ธุรกิจโตไว แข่งกับใครก็ชนะ เพราะมีที่ปรึกษาชี้ทางสำเร็จ - Amarin Academy

ธุรกิจโตไว แข่งกับใครก็ชนะ เพราะมีที่ปรึกษาชี้ทางสำเร็จ

คำว่า “ธุรกิจ” มาพร้อมกับการแข่งขัน ทั้งกับคู่แข่งและเทรนด์การตลาด โดยเฉพาะ SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ที่กระบวนการบริหารต้องมีประสิทธิภาพ ระบบการจัดการได้มาตรฐาน และกระบวนการผลิตได้รับการยอมรับจากองค์กรต่าง ๆ เจ้าของธุรกิจ SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตจึงต้องก้าวนำคู่แข่งอยู่เสมอด้วยการมีที่ปรึกษาทางธุรกิจเป็นตัวช่วย เพื่อช่วยลดเวลา ลดความผิดพลาด ลดต้นทุน และเพิ่มโอกาสความสำเร็จ

ความสำเร็จในโลกธุรกิจ เวทีนี้ต้องมีพี่เลี้ยง

แม้ว่าการทำธุรกิจให้สำเร็จจะไม่มีสูตรตายตัว แต่การทำธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตกลับมีแบบแผนเฉพาะตัวที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเพิ่มโอกาสแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการในโรงงานที่ต้องได้มาตรฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าคุณภาพสูงโดยใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ และการเพิ่มประสิทธิภาพคนทำงาน ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการผลิตเพราะคำแนะนำที่ดีเปรียบได้กับทางลัดที่ทำให้เจ้าของธุรกิจไม่เดินหลงทาง ไม่เสียเวลา และ 3 เหตุผลที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ช่วยตอกย้ำได้ดีว่าทำไม SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตจึงต้องมีที่ปรึกษาทางธุรกิจ

มีประสบการณ์หลากหลายทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ที่ปรึกษาทางธุรกิจคือผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจกระบวนการผลิต การแก้ปัญหา และการปรับปรุงพัฒนาด้านต่าง ๆ ในแง่มุมที่หลากหลาย ทั้งจากการลงมือปฏิบัติและเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ผ่านหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อาทิ Kaizen, Lean, Six Sigma, Competency ฯลฯ ที่ปรึกษาธุรกิจจึงเป็นผู้ที่นำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่มีประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตได้เกือบทุกประเภท

ได้รับการรับรองผู้ตรวจประเมินสถานที่ผลิต ในอุตสาหกรรมการผลิต มาตรฐานการรับรองคือสิ่งที่ผู้ประกอบการควรคำนึงเป็นอันดับแรก ๆ เพราะสามารถช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ การสร้างระบบการจัดการที่ดีเพื่อให้ได้การรับรองจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่ปรึกษาทางธุรกิจถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ช่ำชองกับมาตรฐานต่าง ๆ  อาทิ ISO 9001, ISO 14001, ISO 17025, GMP, HACCP, FSSC 22000 และอื่น ๆ ผู้ประกอบการจึงไม่จำเป็นต้องลองผิดลองถูกด้วยตนเอง และเตรียมความพร้อมได้อย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก ที่สำคัญคือได้เรียนรู้เทคนิควิธีในการรับการตรวจประเมินที่ไม่มีการเขียนในตำราทั่วไป

มีประสบการณ์ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการทุกระดับ ที่ปรึกษาทางธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีในธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะธุรกิจทุกระดับย่อมมีปัญหาและวิธีแก้ไขที่ต่างกัน ในทางตรงกันข้ามที่ปรึกษาทางธุรกิจคือผู้ที่มองเห็นมุมมองที่หลากหลายจากประสบการณ์การให้คำปรึกษาตั้งแต่บุคคลธรรมดาจนถึงองค์กรมหาชน ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานจนถึงเทคนิคขั้นสูง ทำให้เข้าใจถึงระดับความสามารถในการรับรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมในการปฏิบัติตาม ที่แตกต่างกันของผู้ผลิตในแต่ละระดับ จึงสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะกับแต่ละองค์กรได้ เพื่อให้ผู้ประกอบการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของตนเองได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด

Checklist ธุรกิจของคุณต้องการที่ปรึกษา ถ้าอยากพัฒนาเรื่องเหล่านี้

  • ลดของเสีย เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพราะต้นทุนการผลิตคือปัจจัยที่ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจของเราแข่งขันในตลาดได้หรือไม่ ผู้ประกอบการหลายคนจึงเลือกตัดของเสียที่ไม่จำเป็นออกเป็นตัวเลือกแรก เพราะเป็นวิธีลดต้นทุนที่ง่ายและได้ผลเร็วแต่การลดของเสียเพียงอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบของการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการต้องหาแนวทางในการจัดการตั้งแต่ต้นทาง นั่นคือการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ให้ผลิตได้มากที่สุดด้วยทรัพยากรที่น้อยที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
  • สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าด้วยมาตรฐานการผลิต เมื่อสินค้ามีมากมายในตลาด หนึ่งในปัจจัยที่ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าคือการได้รับการรับรองจากองค์กรในระดับประเทศหรือระดับสากล การผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานนั้นย่อมต้องมีการตรวจประเมินสถานที่ผลิตจากเจ้าของมาตรฐานหรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งที่ปรึกษาทางธุรกิจคือผู้ที่ให้คำแนะนำได้ทุกขั้นตอน
  • เพิ่มประสิทธิภาพคนทำงาน “คน” คือหัวใจสำคัญของทุกธุรกิจ การกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละตำแหน่งงานอย่างชัดเจนจึงสำคัญมาก เพราะจะทำให้เกิดกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เกิดของเสียน้อยที่สุด และได้สินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงสุด สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการวางแผนในการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ ที่ปรึกษาทางธุรกิจคือผู้ที่มองเห็นวิธีการเหล่านี้ทั้งหมดจึงทำให้จัดระบบและวิธีการทำงานเพื่อดึงความสามารถของพนักงานออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่มากที่สุด

แม้การทำธุรกิจจะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่คำแนะนำจากที่ปรึกษาธุรกิจคือหนึ่งทางลัดที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเดินถึงเส้นชัยแห่งความสำเร็จเร็วขึ้น เพราะในโลกที่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกวินาที ผู้ที่รู้วิธีปรับตัวก่อนใครคือผู้ที่อยู่รอดในทุก ๆ สถานการณ์

สำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากปรับปรุงกิจการในระบบอุตสาหกรรมและอยากมีที่ปรึกษาธุรกิจ สามารถนัดหมายเพื่อขอรับคำปรึกษาจากกูรูด้านการทำธุรกิจในระบบอุตสาหกรรมได้ที่ SCB Business Center โดยกูรูที่จะเข้ามาช่วยชี้แนะแนวทางการทำธุรกิจคือ ดร.ภัทธาวุธ สกุนตนิยม ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์กรอุตสาหกรรม ด้านมาตรฐานคุณภาพอุตสาหกรรม ด้านการบริหารต้นทุนการผลิต และด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม

สนใจนัดคิวขอรับคำปรึกษาฟรีได้ที่ SCB Business Center เบอร์ติดต่อ 0642653402 รายละเอียดเพิ่มเติม https://businesscenter.scb.co.th  หรือติดตามข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของ SCB SME ได้ที่ https://facebook.com/groups/scbsme

เรื่องแนะนำ

ช่องทางการจ่ายเงินรูปแบบใหม่ เกาะติดไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค

ทุกวันนี้มีช่องทางการจ่ายเงินรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมากมาย นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังส่งผลดีต่อธุรกิจอีกด้วย

วิธีตั้งชื่อแบรนด์ แบบอูน DIAMOND GRAINS เจ้าแม่อาหารสุขภาพร้อยล้าน

ถอดบทเรียน การตั้งชื่อแบรนด์ คุณอูน DIAMOND GRAINS เจ้าแม่อาหารเพื่อสุขภาพร้อยล้าน ผู้ไม่เคยหยุดพัฒนา กับแนวคิดการสร้างแบรนด์และการตั้งชื่อแบรนด์ต่างๆ เชื่อว่าหลาย ๆ คนจะต้องรู้จักนักธุรกิจสาวไฟแรงคนนี้ “คุณอูน ชนิสรา วงศ์ดีประสิทธิ์” หรือที่ใคร ๆ รู้จักกันในชื่อ อูน Diamond Grains ต้นแบบและแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตหรือทำธุรกิจของใครหลาย ๆ คน แต่ทุกคนรู้ไหมว่าคุณอูนไม่ได้ทำแค่แบรนด์ Diamond Grains อย่างเดียวนะ แต่ยังทำแบรนด์อื่น ๆ อีกถึง 6 แบรนด์!!! ซึ่งวันก่อนแอดก็ได้มีโอกาสดูคลิปที่คุณอูนได้มาแชร์ถึงวิธีการตั้งชื่อแบรนด์ของตัวเอง ที่ต้องบอกว่าแต่ละชื่อมีเอกลักษณ์และบ่งบอกถึงตัวตนของแบรนด์มาก ๆ ว่าแต่วิธีของคุณอูน จะมีอะไรบ้าง ? เราลองมาถอดบทเรียนการตั้งชื่อแบรนด์ในแบบของ คุณอูน Diamond Grains กัน! เล่ากระบวนการ ในที่นี้คุณอูนเล่าที่มาของการตั้งชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากกราโนล่าและธัญพืช Diamond Grains ว่าเกิดมาจากการที่สามี คุณแพค วุฒิกานต์ กำลังดูการ์ตูนเรื่อง One Piece ทำให้รู้สึกว่า กว่าที่ธัญพืชจะผ่านกระบวนการต่าง […]

เจาะกระแส “ชีสบอร์ด” คืออะไร ? ทำไมมาแรง จนหลายร้านต้องทำออกมาขายตามกระแส

เจาะกระแส “ชีสบอร์ด” คืออะไร ? ทำไมมาแรง คนดูกว่า 47.5 ล้านครั้ง จนหลายร้านต้องทำออกมาขายตามกระแส เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงนี้กับชีสบอร์ด เมนูกินเล่นที่ทำง่าย และเต็มไปด้วยความสนุกของการมิกซ์ส่วนผสมต่าง ๆ เพื่อดึงรสชาติของชีสให้อร่อยขึ้น ซึ่งด้วยความฟีเวอร์นี้ จึงทำให้มีผู้เข้าชมหัวข้อเกี่ยวกับ Cheese board ใน TikTok ถึง 47.5 ล้านครั้ง อีกทั้งยังทำให้หลาย ๆ ร้านทั้งรายเล็กรายใหญ่ได้มีการทำเมนูนี้ออกมาขายกันมากขึ้น!   คืออะไร ชีสบอร์ด Cheese board, Cheese plate หรือ Cheese platter คือการนำชีสก้อนมามิกซ์กินรวมกับท็อปปิ้งต่าง ๆ เพื่อช่วยดึงรสชาติของชีสให้อร่อยยิ่งขึ้น แถมยังสร้างประสบการณ์ให้ผู้กินรู้สึกสนุกด้วย วัฒนธรรมการกินนี้มีต้นกำเนิดมาจากชาวตะวันตก ที่จะนำชีสกับเนื้อสัตว์แปรรูปมาจัดบนบอร์ด เพื่อเสิร์ฟให้กับแขกผู้มาเยือนในงานปาร์ตี้ ด้วยความง่ายในการจัดเตรียม ที่สำคัญยังให้รสชาติและสารอาหารที่ดีอีกด้วย   โดยวัตถุดิบในการจัดชีสบอร์ด ประกอบไปด้วย – ชีส ซึ่งชีสที่นิยมนำมากินกับชีสบอร์ด ได้แก่ มอซซาเรลล่า (Mozzarella Cheese), […]

กรณีศึกษา ทำร้านอาหารกับแฟน หุ้นทำร้านอาหารกับแฟน เอาเงินเก็บไปลงทุน แต่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย

กรณีศึกษา “ทำร้านอาหารกับแฟน” สาวแชร์ปัญหาหุ้นทำร้านอาหารกับแฟน เอาเงินเก็บไปลงทุน แต่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย ทุกคนเคยเจอปัญหาเดียวกันนี้ไหม? ลงทุน ทำร้านอาหารกับแฟน แต่ก็ต้องเจอกับปัญหาจุกจิกที่ยากจะแก้ เพราะว่าเป็นคนใกล้ตัว คุยกันได้ลำบาก คุยกันก็มีแต่จะทะเลาะ จนแก้ไม่ได้สักที เช่นเดียวกับเจ้าของกระทู้พันทิปรายนี้ ที่ต้องพบเจอกับปัญหาเมื่อได้หุ้นทำร้านอาหารกับแฟน เป็นกระทู้พันทิปที่ได้รับความสนใจจากชาวเน็ตมาก ๆ กับกระทู้ “อย่าลงทุนและทำงานกับแฟน เข้าใจคำนี้แล้วจริง ๆ” ที่เจ้าของกระทู้ได้มาบรรยายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อเธอลงทุนทำธุรกิจกับแฟน โดยปัญหาที่เกิดขึ้นมีทั้งปัญหาด้านความสัมพันธ์และเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่เธอจนปัญญาจะแก้ไขแล้ว จึงต้องมาขอคำแนะนำเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยเธอได้เขียนเล่าไว้ใจความว่า ไว้ใจแฟนมากๆ เธอกับแฟนคบกันมา 8 ปีกว่าแล้ว และกำลังจะแต่งงานกัน ที่ผ่านมาแฟนเธอดีมาตลอด เรื่องเงินไม่เคยงก ช่วยๆ กันจ่ายตลอด และต่างคนต่างทำงานประจำ โดยเธอมีรายรับที่มากกว่าแฟน เพราะเงินเดือนสูงกว่า เมื่อเก็บเงินได้คนละก้อนเธอและแฟนจึงตัดสินใจหุ้นกันเปิดร้านอาหารในสัดส่วนเงินที่เท่าๆ กัน ท่ามกลางเสียงคัดค้านว่าไม่ควรทำงานหรือลงทุนกับแฟน เพราะส่วนใหญ่มักจบไม่สวย ซึ่งในการทำธุรกิจครั้งนี้ แฟนของเธอเป็นคนเสนอไอเดีย รวมทั้งคิดสูตรอาหารทั้งหมด ส่วนเธอมีหน้าที่จัดการหลังร้าน เธอจึงยกเปอร์เซ็นต์หุ้นให้แฟนมากกว่า (70:30) ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ได้คิดอะไร เพราะเป็นแฟนตัวเอง อีกทั้งแฟนของเธอยืนยันว่าจะขอจัดการเรื่องเงินเอง ขอให้เงินทุกบาทเข้าบัญชีแฟนทั้งหมด […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.