5 ขั้นตอน การพัฒนาทีมงานร้านอาหารแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกร้าน ทุกตำแหน่งงาน

5 ขั้นตอน พัฒนาทีมงานแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกร้าน

เพราะปัญหาเรื่องทีมงาน เป็นปัญหาคลาสสิคของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านทุกคนพอเปิดไปสักพัก ก็ต้องเจอไม่ว่าจะเป็น พนักงานทำออเดอร์ผิด รสชาติหน้าตาอาหารผิดเพี้ยน เสริฟผิดโต๊ะ รับออเดอร์ตกหล่น ความสะอาดภายในร้านและในครัว จนถึงปัญหาการลาออกบ่อยของพนักงาน

 

ผมเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาเหล่านี้ไม่ถูกแก้ และกลับมาหาเราซ้ำๆ ไม่ใช่เพราะเราไม่สอน……… แต่ปัญหาคือ เราไม่มี Flow Chart หรือ SOP ของการพัฒนาความสามารถให้พนักงาน

 

เมื่อเราไม่ได้วางลำดับขั้นตอนของการสอนเพื่อประเมินพนักงานว่าเขาอยู่จุดไหนแล้ว  และจากนี้เขาควรจะไปไหนต่อ มันก็เลยทำให้เขาอยู่จุดเดิม พอเกิดปัญหา ก็เลยเป็นภาระของ เจ้าของร้านที่ต้องเข้ามาแก้อยู่เสมอ

 

ยกตัวอย่างปัญหาในครัว เช่น

พนักงาน A หั่นผัก มาหลายเดือน ก็หั่นผักอยู่แบบนั้น ไม่เคยได้จับกระทะทำอะไรเลย ยิ่งกว่านั้นพอพนักงานรุ่นพี่ลาหยุด กลายเป็นว่าคนที่อยู่ คือพนักงาน A ที่ทำหน้าที่หั่นผัก จำเป็นต้องมาจับกระทะทำอาหาร แต่ทำไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาให้พนักงาน A ได้จับกระทะทำอาหารมาก่อน ทำงานครัวในวันนั้นไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น

 

แสดงว่าเจ้าของร้านไม่เคยตรวจสอบความสามารถของเขาเลยว่าเขาสามารถทำงานได้ด้วยตัวเองไหม อยู่ขั้นไหนแล้ว ดังนั้นเราควรจะตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพอย่างไร ต่อพนักงานหนึ่งคนเพื่อให้เขาเกิดผลสูงสุด

 

วันนี้ผมมี SOP ของการพัฒนาทีมงานแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกตำแหน่ง มาฝากกันครับ

ผมเชื่อว่า ไม่ว่ารายละเอียดเนื้อหาของงานแต่ละตำแหน่งในร้านของพวกเราจะเป็นอย่างไร แต่การสร้างทีมงานล้วนอยู่ในกรอบ 5 ขั้นตอนนี้…………………..ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะครับ

 

#5ขั้นตอนพัฒนาทีมงานแบบง่ายๆใช้ได้ทุกร้าน

1. I do You look

เมื่อรับพนักงานเข้ามาใหม่ ในการฝึกขั้นแรก ให้เรา(หรือหัวหน้างาน) เป็นผู้ลงมือทำ แสดงเป็นตัวอย่างการทำงานตามมาตรฐานให้กับพนักงาน หรือทีมงานที่รับมาใหม่ ส่วนพนักงานที่มาใหม่ หรือเราต้องการที่จะสอนมีหน้าที่ เป็นผู้สังเกตการณ์เพียงเท่านั้น ทีมงานสามารถสอบถามในสิ่งที่สงสัยได้

จุดประสงค์ในขั้นตอนนี้คือ เพื่อสร้างความเข้าใจให้มากที่สุด ก่อนจะลงมือปฏิบัติ

2. I do You do

ในขั้นตอนนี้ เราและทีมงาน ทำกิจกรรมไปพร้อมๆกัน หรือทำร่วมกัน เพื่อให้ทีมงานได้ลงมือปฏิบัติ ให้เกิดโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด ทีมงานสามารถที่จะเลียนแบบทุกขั้นตอนของการทำงานได้โดยง่าย

หัวใจ ของขั้นตอนนี้คือ ผลงานที่ออกมาจะต้องมีความเหมือนหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด

 

3. You do – I look

เมื่อหัวหน้าเห็นว่าทีมงานเกิดความเคยชินแล้ว มาถึงขั้นตอนนี้ เราสามารถทดสอบโดยการปล่อยให้เขาลงมือปฏิบัติเอง แต่โดยที่เรายังคอยสอดส่องดูแลอยู่ห่างๆ เพื่อเข้าไปช่วยแก้ไขในยามที่เกิดความผิดพลาด ที่เขาไม่สามารถแก้เองได้

4. You do – I leave

ทีมงานที่จะมาถึงขั้นตอนนี้ได้ แสดงว่า เขาต้องเกิดความเข้าใจในกิจกรรมอย่างแท้จริงแล้ว ในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ สามารถทำได้โดยที่เราไม่ต้องออกปากกำกับ ดูแล สามารถแก้ปัญหาเล็กน้อยที่เกิดขึ้นได้เองถึงขั้นตอนนี้เจ้าของร้าน หรือคนสอนสามารถปล่อยให้เขาอยู่นอกสายตาได้แล้ว ไม่ต้องเฝ้ามองอยู่ตลอด เพื่อที่จะแยกย้ายกันทำงานในหน้าที่อื่นต่อไป

5. I look – You teach

จุดสูงสุดของการสร้างทีมงานจะสำเร็จ เมื่อทีมงานที่เราสร้าง  สามารถสร้างทีมงานที่มีคุณภาพต่อไปได้ ขั้นตอนนี้ เจ้าของร้านสามารถท้าทายให้เขาเริ่มที่จะสอนคนอื่น ตามลำดับขั้นตอน 1-4 โดยที่มีเราคอยสอดส่องดูแล (หรือนัดหมายในการทดสอบร่วมกัน)

ถ้าในขั้นตอนนี้สำเร็จ และเราทำอยู่เสมอ ร้านจะมีทีมงานระดับ 5 จำนวนมากและจะช่วยลดความเหนื่อยจากปัญหาพนักงานลาออกบ่อยได้ครับ เพราะเจ้าของร้านไม่ต้องเป็นคนฝึกเองตั้งแต่ต้น ในทุกๆครั้ง”

 

และนี่ก็คือ SOP ของการพัฒนาทีมงานแบบง่ายๆแต่ได้ผลมาก

เมื่อเรารู้ขั้นตอน 5 ระดับนี้แล้ว ก็ให้เรานำกลับไปประเมินทีมงานของเราว่าแต่ละคนอยู่ในขั้นไหน เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและสร้างคนให้เก่งขึ้นได้ครับ

 

สุดท้ายนี้อยากฝากไว้ว่าการเติบโตทุกอย่างจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าทีมงานไม่เห็นร่วมกันว่าปัญหาที่มีอยู่ตอนนี้คือปัญหา  ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมืออะไรก็ตามการนำมาใช้ในทีมงานเริ่มต้นจากการสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้ทุกคนเปิดใจและเห็นปัญหาร่วมกันทั้งสิ้น การบริหารร้านจะแยกออกจากการบริหารความสัมพันธ์ไม่ได้ เพราะเราทำงานกับคนไม่ใช่เครื่องจักร เจ้าของร้านจึงควรพัฒนามุมมองทัศนคติและความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับทีมงานด้วย

 

ขอให้ทุกร้านมีทีมงานที่ดีและประสบความสำเร็จครับ

 

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ   คลิก

เรื่องแนะนำ

รับช่วงต่อกิจการ

5 เทคนิค รับช่วงต่อกิจการ ยังไง ไม่ให้เจ๊ง!

ยุคนี้หลายคนเริ่มผันตัวมาเป็นนักธุรกิจมากขึ้น ซึ่งมีทั้งที่เริ่มทำธุรกิจด้วยตัวเอง และเลือก รับช่วงต่อกิจการ จากที่บ้าน ซึ่งทั้งสองรูปแบบก็มีความท้าทายแตกต่างกัน

ต้นทุนในการทำร้านอาหาร

5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!

นอกจากต้นทุนด้านวัตถุดิบซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหารแล้ว ยังมี ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ด้านอื่นๆ ที่เราควรทราบอีกมาก แยกได้เป็น 5 ส่วนหลักๆ ดังนี้

เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร

9 ขั้นตอนการ เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ

อยากเปิดร้านอาหาร แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี? เรามีขั้นตอน การเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร มาฝาก เผื่อจะเป็นแนวทางสำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไร

ผู้ประกอบการ

ใจเขา ใจเรา…สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

นี่ไม่ใช่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู หรือยุคที่อยากจับจ่ายของฟุ่มเฟือยอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทุกคนต่างตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ อยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น และเริ่มวางแผนการเงินระยะยาว เพราะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด วิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบทั่วประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหาร ต่างได้รับผลกระทบ ล้มเรียงต่อกันเป็นโดมิโน ไม่เพียงแต่เจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนที่บาดเจ็บ แต่พนักงานระดับล่างของระบบที่รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน อาจเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกจ้าง และหยุดชั่วคราว ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน   ธุรกิจร้านอาหาร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส หากลองมองในมุมของ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารในช่วงนี้ แต่ละเจ้าต่างพลิกวิกฤติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเริ่มนำกลยุทธิ์ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นช่องทางหลัก โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย มีการปรับแผนการดำเนินงาน เน้นการซื้ออาหาร เครื่องดื่มกลับบ้านมากขึ้น เปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟให้กลายเป็นพนักงานส่งของ หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้เข้างานเป็นกะ สลับการเข้าออฟฟิศ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบางวิธีการที่ ผู้ประกอบการ พยายามรักษาเงินทุนและรักษาพนักงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ประกอบการจะประคับประคองปัญหาเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเรื่องที่น่าคิดต่อจากนี้คือ หลังวิกฤติครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะมีวิธีบริหารและจัดการกับหน้าร้านของตัวเองอย่างไร ให้สามารถนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ โดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อย่าง Social Distancing เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.