กลยุทธ์การตั้งราคา ทำอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึกว่า “คุ้ม” - Amarin Academy

กลยุทธ์การตั้งราคา ทำอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึกว่า “คุ้ม”

กลยุทธ์การตั้งราคา ทำอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึกว่า “คุ้ม”

เคยไหม? ตั้งใจจะไปซื้อของหรือเข้าร้านอาหาร พร้อมตั้งงบไว้จำกัด แต่พอไปถึงร้านกลับเจอราคาที่รู้สึกว่า ถ้าไม่ซื้อจะถือว่าพลาดมากๆ รู้ไหมว่า นั่นเป็นเพราะเจ้าของร้านใช้ กลยุทธ์การตั้งราคา ที่ทำให้เรารู้สึกว่าคุ้มค่า แม้ต้องเสียเงินเพิ่ม กลยุทธ์นี้มีหลากหลาย วันนี้เราจะขอแชร์ข้อที่น่าสนใจให้ทราบกัน

Decoy pricing กลยุทธ์การตั้งราคาแบบหลอกล่อ

คือการตั้งราคาขึ้นมาราคาหนึ่ง เพื่อให้อีกราคาหนึ่งดูน่าสนใจขึ้น อธิบายอย่างนี้หลายคนอาจจะงง อย่างนั้นไปดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า

สมมติคุณกำลังจะไปดูหนัง แล้วต้องการซื้อป็อปคอร์น ปรากฏว่าร้านตั้งราคาไว้ 2 ราคา คือ S 59 บาท และ L 99 บาท คนมักมีแนวโน้มจะซื้อราคา 59 บาทมากกว่า เพราะคิดว่า 99 บาทแพงเกินไป

แต่ถ้าคุณเพิ่มอีก 1 ราคาขึ้นมาคือ M 89 บาท ปรากฎว่าคนจะมีแนวโน้มที่จะซื้อราคา 99 บาทมากขึ้น เพราะคิดว่า เพิ่มอีก 10 บาท ก็จะได้ไซส์ใหญ่แล้ว ดังนั้นการตั้งราคาแบบนี้จึงทำให้ลูกค้าจ่ายเงินให้เราในราคาที่สูงขึ้น โดยที่เขายังรู้สึกว่าคุ้มค่าอยู่

พูดง่ายๆ คือราคากลางที่เราตั้งขึ้นมา ไม่ได้เพื่อให้คนเลือก แต่เพื่อนำเขาให้เลือกซื้อสินค้าในราคาที่เราต้องการนั่นเอง

ตัวอย่างวิดีโอที่น่าสนใจ

Offering 3 options กลยุทธ์ 3 ตัวเลือก

คือการกำหนดราคาขึ้นมา 3 ราคา โดยตั้งใจให้ผู้บริโภคเลือกราคากลางมากขึ้น อย่างร้าน Penguin eat shabu ผมก็ใช้กลยุทธ์นี้เช่นเดียวกัน ตอนที่เปิดร้าน ผมมีราคาบุฟเฟต์แค่ 2 ราคา คือ 359 บาทและ 459 บาท ช่วงแรกคนส่วนใหญ่มักเลือกราคา 359 เป็นหลัก ผมจึงลองตั้งราคา 659 บาทขึ้นมา โดยตั้งใจว่าอยากให้ลูกค้าจ่ายราคานี้สัก 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ จ่ายราคา 359 บาทประมาณ 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือให้เป็นราคา 459 บาท

ปรากฏว่าพอมีราคา 659 บาท คนกลับเลือกราคา 459 บาท มากที่สุด และหมุนไปกิน 659 บาทด้วย ส่วน 359 บาท คนหายไปเยอะมาก เพราะคนส่วนใหญ่อยากเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเองอยู่แล้ว แต่ถ้างบไม่ถึงก็จะเลือกรองลงมา

กลยุทธ์นี้ก็ใช้กับธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น รถยนต์ ที่อาจมีราคาเริ่มที่ 500,000 บาท จนสูงสุดที่รุ่น Top ที่ราคา 8 แสนปลายๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักเลือกซื้อรุ่นรอง Top เพราะเป็นราคาที่เขารู้สึกว่าจ่ายแล้วสบายใจ

กลยุทธ์เลข 9 และกลยุทธ์ตั้งราคาเปรียบเทียบ

“39 49 99” กลยุทธ์การตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9 สุดคลาสสิก นับเป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันบ่อยมาก แถมผู้บริโภคก็ยังคุ้นเคย แม้ว่าจะคุ้นเคย แต่โอกาสในการขายก็ยังสูงกว่าการตั้งราคา “40 50 100” อยู่ดี เพราะคนก็ยังรู้สึกว่าราคาไม่แพง แค่ 39 เอง

แต่กลยุทธ์ที่ดีกว่า คือการเขียนราคาเดิมไว้แล้วลดราคาลง เช่น ราคาเดิม 45 บาท แล้วมีป้าย sale ขีดฆ่าราคาเดิม พร้อมกำหนดราคาใหม่เหลือ 40 บาท คนจะเลือกตัวเลือกนี้ทันที เพราะเขาจะรับรู้ว่าสินค้ามีมูลค่า 45 บาท แต่เขาซื้อได้ในราคา 40 บาทเท่านั้น

แต่กลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือ  การตั้งราคา 45 บาท แล้วขีดฆ่า เหลือ 39 บาท ลูกค้าจะมีแนวโน้มเลือกข้อนี้มากที่สุด เพราะเขาจะรู้สึกว่าเราลดราคาลงเยอะมาก (จากเลข 4 มาเลข 3 เลยนะ!) โดยกลยุทธ์นี้เป็นวิธีที่ห้างสรรพสินค้านิยมใช้มากๆ เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด (ใครๆ ก็แพ้ของ sale กันทั้งนั้นจริงไหม)

กลยุทธ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สามารถปรับใช้ได้กับทุกธุรกิจ นอกจากจะทำให้ยอดขายของเราดีขึ้นแล้ว ผู้บริโภคยังรู้สึกพึงพอใจและพร้อมจะจ่ายในราคาที่เราตั้งขึ้นมาอีกด้วย

เรื่องแนะนำ

การตลาดออนไลน์เบื้องต้น ที่คุณต้องรู้!

การทำธุรกิจในยุคดิจิตัลแบบนี้ คงปฏิเสธการใช้การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ได้ยาก ฉะนั้นอะไรบ้างที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ การตลาดออนไลน์เบื้องต้น

ตั้งราคาขาย

ตั้งราคาขาย อย่างไร ให้ขายได้และร้านอยู่รอด

        ในช่วงวิกฤตแบบนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร้านอาหารอยู่รอดได้ คือการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี และการ ตั้งราคาขาย (Price Strategy) ของอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะในวงการอาหารเดลิเวอรีที่มีการแข่งขันสูง มีร้านอาหารแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจะต้องใช้กลยุทธ์ทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อจากร้านของเรา ลองมาดูการตั้งราคาขายอาหารและกลยุทธ์ต่างๆ ที่อาจจะช่วยร้านของคุณได้ครับ ตั้งราคาขาย อย่างไร  ให้ขายได้และร้านอยู่รอด         พื้นฐานของการ ตั้งราคาขาย อาหาร ต้องคำนวณมาจากต้นทุนของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ควรอยู่ที่ 30-35% ของยอดขาย ตัวอย่างเช่น ต้นทุนวัตถุดิบเท่ากับ 30 บาท ราคาขายก็ควรจะตั้งไว้ประมาณ 100 บาท เป็นต้น          แต่ไม่ใช่ว่าการคำนวณแบบนี้จะเหมาะสมกับทุกร้านอาหาร เพราะยังมีต้นทุนอื่นๆ ได้แก่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ และค่าการตลาดอื่นๆ ส่วนใครที่นำร้านอาหารเข้าร่วมกับผู้ให้บริการเดลิเวอรีต่างๆ ก็อย่าลืมต้นทุนค่า GP […]

เพิ่มยอดขายร้านอาหาร

วิธี เพิ่มยอดขายร้านอาหาร จากลูกค้าที่มาคนเดียว

การที่ลูกค้ามาคนเดียว สั่งอาหารแค่จานเดียว หมายถึงยอดขายของคุณย่อมน้อยลง เราจึงขอแชร์วิธี เพิ่มยอดขายร้านอาหาร จากลูกค้าที่มาคนเดียว ให้รู้กัน

7 Social Media Marketing การทำการตลาดออนไลน์สำหรับธุรกิจร้านอาหาร

Social Media Marketing การทำการตลาดออนไลน์สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ลองคิดดูว่ามันน่าเสียดายขนาดไหน? หากคุณเป็นเจ้าของร้านอาหาร ลงทุนไปกับการเปิดร้านใหม่ คิดสูตรเมนูอาหารอร่อยๆหลากหลายเมนู ร้านก็ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี แต่กลับไม่มีใครรู้จัก เพียงเพราะขาดช่องทางการโปรโมทที่ดี แถมลูกค้าเก่าก็เริ่มย้ายไปกินร้านที่มีคนรีวิวเยอะๆกันหมด ทั้งที่ทำเลก็ไม่ได้ดีเท่าไร แน่นอน! เป็นใครก็เสียดาย อุตส่าห์ใช้เงินเก็บมากมายลงทุนเปิดร้าน แต่ดันจะเจ๊งเพราะไม่รู้ “ช่องทาง” ดีๆไว้ใช้โปรโมทร้าน  เมื่อรู้แล้วว่ามันสำคัญขนาดนี้ มาดูกันดีกว่า ว่าคุณจะโปรโมทร้านอาหารของคุณผ่านช่องทาง Social Media Marketing ไหนได้บ้าง ทำได้รับรองลูกค้าไหลมาเทมา คอนเฟิร์ม!!    7 Social Media Marketing สำหรับธุรกิจร้านอาหาร 1. Facebook ข้อดีของการโปรโมทร้านบน Facebook อย่างแรกเลยคือ ร้านอาหารของคุณจะมีตัวตนอยู่บน Social Media ที่คนเล่นเยอะที่สุดในประเทศไทย โดยมีถึง 45 ล้านบัญชีที่ออนไลน์ และที่เยี่ยมกว่านั้น การใช้ Facebook อย่างมีกลยุทธ์ ยังเป็นการสร้างแบรนด์และสร้างความน่าเชื่อถือของร้านได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดฐานลูกค้าประจำในระยะยาวได้อีกด้วย Facebook ยังช่วยเพิ่มการรับรู้ กระตุ้นการพิจารณาซื้อ และเพิ่มความผูกพันกับประสบการณ์ด้านอาหารให้ร้านของคุณ ลูกค้าสามารถสั่งอาหารบนมือถือได้ทุกที่ ทุกเวลา คุณจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เช่น […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.