7 ขั้นตอนสุดง่าย สำหรับมือใหม่ หัดเขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

7 ขั้นตอนสุดง่าย เขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

1.ตั้งเป้าหมาย

            คุณอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ทำอะไรก็ตามต้องรู้เป้าหมาย การเขียน SOP ก็เช่นกัน การกำหนดเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้คุณวางโครงร่างของ SOP ได้ง่าย และเกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คุณต้องการเขียน SOP ในการรับสินค้าจากซัพพลายเออร์ในแต่ละอาทิตย์ อาจกำหนดเป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้ได้มากที่สุด SOP ที่ดีจะไม่ได้เขียนขึ้นเพียงเพื่อบอกขั้นตอนในการวัตถุดิบทั่วไปเท่านั้น แต่ทุก ๆ ขั้นตอน จะต้องถูกคิดเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน กระทบต่อการจัดการหน้าร้านให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย

การตั้งเป้าหมายของ SOP ง่ายที่สุด คือ การแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดไป และการพัฒนาให้ขั้นตอนการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

2.กำหนดรูปแบบ            

            วัตถุประสงค์ของ  SOP คือการกำหนดการทำงานแบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง  รูปแบบที่นำมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเอกสาร  SOP ที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ เช่น  การเขียน SOP เป็นหัวข้อ  (Simply Format)  เน้นการสร้างความเข้าใจโดยภาพรวม เช่น ข้อกำหนดพนักงานร้านในการเข้างานก่อนการปฏิบัติงาน หรือขั้นตอนหน้าร้านที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนงานที่ต้องเน้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง มีการอธิบายเป็นลำดับขั้น ( Hierarchical Format) เขียนโดยใช้ลำดับหัวข้อใหญ่ และมีหัวข้อย่อย หรือการใช้ภาพประกอบคำอธิบาย เช่น  การจัดเตรียมวัตถุดิบ การปรุงตกแต่งเมนู การจัดโต๊ะเสิร์ฟ การใช้งานเครื่องจักร  สุดท้ายคือ SOP ที่เขียนเพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำงานที่เกี่ยวเนื่อง ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในส่วนอื่น ๆ เช่น  (Flowchart) หรือการทำ Mind Map  รูปแบบนี้ยังใช้ได้ผลดีสำหรับการปฏิบัติงานที่ผลสามารถเกิดขึ้นได้หลายๆ ทางในสถานการณ์จริง เช่น การวาง SOP สำหรับบริหารจัดการลูกค้าร้องเรียน ซึ่งจะต้องกำหนดให้มีแนวทางในการแก้ไขสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

 

3.กำหนดรายละเอียด

            เจ้าของร้านอาหารบางท่าน มองว่า SOP ทำให้การดำเนินงานไม่ยืดหยุ่น มีความละเอียดมากเกินไปจนขาดอิสระในการดำเนินงาน จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการลงรายละเอียดมากนัก แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ยิ่งคุณอยากอิสระในการบริหารร้านอาหารมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องลงรายละเอียดงานที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นมาตรฐาน ลดเวลาในการฝึกอบรม เจ้าของร้านอาหารก็มีอิสระในการจัดงานส่วนอื่น แทนที่จะต้องมาใช้สัญชาตญาณในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหน้าร้านตลอดเวลา

 ก่อนเริ่มต้นเขียน SOP งานในแต่ละส่วน จะต้องลิสต์ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง  ใครเป็นผู้เกี่ยวข้อง ณ หน้างานนั้น ๆ บ้าง จากนั้นกำหนดขอบเขตเพื่อลงรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนให้รัดกุม เจ้าของร้านอาหารควรได้พูดคุยกับทีมงาน และเปิดโอกาสให้ทีมที่เกี่ยวข้องเสนอแนวทาง ก่อนจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกข้อกำหนดการปฏิบัติงานที่คิดว่าได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยสามารถเลือกแนวทางที่สามารถวัดผลได้

 

4. ต้องออกแบบด้วยตัวเอง

            ทุกสิ่งที่ลูกค้าได้สัมผัสคือประสบการณ์ที่เขาได้รับจากร้านอาหารของคุณ ประสบการณ์เหล่านี้สามารถกำหนดได้ด้วย SOP เพราะฉะนั้น SOP จึงไม่ใช่การจัดทำโดยมีวัตถุประสงค์ด้าน Function เพียงอย่างเดียว แต่มีวัตถุประสงค์ด้าน Emotion ร่วมด้วย โดยเฉพาะ  SOP ด้านการบริการ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการสื่อสารโดยตรงกับลูกค้า ปัจจุบันคุณสามารถค้นหา SOP งานบริการได้จากร้านอาหารทั่วโลก มี SOP ที่ดีที่สุดที่สามารถนำมาปรับใช้กับร้านอาหารของคุณได้มากมาย  แต่การเขียน SOP ในการให้บริการที่ดีที่สุด คือการเขียนมันขึ้นมาเอง โดยสอดคล้องกับคอนเซปต์ร้านอาหารของคุณ

 

5. ตรวจสอบ

            หลังจากเขียน SOP ในแต่ละส่วนเสร็จแล้ว จำเป็นต้องมีการรีวิว SOP เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนการนำไปใช้งานจริง สิ่งที่สำคัญที่สุดของ SOP คือ ทีมงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจ จดจำได้ง่าย และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบต้องคำนึงถึงผลกระทบการใช้งานจริงในทุกด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น  ความเหมาะสมกับสถานการณ์จริง ความปลอดภัย  อุปกรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง สภาพแวดล้อมในการทำงานจริง

 

6.ทดสอบการใช้งาน

            ควรกำหนดให้มีการทดสอบการบริหารจัดการหน้าร้าน เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับทีมงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เห็นถึงความต่อเนื่องเพื่อปรับแก้ไขก่อนใช้งานจริง  โดย SOP ที่ให้ประสิทธิผลที่สุด ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อบอกขั้นตอนว่าต้องทำอย่างไรเพียงเท่านั้น แต่ถูกเขียนขึ้นเพื่อให้ทีมงานเกิดความเข้าใจว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น เช่น พนักงานเสิร์ฟถูกกำหนดให้ถามลูกค้าก่อนเสิร์ฟน้ำแก้วใหม่ให้ทุกครั้งก็อาจจะรู้สึกว่าเสียเวลา แต่เมื่อรู้เหตุผลว่า จากสถิติการถามลูกค้าก่อนจะให้บริการนั้นลูกค้ารู้สึกดีกว่าเพราะรู้สึกว่าไม่ถูกรบกวน สร้างความรู้สึกที่ดีในการบริการ และยังเป็นช่วงที่พนักงานสามารถแนะนำเครื่องดื่มที่ใกล้หมดเพื่อให้เกิดการสั่งเพิ่มเติมได้ พนักงานก็จะมีความเข้าใจและมีเป้าหมายในการปฏิบัติงานตาม SOP ที่ได้กำหนดไว้

 

7.แก้ไขและพัฒนา          

การเขียน SOP นั้นไม่ใช่งานที่ทำเสร็จเพียงครั้งเดียวแล้วจบ แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาด้วย การเขียน SOP สามารถกำหนดให้ใช้งานได้ทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งควรกำหนดให้มีการวัดผล เช่น กำหนดไตรมาส เนื่องจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบในระยะเวลาที่กระชั้นชิดเกินไปส่งผลต่อความต่อเนื่องในการดำเนินเงิน ทำให้ระบบไม่นิ่ง  อย่างไรก็ตาม ควรรีวิว SOP เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับแก้รายละเอียด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

SOP เป็นเครื่องมือในการวางระบบที่สำคัญต่อร้านอาหารเป็นอย่างมาก ซึ่งหากคุณเป็นเจ้าของร้านอาหารที่อยากวางระบบ SOP ร้านอาหารของคุณให้ดีมากขึ้น แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ  นี่คือโอกาสที่คุณจะได้เรียนรู้และสามารถวางแผนระบบร้านอาหารอย่างชำนาญด้วยตัวคุณเอง ในหลักสูตร “SOP & Recipe Workshop รุ่นที่ 1” สูตรลับทำร้านอาหารอย่างเป็น ระบบ ที่จะให้คุณเรียนรู้การวางระบบร้านให้ได้มาตรฐานพร้อมกับการฝึกปฏิบัติการจริง จากวิทยากรที่มีประสบการณ์ แถมเผยสูตรเด็ดจากเชฟ A Cuisine ที่สามารถนำไปใช้เพื่อทำกำไรกับที่ร้านของคุณได้ด้วย

 

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ   คลิก

เรื่องแนะนำ

เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ

3 สิ่งที่ควรทำ เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ !

ใครๆ ก็อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ แต่คนส่วนใหญ่มักเริ่มต้นจาก passion แต่จะทำอย่างไรให้ความชื่นชอบของคุณแปรเปลี่ยนมา "ทำเงิน" ได้ ไปติดตามกันได้เลย

5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง

ผู้จัดการร้าน เปรียบเสมือนตัวแทนของเจ้าของร้านอาหาร  ถ้าผู้จัดการร้านทำหน้าที่ได้อย่างดี เจ้าของร้านอาหารแทบจะไม่ต้องแก้ปัญหาจุกจิกใด ๆ เลย และยังมีส่วนสำคัญให้ร้านของคุณเติบโตได้ตามเป้าหมายอีกด้วย   5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง เก่งคน             การจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานให้เหมาะสม  ให้คำแนะนำในการทำงานแก่พนักงาน  ผู้จัดการที่ดีจะต้องเป็นตัวแทนในการคัดเลือก ฝึกอบรม จ้างพนักงาน รักษาพนักงานที่ดี และคัดพนักงานที่เป็นปัญหาออก รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานอีกด้วย ถ้าผู้จัดการร้านไม่สามารถจัดการทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าเกิดปัญหาหน้างานขึ้นมาแล้วก็เหมือนงูกินหาง ทำให้ร้านล้มเหลวไม่เป็นท่าในที่สุด   เก่งลูกค้า             ผู้จัดการร้านอาหารจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า ควบคุมและพัฒนาการบริการของพนักงานเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ   และฝึกให้สามารถรับมือกับลูกค้าเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะหากลูกค้าไม่พอใจด่านสำคัญที่จะต้องตัดสินใจแก้ปัญหาคือ ผู้จัดการร้าน  นอกจากกำหนดนโยบายในการรับมือถ้าหากลูกค้าไม่พอใจแล้ว เจ้าของร้านควรให้บทบาทที่เหมาะสมในการตัดสินใจแก่ผู้จัดการร้านไว้เป็นกิจจะลักษณะ เช่น สิทธิในการให้ส่วนลดเพื่อชดเชยความไม่พอใจแก่ลูกค้า   เก่งวางแผน             หน้าที่ในการตรวจเช็คของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่ของเล็กน้อย อย่างกระดาษเช็ดปาก ที่รองจาน อุปกรณ์ตกแต่ง ของใช้จำเป็นอื่น ๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมในการใช้งาน การจัดทำสต็อกสินค้าเพื่อจัดซื้อตามรอบ ในบางร้านอาจต้องประสานกับทีมครัวเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นความละเอียดรอบคอบ และความสามารถในการคาดการณ์จำนวนให้เพียงพอต่อการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็น […]

ธุรกิจอาหารขายดี

รวม ธุรกิจอาหารขายดี ในศูนย์การค้า ที่น่าจับตามอง

แม้ว่าในปัจจุบันการเปิดร้านอาหารที่ขายแบบออนไลน์จะกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค แต่ก็ยังมีกลุ่มผู้บริโภคอีกไม่น้อย ที่ยังคงชอบการไปรับประทานอาหารที่ร้านโดยตรง เพราะได้อิ่มเอมกับบรรยากาศภายในร้านด้วย ซึ่งร้านอาหารในศูนย์การค้า ก็นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคมักมาใช้บริการกันเป็นจำนวนมาก ทั้งกลุ่มครอบครัว คู่รัก วัยรุ่น เพราะภายในศูนย์การค้านั้น มีตัวเลือกร้านอาหารจำนวนมาก เรียกว่าเป็นแหล่งรวมร้านอาหารไว้ในที่เดียวก็ว่าได้ จนนึกสงสัยขึ้นมาว่า ร้านอาหารมากขนาดนี้แล้ว ธุรกิจอาหารขายดี ในศูนย์การค้าจะเป็นธุรกิจอาหารประเภทใดบ้าง  คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square ได้ให้ข้อมูลกับเรามาดังนี้   รวม ธุรกิจอาหารขายดี ในศูนย์การค้า ที่น่าจับตามอง อย่างที่ทราบกันว่า ภายในศูนย์การค้านั้น เป็นแหล่งรวมร้านอาหารไว้อย่างมากมาย ซึ่งมีตั้งแต่ร้านที่เป็นเชนใหญ่ ที่หลายคนรู้จัก รวมถึงร้านทั่วไป ที่กำลังเป็นที่นิยมเป็นกระแสบ้าง หรือแม้แต่ร้านที่คุณอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่ก็สามารถเข้ามาสู่ศูนย์การค้าได้ จะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายมาก ซึ่ง ธุรกิจอาหารขายดี และเป็นที่นิยมในศูนย์การค้า มีดังนี้   ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ส่วนใหญ่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่เป็นที่นิยมนั้น มักจะเป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเชนใหญ่ ที่เราคุ้นตากันดี การที่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นร้านอาหารที่ขายดี และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค อาจเป็นเพราะเป็นอาหารที่ทานง่าย […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.