5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ให้แกร่งที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

ร้านอาหารหลายร้านเปิดตัวมาอย่างดี แต่ต่อมามาตรฐานกลับลดลง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร หรือการบริการที่เกิดความล่าช้าจนลูกค้าเข็ดไม่มาอีกต่อไป สาเหตุสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การขาดประสิทธิภาพของทีมงานหลังร้าน บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนที่จำเป็นต่อการ เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องรู้

 

ขั้นตอน 1  รู้จักโครงสร้างทีมงานหลังร้าน

ทีมงานหลังร้านและหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย

  • หัวหน้าเชฟ /รองหัวหน้าเชฟ/หัวหน้าส่วนครัวต่าง ๆ

มีส่วนช่วยในการบริหารการบริการลูกค้า ร่วมวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับงานบริการด้านอาหาร ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของอาหาร รับผิดชอบเวลาออกอาหาร รวมถึงการเสิร์ฟให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องบริหารต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการสอนงาน มอบหมายงาน และดูแลทีมงานครัวด้วย

  • พนักงานครัว

หน้าที่หลัก ๆ คือการปฏิบัติงานครัว ควบคุมมาตรฐาน ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด ช่วยดูแลควบคุมปริมาณของเสีย

  • ฝ่ายสนับสนุน

แผนกที่ช่วยดูแลเรื่องเอกสารต่าง ๆ ของธุรกิจ การจัดการเงินและบัญชี ดูแลการตลาดของธุรกิจ  ดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานร้านอาหาร

operation setup

จะเห็นได้ว่าทีมงานครัวมีหน้าที่สำคัญคือการผลิต แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การปรุงอาหาร แต่ยังมีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงการกำหนดคุณภาพ การจัดสรร ควบคุมต้นทุน และช่วยส่งเสริมงานบริการหน้าร้าน ในขณะเดียวกันทีมงานหลังร้านก็ยังรวมไปถึงแผนกสนับสนุน ที่เตรียมความพร้อมด้านการเงิน การบริหารบุคคล บัญชีและการตลาดด้วย หากขาดระบบที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสองทีมหลักนี้ ร้านอาหารก็ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ขั้นตอนที่ 2  การฝึกอบรม และการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม

            ระบบการสอนงานที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกในการสร้างทีมที่แข็งแกร่ง การอบรมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้รู้ขั้นตอน ข้อกำหนดในการทำงานที่เกิดขึ้น ในสภาพการทำงานบนพื้นที่จริงต่าง ๆ ทั้งนี้การออกแบบสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานเป็นทีม ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในส่วนทีมงานหลังร้านด้วยกันเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถทำหน้าที่สอดประสานกับทีมงานในส่วนอื่นๆ ได้ด้วย เพราะแต่ละส่วนล้วนมีความสำคัญในการดำเนินงาน ให้ร้านอาหารเติบโตทั้งสิ้น หากพนักงานมีปัญหากันก็ไม่มีทางที่ร้านจะสามารถดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี

ขั้นตอนที่ 3  การร่วมออกแบบขั้นตอนในการทำงาน

            ทีมงานจะต้องรู้หน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน และรู้ขั้นตอนในการทำงานที่ถูกต้องตามโครงสร้างของร้านเพื่อไม่ให้เกิดการทำงานที่ทับซ้อน และสามารถรับผิดชอบงานของตัวเองให้ลุล่วงตามที่กำหนด การออกแบบขั้นตอนในการทำงาน รวมถึงการจัดทำคู่มือที่จำเป็นต่อการทำงานทั้งหมด จะต้องมีรูปแบบที่เหมาะสมกับการทำงานแต่ละส่วน และเปิดโอกาสให้ทีมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบแก้ไขหากว่าข้อกำหนดเหล่านั้นไม่สอดคล้องกับการทำงานในสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป

operation setup

ขั้นตอนที่ 4 การสร้าง Mission ให้กับทีมอยู่เสมอ

            เป้าหมายที่ชัดเจน จะช่วยวางทิศทางให้ทุกคนในทีมเห็นภาพเดียวกัน โดยเจ้าของร้านอาหารจะต้องเป็นผู้ให้ Vision และ Mission ในการทำงานแก่ทีมงานที่ชัดเจน และเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมกับการทำงานนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายทางด้านรายได้ หรือการเติบโตในระยะสั้น จนถึงระยะยาว รวมถึงมีแนวทางที่ชัดเจนในการให้ค่าตอบแทน การพัฒนา และการเติบโตของหน้าที่การงานในอนาคตด้วย

 

ขั้นตอนที่ 5  การคาดการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น

            งานร้านอาหารโดยเฉพาะทีมครัวเป็นงานที่เหนื่อย หนัก และต้องอยู่ภายใต้สภาวะความกดดัน การแข่งขันกับเวลา และต้องรับผิดชอบต่อมาตรฐานทุกจานที่เสิร์ฟ นอกจากการบริหารจัดการเวลา ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ออกแบบตารางงานเพื่อไม่ให้เกิดความเหนื่อยล้ามากเกินไปแล้ว ยังต้องคาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรือสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของทีม เช่น ปัญหาด้านกำลังคน ด้านวัตถุดิบ เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้น และระยะยาว มีแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่เหมาะสม และลดปัญหาหน้างานให้ได้มากที่สุด การออกแบบสภาพแวดล้อม และสนับสนุนเครื่องมือในการทำงานที่เอื้อต่อการทำงานจะช่วยให้การบริหารทีมเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

operation setup

จากขั้นตอนทั้งหมดที่ได้กล่าวมา เรียกได้ว่าเป็นแนวทางในการสร้างทีมงานหลังร้านที่แข็งแกร่ง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งจะสามารถพาร้านก้าวผ่านวิกฤตและสร้างกำไรได้ในที่สุด

           

รู้ทุกเรื่องที่คุณไม่เคยรู้ เพื่อให้ร้านของคุณเติบโตได้มากกว่าที่คิดกับหลักสูตรที่เข้มข้นที่สุดในรอบปี Operation Setup วางระบบร้านอาหารอย่างมืออาชีพ รุ่นที่ 4  ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากวิทยากร  ที่การันตีความสำเร็จ จากประสบการณ์การบริหารธุกิจร้านอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ กับ Blue Elephant International, YUM Brand LSG Sky Chef , Minor Food และ Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์ คุณธามม์ ประวัติตรี   วันอังคารที่ 29 และวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 09.00 -17.00 น.

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ  คลิก

เรื่องแนะนำ

ถอดบทเรียน MK

ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน

ในปี 2560 MK มีรายได้รวมกว่า 16,000 บาท! เพราะอะไร ร้านอาหารง่ายๆ ถึงครองใจคนไทยมาได้นานขนาดนี้ แถมยังทำรายได้แตะหลักหมื่นล้าน! เราจะมา ถอดบทเรียน MK ให้ฟัง

ผู้ประกอบการ

ใจเขา ใจเรา…สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

นี่ไม่ใช่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู หรือยุคที่อยากจับจ่ายของฟุ่มเฟือยอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทุกคนต่างตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ อยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น และเริ่มวางแผนการเงินระยะยาว เพราะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด วิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบทั่วประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหาร ต่างได้รับผลกระทบ ล้มเรียงต่อกันเป็นโดมิโน ไม่เพียงแต่เจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนที่บาดเจ็บ แต่พนักงานระดับล่างของระบบที่รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน อาจเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกจ้าง และหยุดชั่วคราว ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน   ธุรกิจร้านอาหาร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส หากลองมองในมุมของ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารในช่วงนี้ แต่ละเจ้าต่างพลิกวิกฤติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเริ่มนำกลยุทธิ์ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นช่องทางหลัก โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย มีการปรับแผนการดำเนินงาน เน้นการซื้ออาหาร เครื่องดื่มกลับบ้านมากขึ้น เปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟให้กลายเป็นพนักงานส่งของ หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้เข้างานเป็นกะ สลับการเข้าออฟฟิศ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบางวิธีการที่ ผู้ประกอบการ พยายามรักษาเงินทุนและรักษาพนักงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ประกอบการจะประคับประคองปัญหาเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเรื่องที่น่าคิดต่อจากนี้คือ หลังวิกฤติครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะมีวิธีบริหารและจัดการกับหน้าร้านของตัวเองอย่างไร ให้สามารถนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ โดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อย่าง Social Distancing เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า   […]

รู้เทคนิค คิดราคาขาย …ร้านไม่เสี่ยงขาดทุน

สำหรับเจ้าของร้านมือใหม่ มีหลายคนถามเข้ามาหลายเรื่องในการเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร หรือเครื่องดื่ม ซึ่งหนึ่งในคำถามนั้นก็คือ การคิดราคาขาย ต้องคิดอย่างไร คำนวณจากอะไร ต้องเริ่มอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคการ คิดราคาขาย ให้กับร้าน ว่าต้องคำนวณจากอะไร และมีสูตรอย่างไรบ้าง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนจะ คิดราคาขาย 1 เมนู 1. ต้นทุนอาหาร การตั้งราคาอาหารต่อ 1 เมนู ให้อยู่ประมาณ 3 เท่า ของต้นทุนทั้งหมด ทั้งวัตถุดิบ ค่าจัดส่ง ค่าน้ำ ค่าไฟ  เป็นวิธีที่ร้านส่วนมากนิยมใช้ แต่วิธีนี้อาจไม่ละเอียดและไม่แม่นยำมากพอ โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ค่าความสูญเสีย รวมถึงค่าวัตถุดิบที่ใช้งานจริง และในส่วนของ Yield (การหาค่าเฉลี่ยของวัตถุดิบ 1 หน่วยที่ผ่านการตัดตกแต่ง หรือหักส่วนที่สูญเสียออกเรียบร้อยแล้ว) ที่ร้านส่วนใหญ่มักไม่ได้นำมาคำนวณด้วย   2. คู่แข่ง กลยุทธ์การตั้งราคา โดยดูจากคู่แข่งของร้านอาหารประเภทเดียวกันกับคุณ จะช่วยคาดเดาได้ว่า ลูกค้ามีกำลังพร้อมจ่ายอยู่ที่เท่าไหร่ แต่โดยส่วนมากจะนำมาใช้กับร้านอาหารที่สามารถแข่งขันด้านราคาได้โดยไม่กระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ และคุณภาพที่ลูกค้าจะได้รับ เช่น ร้านอาหารบุฟเฟต์ ร้านอาหารตามสั่งที่มีเมนูไม่มาก การตั้งราคาโดยคำนึงถึงคู่แข่งจึงต้องทำร่วมกับการคำนวณต้นทุนด้านอื่น ๆ […]

ระบบงานครัว

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

ระบบงานครัว ที่มีปัญหาอาจส่งผลให้เจ้าของร้านอาหารต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา เสียโอกาสในการทำกำไรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังอาจทำให้ร้านเติบโตยากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบครัวที่ดี แล้วการวางระบบครัวให้ดีนั้นต้องทำอย่างไร?   สัญญาณที่บอกว่า ระบบงานครัว กำลังมีปัญหา ความล่าช้าในการออกอาหาร ขายดี แต่ไม่มีกำไร Food Cost สูง คุณภาพอาหาร รสชาติ และปริมาณไม่คงที่ เสียวัตถุดิบบ่อย วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อุปกรณ์การใช้งานมีปัญหา ส่งผลต่อการขายในแต่ละวัน การเซตอัพระบบงานครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดยการกำหนดขั้นตอนจัดการงานครัว ทั้งวัตถุดิบและการใช้อุปกรณ์การทำงานที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้   กำหนดขั้นตอนการใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบ ตัวอย่าง 1 : ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ การจัดเตรียม การทำความสะอาด Note : กำหนดรายละเอียด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถรับผิดชอบงานได้ทันที และทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน   ตัวอย่าง 2 : การตรวจสอบ จัดเตรียม จัดเก็บวัตถุดิบ Note : จัดทำรูปภาพการใช้งานจริงเพื่ออ้างอิง สร้างมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบ ช่วยควบคุมการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.