เริ่มต้น วางระบบร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ! - Amarin Academy

เริ่มต้น วางระบบร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ!

Step by Step เริ่มต้น วางระบบร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ!

เมื่อพูดถึงการเริ่มต้น วางระบบร้านอาหาร เจ้าของร้านอาหารหลายคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ไม่รู้จะเริ่มต้นจากตรงไหน แต่จริงๆ ทุกร้านอาหารมีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ชัดเจนและละเอียดเท่านั้น เราจึงมีวิธีการวางระบบร้านอาหาร ที่ทำเองได้ง่ายๆ มาแนะนำ

ก่อนจะไปเริ่มขั้นตอนการวางระบบ เรามาทำความเข้าใจกับคำว่าระบบกันก่อนดีกว่า

ระบบ พูดง่ายๆ ก็คือ ขั้นตอนการทำงานเป็นลำดับขั้นที่ชัดเจน มีมาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้ ระบบร้านอาหารที่เข้าใจง่ายที่สุดคือ ช่วงเวลาการเปิด – ปิดร้าน หรือการสั่งอาหาร ถ้าลูกค้าสั่งอาหารแล้ว พนักงานจดออร์เดอร์ลงกระดาษ จากนั้นนำส่งเข้าครัว พนักงานครัวทำตามออร์เดอร์ และส่งอาหารมาให้พนักงานเสิร์ฟ แค่นี้ก็ถือเป็นระบบแล้ว เพียงแต่เจ้าของร้านอาหารอาจไม่คิดว่าเป็นระบบเท่านั้นเอง

ถ้าเข้าใจเรื่องระบบอย่างคร่าวๆ แล้ว ก็มาเริ่มต้นการวางร้านอาหารอย่างเป็นระบบกันเลย

ระบบในร้านอาหารแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ

พนักงานเสิร์ฟ
พนักงานส่วนงานบริการ มีหน้าที่สำคัญมาก เพราะต้องทำงานกับลูกค้าโดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีการเทรนด์ให้เข้มข้น เพื่อให้การบริการดีที่สุด

1.ระบบหน้าบ้าน: ส่วนงานบริการ

งานหน้าบ้านถือเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าโดยตรง เป็นส่วนงานที่ต้องสร้างความประทับใจให้ลูกค้าในทุกๆ จุด การวางระบบในส่วนนี้ ควรเริ่มจากการกำหนดหน้าที่ของพนักงานแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน

ตำแหน่งงานสำคัญๆ สำหรับส่วนนี้คือ ผู้จัดการร้าน ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน และพนักงาน

ผู้จัดการร้าน: คือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลภาพรวมของร้านทั้งหมด คอยควบคุมการดำเนินงานของพนักงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหน้าที่ที่กำหนด อีกทั้งต้องคอยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาด้วย (ร้านอาหารบางร้าน เจ้าของร้านอาหารมักทำหน้าที่นี้เอง)

(อ่านเพิ่มเติม: หน้าที่ของผู้จัดการร้านคืออะไร)

ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน: คือผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้จัดการร้าน ดูแลในเรื่องรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้จัดการร้านอาหารมอบหมายให้ เช่น ตรวจสอบยอดเงินให้ถี่ถ้วน ก่อนจะนำส่งผู้จัดการ เป็นต้น

พนักงาน: คือผู้ที่ทำหน้าที่ทำงานทุกส่วนตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น รับออร์เดอร์ลูกค้า เสิร์ฟ และคิดเงิน เป็นต้น

แต่หากต้องการให้การบริการมีประสิทธิภาพ ต้องไม่ใช่แค่กำหนดหน้าที่เท่านั้น แต่ต้องกำหนดขั้นตอนการทำงานให้ละเอียดด้วย

ตัวอย่างง่ายๆ การวางระบบการต้อนรับและรับออร์เดอร์จากพนักงาน

1.เมื่อลูกค้าเข้ามาในร้าน พนักงานต้องเดินเข้าไปต้อนรับพร้อมถามว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ ไม่ทราบว่ามากี่ท่านครับ”

2.พาลูกค้าเข้าไปนั่งที่โต๊ะ จากนั้นหยิบเมนูวางบนโต๊ะ ในตำแหน่งหน้าลูกค้าทุกคน

3.รอเวลาให้ลูกค้าได้เลือกเมนูประมาณ 3 นาที จากนั้นเดินเข้าไปรับออร์เดอร์

4.รับออร์เดอร์ลงในเครื่อง Tablet เมื่อลูกค้าสั่งอาหารเสร็จต้องทวนออร์เดอร์ทุกครั้ง

5.กดส่งออร์เดอร์เข้าสู่ครัว

นี่เป็นตัวอย่างเบื้องต้นของการกำหนดระบบการรับออร์เดอร์พนักงาน

2.ระบบหลังบ้าน: ส่วนงานครัว

งานหลังครัวเป็นงานด้านการผลิต หน้าที่สำคัญคือจัดเตรียมอาหารให้มีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานที่ร้านอาหารกำหนด เช่นเดียวกับส่วนหน้าบ้าน การวางระบบครัว ก็ต้องเริ่มจากการกำหนดตำแหน่งหน้าที่พนักงานเช่นกัน

ตำแหน่งงานสำคัญๆ สำหรับส่วนนี้คือ หัวหน้าเชฟ ผู้ช่วยเชฟ และพนักงานครัว

หัวหน้าเชฟ: คือกุนซือใหญ่ในห้องครัว เป็นผู้ทำหน้าที่กำกับ ควบคุมและดูการปรุงอาหารให้มีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ดูแลภาพรวมเรื่องต้นทุนของวัตถุดิบ ความสะอาดและการปรุงอาหารให้มีประสิทธิภาพ

ผู้ช่วยหัวหน้าเชฟ: ทำหน้าที่ช่วยเหลือหัวหน้าเชฟ ดูแลในเรื่องรายละเอียดการทำงาน ตามที่หัวหน้าเชฟมอบหมายให้ เช่น เช็คสต็อกวัตถุดิบ ตรวจเช็คเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น

พนักงานครัว: ทำหน้าที่เตรียมวัตถุดิบ ปรุงอาหาร ทำความสะอาด ฯลฯ ตามที่ได้รับมอบหมายในแต่ละส่วนงานที่กำหนด

ตัวอย่างง่ายๆ การวางระบบงานครัวให้มีประสิทธิภาพ

1.เมื่อออร์เดอร์ส่งมาถึงครัว ผู้ช่วยเชฟจะเป็นผู้รับออร์เดอร์และแจกงานให้พนักงานครัว เพื่อปรุงอาหาร ถ้ามีรายละเอียดระบุเป็นพิเศษ ต้องแจ้งพนักงานครัวด้วย เช่น ไม่ใส่พริก ไม่ใส่ผักชี ไม่ใส่กระเทียม เป็นต้น

2.พนักงานครัวลงมือปรุงอาหารตามสูตรมาตรฐานที่กำหนดไว้

3.พนักงานครัวเช็คความเรียบร้อยของอาหารให้ถูกต้องตามออร์เดอร์

4.นำอาหารมาส่งที่เคาท์เตอร์ และกดสัญญาณเรียกพนักงานเสิร์ฟมารับอาหาร

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบงานครัว

ร้านอาหารแต่ละร้านไม่จำเป็นต้องมีระบบที่เหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับรูปแบบร้าน เช่น ถ้าเป็นร้านแบบ Fast Food พนักงานก็แค่รอรับออร์เดอร์ที่เคาท์เตอร์เท่านั้น เป็นต้น แต่หลักสำคัญของการวางระบบร้านคือ ต้องมีลำดับขั้นการทำงานที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ เพื่อทำให้งานราบรื่น และลดข้อผิดพลาดได้มากที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง

กำไร เพิ่ม ปีละเกือบแสน แค่ปรับระบบพนักงาน

เรื่องแนะนำ

ระบบงานครัว

อย่าปล่อยให้ ระบบงานครัว ทำร้านเจ๊ง ถึงเวลาเจ้าของร้านต้องวางแผน

ระบบงานครัว ที่มีปัญหาอาจส่งผลให้เจ้าของร้านอาหารต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา เสียโอกาสในการทำกำไรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังอาจทำให้ร้านเติบโตยากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบครัวที่ดี แล้วการวางระบบครัวให้ดีนั้นต้องทำอย่างไร?   สัญญาณที่บอกว่า ระบบงานครัว กำลังมีปัญหา ความล่าช้าในการออกอาหาร ขายดี แต่ไม่มีกำไร Food Cost สูง คุณภาพอาหาร รสชาติ และปริมาณไม่คงที่ เสียวัตถุดิบบ่อย วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อุปกรณ์การใช้งานมีปัญหา ส่งผลต่อการขายในแต่ละวัน การเซตอัพระบบงานครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดยการกำหนดขั้นตอนจัดการงานครัว ทั้งวัตถุดิบและการใช้อุปกรณ์การทำงานที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้   กำหนดขั้นตอนการใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบ ตัวอย่าง 1 : ขั้นตอนการใช้อุปกรณ์ การจัดเตรียม การทำความสะอาด Note : กำหนดรายละเอียด และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถรับผิดชอบงานได้ทันที และทำให้เกิดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน   ตัวอย่าง 2 : การตรวจสอบ จัดเตรียม จัดเก็บวัตถุดิบ Note : จัดทำรูปภาพการใช้งานจริงเพื่ออ้างอิง สร้างมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบ ช่วยควบคุมการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด   […]

จัดสต๊อกวัตถุดิบ

มือใหม่ต้องรู้! จัดสต๊อกวัตถุดิบ ฉบับเข้าใจง่าย

วัตถุดิบเป็นต้นทุนที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของร้านอาหาร ซึ่งทุกวัตถุดิบที่สูญเสียไป ถือเป็นต้นทุนที่คุณต้องจ่าย คุณจึงจำเป็นต้องใส่ใจ จัดสต๊อกวัตถุดิบ ห้ามละเลย

เจ๊จง หมูทอด

ถอดบทเรียน เจ๊จง หมูทอด ร้อยล้าน !

เจ๊จง หมูทอด เป็นร้านอาหารไม่กี่แห่งที่ขายดีมากอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีโอกาสคุยกับเจ๊จง เลยอดไม่ได้ที่จะชวนคุยถึงข้อคิดที่ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้

5 ปัญหาวัตถุดิบ สุดคลาสสิค แก้ได้ กำไรมา!

การบริหารจัดการวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ ถือเป็นกฎเหล็กของคนทำร้านอาหารที่ช่วยให้คุณสามารถควบคุมต้นทุนอาหารได้ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน มาดูกันว่าปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆกับคนทำร้านอาหารในด้าน ปัญหาวัตถุดิบ มีอะไรบ้าง แล้วสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยวิธีใด   5 ปัญหาวัตถุดิบ สุดคลาสสิค แก้ได้ กำไรมา!   1. วัตถุดิบเน่าเสีย วัตถุดิบเน่าเสีย เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยอันดับต้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการจัดเก็บผิดวิธี ขาดขั้นตอนในการนำไปใช้งาน เจ้าของร้านอาหารจึงต้องให้ความสำคัญกับวิธีการจัดเก็บวัตถุดิบที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมของวัตถุดิบแต่ละชนิด การตัดแต่งก่อนการจัดเก็บที่ถูกต้อง  รวมถึงวางระบบสต็อกวัตถุดิบ การจัดเรียงวัตถุดิบเพื่อให้สอดคล้องกับอายุการใช้งาน การทำบันทึกเพื่อให้เกิดการนำมาใช้ในลักษณะ first in first out  ให้ความสำคัญกับการกำหนดขั้นตอนการทำงานของทีมงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้การนำวัตถุดิบมาใช้เป็นระบบ รวมถึงอย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องว่าทำงานได้อย่างสมบูรณ์ทุกครั้ง ก็จะช่วยลดปัญหาเน่าเสียได้   2.คุณภาพของวัตถุดิบลดลง             การจัดเก็บวัตถุดิบ ส่งผลต่อคุณภาพของอาหารโดยตรง แต่ในบางครั้งจัดเก็บวัตถุดิบไว้อย่างดีแล้ว แต่คุณภาพของวัตถุดิบกลับลดลง เพราะการทำงานที่ซ้ำซ้อนของทีมงานครัว เช่น การทำความสะอาดวัตถุดิบก่อนจัดเก็บ และก่อนปรุง ทำให้สูญเสียคุณภาพของวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผักบางชนิด นอกจากนี้ปัญหาอาจเกิดจากการขาดการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบที่รับจากซัพพลายเออร์ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการจัดส่ง สินค้าตรงตามที่ต้องการ หรือการทดแทนวัตถุดิบที่ขาดตลาดทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น การกำหนด SOP ในแต่ละขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.