5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่ - Amarin Academy

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

ยุคนี้คนรุ่นใหม่หลายคนเริ่มผันตัวมาเป็นเจ้าของธุรกิจมากขึ้น แน่นอนว่าคนรุ่นใหม่ย่อมมีไฟทางความคิด และความคิดสร้างสรรค์ดีๆ มากมาย แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจไม่มากพอ จนอาจก้าวพลาดในบางข้อ วันนี้เราจะมายกตัวอย่างให้ฟังว่า ข้อพลาดของนักธุรกิจ มีอะไรบ้าง เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากเริ่มทำธุรกิจครับ

 1.ไม่กำหนดเป้าหมายก่อนลงมือทำ

เป้าหมาย ถือเป็นสิ่งแรกที่ควรคิดถึงเมื่อเริ่มทำธุรกิจ แต่เป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้าม (ส่วนใหญ่มักโฟกัสกับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากกว่า) โดยเป้าหมายที่ต่างกัน ก็จะส่งผลให้วิธีการดำเนินงานต่างกันด้วย เช่น หากคุณกำหนดเป้าหมายว่าต้องขยายร้านให้ได้ 3 สาขา ภายใน 5 ปี สิ่งที่คุณต้องทำคือ เร่งพัฒนาระบบงานให้ราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อรองรับการเติบโต แต่หากเป้าหมายของคุณคือ การเพิ่มยอดขายให้แตะหลักล้านภายใน 1 ปี สิ่งที่คุณต้องทำคือเร่งทำการตลาดทุกช่องทาง เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จัก กระตุ้นให้เกิดการซื้อมากที่สุด

ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมาย ควรแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะยาว เพื่อให้เห็นภาพรวมธุรกิจทั้งหมดในอนาคต ระยะกลาง เพื่อกำหนดเส้นทางในการดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายระยะยาว และระยะสั้น เพื่อจะได้ทราบว่าควรวางแผนดำเนินการอย่างไรเพื่อพิชิตเป้าหมายในแต่ละระยะได้สำเร็จ

2.ไม่วางแผนและกำหนดสัดส่วนการลงทุน

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่หลายคนมักประสบปัญหา “งบประมาณบานปลาย” สาเหตุหลักมาจากการไม่กำหนดสัดส่วนเงินลงทุน เช่น ร้านอาหารจำเป็นต้องแบ่งงบประมาณด้านค่าเช่าพื้นที่ การก่อสร้างหรือตกแต่งร้าน อุปกรณ์ครัว พนักงาน วัตถุดิบ และยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากกำหนดงบประมาณแค่คร่าวๆ สุดท้ายแล้ว เงินอาจไม่พอสำหรับลงทุนในด้านอื่นๆ

หมายเหตุ: ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของร้านอาหารมักประสบปัญหางบประมาณส่วนตกแต่งร้านบานปลาย (เพราะต้องการให้ร้านในฝันสวยที่สุด) ไหนจะค่าโครงสร้าง ค่าตกแต่ง ค่าเฟอร์นิเจอร์ และของแต่งร้านต่างๆ ฉะนั้นก่อนจะแต่งร้าน คำนึงไว้เสมอว่า คุณยังต้องใช้เงินลงทุนอีกมากในด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการทำธุรกิจ เพราะไม่ว่าร้านสวยแค่ไหน แต่พนักงานไม่พอ อาหารออกช้า วัตถุดิบไม่มีคุณภาพ เพราะเงินหมด ธุรกิจก็ไม่ประสบความสำเร็จแน่นอน

3.พยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเอง                                                 

เชื่อว่าข้อนี้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่เป็นกันทุกคน เพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด แต่เมื่อกิจการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ คุณต้องหยุดทำงานทุกอย่างเอง แต่ต้องแบ่งงานบางส่วนให้ลูกน้องทำ เพื่อที่ตัวเองจะได้เอาเวลาไปโฟกัสงานที่สำคัญและจำเป็น เช่น การวางแผนการเติบโตในอนาคต เป็นต้น

4.รอให้ทุกอย่าง Perfect ค่อยเริ่มลงมือ

ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบ ยิ่งการทำธุรกิจ มักมีปัญหาเข้ามาให้แก้เสมอ ฉะนั้นถ้าคุณมัวแต่รอให้ทุกอย่างสมบูรณ์ 100% ก็อาจไม่ได้เริ่มดำเนินธุรกิจเลยก็ได้ แต่สิ่งที่คุณทำได้คือ ทำทุกอย่างให้เต็มที่และเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด เพื่อพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

5.ยึดความต้องการตัวเองมากกว่าลูกค้า

การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญคือฟังความต้องการของลูกค้าและนำมาต่อยอด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้ตรงจุด แต่จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจส่วนใหญ่ มักเริ่มจากความต้องการของผู้ประกอบการ เช่น อยากเปิดร้านอาหาร อยากทำธุรกิจโรงแรม อยากขายสินค้าออนไลน์ และอีกสารพัดอยาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดที่คุณอยากทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ แต่ปัญหาสำคัญคือ การที่คุณจะนำสิ่งที่ตัวเองชอบ มาสร้างรายได้นั้น แค่ความชอบของคุณคนเดียวคงไม่พอ แต่ต้องศึกษาความชอบของลูกค้า ซึ่งเป็นผู้ที่จะจ่ายเงินให้คุณด้วย เพราะบางครั้งสิ่งที่คุณคิดว่าดี อาจไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ

ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตัวเองชอบอะไร อย่าเพิ่งลงมือทันที ควรศึกษาความต้องการของลูกค้าด้วย และนำทั้ง 2 สิ่งมาชั่งน้ำหนัก หาจุดร่วม เพื่อสร้างเป็นสินค้าและบริการที่คุณเองก็มีความสุขที่จะทำ และลูกค้าก็ยินดีที่จะซื้อ

เรื่องแนะนำ

เริ่มทำธุรกิจ

คำถามสำคัญที่คุณควรถามเมื่อ เริ่มทำธุรกิจ

สำหรับคนที่กำลัง เริ่มทำธุรกิจ คงมีหลายเรื่องให้ต้องคิดมากมายใช่ไหมครับ แต่เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมขายของสิ่งเดียวกัน บางร้านถึงขายดีกว่าอีกร้านหนึ่ง?

เผยสูตรคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร คุมค่าใช้จ่ายให้เป๊ะก่อนเปิดร้าน

เพราะการทำร้านอาหารจะกำไรหรือขาดทุน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของร้านอาหารควบคุม ต้นทุนร้านอาหาร ได้ดีขนาดไหน การกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะช่วยทำให้ตั้งราคาขาย และกำหนดยอดขายในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม  ที่สำคัญยังช่วยให้ป้องกันปัญหาต้นทุนพุ่งจนกระทบยอดรายได้  เพราะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม   โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ที่สำคัญมีอะไรบ้าง คำนวณอย่างไรไม่ขาดทุน   1.ต้นทุนอาหาร (วัตถุดิบ) ต้นทุนวัตถุดิบอาหาร หมายรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ปรุง การตกแต่งจาน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ การทราบต้นทุนอาหาร ช่วยให้กำหนดราคาขายต่อเมนูได้อย่างแม่นยำ สูตรการคิดคำนวณต้นทุนอาหาร ต้องคำนวณจาก Yield หรือวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง เป็นหลัก เพราะฉะนั้นร้านอาหารจะต้องหา Yield ของวัตถุดิบทุกชนิด โดยขั้นตอนก็คือ การชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ และทำการเตรียมวัตถุดิบพร้อมสำหรับการปรุง เช่น เนื้อปลา เมื่อหั่นให้ได้ขนาดชิ้นตามสูตร SOP ที่กำหนดแล้ว ให้นำเนื้อปลาหลังตัดแต่ง และเนื้อปลาส่วนที่ตัดทิ้ง มาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบเพื่อคำนวณ   ค่าเปอร์เซ็นต์ Yield =  ปริมาณหลังตัดแต่ง […]

วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหา รับมืออย่างไรให้เจ๋ง พลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้

เชื่อไหมว่า….เจ้าของร้านอาหารหลายร้านไม่รู้ว่าจะมี วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหาอย่างไร ? หรือบางรายก็คิดว่าการรับมือลูกค้าเป็นเรื่องของศิลปะและประสบการณ์ ถ้าเกิดก็ปรับไปตามหน้างานก็พอ ซึ่งร้านอาหารจำนวนไม่น้อย ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการรับมือลูกค้า และไม่เคยฝึกพนักงานให้รับมือ สุดท้าย…มีร้านอาหารที่ต้องเจ๊ง เพราะรับมือกับลูกค้าไม่เป็น Customer Complain Handling เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการบริการ SOP  เพื่อให้ทีมงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งผลเสียกับร้านน้อยที่สุด  มาดูกันว่ามีแนวทางอะไรบ้าง ที่ควรรู้ก่อนนำไปกำหนดรูปแบบของร้านคุณเอง Customer Complain Handling วิธีรับมือลูกค้า ที่ควรรู้! กำหนดความร้ายแรงให้กับกรณี วิธีรับมือลูกค้า เมื่อเกิดปัญหาโดยทั่วไปนั้น มีลำดับขั้นตอนที่ไม่แตกต่างกันนัก ไม่ว่าจะเป็นการขอโทษก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นสอบถามเรื่องที่เกิดขึ้น  และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยทันที แต่สิ่งที่ทำให้การรับมือกับปัญหาต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้กว่านั้น คือ การกำหนดระดับความรุนแรงของปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดหน้าร้านเข้าไปด้วย เพราะจะช่วยให้ทีมงานร้านอาหารสามารถจัดการกับปัญหาตรงหน้าได้อย่างเหมาะสม เพราะในแต่ละช่วงเวลาร้านอาจจะยุ่ง มีลูกค้ารายอื่น ๆ ที่ต้องบริการ รวมถึงระดับความไม่พอใจของลูกค้านั้นกระทบกับบรรยากาศของร้าน หรือการบริการกับลูกค้าอื่น ๆ ต่างกัน การกำหนดระดับความรุนแรงจากมากไปน้อย เป็นเหมือนเครื่องมือในการสื่อสารกับทีมงานในส่วนต่าง ๆ ของร้านว่ากำลังใช้แผนการใดในการรับมือ เช่น ต้องเร่งรีบแค่ไหน ต้องการตัวช่วยระดับผู้จัดการหรือไม่ […]

ร้านอาหารเจ๊ง

9 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง !

รู้หรือไม่ 60 เปอร์เซ็นต์ของร้านอาหาร ปิดกิจการหรือเปลี่ยนเจ้าของภายใน 1 ปี เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น วันนี้เราจะมาดู 9 เหตุผลที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง กัน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.