5 บริการสุดห่วย ที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากมาร้านของคุณ - Amarin Academy

5 บริการสุดห่วย ที่ทำให้ลูกค้าไม่อยากมาร้านของคุณ

1.การบริการที่ทำให้รู้สึกเหมือน ‘ไม่มีตัวตน’

หนึ่งในประสบการณ์ที่ลูกค้าร้านอาหารยอมรับว่าทำให้รู้สึกแย่ ก็คือ การที่พนักงานของร้านไม่ให้ความสนใจในการบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวต้อนรับ ลองจินตนาการระหว่างร้าน A : ซึ่งมีพนักงานต้อนรับกล่าวคำทักทาย และจัดการที่นั่งอย่างรวดเร็ว กับร้าน B: ที่ปล่อยให้ลูกค้ายืนรอ ไม่กล่าวคำทักทาย จนคุณต้องเดินเข้าไปหาที่นั่งเอง ร้านไหนที่คุณอยากเดินเข้าไปกินมากกว่ากัน การทักทายนั้นมีความสำคัญมากและเป็นด่านแรกในการสร้างความประทับใจ ซึ่งถ้าหากลูกค้ารู้สึกไม่ดีตั้งแต่เริ่มต้นก็มีแนวโน้มที่จะไม่พอใจในเรื่องอื่น ๆ ด้วย

 

2.พนักงานดูแลเหมือนเพื่อนสนิท…… จนเกินไป

          บริการดุจญาติมิตรนั้นอาจดีสำหรับธุรกิจบางประเภท แต่การบริการสำหรับธุรกิจร้านอาหารนั้นลูกค้าส่วนใหญ่มักต้องการเวลาส่วนตัว การที่พนักงานคุยเล่นกันข้ามหัวลูกค้า หรือใช้คำพูดในการบริการที่แสดงความเป็นกันเองกับลูกค้ามากจนเกินไป นอกจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกตะขิดตะขวงใจ ยังแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพในการให้บริการอีกด้วย

 

 

3.พนักงานไม่แม่นข้อมูลอาหาร และการบริการ

          ร้านอาหารอร่อยขายได้ แต่ร้านอาหารอร่อยที่ขายดีอยู่ที่พนักงานให้บริการและให้คำแนะนำเมนูต่าง ๆ ได้อย่างมืออาชีพ ลองจินตนการว่า การที่ลูกค้ามีคำถามแล้วพนักงานเสิร์ฟต้องวิ่งไปถามพ่อครัว ถามผู้จัดการ นอกจากจะทำให้การบริการสะดุดแล้ว ลูกค้าย่อมรู้สึกถึงความไม่พร้อมในการให้บริการ

หากพนักงานบริการได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน รู้จังหวะในการเข้าถึงลูกค้า การแนะนำเมนูที่เหมาะสมได้อย่างลื่นไหล สิ่งเหล่านี้จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน

 

4.การบริการที่สร้างความลำบากให้แก่ลูกค้า

          ในยุคนี้การอำนวยความสะดวกสำคัญไม่แพ้รสชาติอาหาร เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกค้ารู้สึกถึงความยุ่งยากในการบริการจากร้านของคุณ เขาจะตัดสินใจไปร้านอื่นทันที ยกตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันที่ลูกค้าส่วนพกเงินสดติดตัวน้อยลง แต่ร้านไม่สามารถจ่ายด้วยระบบ QR PAYMENTได้ การกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการใช้บัตรเครดิตสูง ๆ  หรือแม้กระทั่งการจำกัดการสั่งอาหารบางเมนูอย่างไม่สมเหตุสมผล ล้วนแล้วแต่สร้างความรู้สึกไม่สะดวกให้กับลูกค้าได้ทั้งนั้น

 

5.ร้านอาหารที่มีรูปแบบบริการสร้างความอึดอัด

ในประเทศแถบยุโรปมีร้านอาหารที่ทำการตลาดโดยการใช้คำพูดที่หยาบคายใส่ลูกค้า แต่แทนที่ลูกค้าจะเกลียดกลับมีลูกค้ามากมายต่อคิวเพื่อลองกิน แต่ไม่ใช่ว่าทุกร้านจะประสบความสำเร็จในการสร้างจุดขายลักษณะนี้ได้ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีวัฒนธรรมแตกต่าง  ยกตัวอย่าง ร้านขายแฮมเบอร์เกอร์ร้านดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ฯ ซึ่งมีข้อกำหนดการบริการกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ห้ามถ่ายรูป ห้ามขอซอสเพิ่ม ห้ามสั่งจองล่วงหน้า เมื่อเกิดการรีวิวในเชิงลบ ร้านดังกล่าวกลับแสดงจุดยืนที่จะไม่ง้อลูกค้าจนเกิดเป็นกระแสถล่มร้านในที่สุด

จากกรณีนี้จะเห็นว่าคุณอาจจะเลือกจุดขายที่สะท้อนตัวตนของคุณได้ถ้าหากคุณมีจุดแข็งในด้านรสชาติที่ดีพอ แต่ต้องเลือกวิธีการสื่อสารกับผู้บริโภคเมื่อเกิดความคิดเห็นเชิงลบที่ดีด้วย อย่างไรก็ตามการสร้างจุดขายด้วยการบริการที่ดีนั้น จะช่วยให้ร้านสร้างความสำเร็จในระยะยาวได้มากกว่าอยู่ดี

นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการอีก เช่น การคิดเซอร์วิสชาร์จ แต่ไม่ได้บริการอะไรเป็นพิเศษ การปฏิเสธการช่วยเหลือบางอย่าง เช่น การถ่ายรูปให้ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็อาจสร้างความรู้สึกติดลบให้กับร้านของคุณได้เช่นกัน

เรามักพบว่า ร้านอาหารบางร้านเมื่อขายดี มาตรฐานในการบริการกลับตกลงจนลูกค้าหนีหายไปในที่สุด ปัญหาในด้านการบริการนั้นสามารถแก้ไขและป้องกันได้ โดยการกำหนด SOP เพื่อควบคุมการบริการให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ควรออกกฎเพื่อให้ยึดถือปฏิบัติ และให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงานหน้าร้าน

เรื่องแนะนำ

เปิดร้านอาหาร

มนุษย์เงินเดือน เปิดร้านอาหาร แบบไม่ต้องลาออกจากงาน

สำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจร้านอาหาร แต่ยังต้องทำงานหลักหรืองานประจำอยู่ อาจจะมีปัญหากับการจัดการด้านเวลาอยู่บ้าง และอีกไม่น้อยที่ยังไม่พร้อมจะลงทุนทำหน้าร้านใหญ่โต เพราะยังเป็นมือใหม่ในตลาด

ลูกค้าทำของหายในร้าน

เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย

เจ้าของร้านอาหารหลายราย คงเคยเจอเหตุการณ์ ลูกค้าทำของหายในร้าน กันใช่ไหมครับ หลายๆ คนก็มีวิธีแก้ไขสถานการณ์แตกต่างกันไป นี่ก็เป็นอีกวิธีที่อยากแชร์ให้ฟัง

วัดความสำเร็จของร้านอาหาร……ที่ไม่ใช่แค่ยอดขาย

วิเคราะห์ตัวเลข ตัวเลขรายได้รวม ความสำเร็จของร้านอาหารไม่สามารถวัดได้ด้วยยอดขายปัจจุบันเสมอไป ร้านอาหารจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ตัวเลขรายได้จริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยนำรายได้ปีที่ผ่านมา และปีปัจจุบัน มาเปรียบเทียบ เพื่อให้สามารถคาดการณ์ถึงรายได้ในอนาคต การขยายสาขาใหม่แสดงถึงการสามารถทำรายได้ที่มากขึ้นก็จริง แต่รายได้นั้นมีอัตราการเติบโตที่เหมาะสมในการลงทุนหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น   ตัวเลขยอดขายต่อบิล ร้านมีกลยุทธ์การขายที่สามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อบิลได้ สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายไม่ว่าจะด้วยเมนู หรือการจัดการส่งเสริมการขาย แสดงถึงความสำเร็จ และแนวโน้มของการสร้างรายได้ในอนาคต   ตัวเลขอัตราส่วนกำไรขั้นต้น  (Gross Profit Margin) การที่จะวัดว่าร้านอาหารประสบความสำเร็จ หรือมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งหรือไม่ ร้านจะต้องมีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อหน่วยที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งแสดงถึงความสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดี ตัวเลขที่บอกอัตราส่วนกำไรขั้นต้น ต้องนำไปเปรียบเทียบกับกิจการคู่แข่ง หรือตัวเลขเฉลี่ยจากร้านอาหารในตลาดเดียวกัน    ระบบร้านอาหารที่ดี ระบบร้านอาหารที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การจัดการด้านครัวและวัตถุดิบ พนักงาน  โดยมีตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพเกิดข้อผิดพลาดด้านการจัดการน้อย แสดงถึงความสามารถในการควบคุมการจัดการร้านอาหารได้เป็นอย่างดี มีส่วนสำคัญอย่างมากกับการทำร้านอาหาร โดยเฉพาะในสภาพการแข่งขันปัจจุบัน หากร้านอาหารของคุณขายดีมาก ๆ แต่ไม่มีระบบจัดการร้านอาหารที่ดี ต้องแก้ปัญหารายวัน ย่อมส่งผลต่อตัวเลขรายได้   Brand Royalty ของลูกค้า             เนื่องจากลูกค้าร้านอาหารมีตัวเลือกเยอะ และหลากหลาย ทำให้เป็นธุรกิจที่ลูกค้ามี […]

เพิ่มกำไรร้านอาหาร

5 เทคนิค เพิ่มกำไรร้านอาหาร ทำยังไงให้ลูกค้าเต็มใจจ่าย

อยากเพิ่มยอดขาย อยาก เพิ่มกำไรร้านอาหาร แต่ก็อยากให้ลูกค้าเต็มใจจ่ายด้วย เชื่อว่าเจ้าของร้านอาหารึคงเคยคิดแบบนี้ แต่ไม่รู้จะทำยังไง เรามีเทคนิคดีๆ มาแนะนำ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.