5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ให้แกร่งที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

ร้านอาหารหลายร้านเปิดตัวมาอย่างดี แต่ต่อมามาตรฐานกลับลดลง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร หรือการบริการที่เกิดความล่าช้าจนลูกค้าเข็ดไม่มาอีกต่อไป สาเหตุสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การขาดประสิทธิภาพของทีมงานหลังร้าน บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนที่จำเป็นต่อการ เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องรู้

 

ขั้นตอน 1  รู้จักโครงสร้างทีมงานหลังร้าน

ทีมงานหลังร้านและหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย

  • หัวหน้าเชฟ /รองหัวหน้าเชฟ/หัวหน้าส่วนครัวต่าง ๆ

มีส่วนช่วยในการบริหารการบริการลูกค้า ร่วมวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับงานบริการด้านอาหาร ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของอาหาร รับผิดชอบเวลาออกอาหาร รวมถึงการเสิร์ฟให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องบริหารต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการสอนงาน มอบหมายงาน และดูแลทีมงานครัวด้วย

  • พนักงานครัว

หน้าที่หลัก ๆ คือการปฏิบัติงานครัว ควบคุมมาตรฐาน ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด ช่วยดูแลควบคุมปริมาณของเสีย

  • ฝ่ายสนับสนุน

แผนกที่ช่วยดูแลเรื่องเอกสารต่าง ๆ ของธุรกิจ การจัดการเงินและบัญชี ดูแลการตลาดของธุรกิจ  ดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานร้านอาหาร

operation setup

จะเห็นได้ว่าทีมงานครัวมีหน้าที่สำคัญคือการผลิต แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การปรุงอาหาร แต่ยังมีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงการกำหนดคุณภาพ การจัดสรร ควบคุมต้นทุน และช่วยส่งเสริมงานบริการหน้าร้าน ในขณะเดียวกันทีมงานหลังร้านก็ยังรวมไปถึงแผนกสนับสนุน ที่เตรียมความพร้อมด้านการเงิน การบริหารบุคคล บัญชีและการตลาดด้วย หากขาดระบบที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสองทีมหลักนี้ ร้านอาหารก็ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ขั้นตอนที่ 2  การฝึกอบรม และการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม

            ระบบการสอนงานที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกในการสร้างทีมที่แข็งแกร่ง การอบรมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้รู้ขั้นตอน ข้อกำหนดในการทำงานที่เกิดขึ้น ในสภาพการทำงานบนพื้นที่จริงต่าง ๆ ทั้งนี้การออกแบบสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานเป็นทีม ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในส่วนทีมงานหลังร้านด้วยกันเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถทำหน้าที่สอดประสานกับทีมงานในส่วนอื่นๆ ได้ด้วย เพราะแต่ละส่วนล้วนมีความสำคัญในการดำเนินงาน ให้ร้านอาหารเติบโตทั้งสิ้น หากพนักงานมีปัญหากันก็ไม่มีทางที่ร้านจะสามารถดำเนินกิจการไปได้ด้วยดี

ขั้นตอนที่ 3  การร่วมออกแบบขั้นตอนในการทำงาน

            ทีมงานจะต้องรู้หน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน และรู้ขั้นตอนในการทำงานที่ถูกต้องตามโครงสร้างของร้านเพื่อไม่ให้เกิดการทำงานที่ทับซ้อน และสามารถรับผิดชอบงานของตัวเองให้ลุล่วงตามที่กำหนด การออกแบบขั้นตอนในการทำงาน รวมถึงการจัดทำคู่มือที่จำเป็นต่อการทำงานทั้งหมด จะต้องมีรูปแบบที่เหมาะสมกับการทำงานแต่ละส่วน และเปิดโอกาสให้ทีมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบแก้ไขหากว่าข้อกำหนดเหล่านั้นไม่สอดคล้องกับการทำงานในสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป

operation setup

ขั้นตอนที่ 4 การสร้าง Mission ให้กับทีมอยู่เสมอ

            เป้าหมายที่ชัดเจน จะช่วยวางทิศทางให้ทุกคนในทีมเห็นภาพเดียวกัน โดยเจ้าของร้านอาหารจะต้องเป็นผู้ให้ Vision และ Mission ในการทำงานแก่ทีมงานที่ชัดเจน และเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมกับการทำงานนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายทางด้านรายได้ หรือการเติบโตในระยะสั้น จนถึงระยะยาว รวมถึงมีแนวทางที่ชัดเจนในการให้ค่าตอบแทน การพัฒนา และการเติบโตของหน้าที่การงานในอนาคตด้วย

 

ขั้นตอนที่ 5  การคาดการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น

            งานร้านอาหารโดยเฉพาะทีมครัวเป็นงานที่เหนื่อย หนัก และต้องอยู่ภายใต้สภาวะความกดดัน การแข่งขันกับเวลา และต้องรับผิดชอบต่อมาตรฐานทุกจานที่เสิร์ฟ นอกจากการบริหารจัดการเวลา ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ออกแบบตารางงานเพื่อไม่ให้เกิดความเหนื่อยล้ามากเกินไปแล้ว ยังต้องคาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรือสถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของทีม เช่น ปัญหาด้านกำลังคน ด้านวัตถุดิบ เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้น และระยะยาว มีแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่เหมาะสม และลดปัญหาหน้างานให้ได้มากที่สุด การออกแบบสภาพแวดล้อม และสนับสนุนเครื่องมือในการทำงานที่เอื้อต่อการทำงานจะช่วยให้การบริหารทีมเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

operation setup

จากขั้นตอนทั้งหมดที่ได้กล่าวมา เรียกได้ว่าเป็นแนวทางในการสร้างทีมงานหลังร้านที่แข็งแกร่ง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งจะสามารถพาร้านก้าวผ่านวิกฤตและสร้างกำไรได้ในที่สุด

           

รู้ทุกเรื่องที่คุณไม่เคยรู้ เพื่อให้ร้านของคุณเติบโตได้มากกว่าที่คิดกับหลักสูตรที่เข้มข้นที่สุดในรอบปี Operation Setup วางระบบร้านอาหารอย่างมืออาชีพ รุ่นที่ 4  ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากวิทยากร  ที่การันตีความสำเร็จ จากประสบการณ์การบริหารธุกิจร้านอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ กับ Blue Elephant International, YUM Brand LSG Sky Chef , Minor Food และ Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์ คุณธามม์ ประวัติตรี   วันอังคารที่ 29 และวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 09.00 -17.00 น.

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ  คลิก

เรื่องแนะนำ

ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

เคล็ด (ไม่) ลับ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร

ทุกวันนี้ร้านบุฟเฟต์โตสวนกระแสร้านอาหารประเภทอื่น แต่ขณะเดียวกันกลับมีไม่กี่ร้านที่อยู่รอด วันนี้เลยอยากสรุปเทคนิคการ ทำร้านบุฟเฟต์ให้มีกำไร มาฝากกัน

  หาพนักงานไม่ได้ พนักงานลาออกกะทันหันทำอย่างไรดี เชื่อว่าปัญหานี้เจ้าของร้านอาหารทุกคนไม่อยากเจอ เพราะนอกจากเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการหาคนทำงานแทนแล้ว ความไม่พร้อมด้านกำลังคนอาจส่งผลต่อการบริหารจัดการและเสียลูกค้าไปในที่สุด มาเรียนรู้ขั้นตอนแก้สถานการณ์ เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องหัวหมุนนี้ไว้ก่อนจะดีกว่า   ประเมินสถานการณ์ วางแผนการทำงานโดยคาดการณ์จำนวนลูกค้าที่เข้ามารับบริการต่อวัน  โดยร้านส่วนใหญ่จะมีระบบ POS สามารถดูสถิติจำนวนลูกค้าได้  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดจ้างพนักงานร้านอาหารแบบ Part time  การจ้างเฉพาะช่วงเวลาขายดีเพื่อทดแทนกำลังที่ขาด จะทำให้คุณไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายจาการจ้างงานเต็มวัน นอกจากนี้ควรวางแผนกำลังคนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับลักษณะร้าน เช่น ร้านอาหารแบบบุฟเฟต์เน้นการเตรียมของ เติมของ เคลียร์ภาชนะที่รวดเร็ว อาจเพิ่มพนักงานในส่วนนั้น และดึงพนักงานประจำที่เชี่ยวชาญแล้ว มาคอยบริหารจัดการลูกค้าหน้าร้านแทน   มอบหมายหน้าที่ บริหารจัดการคนที่มีอยู่ให้ดีที่สุด การมอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการสื่อสารผิดพลาด โดยเฉพาะพนักงานบริการที่ต้องรับมือกับลูกค้าโดยตรง  วิธีที่ง่ายวิธีหนึ่ง คือ การกำหนดจำนวนโต๊ะ  และโซนที่รับผิดชอบให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงานบริการที่มีอยู่ จากนั้นกำหนดเวลาในการบริการแต่ละขั้นตอน เช่น หลังจากลูกค้านั่งที่โต๊ะ ตั้งไว้เลยว่าอีกกี่นาทีรับออเดอร์ รวมถึงการเสิร์ฟอาหาร การเคลียร์จานเข้าออก พนักงานที่มีอยู่ต้องหมั่นคอยสังเกตความต้องการของลูกค้า เพื่อให้เกิดการบริการที่ลื่นไหล และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการบริการและความใส่ใจอย่างเต็มที่ ในขณะที่ฝ่ายเตรียมอาหาร ต้องมีการวางแผนอาหารในแต่ละออเดอร์ให้แม่นยำ เพื่อการบริการอย่างดีที่สุด   ครอบคลุมโซนพื้นที่ในการให้บริการ ในกรณีที่ลูกค้าไม่เยอะ การปิดพื้นที่บางส่วน  หรือเชื้อเชิญลูกค้าให้นั่งในพื้นที่ที่กำหนด […]

ต้นทุนในการทำร้านอาหาร

5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!

นอกจากต้นทุนด้านวัตถุดิบซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหารแล้ว ยังมี ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ด้านอื่นๆ ที่เราควรทราบอีกมาก แยกได้เป็น 5 ส่วนหลักๆ ดังนี้

เริ่มทำธุรกิจ

8 สิ่งที่คน เริ่มทำธุรกิจ ควรรู้! ลดโอกาสเจ๊ง

เมื่อ เริ่มทำธุรกิจ ย่อมต้องเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิดให้แก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา เราจึงขอรวบรวม 8 สิ่งที่คนเริ่มทำธุรกิจควรรู้! ที่มาจากผู้ประกอบการตัวจริงมาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.