เตรียมความพร้อม ช่วยร้านช่วงพีคไทม์ ทำอย่างไรให้ร้านอาหารขายให้ได้มากที่สุด

พีคไทม์ ออเดอร์แน่น! ร้านอาหารรับมืออย่างไร?

Host จัดคิว ให้เหมาะสมกับที่นั่ง

การทำยอดขายขึ้นอยู่กับการจัดที่นั่ง การจัดการด้านที่นั่งให้เพียงพอกับลูกค้าตามจำนวนที่คาดการณ์ การจัดสรรที่นั่ง และรับออเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการหน้าร้าน ส่งผลให้ร้านสามารถทำรอบได้สูง

ในช่วงเวลาพีคไทม์ ร้านอาหารหลายแห่งจะมีการจ้าง Host ในการรับหน้าที่ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปยังที่นั่ง แต่หากร้านของคุณเป็นร้านเล็ก ๆ ก็สามารมอบหน้าที่ให้กับหัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ หรือผู้จัดการร้านอาหารในการดูแล โดยจะต้องมีทักษะในการวางแผนจัดการที่นั่ง การสื่อสารกับลูกค้า  รวมถึงประสานกับพนักงานส่วนบริการเพื่อรับหน้าที่ต่อได้เป็นอย่างดี

 

อุปกรณ์ วางแผนให้เหมาะกับ Turn

ถ้าหากอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนลูกค้า อาจส่งผลโดยตรงกับประสบการณ์ในการรับบริการ การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณอาจจะคาดการณ์ได้จากจำนวนลูกค้าที่สูงสุดที่รับในช่วงพีคไทม์ ว่าจะใช้ได้กี่รอบ ยกตัวอย่าง ร้านอาหาร 40 ที่นั่ง คาดการณ์ว่าจะรับลูกค้าได้ 2 รอบในช่วงพีคไทม์ อุปกรณ์สำหรับลูกค้าจะต้องมี 80 ชุด  และคุณอาจจะบวกจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่านั้นสัก 1 เปอร์เซนต์ โดยคำนวณให้เพียงพอ ไม่ควรเผื่อการนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ไปล้างเพื่อใช้ในช่วงเวลานี้

 

เตรียมอาหารให้พร้อม

มีคนรอซื้อแต่ไม่มีของขาย มีขายแต่ขายช้า ลูกค้าต้องรอเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้รับลูกค้าได้น้อยรอบ  รวมถึงประสบการณ์ยอดแย่อันดับต้น ๆ ที่ลูกค้าร้านอาหารเจอและทำให้ไม่กลับไปกินร้านอาหารนั้น ๆ อีก เกิดจากปัญหาด้านการเตรียมความพร้อมวัตถุดิบแทบทั้งสิ้น การ Pre cook บางเมนู เพื่อลดระยะเวลาการปรุง รวมถึงการประสานความพร้อมในส่วนของครัวกับพนักงานรับออเดอร์จะช่วยให้คุณสามารถเชียร์ขายเมนูที่ทำได้เร็ว มีวัตถุดิบเพียงพอ จะช่วยให้การบริหารจัดการในช่วงเวลาพีคไทม์เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

วางแผนจากข้อมูลใน POS

ข้อมูล POS เก็บบันทึกช่วงเวลาที่ลูกค้าเข้าร้านมากที่สุด สถิติในการใช้เวลาต่อลูกค้า 1 บิล เมนูอาหารที่สั่งในแต่ละช่วงเวลา ช่วยให้เจ้าของร้านอาหารสามารถนำข้อมูลที่เกิดจากการใช้บริการจริงของลูกค้า มาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนในการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทั้งการบริหารจัดการ และการออกแบบโปรโมชั่น ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้ายังสามารถนำมาออกแบบการจัดเมนูตามช่วงเวลา จะดีต่อการการบริหารจัดการหน้าร้าน เตรียมความพร้อมในการขายเมนูง่าย ๆ เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า และสามารถสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้ตามช่วงเวลา

 

ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย

เทคโนโลยีต่าง ๆ ช่วยให้การบริหารจัดการได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์การจัดคิว การจองคิว และสั่งล่วงหน้าผ่านทางแอพพลิเคชั่น หรืออุปกรณ์สั่งอาหารหน้าร้าน ช่วยลดขั้นตอนในการรับบริการ ลดงานพนักงานหน้าร้าน ลดความผิดพลาดด้านการจัดคิว หลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดจากการจัดการหน้าร้านที่ไม่มีประสิทธิภาพ การจัดคิวล่วงหน้ายังช่วยให้ร้านจัดเตรียมอาหารไว้ก่อน ช่วยลดเวลารอ อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเพื่อวางแผนการเดินทาง การรู้ระยะเวลาในการรอทำให้ลูกค้ารู้สึกดีมากกว่า เป็นการสร้างประสบการณ์ในการรับบริการที่ดีกว่า ข้อระวังก็คือ การจัดการคิวที่เหมาะสมระหว่างลูกค้าที่จองคิวล่วงหน้ากับลูกค้า Walk in เพื่อให้ลูกค้าทุกคนเกิดความรู้สึกในด้านดีกับร้านอาหารของคุณ

 

วางแผนพื้นที่นั่ง และออกแบบบริการ

การจัดวางแผนผังร้านอาหารยังช่วยให้การบริหารจัดการร้านทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ครัว การจัดวางอุปกรณ์ ตู้เย็นเก็บวัตถุดิบ ให้ทีมงานทำงานได้อย่างสะดวกในพื้นที่ใกล้ ๆ หรือพื้นที่เดียว

การจัดที่นั่งภายในร้านอาหารยังมีส่วนช่วยให้คุณสามารถรองรับลูกค้าได้มาก เช่น โต๊ะที่สามารถแยกออกจากกันได้ เพื่อให้รับได้ทั้งลูกค้ากลุ่ม และลูกค้าที่มาคู่ นอกจากนั้นปัจจุบัน การจัดให้มีบาร์สำหรับรับประทานคนเดียวเป็นไอเดียที่น่าสนใจ เพราะช่วยให้คุณทำรอบร้านได้เร็วขึ้น และยังสอดคล้องกับพฤติกรรมการกินอาหารของคนในปัจจุบันที่ชอบมากินอาหารที่ร้านคนเดียวได้อีกด้วย นอกจากนี้ควรออกแบบขั้นตอนการบริการ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งออเดอร์ การคิดเงินให้กระชับ รัดกุม ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการได้เช่นกัน

 

จะเห็นได้ว่าเป้าหมายในการบริหารจัดการร้านช่วงพีคไทม์ มีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ ๆ ก็คือ การสร้างยอดขายให้มากที่สุด และลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นเมื่อวางแผนไว้อย่างดีแล้ว ควรมีการเก็บบันทึกและวัดผล เพื่อจะสามารถแก้ไขจุดผิดพลาด จะส่งผลต่อยอดขายในท้ายที่สุด

 

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ   คลิก

 

เรื่องแนะนำ

เช็คลิสต์ความพร้อมร้านอาหาร ก่อนรบตลาด Delivery

  ร้านอาหาร Delivery ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น แต่ก็อาจตัดโอกาสในการขายเช่นกัน หากว่าร้านของคุณไม่พร้อมในการดำเนินการ มาลองตรวจสอบกันก่อนว่าร้านของคุณพร้อมหรือไม่ จากเช็คลิสต์ 5 ข้อ เหล่านี้   เจ้าของต้องริเริ่ม กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการเริ่มทำร้านอาหาร Delivery การใช้ Application ด้าน Delivery มีตัวเลือกอยู่หลายเจ้าทั้ง Grab, Get, FOODPANDA, lineman  ซึ่งไม่จำเป็นที่ร้านอาหารจะต้องใช้ทุกเจ้าที่มีอยู่ เพราะแทนที่จะส่งผลดี อาจส่งผลเสียต่อร้านมากกว่า เจ้าของควรคำนึงถึงเป้าหมายของร้าน และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของสินค้าที่ขายได้หลังหักต้นทุนแล้ว เช่น แอพพลิเคชั่นบางแห่งคิดค่าคอมมิชชั่นจากยอดการส่งเป็นเปอร์เซ็นต์ อาจจะไม่เหมาะกับร้านที่มีมาร์จินต่ำ  ทำให้ต้องขายลูกค้าในราคาที่สูง ลูกค้าสับสนราคาขาย และไม่ตัดสินใจซื้อ   ตลาดต้องรุก การใช้ Application ผู้ให้บริการ Delivery ยังช่วยให้การทำส่งเสริมการขายเป็นไปได้มากขึ้น การตลาดที่ดีจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า การเตรียมข้อมูล ภาพ การวางรูปแบบเมนูสินค้าใน Application เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเมนูที่ต้องการผลักดันยอดได้ในลำดับแรก ๆ   Application ส่วนใหญ่จะการทำโปรโมชันเพื่อแข่งขันกันเป็นเจ้าตลาด ร้านอาหาร Delivery จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำโปรโมชั่นร่วมที่มีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการซื้อมากที่สุด […]

5 บริการสุดห่วย ที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากมาร้านของคุณ

1.การบริการที่ทำให้รู้สึกเหมือน ‘ไม่มีตัวตน’ หนึ่งในประสบการณ์ที่ลูกค้าร้านอาหารยอมรับว่าทำให้รู้สึกแย่ ก็คือ การที่พนักงานของร้านไม่ให้ความสนใจในการบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวต้อนรับ ลองจินตนาการระหว่างร้าน A : ซึ่งมีพนักงานต้อนรับกล่าวคำทักทาย และจัดการที่นั่งอย่างรวดเร็ว กับร้าน B: ที่ปล่อยให้ลูกค้ายืนรอ ไม่กล่าวคำทักทาย จนคุณต้องเดินเข้าไปหาที่นั่งเอง ร้านไหนที่คุณอยากเดินเข้าไปกินมากกว่ากัน การทักทายนั้นมีความสำคัญมากและเป็นด่านแรกในการสร้างความประทับใจ ซึ่งถ้าหากลูกค้ารู้สึกไม่ดีตั้งแต่เริ่มต้นก็มีแนวโน้มที่จะไม่พอใจในเรื่องอื่น ๆ ด้วย   2.พนักงานดูแลเหมือนเพื่อนสนิท…… จนเกินไป           บริการดุจญาติมิตรนั้นอาจดีสำหรับธุรกิจบางประเภท แต่การบริการสำหรับธุรกิจร้านอาหารนั้นลูกค้าส่วนใหญ่มักต้องการเวลาส่วนตัว การที่พนักงานคุยเล่นกันข้ามหัวลูกค้า หรือใช้คำพูดในการบริการที่แสดงความเป็นกันเองกับลูกค้ามากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกตะขิดตะขวงใจ ยังแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพในการให้บริการอีกด้วย     3.พนักงานไม่แม่นข้อมูลอาหาร และการบริการ           ร้านอาหารอร่อยขายได้ แต่ร้านอาหารอร่อยที่ขายดีอยู่ที่พนักงานให้บริการและให้คำแนะนำเมนูต่าง ๆ ได้อย่างมืออาชีพ ลองจินตนการว่า การที่ลูกค้ามีคำถามแล้วพนักงานเสิร์ฟต้องวิ่งไปถามพ่อครัว ถามผู้จัดการ นอกจากจะทำให้การบริการสะดุดแล้ว ลูกค้าย่อมรู้สึกถึงความไม่พร้อมในการให้บริการ หากพนักงานบริการได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน รู้จังหวะในการเข้าถึงลูกค้า การแนะนำเมนูที่เหมาะสมได้อย่างลื่นไหล สิ่งเหล่านี้จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน   4.การบริการที่สร้างความลำบากให้แก่ลูกค้า           ในยุคนี้การอำนวยความสะดวกสำคัญไม่แพ้รสชาติอาหาร เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกค้ารู้สึกถึงความยุ่งยากในการบริการจากร้านของคุณ เขาจะตัดสินใจไปร้านอื่นทันที ยกตัวอย่างเช่น […]

ออกแบบเมนูร้านอาหาร เมนูไหนควรเชียร์ขาย เมนูไหนควรตัดทิ้ง!

ไม่รู้จะตัดเมนูไหนทิ้งหรือควรเชียร์ขายเมนใด เรามีหลักการง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณ ออกแบบเมนูร้านอาหาร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น มาแชร์ให้รู้กัน!

ฮั่วเซ่งฮง

ฮั่วเซ่งฮง พลิกธุรกิจสู่ยอดขาย 70 ล้าน!

ฮั่วเซ่งฮง ไม่ได้มีแค่รูปแบบภัตตาคาร แต่ขยายธุรกิจไปมากมายทั้งในห้างสรรพสินค้า การจัดเลี้ยงนอกสถานที่ และในปั๊มน้ำมัน เพราะอะไรถึงเลือกขยายธุรกิจเช่นนี้ ?

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.