“First, Best or Different" 3 ทางรอดของธุรกิจ ยุคนี้ - Amarin Academy

“First, Best or Different” 3 ทางรอดของธุรกิจ ยุคนี้

 “The first The best or The different” 3 ทางรอดของธุรกิจ

“To make it in this business, you either have to be first, best, or different” เป็นคำกล่าวของ Loretta Lynn นักร้องเพลงคันทรี่ในตำนานที่ยังมีชีวิตอยู่ ผมยอมรับว่าไม่รู้จัก แต่พอได้ยินครั้งแรกก็รู้สึกว่าจริงเป็นที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ธุรกิจร้านอาหารมีการแข่งขันรุนแรงอย่างเช่นทุกวันนี้ ในระยะเวลา 1 ปี มีหลายร้านล้มหายตายจากไป ขณะเดียวกันก็มีผู้เล่นหน้าใหม่ที่พร้อมจะกระโจนสู่ธุรกิจนี้ตลอดเวลา เมื่อเราวิเคราะห์กันดีๆ จะพบว่า ทางรอดของธุรกิจ ในยุค นี้มีธุรกิจเพียง 3 ประเภทเท่านั้น คือ ร้านแรก ร้านที่ดีที่สุด และร้านที่แตกต่าง

  1. The first

ผู้เริ่มธุรกิจเป็นคนแรกหรือกลุ่มแรก ย่อมมีโอกาสกอบโกยได้ก่อนเจ้าอื่นๆ การที่เราจะเป็นคนแรกในธุรกิจนี้ได้ จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ที่มากกว่าคนอื่น และคาดการณ์ตลาดได้ดีกว่า บางทีลูกค้าอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า จริงๆ แล้วตัวเองต้องการอะไร ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่เราที่ต้องสร้างความต้องการให้ลูกค้า

การเป็นเจ้าแรกอาจหมายถึง การเป็นเจ้าแรกในประเภทอาหารนั้นๆ หรือเป็นเจ้าแรกในทำเลนั้น

เช่น ร้านเฝอ 54 ร้านอาหารชื่อดังย่านโชคชัยสี่และลาดพร้าววังหิน เป็นเจ้าแรกที่นำเสนอ เฝอ ก๋วยเตี๋ยวเวียดนาม ในรูปแบบหม้อไฟ จึงได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างล้นหลาม เพราะยังไม่เคยมีในตลาดมาก่อน รวมถึงรสชาติอาหารที่ถูกปากกลุ่มลูกค้า (อ่านบทสัมภาษณ์ ร้านเฝอ 54)

อย่างไรก็ตาม การเป็นเจ้าแรกไม่ได้การันตีว่าจะสามารถอยู่รอดได้ คุณอาจจะแฮปปี้ในช่วงแรก (ที่ยังไม่มีคู่แข่งเข้ามา) แต่เมื่อไรที่คุณหยุดพัฒนาตัวเอง หรือไม่สามารถรักษาฐานลูกค้าได้อย่างเหนียวแน่น ย่อมมีโอกาสที่เจ้าที่มาทีหลัง จะแซงคุณขึ้นไปได้อย่างแน่นอน

  1. The best

ถ้าคุณไม่ได้เป็นเจ้าแรกในตลาด สิ่งที่จะทำให้คุณแชร์ตลาดหรือเป็นที่รู้จักได้คือ การเป็นที่หนึ่งหรือทำให้ดีกว่าเจ้าเดิม ดังเช่นคำที่ว่า me too but do better จำไว้ว่าลูกค้าจะจดจำเฉพาะร้านใน 3 อันดับแรกเท่านั้น ถ้าชื่อร้านคุณไม่สามารถขึ้นไปเป็นอันดับต้นๆ ในใจลูกค้าได้ ก็เตรียมตัวถูกลืมไปได้เลย

คำว่าดีที่สุด ไม่ได้หมายถึง ต้องเสิร์ฟอาหารที่อร่อยที่สุด หรือใช้วัตถุดิบที่ดีที่สุดเสมอไป แต่คือสิ่งที่ลูกค้าบอกว่าคุณดีที่สุดในมุมมองของเขา

ร้านข้าวมันไก่ประตูหน้าโกอ่าง เป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่ง แน่นอนว่าร้านนี้อาจไม่ใช่ร้านข้าวมันไก่เจ้าแรกในกรุงเทพฯ หรือแม้แต่ในย่านประตูน้ำ แต่ความใส่ใจในการบริการที่มีมาตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี บวกกับการพัฒนาคุณภาพและรสชาติอาหารอยู่ตลอด ทำให้ปัจจุบันแทบจะไม่มีใครไม่รู้จัก และจำนวนคนที่ยืนรอหน้าร้านในทุกๆ วัน (ชาวต่างชาติบางคนถึงกับต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมากต่อคิว) คงเป็นเครื่องยืนยันคำว่า “ดีที่สุด” ได้เป็นอย่างดี (อ่านบทสัมภาษณ์ ร้านข้าวมันไก่ประตูน้ำโกอ่าง)

3.The different

ถ้าเราไม่ได้มากลุ่มแรกหรือทำได้ดีที่สุด สิ่งสุดท้ายที่เราต้องทำเพื่อให้อยู่รอดคือ ความแตกต่าง ไม่ว่าจะแตกต่างด้วยอาหาร แบรนด์ดิ้ง หรือการบริการ

ความแตกต่างอาจทำให้เราได้กลุ่มลูกค้าเฉพาะ (niche market) คนพวกนี้อาจกำลังเบื่อสิ่งที่มีอยู่และกำลังมองหาอะไรใหม่ๆ ถ้าเราทำให้คนกลุ่มนี้รักเราได้ ก็มีโอกาสที่พวกเขาจะบอกต่อให้เพื่อนมาใช้บริการเพิ่มขึ้น ความแตกต่างทำให้คุณมีที่ยืนในตลาด มีกลุ่มลูกค้าเฉพาะ โดยที่คุณอาจไม่ใช่เจ้าแรกหรือเจ้าที่ดีที่สุด

ร้าน Penguin Eat Shabu ได้ยึดถือความแตกต่างมาตั้งแต่ตอนเริ่มทำธุรกิจ ด้วยความที่ร้านอาหารประเภทชาบูชาบูหรือสุกี้ เป็นประเภทอาหารที่หาความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ได้ค่อนข้างยาก อีกทั้งมีผู้เล่นในตลาดนี้เป็นร้อยๆ เจ้าอยู่แล้ว การสร้างความแตกต่างในเรื่องของแบรนด์จึงเป็นจุดที่เราโฟกัส ตั้งแต่การตั้งชื่อร้านซึ่งเราใช้เพนกวินเป็นตัวสื่อสารกับลูกค้า การตกแต่งที่ต่างจากร้านญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง รวมถึงการทำการตลาด แม้วิธีนี้จะค่อนข้างเสี่ยง แต่ถ้าเราเลือกทำเหมือนร้านชาบูทั่วไป เราก็คงเป็นได้แค่ผู้ตามตลอดไป (อ่านบทสัมภาษณ์ ร้าน Penguin Eat Shabu)

ทั้งนี้สิ่งที่ต้องคำนึง เมื่อเราเลือกนำเสนอความแตกต่างคือ แตกต่างได้ แต่ต้องตอบโจทย์ลูกค้าของเราด้วย เพราะต่อให้เราต่างมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าก็เปล่าประโยชน์

ถ้าธุรกิจใดเป็นได้ทั้ง 3 ประเภทนี้ ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะนั่นหมายถึงโอกาสประสบความสำเร็จก็มากตามไปด้วย แต่หากทำเช่นนั้นไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดเราต้องเลือกเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทุกวันนี้ การเป็นเจ้าแรก ดีที่สุด หรือ แตกต่าง อาจไม่ได้การันตีผลสำเร็จในระยะยาวอีกต่อไป ผู้นำอาจกลายเป็นผู้ตามได้ในชั่วข้ามคืน ฉะนั้นการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดจะทำให้เรายังมีที่ยืนอยู่ในตลาดนี้ได้

เรื่องแนะนำ

สร้างแบรนด์

How to ให้ลูกค้าเต็มใจจ่ายแม้ราคาสูง! ตอบโจทย์ด้วย การสร้างแบรนด์

เคยสงสัยไหมว่า ร้านอาหารที่ขายเมนูเหมือนๆกัน ใช้วัตถุดิบคุณภาพเดียวกัน รสชาติก็ยังอร่อยเหมือนกันอีก แต่ทำไมบางร้านที่ขายอาหารในราคาสูง กลับมีลูกค้าที่พอใจมาใช้บริการแทนที่จะไปร้านที่ราคาถูกกว่า สิ่งที่สามารถยกระดับร้านอาหารขึ้นมาและเพิ่มมูลค่าได้ นั้นคือ “การสร้างแบรนด์” How to ให้ลูกค้าเต็มใจจ่ายแม้ราคาสูง! ตอบโจทย์ด้วย การสร้างแบรนด์ มีประโยคหนึ่งที่มีคนกล่าวไว้ “ของแพงไม่มีอยู่จริง มีแต่ของที่คุ้ม กับไม่คุ้ม” แน่นอนว่าราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อ แต่มากกว่านั้นคือลูกค้ายอมจ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับสิ่งที่ให้ความพึงพอใจได้มากกว่า เรียกได้ว่าถ้าโดนใจแล้ว ราคาเท่าไหร่ก็คุ้มค่า เหมือนการซื้อกาแฟจากร้านแบรนด์ดัง ลูกค้าจะรู้สึกถูกยกระดับขึ้นทันที เมื่อได้ถือไปที่ต่างๆ หรือแม้แต่ถ่ายรูปอวดเพื่อน นั่นคือความสำคัญของแบรนด์ต่อธุรกิจอาหาร   การสร้างแบรนด์ คืออะไร ? Branding หรือกระบวนการสร้างแบรนด์ เป็นการออกแบบภาพลักษณ์และความเป็นตัวตนของร้านอาหาร ผ่านการออกแบบโลโก้ สื่อโฆษณา คอนเทนต์ในสื่อออนไลน์ต่างๆ แม้แต่คอมเมนต์ในที่โต้ตอบกับลูกค้าในโซเชียลมีเดีย ก็ถือเป็นการสร้างแบรนด์ทั้งสิ้น  โดยการสร้างแบรนด์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสื่อสารให้แก่ลูกค้าว่า ร้านอาหารของเราขายอะไร มีจุดเด่นเอกลักษณ์อะไรบ้าง สร้างความแตกต่างให้ร้านโดดเด่นออกมาจากร้านอื่น ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค และนำไปสู่ความสนใจใช้บริการร้านอาหาร อาหารอร่อยอยู่แล้ว ทำไมสร้างแบรนด์อีก ? สมัยนี้ ความอร่อยอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะร้านอาหารที่อร่อยนั้นหาได้ง่าย ความอร่อยกลายเป็นพื้นฐานที่ร้านอาหารควรมี แต่สิ่งที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกร้านคุณนั้นก็คือ “ความรู้สึก” […]

กลยุทธ์การตั้งราคา

กลยุทธ์การตั้งราคา ทำอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึกว่า “คุ้ม”

เคยเข้าร้านแล้วเจอสินค้าที่รู้สึกว่า ถ้าไม่ซื้อจะถือว่าพลาดไหม นั่นเป็นเพราะเจ้าของร้านใช้ กลยุทธ์การตั้งราคา ที่ทำให้รู้สึกว่าคุ้มค่า แม้ต้องเสียเงินเพิ่ม

มัดใจลูกค้า

กระตุ้นการซื้อซ้ำ มัดใจลูกค้า ด้วยLine@

โลกในยุคนี้ที่อะไรๆ ก็ทำได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกสบายที่มีมากขึ้น คู่แข่งทางการตลาดในสินค้าหรือบริการชนิดเดียวกันที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

“อาหารเพื่อสุขภาพ” เทรนด์มาแรงสายคลีน โอกาสทองของคนอยากมีธุรกิจ

หนึ่งในปัจจัยภายในที่จะทำให้มีสุขภาพที่ดีได้นั้น คงหนีไม่พ้น “อาหาร” นาทีนี้เรื่องของ “อาหารเพื่อสุขภาพ” หรือ อาหารคลีนฟู้ด กำลังได้รับความนิยม อาจเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์มาแรงของคนยุคใหม่ ที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ตลาดธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพขยายตามไปด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่สนใจอยากเปิดร้านอาหาร การลงทุนกับอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจและเริ่มต้นได้ไม่ยาก วันนี้เราจึงขอนำเสนอแนวทางที่จะช่วยให้ทุกคนตีโจทย์ลักษณะของธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพมาเป็นแนวทางในการนำไปเริ่มธุรกิจกัน 1.จุดยืนของอาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่า อาหารของเราทำมาจากวัตถุดิบที่สดใหม่และได้คุณภาพ ปรุงรสและผ่านกรรมวิธีที่ไม่ได้ลดคุณค่าทางอาหารจนเกินไป หากสนใจลงทุนกับธุรกิจด้านนี้แล้ว เจ้าของธุรกิจอย่างเราก็ควรศึกษาหาความรู้เรื่องโภชนาการและคุณค่าทางอาหารต่างๆ ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อเอ่ยถึงอาหารเพื่อสุขภาพแล้ว ผู้บริโภคล้วนมองหาสิ่งดีๆ ที่จะช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีมาจากภายใน  เรื่องของคุณภาพวัตถุดิบที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี กรรมวิธีการปรุงอาหารที่ไม่มากเกินไปจนทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่กลุ่มคนรักสุขภาพมองเป็นหลัก ส่วนใหญ่มักจะมองหาอาหารที่ช่วยควบคุมแคลอรี่และน้ำหนัก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีรสชาติที่ดี  มีเมนูให้เลือกอย่างหลากหลาย ไม่จำเจหรือน่าเบื่อจนเกินไป จะเป็นเมนูอาหารเช้า ขนมทานเล่น ของหวาน หรือเมนูหลักก็สามารถสร้างสรรค์ให้หลากหลายได้ หลักในการปรุงส่วนใหญ่นั้น  ร้านควรเน้นวัตถุดิบเพื่อสุขภาพ ไม่มีวัตถุดิบพวกหมักดอง หรือ ขัดขาว เช่นน้ำตาลทรายขาว ข้าวขาว อาหารควรไร้ไขมัน มีน้ำมันประกอบอาหารได้ในจำนวนน้อยและใช้น้ำมันพืชที่ดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน และปรุงรสให้กลมกล่อมแบบกลางๆมากกว่าการเน้นรสจัด ที่สำคัญควรต้องครบห้าหมู่ 2.กลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ แม้จะดูเหมือนว่าอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่แท้จริงแล้วกลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกระจายอยู่ในหลายอาชีพและช่วงอายุ ทั้งกลุ่มนักศึกษาที่อยู่หอพักหรือคอนโด ซึ่งไม่ได้มีพื้นที่ในการทำอาหารมากนัก, กลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ไม่ได้มีเวลาดูแลตัวเองเท่าที่ควร หรือกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งต้องเริ่มใส่ใจกับอาหารการกินมากขึ้น จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้บริโภคไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่กลุ่มคนรักสุขภาพที่เข้าฟิตเนส […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.