหมือนงูกินหาง ทำให้ร้านล้มเหลวไม่เป็นท่าในที่สุด   เก่งลูกค้า             ผู้จัดการร้านอาหารจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า ควบคุมและพัฒนาการบริการของพนักงานเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ   และฝึกให้สามารถรับมือกับลูกค้าเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะหากลูกค้าไม่พอใจด่านสำคัญที่จะต้องตัดสินใจแก้ปัญหาคือ ผู้จัดการร้าน  นอกจากกำหนดนโยบายในการรับมือถ้าหากลูกค้าไม่พอใจแล้ว เจ้าของร้านควรให้บทบาทที่เหมาะสมในการตัดสินใจแก่ผู้จัดการร้านไว้เป็นกิจจะลักษณะ เช่น สิทธิในการให้ส่วนลดเพื่อชดเชยความไม่พอใจแก่ลูกค้า   เก่งวางแผน             หน้าที่ในการตรวจเช็คของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่ของเล็กน้อย อย่างกระดาษเช็ดปาก ที่รองจาน อุปกรณ์ตกแต่ง ของใช้จำเป็นอื่น ๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมในการใช้งาน การจัดทำสต็อกสินค้าเพื่อจัดซื้อตามรอบ ในบางร้านอาจต้องประสานกับทีมครัวเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นความละเอียดรอบคอบ และความสามารถในการคาดการณ์จำนวนให้เพียงพอต่อการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็น […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.