QQ dessert ขนมหวานเพื่อสุขภาพ เริ่มจากความชอบสู่ 6 สาขาทั่วกรุงเทพฯ - Amarin Academy

QQ dessert ขนมหวานเพื่อสุขภาพ เริ่มจากความชอบสู่ 6 สาขาทั่วกรุงเทพฯ

QQ dessert ขนมหวานเพื่อสุขภาพ เริ่มจากความชอบสู่ 6 สาขาทั่วกรุงเทพฯ

หลายคนคงชอบกินขนมหวานต่อท้ายมื้ออาหาร แต่พอกินเสร็จแล้วก็จะรู้สึกผิดกับตัวเองทุกครั้งว่า แบบนี้ไม่ดีต่อสุขภาพเอาเสียเลย คงจะดีกว่านี้หากทุกครั้งที่กินขนมจะรู้สึกมีความสุขและสดชื่น นั่นคือโจทย์ที่คุณแป้ง-อัชฌา เจริญรัศมีเกียรติ เจ้าของร้าน QQ dessert ขนมหวานเพื่อสุขภาพ คำนึงถึงเสมอในการทำร้านขนมหวานสูตรดั้งเดิมจากไต้หวัน เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสกับรสชาติหวานน้อย อร่อยหนักของ QQ

จุดเริ่มต้นความอร่อยของร้าน QQ Dessert

เริ่มจากครอบครัวชอบกินขนมหวานทุกชนิด หลังๆ ทุกคนเริ่มหันมาสนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น เลยมองหาว่าจะมีขนมอะไรที่กินแล้วไม่รู้สึกผิดต่อร่างกายมากเกินไปนัก จนได้ไปเที่ยวที่ไต้หวันแล้วไปเจอร้านขนมของที่นั่นที่ทุกคนชิมแล้วติดใจ จนกลับไปกินกันบ่อยๆ จนเกิดความคิดว่าเมืองไทยยังไม่มีขนมสไตล์นี้ ซึ่งเป็นขนมหวานสัญชาติไต้หวัน ประกอบไปด้วยเครื่องเคราต่างๆ ที่ให้สัมผัสหนึบหนับเวลาเคี้ยว และเป็นขนมหวานใส่น้ำแข็งเย็นๆ ที่เข้ากับสภาพภูมิอากาศร้อนแบบในบ้านเรา อีกทั้งช่วงนั้น (ปลายปี 2559) เป็นช่วงที่คนไทยให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกันมาก เราเลยคิดจริงจังที่จะนำเอาขนมหวานสัญชาติไต้หวันนี้มาให้คนไทยได้กินกัน จนเกิดเป็นร้าน QQ Dessert สาขาแรกที่ Central World ขึ้นมา

คำว่า QQ ในภาษาพูดของคนไต้หวันแปลว่า หนึบหนับ เคี้ยวเพลิน ซึ่งความหนึบหนับนี้เองเป็นรสสัมผัสที่คนไต้หวันชอบมากเป็นพิเศษ สำหรับคอนเซ็ปต์ขนมหวานของ QQ เป็นขนมหวานสูตรดั้งเดิม หวานน้อย อร่อยหนัก (Traditional healthy dessert) ในตอนเริ่มต้นของการทำร้านค่อนข้างท้าทายและยาก ที่ท้าทายคือการจะสื่อสารอย่างไรให้คนอยากมาลองกินขนมที่ร้าน เพราะอาหารไต้หวันไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักในประเทศไทย ที่รู้จักและคุ้นเคยกันดีก็มีเพียงแค่ชานมไข่มุก แต่จากประสบการณ์ที่เราเคยไปกิน เราค่อนข้างมั่นใจว่าคนอื่นๆ จะต้องชอบขนมแบบนี้เหมือนกัน บวกกับกระแสรักสุขภาพในช่วงนั้น ทำให้เราผ่านช่วงเริ่มต้นไปได้ด้วยดี พอคนเริ่มรับรู้ว่ามีขนมแบบนี้ รสชาติแบบนี้ ได้มาลองชิมเขาก็ติดใจและกลับมาเป็นลูกค้าประจำอีก

สื่อสารชัดเจนถึงความเป็นขนมเพื่อสุขภาพ

จุดเด่นของเราเป็นขนมเพื่อสุขภาพที่ทำรสชาติไม่หวานมาก มีทั้งแบบเย็นและแบบร้อนให้เลือกตามความชอบ เป็นขนมที่กินได้เรื่อยๆ และมีหลากหลายตัวเลือก เมื่อลูกค้าเขาติดใจแล้วก็มักจะกลับมากินเมนูเดิมที่เขาชอบซ้ำๆ หรืออาจมีลองเมนูที่เพิ่งเปิดตัวใหม่กันบ้าง (เพราะอยากลอง และมั่นใจว่าเป็นรสชาติที่คุ้นเคย)

เราชัดเจนในเรื่องของการทำ Branding คือการสื่อสารว่าเป็นขนมเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้เรายังมีการให้ความรู้กับลูกค้าถึงส่วนผสมว่า ขนมแต่ละชนิดทำมาจากอะไร มีส่วนผสมใดบ้าง มีประโยชน์อย่างไร เจาะกลุ่มคนที่รักสุขภาพโดยเฉพาะ ผู้สูงวัยก็สามารถกินขนมหวานที่ร้านเราได้อย่างมีความสุข ทำให้กลุ่มเป้าหมายหลักของเราเป็นกลุ่มครอบครัว ตั้งแต่เด็กตัวเล็กๆ ไปจนถึงรุ่นอากง อาม่า โดยคนทั้ง 3 เจเนอเรชันมากินขนมและใช้เวลาร่วมกันที่ร้านนี้ได้

เรื่องที่ต้องเจอเมื่อมีหลายสาขา

ปัจจุบันร้านเรามีอยู่ 6 สาขาทั่วกรุงเทพฯ การบริหารร้านหลายๆ สาขา เรามีระบบครัวกลาง มีผู้จัดการประจำแต่ละสาขา และยังมี Area manager อีกตำแหน่ง ทำให้ควบคุมงานได้อย่างเป็นระบบ เกิดจากความตั้งใจที่ว่าจะมีการขยายสาขา จึงคิดวางแผนเรื่องระบบนี้มาตั้งแต่แรก เพื่อดูแลร้านแต่ละสาขาให้มีมาตรฐานเดียวกัน แต่การที่มีหลายสาขาก็มีปัญหาตามมาเหมือนกัน เรื่องที่หนักจริงๆ คือปัญหาจากภายใน เช่น วัตถุดิบที่นำเข้ามาส่งไม่ทันเวลา ตัวเครื่องที่ใส่ในขนมหวานใช้ไม่ได้ ส่วนปัญหาการจัดคิวแม้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ก็ทำให้เราหนักใจ เพราะในสาขาที่มีคนมายืนรอแน่นร้าน เราก็อยากให้ลูกค้าได้รับบริการที่รวดเร็ว

โดยเฉพาะช่วงแรกๆ เรื่องคิวค่อนข้างจะมีปัญหา เนื่องมาจากผลตอบรับที่ดีมาก จนเรายังไม่ทันตั้งตัวในการรับมือกับลูกค้าที่หลั่งไหลเข้ามา อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราก็เรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้น โดยแต่ละปัญหาล้วนมีวิธีแก้ไข ในเมื่อมีคนมายืนรอแน่นหน้าร้านทุกวัน เราก็ใช้วิธีขยายสาขาเพื่อระบายคนให้ไปใช้บริการในสาขาอื่นๆ

มุมมองด้านบวกคือปัจจัยในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

ปัจจัยในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จึงขึ้นอยู่กับมุมมองของเจ้าของธุรกิจคนนั้น อย่างที่เรามีความชอบ เมื่อชอบแล้วก็จะมีความใส่ใจในทุกๆ กระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ คุณภาพ และรสชาติ รวมไปถึงใส่ใจว่าเรากินขนมแบบนี้แล้วรู้สึกสดชื่น รู้สึกสุขภาพดี ทำให้เราอยากสื่อสารออกไปให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ ประกอบกับใจที่เราอยากทำอะไรดีๆ ให้กับลูกค้า คงเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันจนเรามีวันนี้ได้

อีกเรื่องหนึ่งคือมุมมองต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาเมื่อแก้แล้วก็ต้องให้มันจบตรงนั้น ถ้าแก้ไปแล้วแต่ยังไปจมอยู่กับตรงนั้นก็จะกลายเป็นการคิดวนเป็นวงจรเดิม ดังนั้นเราต้องมองไปข้างหน้า แก้ปัญหาให้จบแล้วคิดว่าจะทำอย่างไรต่อให้ดีขึ้น และเรียนรู้ว่าเมื่อเจอกับปัญหาแบบนี้อีกเราจะมีวิธีการรับมือที่ดีอย่างไร

หัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ ไม่ว่าเราจะทำธุรกิจใหญ่หรือเล็กขนาดไหน ถ้าหากว่าได้ลองลงมือทำจริงด้วยตัวเอง ได้เห็นผลตอบรับของลูกค้า ก็จะทำให้เราเรียนรู้และแก้ปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

 

บทความที่น่าสนใจ

ศรีตราด มากกว่าอาหารคือ ประสบการณ์ของผู้มาเยือน

Thank God It’s Organic ธุรกิจปิ่นโตเดลิเวอรี่เพื่อสุขภาพ

เรื่องแนะนำ

จริงหรือไม่!? ร้านสวยแม้กาแฟแย่คนก็ซื้อ? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์มุมมอง กาแฟแย่และแพง แต่คนเยอะมากเพราะถ่ายรูปสวย หรือคาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว?

จริงหรือไม่!? ร้านสวยแม้กาแฟแย่คนก็ซื้อ? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์มุมมอง กาแฟแย่และแพง แต่คนเยอะมากเพราะถ่ายรูปสวย หรือ “คาเฟ่” เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว? เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในทวิตเตอร์ เมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ได้มีการแชร์มุมมองเกี่ยวกับรสชาติของเครื่องดื่มและอาหารของร้าน คาเฟ่ ว่ามักจะมีรสชาติแย่ ในขณะที่ราคาแพงมาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีผู้ไปใช้บริการเยอะมาก ด้วยเหตุผลว่าเพราะร้านนั้นถ่ายรูปสวย และเธอยังได้ตั้งคำถามต่ออีกว่า ทำไมคาเฟ่ที่มีมุมถ่ายรูปถึงได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ ได้ขนาดนี้ จนบางทีเธอก็คิดว่าทำไมให้ทำคาเฟ่ให้เป็นสตูดิโอถ่ายรูปไปเลย… โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้ยังได้เสริมถึงเรื่องนี้อีกว่า ที่เธอได้พูดถึงประเด็นนี้ขึ้นมา เพราะรู้สึกว่าการที่คนซื้อเครื่องดื่มหรืออาหารมาแล้วกินไม่หมด เพราะว่าไม่อร่อย ทำให้เกิด waste จากการบริโภคได้ ความเห็นจากชาวเน็ต ซึ่งหลังจากเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ให้ความสนใจเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม บ้างก็บอกว่า “ไปคาเฟ่ไหนๆ ก็ไม่เจอที่เครื่องดื่มถูกปากเลยค่ะ ราคาก็แรงมากส่วนใหญ่แก้วละ 60-150 เลยนะที่เจอมา” “คาเฟ่แบบนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ได้ไม่นานหรอก ต่อให้ร้านสวยถ้าของกินแพงแต่คุณภาพห่วย คงไม่มีใครไปซ้ำเกิน 2 ครั้งหรอกค่ะ มุมก็มุมเดิม เข้าใจแหละว่าช่วงนี้คนไม่ค่อยได้เที่ยวไหน ร้านกาแฟสวยๆ สักร้านก็ทำให้ผ่อนคลายเหมือนไปเที่ยวพักผ่อนได้ แต่สิ่งที่น่าจะดึงดูดได้จริงคือคุณภาพสินค้า” บ้างก็บอกว่า “บางร้านก็อร่อยนะคะ แต่ชาวเซลฟี่เยอะไปหน่อย เดินวนถ่ายทั่วร้านจนทำให้คนที่อยากไปนั่งกินเฉย ๆ รู้สึกไม่เป็นส่วนตัวเหมือนโดนคุกคามก็มี นั่งกินอยู่ดี ๆ มายืนจ้องแบบฉันจะถ่ายตรงนี้แกลุกไปสิ”  คาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต? […]

แชร์มุมมอง “แม่ค้าปากไม่ดี แต่มีคนซื้อ” เสียงแตกเป็นสองฝ่าย มีทั้งซื้อและไม่ซื้อ

กรณีศึกษา แม่ค้าปากไม่ดี แต่มีคนซื้อ แชร์มุมมองจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ เสียงแตกเป็นสองฝ่าย มีทั้งซื้อและไม่ซื้อ อาหารอร่อยแต่แม่ค้าปากจัดคุณยังจะซื้ออยู่ไหม ? เป็น Topic ที่ถูกพูดถึงมากในโลกของ Twitter ขณะนี้ กับเรื่องการซื้อสินค้าจากคนขายที่ค่อนข้างปากจัด ซึ่งก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างให้ความสนใจร่วมพูดถึงเรื่องนี้กันอย่างล้นหลาม โดยส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็นไปทางไม่ชอบ และไม่อยากสนับสนุน เพราะชอบแม่ค้าที่พูดจาน่ารัก ๆ มากกว่า เช่น 🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬 👤💬 “ไม่เคยคิดจะซื้อของกับแม่ค้าปากจัด พูดคำหยาบคายแล้วอ้างว่าเป็นคนตรงๆ เลย ด่าจนชินแล้วมีคนอวยยิ่งชอบด่า จนบางเรื่องที่มันไม่ตลกก็ยังมาแถแบบติดคำด่าอีก เพราะคิดว่าคนคงไม่โกรธเพราะฉันเป็นแบบนี้อยู่แล้ว จนลืมคำว่ากาลเทศะและมารยาทไป อุดหนุนแม่ค้าน่ารักๆ พูดเพราะๆ ดีกว่า” 👤💬 “ไม่เคยซื้อของแม่ค้าปากจัดเลย เพราะไม่ชอบการขายของแบบปากจัดอ่ะ ฉันคิดตลอดเลยว่าทำไมฉันต้องเสียเงินซื้อของกับแม่ค้าที่ด่าเราด้วยว่ะ คนชอบมันก็มีแหละ แต่นี่ไม่ชอบ ไม่เคยชอบ ชอบแม่ค้าพูดจาดี ๆ รู้สึกเสียเงินให้เขาแล้วมันสบายใจ” 🔸ด้านคนค้าขายอื่น ๆ ก็ได้มาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน 👤💬 “แปลกใจที่มีลูกค้าชอบแม่ค้าปากจัดเหวี่ยงวีน นี้ไม่เคยหยาบเลย ขอบคุณค่ะ ได้เลยค่ะ พร้อมอิโมจิยิ้ม ใช้เปลืองมากใน 1 แชทขายของ […]

Food safety culture

Food safety culture มาตรฐานใหม่ของธุรกิจอาหาร by สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่

        ความสะอาดของอาหาร เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการร้านอาหารทุกคนต้องใส่ใจ แต่ Food safety culture หรือวัฒนธรรมความปลอดภัยของธุรกิจอาหารนี้ จะมีวิธีสร้างขึ้นได้อย่างไร และจะมีประโยชน์แค่ไหน คุณจันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จะมาแชร์ให้ฟังกันค่ะ Food safety culture ทางสู่ความยั่งยืนของธุรกิจอาหาร         Foodssafety culture: ก่อนและหลังวิกฤตไวรัส         Foodssafety culture เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ก่อนที่จะมีวิกฤต COVID-19 อาจารย์มองว่าเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหารยังเป็นอะไรที่ไม่ชัดเจน ในภาคฝั่งรัฐบาลเริ่มมีการพัฒนากฎหมายรองรับ ออกเป็นกฎกระทรวงในปี 2561 เกี่ยวกับเรื่องของสุขลักษณะในการให้บริการอาหารออกมา แต่ในด้านของผู้ประกอบการอย่างแท้จริงแล้ว พฤติกรรมของคนทั่วไปค่อนข้างจะยังละเลย ยังไม่ให้ความสำคัญมากนัก          แต่ธุรกิจที่ให้ความสำคัญมากๆ น่าจะเป็นกลุ่มของธุรกิจร้านอาหารเครือข่าย (Food chain) ซึ่งมีบริษัทแม่ที่มีนโยบายชัดเจน หรือว่ากลุ่มของโรงแรมห้าดาว […]

Patom Organic Living

Patom Organic Living คาเฟ่ออร์แกนิก ต่อยอดธุรกิจจาก “สามพราน ริเวอร์ไซด์”

Patom Organic Living คาเฟ่แห่งใหม่ใจกลางเมือง ที่เปิดบริการเพียงไม่กี่เดือน แต่กลับได้รับผลตอบรับดีเกินคาด เคล็ดลับความสำเร็จของเขาคืออะไร ไปติดตามกันเลย

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.