QQ dessert ขนมหวานเพื่อสุขภาพ เริ่มจากความชอบสู่ 6 สาขาทั่วกรุงเทพฯ - Amarin Academy

QQ dessert ขนมหวานเพื่อสุขภาพ เริ่มจากความชอบสู่ 6 สาขาทั่วกรุงเทพฯ

QQ dessert ขนมหวานเพื่อสุขภาพ เริ่มจากความชอบสู่ 6 สาขาทั่วกรุงเทพฯ

หลายคนคงชอบกินขนมหวานต่อท้ายมื้ออาหาร แต่พอกินเสร็จแล้วก็จะรู้สึกผิดกับตัวเองทุกครั้งว่า แบบนี้ไม่ดีต่อสุขภาพเอาเสียเลย คงจะดีกว่านี้หากทุกครั้งที่กินขนมจะรู้สึกมีความสุขและสดชื่น นั่นคือโจทย์ที่คุณแป้ง-อัชฌา เจริญรัศมีเกียรติ เจ้าของร้าน QQ dessert ขนมหวานเพื่อสุขภาพ คำนึงถึงเสมอในการทำร้านขนมหวานสูตรดั้งเดิมจากไต้หวัน เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสกับรสชาติหวานน้อย อร่อยหนักของ QQ

จุดเริ่มต้นความอร่อยของร้าน QQ Dessert

เริ่มจากครอบครัวชอบกินขนมหวานทุกชนิด หลังๆ ทุกคนเริ่มหันมาสนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น เลยมองหาว่าจะมีขนมอะไรที่กินแล้วไม่รู้สึกผิดต่อร่างกายมากเกินไปนัก จนได้ไปเที่ยวที่ไต้หวันแล้วไปเจอร้านขนมของที่นั่นที่ทุกคนชิมแล้วติดใจ จนกลับไปกินกันบ่อยๆ จนเกิดความคิดว่าเมืองไทยยังไม่มีขนมสไตล์นี้ ซึ่งเป็นขนมหวานสัญชาติไต้หวัน ประกอบไปด้วยเครื่องเคราต่างๆ ที่ให้สัมผัสหนึบหนับเวลาเคี้ยว และเป็นขนมหวานใส่น้ำแข็งเย็นๆ ที่เข้ากับสภาพภูมิอากาศร้อนแบบในบ้านเรา อีกทั้งช่วงนั้น (ปลายปี 2559) เป็นช่วงที่คนไทยให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกันมาก เราเลยคิดจริงจังที่จะนำเอาขนมหวานสัญชาติไต้หวันนี้มาให้คนไทยได้กินกัน จนเกิดเป็นร้าน QQ Dessert สาขาแรกที่ Central World ขึ้นมา

คำว่า QQ ในภาษาพูดของคนไต้หวันแปลว่า หนึบหนับ เคี้ยวเพลิน ซึ่งความหนึบหนับนี้เองเป็นรสสัมผัสที่คนไต้หวันชอบมากเป็นพิเศษ สำหรับคอนเซ็ปต์ขนมหวานของ QQ เป็นขนมหวานสูตรดั้งเดิม หวานน้อย อร่อยหนัก (Traditional healthy dessert) ในตอนเริ่มต้นของการทำร้านค่อนข้างท้าทายและยาก ที่ท้าทายคือการจะสื่อสารอย่างไรให้คนอยากมาลองกินขนมที่ร้าน เพราะอาหารไต้หวันไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักในประเทศไทย ที่รู้จักและคุ้นเคยกันดีก็มีเพียงแค่ชานมไข่มุก แต่จากประสบการณ์ที่เราเคยไปกิน เราค่อนข้างมั่นใจว่าคนอื่นๆ จะต้องชอบขนมแบบนี้เหมือนกัน บวกกับกระแสรักสุขภาพในช่วงนั้น ทำให้เราผ่านช่วงเริ่มต้นไปได้ด้วยดี พอคนเริ่มรับรู้ว่ามีขนมแบบนี้ รสชาติแบบนี้ ได้มาลองชิมเขาก็ติดใจและกลับมาเป็นลูกค้าประจำอีก

สื่อสารชัดเจนถึงความเป็นขนมเพื่อสุขภาพ

จุดเด่นของเราเป็นขนมเพื่อสุขภาพที่ทำรสชาติไม่หวานมาก มีทั้งแบบเย็นและแบบร้อนให้เลือกตามความชอบ เป็นขนมที่กินได้เรื่อยๆ และมีหลากหลายตัวเลือก เมื่อลูกค้าเขาติดใจแล้วก็มักจะกลับมากินเมนูเดิมที่เขาชอบซ้ำๆ หรืออาจมีลองเมนูที่เพิ่งเปิดตัวใหม่กันบ้าง (เพราะอยากลอง และมั่นใจว่าเป็นรสชาติที่คุ้นเคย)

เราชัดเจนในเรื่องของการทำ Branding คือการสื่อสารว่าเป็นขนมเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้เรายังมีการให้ความรู้กับลูกค้าถึงส่วนผสมว่า ขนมแต่ละชนิดทำมาจากอะไร มีส่วนผสมใดบ้าง มีประโยชน์อย่างไร เจาะกลุ่มคนที่รักสุขภาพโดยเฉพาะ ผู้สูงวัยก็สามารถกินขนมหวานที่ร้านเราได้อย่างมีความสุข ทำให้กลุ่มเป้าหมายหลักของเราเป็นกลุ่มครอบครัว ตั้งแต่เด็กตัวเล็กๆ ไปจนถึงรุ่นอากง อาม่า โดยคนทั้ง 3 เจเนอเรชันมากินขนมและใช้เวลาร่วมกันที่ร้านนี้ได้

เรื่องที่ต้องเจอเมื่อมีหลายสาขา

ปัจจุบันร้านเรามีอยู่ 6 สาขาทั่วกรุงเทพฯ การบริหารร้านหลายๆ สาขา เรามีระบบครัวกลาง มีผู้จัดการประจำแต่ละสาขา และยังมี Area manager อีกตำแหน่ง ทำให้ควบคุมงานได้อย่างเป็นระบบ เกิดจากความตั้งใจที่ว่าจะมีการขยายสาขา จึงคิดวางแผนเรื่องระบบนี้มาตั้งแต่แรก เพื่อดูแลร้านแต่ละสาขาให้มีมาตรฐานเดียวกัน แต่การที่มีหลายสาขาก็มีปัญหาตามมาเหมือนกัน เรื่องที่หนักจริงๆ คือปัญหาจากภายใน เช่น วัตถุดิบที่นำเข้ามาส่งไม่ทันเวลา ตัวเครื่องที่ใส่ในขนมหวานใช้ไม่ได้ ส่วนปัญหาการจัดคิวแม้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ก็ทำให้เราหนักใจ เพราะในสาขาที่มีคนมายืนรอแน่นร้าน เราก็อยากให้ลูกค้าได้รับบริการที่รวดเร็ว

โดยเฉพาะช่วงแรกๆ เรื่องคิวค่อนข้างจะมีปัญหา เนื่องมาจากผลตอบรับที่ดีมาก จนเรายังไม่ทันตั้งตัวในการรับมือกับลูกค้าที่หลั่งไหลเข้ามา อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราก็เรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้น โดยแต่ละปัญหาล้วนมีวิธีแก้ไข ในเมื่อมีคนมายืนรอแน่นหน้าร้านทุกวัน เราก็ใช้วิธีขยายสาขาเพื่อระบายคนให้ไปใช้บริการในสาขาอื่นๆ

มุมมองด้านบวกคือปัจจัยในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

ปัจจัยในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จึงขึ้นอยู่กับมุมมองของเจ้าของธุรกิจคนนั้น อย่างที่เรามีความชอบ เมื่อชอบแล้วก็จะมีความใส่ใจในทุกๆ กระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ คุณภาพ และรสชาติ รวมไปถึงใส่ใจว่าเรากินขนมแบบนี้แล้วรู้สึกสดชื่น รู้สึกสุขภาพดี ทำให้เราอยากสื่อสารออกไปให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ ประกอบกับใจที่เราอยากทำอะไรดีๆ ให้กับลูกค้า คงเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันจนเรามีวันนี้ได้

อีกเรื่องหนึ่งคือมุมมองต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาเมื่อแก้แล้วก็ต้องให้มันจบตรงนั้น ถ้าแก้ไปแล้วแต่ยังไปจมอยู่กับตรงนั้นก็จะกลายเป็นการคิดวนเป็นวงจรเดิม ดังนั้นเราต้องมองไปข้างหน้า แก้ปัญหาให้จบแล้วคิดว่าจะทำอย่างไรต่อให้ดีขึ้น และเรียนรู้ว่าเมื่อเจอกับปัญหาแบบนี้อีกเราจะมีวิธีการรับมือที่ดีอย่างไร

หัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ ไม่ว่าเราจะทำธุรกิจใหญ่หรือเล็กขนาดไหน ถ้าหากว่าได้ลองลงมือทำจริงด้วยตัวเอง ได้เห็นผลตอบรับของลูกค้า ก็จะทำให้เราเรียนรู้และแก้ปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

 

บทความที่น่าสนใจ

ศรีตราด มากกว่าอาหารคือ ประสบการณ์ของผู้มาเยือน

Thank God It’s Organic ธุรกิจปิ่นโตเดลิเวอรี่เพื่อสุขภาพ

เรื่องแนะนำ

คุ้มกะตังค์

คุ้มกะตังค์ ต้นแบบการจัดการร้านอาหารอย่างมืออาชีพ

คุ้มกะตังค์ ร้านอาหารในเครือ บริษัท มัลลิการ์ ตั้งราคาไม่เกิน 59 บาท แถมยังใช้วัตถุดิบมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน แนวคิดการบริหารงานเป็นอย่างไร เราจะมาไขความลับกัน

เสวย

ถอดเคล็ดลับ “เสวย” จากรุ่นสู่รุ่น รีแบรนด์ใหม่อย่างไร ให้ปัง!

” เสวย ” ร้านอาหารไทยที่เปิดมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ปี 1972 เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์ร้านอาหารไทยที่เก่าแก่ร้านหนึ่ง และยังเป็นร้านอาหารที่ได้รับ ตราสัญลักษณ์ Thai Select จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งมอบให้แก่ร้านอาหารที่มีคุณภาพดีเยี่ยม และเป็นร้านที่ขายอาหารไทยต้นตำรับคุณภาพดี เป็นการบ่งชี้ว่าได้มาตรฐานอาหารไทย ตามแบบวิธีการปรุงอาหารไทย ใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงอาหารไทย  ซึ่งร้านเสวย เปิดมายาวนานกว่าสี่สิบปี แบรนด์ที่เก่าแก่นี้ได้ถูกส่งไม้ต่อให้กับทายาทรุ่นที่ 2 อย่าง คุณตาม พีรพงศ์ ดาวพิเศษ ด้วยอายุของแบรนด์ รวมถึงกลุ่มลูกค้าเดิมที่อายุเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงเวลาที่ต้องจับกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ และรีแบรนด์ใหม่ เสวย จะมีวิธีอย่างไร ที่ทำให้ร้านปังยิ่งขึ้น   “ เสวย ” จากรุ่นสู่รุ่น รีแบรนด์ใหม่อย่างไร ให้ปัง! คุณตาม พีรพงศ์ เล่าว่า ปีนี้เป็นปีที่ 6 แล้ว นับจากวันที่เริ่มเข้ามาบริหารร้านเสวย การรับช่วงต่อจากรุ่นคุณพ่อ ที่ร้านเป็นที่รู้จักแล้ว ไม่ได้หมายความว่าการเข้ามาบริหารในรุ่นที่ 2 นี้ เส้นทางจะโรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป “ช่วงแรกที่เข้ามาบริหาร เรียกว่าขาดทุนย่อยยับก็ว่าได้ พอของไม่สดผมทิ้งเลย ช่วงแรกร้านขาดทุนมากขึ้นเกือบ 3 เท่า […]

gismo

GISMO ร้านอาหารเล็กๆ แต่วางระบบแบบโรงแรม 5 ดาว

GISMO ร้านอาหารน้องใหม่ย่านสุขุมวิท อยู่รอดและมีกำไรได้ แม้เปิดตัวในช่วงโลซีชั่น วันนี้เชฟปรัชจะมาเผยเทคนิคการบริหารงาน ตามแบบฉบับของเชฟโรงแรม 5 ดาวให้ฟัง

Covid-19

ร้านอาหารต้องรอด! โชนัน (ChouNan) เพิ่มมาตรการ ปรับกลยุทธ์ รับมือ Covid-19

#ร้านอาหารเราต้องรอด …. เรียกว่าขอติดแฮชแท็กนี้ให้กับเหล่าผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในช่วงนี้เลยค่ะ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทุกท่าน ที่ต้องมีการปรับตัวกันอย่างเต็มที่ เพื่อรับมือกับวิกฤต Covid-19 ในช่วงนี้ให้ได้ และเพื่อให้ร้านอยู่รอด หลายร้านเราเริ่มเห็นแล้วว่ามีการเพิ่มมาตรการเรื่องความสะอาด ปลอดภัยภายในร้านมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ร้านโชนัน (ChouNan) ที่ไม่นิ่งนอนใจกับเรื่องนี้ และต้องบอกว่า โชนันมีการวางแผนเรื่องความสะอาด ปลอดภัยมาดีตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดแบบนี้ขึ้น ทางร้านจะมีมาตรการใดที่เพิ่มขึ้น และในแง่ของกลยุทธ์การขาย ต้องปรับตัวอย่างไร คุณปอ – กุลวัชร ภูริชยวโรดม เจ้าของร้าน โชนัน และคุณเบิร์ด – พิพัฒน์ สละสำลี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จะมาแชร์ให้ฟังกันค่ะ   โชนัน (ChouNan) เพิ่มมาตรการ ปรับกลยุทธ์ รับมือ Covid-19 เรื่องของความสะอาด ปลอดภัย เรียกได้ว่าเราทำมานานแล้ว โดยเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว โชนันได้เข้าร่วมกับโครงการ GMP in Mass Catering ของสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นโครงการที่ต้องการยกระดับธุรกิจอาหารไทยและผู้ปรุงอาหารไทยให้ปลอดภัยได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นการนำมาตราฐาน […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.