6 เทคนิค ตั้งชื่อร้านอาหาร ให้โดนใจ - Amarin Academy

6 เทคนิค ตั้งชื่อร้านอาหาร ให้โดนใจ

6 เทคนิค ตั้งชื่อร้านอาหาร ให้โดนใจ

การจะเริ่มต้นทำธุรกิจร้านอาหารถือเป็นงานที่ท้าทายและมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก ตั้งแต่การเลือกสถานที่ตั้ง การออกแบบตกแต่งร้าน การเลือกเมนูอาหาร ฯลฯ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นการ ตั้งชื่อร้านอาหาร เพราะถ้าชื่อร้านโดนใจ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ร้านเราโด่งดังและเป็นที่รู้จักในชั่วข้ามคืน แต่หลายคนประสบปัญหาว่า คิดชื่อร้านเท่าไร ก็คิดไม่ออกสักที อย่างนั้นมาดูเทคนิคง่ายๆ ในการตั้งชื่อร้านให้โดนกันดีกว่า

ร้านอาหารย่านกลางเมือง
Central Cafe คือตัวอย่าง ร้านอาหารที่ตั้งชื่อเชื่อมโยงกับสถานที่ เนื่องจากตั้งอยู่กลางเมือง

1.ตั้งชื่อร้านให้เชื่อมโยงกับสถานที่

เคยได้ยินชื่อกล้วยแขกนางเลิ้ง ข้าวขาหมูตรอกซุง ข้าวมันไก่ประตูน้ำกันไหมครับ แต่ละร้านถือเป็นระดับตำนานทั้งนั้น นี่แหละ คือตัวอย่างที่ดีที่สุดในการตั้งชื่อร้านให้เชื่อมโยงกับสถานที่ แต่ถ้าบางคนคิดว่าการตั้งชื่อร้านแบบนี้อาจยังไม่โดนใจเท่าไรนัก อย่างนั้นต้องลองเปลี่ยนให้ดูเจ๋งขึ้น เช่น หากร้านคุณตั้งอยู่ในย่านที่เคยเป็นแหล่งปั้นหม้อโบราณ คุณลองตั้งชื่อร้านให้เชื่อมโยงกับสถานที่นั้นดู เช่น ร้านช่างปั้นหม้อ และออกแบบร้านให้มีบรรยากาศเหมือนห้องทำงานของช่างปั้นหม้อ เพียงเท่านี้ร้านของคุณก็จะเป็นที่จดจำได้ง่ายขึ้น เพราะคนท้องถิ่นก็รู้อยู่แล้วว่า บริเวณนี้เคยเป็นแหล่งปั้นหม้อมาก่อน รวมทั้งนักท่องเที่ยวก็อาจอยากมาสัมผัสบรรยากาศเก่าๆ ก็ได้

ร้านอาหาร The French Laundry รัฐแคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา ถือเป็นอีกหนึ่งร้านที่ประสบความสำเร็จจากการตั้งชื่อร้านให้เชื่อมโยงกับสถานที่เช่นกัน โดยในศตวรรษที่ 19 อาคารหลังเก่า (ซึ่งเป็นที่ตั้งร้านในปัจจุบัน) เคยเป็นร้านซักรีดมาก่อน ร้านอาหารจึงใช้ประโยชน์จากความเก่าแก่นั้น ทำให้ร้านเป็นที่รู้จดจำในเวลาอันรวดเร็ว

2.ตั้งชื่อร้านให้สอดคล้องกับสไตล์อาหาร

เทคนิคนี้ต้องบอกว่าร้านอาหารจีนและญี่ปุ่นถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะแค่ตั้งชื่อร้านเป็นภาษานั้นๆ ลูกค้าก็รู้ทันทีว่าร้านเสิร์ฟสัญชาตินั้นเป็นหลัก แต่หากร้านอาหารของคุณจำหน่ายอาหารหลากหลายสไตล์ ทั้งไทย จีน ยุโรป คุณต้องหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อตามเทคนิคนี้ เพื่อป้องกันลูกค้าสับสน

3.ตั้งชื่อร้านตามชื่อเจ้าของ

ข้อนี้หลายคนคงคุ้นเคยดี เพราะมองไปทางไหนก็เห็นชื่อร้านตามชื่อเจ้าของเต็มไปหมด แต่หากคุณกลัวว่าจะซ้ำกับร้านอื่นๆ คุณลองพลิกแพลง เปลี่ยนจากการนำชื่อของคุณไปตั้งชื่อร้าน เป็นการหาคำที่มีความหมายเหมือนชื่อคุณมาตั้งแทนก็ได้ เพื่อให้ดูแปลกใหม่ขึ้น หรือหากคุณยายของคุณเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้คุณเปิดร้านอาหาร ลองนำชื่อท่านมาตั้งแทนก็ได้นะครับ แล้วลองแชร์เรื่องราวน่ารักๆ ระหว่างคุณกับคุณยายลงในโซเชียลมีเดีย เชื่อว่าต้องมีลูกค้าหลายคนสนใจแน่นอน

4.ใช้คำแปลกๆ ใหม่ๆ

การตั้งชื่อร้านไม่จำเป็นต้องมีความหมายเกี่ยวกับอาหารเสมอไป ลองคิดค้นคำใหม่ๆ แปลกๆ และแตกต่างจากผู้อื่น เพราะความแปลกใหม่นี้จะกลายเป็นที่จดจำในทันที เช่น ร้าน The Bag Lady ร้านอาหารแห่งแรกของ Paula Deen เชฟเซเลบริตี้ และพิธีกรรายการอาหารชื่อดังในสหรัฐอเมริกา ที่ตั้งชื่อร้านโดยไม่เกี่ยวข้องกับอาหารแม้แต่น้อย แต่ชื่อนี้มีที่มา เพราะเธอและลูกชาย รับจ้างทำอาหารกลางวันและนำใส่กระเป๋าไปส่งให้พนักงานบริษัทท้องถิ่น เธอจึงนำเรื่องราวนั้นมาตั้งเป็นชื่อร้าน หรืออีกตัวอย่างที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือร้านอาหารของ เชฟชื่อดัง Wolfgang Puck ที่ตั้งชื่อร้านว่า Spago เป็นคำแสลงแปลว่า สปาเก็ตตี้ในภาษาอิตาเลียน ทำให้ร้านอาหารแห่งนี้ดูน่าสนใจมากขึ้น

paula-deen-cafe-the-bag-lady
The bag lady ตัวอย่างร้านอาหารที่ตั้งชื่อร้านอาหารโดยใช้คำแปลกๆ ใหม่ๆ

5.สำนวนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

ข้อนี้ใครที่ชอบเล่นคำ เก่งด้านการคิดคำคล้องจองคงยิ้มออก เพราะนี่เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่ทำให้ร้านอาหารเป็นที่จดจำ แต่หากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ลองหาคำที่เป็นที่รู้จักเป็นวงกว้างแล้วนำมาดัดแปลงดูก็ได้นะครับ เช่น Lord of The Wings หรือ Frying Nemo Fish and Chips ลองคิดเล่นๆ ดูนะครับ บางทีความคิดสนุกๆ นั้นอาจทำให้เกิดชื่อร้านเจ๋งๆ ก็ได้

6.หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อซ้ำกับร้านอาหารเจ้าอื่น

จะเริ่มต้นทำร้านอาหารทั้งที เช็คดีๆ นะครับว่าชื่อร้านเราไม่ซ้ำกับเจ้าอื่น เพราะคุณจะกลายเป็นผู้ตามทันที ยิ่งตั้งชื่อซ้ำกับร้านอาหารเจ้าดังยิ่งเป็นปัญหาหนัก นอกจากลูกค้าจะจำเราไม่ได้แล้ว ยังเสี่ยงเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์อีกต่างหาก ฉะนั้นก่อนตั้งชื่อร้านอาหารตรวจสอบก่อนนะครับว่าชื่อร้านของเรามีเอกลักษณ์ จดจำง่ายและสะท้อนถึงตัวตนแบรนด์ได้ดี ที่สำคัญ ต้องไม่ซ้ำกับคนอื่นๆ ด้วย

6 ข้อนี้เป็นเพียงเทคนิคง่ายๆ แต่หากใครมีขั้นแอดวานซ์กว่านี้อย่าลืมนำมาแชร์ให้พวกเราฟังบ้างนะครับ

ขอบคุณ: https://www.thebalance.com

Have custom dissertation help you ever asked yourself, are we alone in the universe.

เรื่องแนะนำ

“อาหารเพื่อสุขภาพ” เทรนด์มาแรงสายคลีน โอกาสทองของคนอยากมีธุรกิจ

หนึ่งในปัจจัยภายในที่จะทำให้มีสุขภาพที่ดีได้นั้น คงหนีไม่พ้น “อาหาร” นาทีนี้เรื่องของ “อาหารเพื่อสุขภาพ” หรือ อาหารคลีนฟู้ด กำลังได้รับความนิยม อาจเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์มาแรงของคนยุคใหม่ ที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ตลาดธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพขยายตามไปด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่สนใจอยากเปิดร้านอาหาร การลงทุนกับอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจและเริ่มต้นได้ไม่ยาก วันนี้เราจึงขอนำเสนอแนวทางที่จะช่วยให้ทุกคนตีโจทย์ลักษณะของธุรกิจร้านอาหารเพื่อสุขภาพมาเป็นแนวทางในการนำไปเริ่มธุรกิจกัน 1.จุดยืนของอาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่า อาหารของเราทำมาจากวัตถุดิบที่สดใหม่และได้คุณภาพ ปรุงรสและผ่านกรรมวิธีที่ไม่ได้ลดคุณค่าทางอาหารจนเกินไป หากสนใจลงทุนกับธุรกิจด้านนี้แล้ว เจ้าของธุรกิจอย่างเราก็ควรศึกษาหาความรู้เรื่องโภชนาการและคุณค่าทางอาหารต่างๆ ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อเอ่ยถึงอาหารเพื่อสุขภาพแล้ว ผู้บริโภคล้วนมองหาสิ่งดีๆ ที่จะช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีมาจากภายใน  เรื่องของคุณภาพวัตถุดิบที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี กรรมวิธีการปรุงอาหารที่ไม่มากเกินไปจนทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่กลุ่มคนรักสุขภาพมองเป็นหลัก ส่วนใหญ่มักจะมองหาอาหารที่ช่วยควบคุมแคลอรี่และน้ำหนัก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีรสชาติที่ดี  มีเมนูให้เลือกอย่างหลากหลาย ไม่จำเจหรือน่าเบื่อจนเกินไป จะเป็นเมนูอาหารเช้า ขนมทานเล่น ของหวาน หรือเมนูหลักก็สามารถสร้างสรรค์ให้หลากหลายได้ หลักในการปรุงส่วนใหญ่นั้น  ร้านควรเน้นวัตถุดิบเพื่อสุขภาพ ไม่มีวัตถุดิบพวกหมักดอง หรือ ขัดขาว เช่นน้ำตาลทรายขาว ข้าวขาว อาหารควรไร้ไขมัน มีน้ำมันประกอบอาหารได้ในจำนวนน้อยและใช้น้ำมันพืชที่ดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน และปรุงรสให้กลมกล่อมแบบกลางๆมากกว่าการเน้นรสจัด ที่สำคัญควรต้องครบห้าหมู่ 2.กลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ แม้จะดูเหมือนว่าอาหารเพื่อสุขภาพเป็นธุรกิจที่เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่แท้จริงแล้วกลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกระจายอยู่ในหลายอาชีพและช่วงอายุ ทั้งกลุ่มนักศึกษาที่อยู่หอพักหรือคอนโด ซึ่งไม่ได้มีพื้นที่ในการทำอาหารมากนัก, กลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ไม่ได้มีเวลาดูแลตัวเองเท่าที่ควร หรือกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งต้องเริ่มใส่ใจกับอาหารการกินมากขึ้น จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้บริโภคไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่กลุ่มคนรักสุขภาพที่เข้าฟิตเนส […]

เจาะพฤติกรรมคนเลือกร้านอาหารยุคใหม่

ในยุคปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับเลยว่าเทรนด์ต่าง ๆ บนโลกใบนี้ เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี แฟชั่น หรือแม้แต่เรื่องอาหารการกิน

สร้างคอนเทนต์ร้านอาหาร

เทคนิคลับ สร้างคอนเทนต์ร้านอาหาร เอาชนะใจลูกค้าได้จริง

ทำเพจร้านอาหารสรา้งคอนเทนต์ยังไงดี ใครเจอปัญหานี้ เรามีเทคนิคง่ายๆ ในการ สร้างคอนเทนต์ร้านอาหาร ผ่านโซเชียลมีเดียให้โดนใจมาแนะนำ

ตั้งราคาขาย

ตั้งราคาขาย อย่างไร ให้ขายได้และร้านอยู่รอด

        ในช่วงวิกฤตแบบนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร้านอาหารอยู่รอดได้ คือการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี และการ ตั้งราคาขาย (Price Strategy) ของอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะในวงการอาหารเดลิเวอรีที่มีการแข่งขันสูง มีร้านอาหารแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจะต้องใช้กลยุทธ์ทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อจากร้านของเรา ลองมาดูการตั้งราคาขายอาหารและกลยุทธ์ต่างๆ ที่อาจจะช่วยร้านของคุณได้ครับ ตั้งราคาขาย อย่างไร  ให้ขายได้และร้านอยู่รอด         พื้นฐานของการ ตั้งราคาขาย อาหาร ต้องคำนวณมาจากต้นทุนของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ควรอยู่ที่ 30-35% ของยอดขาย ตัวอย่างเช่น ต้นทุนวัตถุดิบเท่ากับ 30 บาท ราคาขายก็ควรจะตั้งไว้ประมาณ 100 บาท เป็นต้น          แต่ไม่ใช่ว่าการคำนวณแบบนี้จะเหมาะสมกับทุกร้านอาหาร เพราะยังมีต้นทุนอื่นๆ ได้แก่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ และค่าการตลาดอื่นๆ ส่วนใครที่นำร้านอาหารเข้าร่วมกับผู้ให้บริการเดลิเวอรีต่างๆ ก็อย่าลืมต้นทุนค่า GP […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.