4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน - Amarin Academy

เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องรู้ 4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน

เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ในฐานะเจ้าของธุรกิจอาหารจึงต้องปรับตัวตาม จากรายงานการวิจัย FoodTrips ของนีลเส็น บริษัทที่ให้ข้อมูลและการประเมินผลชั้นนำของโลก ได้ทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคต่อการ กินอาหารนอกบ้าน พบว่ามีเทรนด์ที่น่าสนใจอยู่ 4 ข้อ คืออะไรบ้าง?

 

4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน

1.ร้านสะดวกซื้อทางเลือกเบอร์ต้น

การ กินอาหารนอกบ้าน ที่เป็นที่นิยม 3 อันดับแรกของผู้บริโภคชาวไทย คือ ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายอาหารแบบแผงลอย (food stall) และอาหารข้างทาง (street food) เรียงตามลำดับ เหตุผลที่ผู้บริโภคเลือกที่จะเข้าร้านสะดวกซื้อหลักๆ แล้วเพื่อบรรเทาความหิวและเนื่องจากมีความรู้สึกว่าเป็นกิจวัตรประจำวัน

สมวลี ลิมป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย กล่าวว่า เราจะเห็นได้ว่าร้านค้าปลีกต่างๆ เช่น Lawson 108, MAXVALU, และ TOPS Daily ได้ให้ความสำคัญกับการให้บริการพื้นที่กินอาหารสำหรับลูกค้าที่เข้ามาเพื่อซื้ออาหารกินระหว่างเบรค หรืออย่างเช่น Family Mart ที่มีสาขาที่เป็น one-stop shopping destination ซึ่งมีทั้งขายของสด อาหาร บริการส่งสินค้า และแม้แต่ co-working space นี่อาจเป็นนัยสำคัญในการบ่งบอกถึงความสำคัญของการที่ผู้ค้าปลีกต้องตระหนักถึงพฤติกรรมการบริโภคและวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดีขึ้น

ซึ่งในปัจจุบัน ร้านสะดวกซื้อเหล่านี้ก็มีการพัฒนาเรื่องการบริการและความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้

 

2.เน้นกินอาหารมื้อหลักมากขึ้น

ด้านของพฤติกรรมการกินอาหารของผู้บริโภคระหว่างวัน บางคนอาจแบ่งมื้ออาหารได้ถึง 7 มื้อ ประกอบด้วยอาหารมื้อเช้า อาหารว่างก่อนมื้อเที่ยง มื้อเที่ยง อาหารว่างช่วงบ่ายหลังมื้อเที่ยง อาหารว่างช่วงบ่ายแก่ๆ มื้อเย็น และอาหารว่างรอบดึก อย่างไรก็ตามรายงาน Food Trips เผยว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมการกินอาหารว่างน้อยลง ในขณะที่เพิ่มการกินอาหารมื้อหลักอย่างมื้อเช้า กลางวัน และเย็นมากขึ้น

3.การเติบโตของร้านกาแฟ (คาเฟ่)

เมื่อพูดถึงพฤติกรรมการกินอาหารนอกบ้าน คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึงการดื่มชา กาแฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์การกินอาหารของคนไทยและมีการเติบโตที่น่าสนใจ ทั้งนี้อัตราการเข้าถึงของร้านเหล่านี้อยู่ที่ 60% ทั่วประเทศ และเฉลี่ยแล้วผู้บริโภคชาวไทยจะเข้าร้านชา กาแฟประมาณ 6 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่ผู้บริโภคในกรุงเทพนั้นเข้าร้านกาแฟโดยเฉลี่ยถึง 8 ครั้งต่อเดือน

อย่างไรก็ตามเมื่อเรามองลึกลงไปถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ดื่มกาแฟที่แยกเป็นแต่ละประเภท จะเห็นได้ว่าสัดส่วนของกลุ่มที่ดื่มกาแฟเพราะว่าแบรนด์ของกาแฟนั้นสามารถสะท้อนและส่งเสริมภาพลักษณ์ของตัวเอง มีจำนวนที่โตขึ้น  เพราะฉะนั้น นอกเหนือจากคุณภาพและการบริการที่ดีแล้ว การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและมีจุดยืนที่ชัดเจนก็เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจกาแฟควรคำนึงถึงเพื่อดึงดูดลูกค้าในอนาคต

4.อาหารพร้อมทาน

ประเภทอาหารพร้อมทาน หรือ Ready to Eat เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยให้ความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการเติบโตในต่างจังหวัดมีมากกว่าในกรุงเทพ สาเหตุหลักที่ผู้บริโภคไม่ต้องการทำอาหารเองนั้นเป็นเพราะต้องใช้เวลาในการเตรียมวัตถุดิบต่างๆ และไม่ชอบในส่วนของการทำความสะอาดหลังทำอาหาร

 

จากสภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้เราได้เห็นถึงรูปแบบการกินอาหารนอกบ้านที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละปี แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ดังนั้นการรู้เท่าทันตลาดจะทำให้เราสามารถนำเอาความรู้นั้นมาปรับกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจได้อย่างทันท่วงที

 

ข้อมูลจาก: นีลเส็น

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

เจ้าของร้านรู้หรือยัง? กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

แชร์ 10 เทคนิค ใช้ Instagram ให้ปัง เพื่อคนทำธุรกิจอาหาร

 

เรื่องแนะนำ

ถ้า ยอดขายตก อย่าเพิ่งลดราคา

ช่วงนี้ไม่ว่าจะคุยกับผู้ประกอบท่านใด ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ยอดขายตก โดยส่วนใหญ่สิ่งที่เจ้าของร้านคิดจะทำเป็นอย่างแรก เมื่อประสบปัญหานี้คือ การลดราคา

ร้านอาหารต้องพัฒนาเมนู

3 ปัจจัยที่ทำให้ ร้านอาหารต้องพัฒนาเมนู อยู่เสมอ

บางร้านอาจคิดว่า เมื่อเมนูเดิมดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องพัฒนา แต่รู้ไหม นี่เป็นจุดอ่อนสำคัญของธุรกิจ ฉะนั้นมาดูปัจจัยที่ทำให้ ร้านอาหารต้องพัฒนาเมนู ดีกว่า

Bartercard

Bartercard ทางเลือกคนทำธุรกิจ ช่วยเพิ่มยอดขาย ค่าใช้จ่ายลด

กุญแจสำคัญในการเติบโตของธุรกิจ คือ ยอดขายที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่ลดลง ดังนั้น ในยุคปัจจุบันนี้จึงมีวิธีทำการตลาดมากมาย ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยหรือทางเลือกในการทำกำไร และช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ธุรกิจของคุณ ซึ่ง Bartercard ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจของคนทำธุรกิจ ที่จะมาช่วยผู้ประกอบการในการเพิ่มยอดขาย ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย แล้วBartercard คืออะไร จะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการได้อย่างไรบ้าง เรามีคำตอบค่ะ   Bartercard ทางเลือกใหม่คนทำธุรกิจ ระบบBartercard (บาร์เทอร์คาร์ด) คือ ตลาดการค้าที่ประกอบไปด้วยผู้ถือบัตรกว่า 35,000 นักธุรกิจ เพื่อทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันโดยไม่ใช้เงินสด โดยมุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือ และการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน ปัจจุบันมีนักธุรกิจเข้าร่วมในระบบนี้ถึง 9 ประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทยด้วย สำหรับระบบการทำงานของบาร์เทอร์คาร์ดนั้น เป็นการพัฒนาการแลกเปลี่ยนซึ่งเคยเกิดขึ้นในสมัยก่อน ที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยตรง แต่การแลกเปลี่ยนโดยตรงแบบเดิมนั้น ก็มีอุปสรรคอยู่ที่ความต้องการในการแลกเปลี่ยนอาจจะไม่ตรงกันในขณะนั้น ทำให้ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนกันขึ้น ดังนั้น บาร์เทอร์คาร์ด จึงได้มีการพัฒนาหน่วยเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “เทรดบาท” ขึ้นมา 1 เทรดบาท จะเท่ากับ 1 บาท เปรียบเสมือนคุณมีบัญชีธนาคาร โดยสามารถใช้จ่ายในการซื้อสินค้าได้จากยอดเงินคงเหลือจากการขายสินค้าของคุณ หรือวงเครดิตปลอดดอกเบี้ยที่ได้รับจากบาร์เทอร์คาร์ด ข้อดีของ Bartercard คืออะไร? 1. […]

อยากโตในระบบอุตสาหกรรม ต้องทำอย่างไร ?

ช่องทางการเติบโตของธุรกิจมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขา การแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ การหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ฯลฯ แต่ช่องทางที่น่าจับตามากที่สุดตอนนี้คือ

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.