เมื่อลูกค้าเจอ " อาหารบูด ” ควรทำอย่างไร - Amarin Academy

เมื่อลูกค้าเจอ ” อาหารบูด ” ควรทำอย่างไร

เมื่อลูกค้าเจอ “ อาหารบูด ” ควรทำอย่างไร

การเปิดร้านอาหาร เจ้าของร้านหลายๆ คนคงพยายามรักษาคุณภาพอย่างเต็มที่ทั้งในด้าน รสชาติอาหาร และ การบริการ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด แต่หากเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริการพลาด อาหารรสชาติเพี้ยน หรือปัญหาใหญ่ของร้านอาหารคือ ลูกค้าเจอ “ อาหารบูด ” เจ้าของร้านจะแก้ไขสถานการณ์นั้นอย่างไรดีล่ะ

ไม่นานมานี้ผมกับเพื่อนๆ ได้ไปกินเค้กที่ร้านของหวานชื่อดังแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าแจ๊คพอตแตกครับ เค้กที่เด็กยกมาเสิร์ฟ มีกลิ่นและรสชาติแปลกๆ ทุกคนที่ได้ชิมลงความเห็นว่า “เสียแน่นอน”

ผมจึงเรียกพนักงานเสิร์ฟมาแจ้งว่าเค้กน่าจะเสียแล้ว เขาเดินมายกเค้กกลับไปเก็บ ไม่นานก็นำเค้กชิ้นใหม่มาเสิร์ฟ และจากไป (โดยไม่กล่าวคำขอโทษเลย) เพื่อนๆ ผมก็ไม่ได้ติดใจอะไร เพราะเค้กชิ้นที่ 2 ก็มีรสชาติปกติ อร่อยได้มาตรฐาน

แต่เหตุการณ์นี้ผมอยากตั้งข้อสังเกตให้เพื่อนๆ ผู้ประกอบการทราบครับ ว่าการแก้ปัญหาของร้านขนมแห่งนี้ไม่ชวนให้เกิดความน่าประทับใจเลย เพราะแม้ว่าลูกค้าจะยอมรับเค้กชิ้นใหม่ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะลืมว่า ร้านเคยเสิร์ฟเค้ก “ตกมาตรฐาน” ให้เขานะครับ และหากลูกค้าไม่ท้วงติงในร้าน ข้อตำหนินี้อาจไปปรากฏบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งผลกระทบเลวร้ายกว่าการตำหนิในร้านมากๆ (ทุกวันนี้ลูกค้าเชื่อรีวิวในอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจังมากๆ และอาจทำให้ยอดขายคุณตกลงดื้อๆ เลยก็ได้)

ฉะนั้น โอกาสเดียวที่เราจะสามารถแก้ไขความผิดหวังของลูกค้าได้ ก็ต้องทำในช่วงที่เขายังนั่งในร้านของเรานี่แหละครับ

โดยแนวทางแก้ไขมีหลากหลายวิธีมาก วันนี้จะขอแนะนำวิธีคลาสสิกที่เจ้าของร้านอาหารเจ้าดังๆ มักใช้คือ

อันดับแรก หากพบว่าอาหารเสีย พนักงานต้องกล่าวขอโทษลูกค้าทันที และด้วยความจริงใจ จากนั้นจึงแจ้งให้ผู้จัดการร้านทราบ ถัดมา ผู้จัดการร้านควรเข้าไปขอโทษด้วยตนเองอีกครั้ง พร้อมแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ไม่คิดราคาเค้กทั้งสองชิ้น การให้บัตรส่วนลดเพื่อมาใช้บริการในครั้งถัดไป แจกของพรีเมี่ยมของร้าน

หรือการเสิร์ฟอาหารจานพิเศษ เป็นการแสดงความขอโทษ โดยอาหารจานนั้นอาจเป็นจานที่มีขายในร้าน หรือไม่ได้มีขาย แต่คิดขึ้นเพื่อใช้สำหรับขอโทษลูกค้าโดยเฉพาะก็ได้ (ร้าน Sushi shin ก็ใช้วิธีนี้)

โดยเจ้าของร้านต้องให้อำนาจผู้จัดการร้าน ในการตัดสินใจได้ทันที ขณะเดียวกันก็ควรกำหนดมาตรฐานคร่าวๆ ว่า หากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ ควรแสดงความขอโทษลักษณะใด

แต่หากเหตุการณ์เลวร้ายจริงๆ เช่น ลูกค้าไม่พอใจมาก หรือเกิดข้อผิดพลาดร้ายแรงมากๆ ผู้จัดการร้านควรขอเบอร์ติดต่อกลับ เพื่อให้เจ้าของร้านติดต่อกลับไปขอโทษอีกครั้ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงใจ

วิธีที่กล่าวมานี้น่าจะช่วยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ร้านของเราเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ และพร้อมรับผิดชอบต่อความผิดพลาดนั้น ผมเชื่อว่าลูกค้าทุกคนพร้อมรับคำขอโทษอยู่แล้วครับ เพียงแต่ว่าร้านอาหารต้องแสดงความจริงใจให้เขาเห็น

หวังว่าวิธีที่ผมนำเสนอมานี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการร้านอาหารทุกๆ คนนะครับ แต่หากเพื่อนๆ คนใดมีไอเดียที่น่าสนใจอยากแนะนำเพิ่มเติม สามารถแชร์กันได้เลยนะครับ

เรื่องแนะนำ

ผู้จัดการมือใหม่

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร  ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้!

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้! การจัดการร้านอาหารเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้ประกอบบางรายเลือกที่จะดูแลทุกอย่างด้วยตัวเอง หรือบางรายก็จ้างผู้จัดการร้านเพื่อแบ่งเบาภาระต่างๆ แม้ว่าเงินเดือนของผู้จัดการร้านจะค่อนข้างสูง แต่ก็มาพร้อมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความคาดหวังที่สูงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมต้นทุน ยอดขายและกำไรของร้านอาหารให้เป็นไปตามเป้าหมาย วางแผนสั่งวัตถุดิบเข้าร้านให้เหมาะสมกับยอดขาย คอยดูแลมาตรฐานการทำงานของพนักงาน จัดตำแหน่งงานและตารางเวลาให้เหมาะสม ดูแลความเรียบร้อยภายในร้าน แก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ จัดประชุมวางแผนงาน แผนการตลาด และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ    สรุปข้อมูลการขาย รายงานปัญหาต่างๆ แก่ผู้บริหาร  รวมถึงหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของร้าน จะเห็นได้ว่าบทบาทหน้าที่ของ ผู้จัดการร้าน นั้นสำคัญมาก หากคุณเป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือผู้จัดการร้านอาหาร เคล็ดลับเหล่านี้อาจจะช่วยพัฒนาทักษะการบริหารจัดการร้านของคุณได้ คือ   มีความหนักแน่น  ปัญหาในร้านอาหารมีได้ทุกวันโดยไม่ซ้ำอย่าง สิ่งที่ผู้จัดการสามารถทำได้ในสถานการณ์เฉพาะหน้าคือ การใช้ความหนักแน่นในการคิดหาวิธีแก้ปัญหา โดยต้องคำนึงถึงในเรื่องต่างๆดังนี้ จะพูดคุยสื่อสารอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะรักษากฎของร้านไว้ ผลลัพธ์ที่คาดหวังคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านลูกค้าหรือพนักงาน คุณจะต้องคิดแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ สื่อสารอย่างมีเหตุผลและเหมาะสม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในฐานะผู้จัดการ และได้รับการยอมรับจากทีมงาน ทำให้พนักงานทำงานที่มีความกดดันสูงในร้านอาหารได้โดยไม่ลาออกง่ายๆ  การจัดการเชิงรุก ในธุรกิจร้านอาหารที่มีการแข่งขันสูง และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การคิดล่วงหน้าและจัดการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ย่อมดีกว่าการตามแก้ปัญหาในภายหลัง ดังนั้น การวางแผนงานในร้านจะต้องไม่มองแค่ในปัจจุบัน […]

7 ขั้นตอนสุดง่าย เขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

1.ตั้งเป้าหมาย             คุณอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ทำอะไรก็ตามต้องรู้เป้าหมาย การเขียน SOP ก็เช่นกัน การกำหนดเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้คุณวางโครงร่างของ SOP ได้ง่าย และเกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คุณต้องการเขียน SOP ในการรับสินค้าจากซัพพลายเออร์ในแต่ละอาทิตย์ อาจกำหนดเป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้ได้มากที่สุด SOP ที่ดีจะไม่ได้เขียนขึ้นเพียงเพื่อบอกขั้นตอนในการวัตถุดิบทั่วไปเท่านั้น แต่ทุก ๆ ขั้นตอน จะต้องถูกคิดเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน กระทบต่อการจัดการหน้าร้านให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การตั้งเป้าหมายของ SOP ง่ายที่สุด คือ การแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดไป และการพัฒนาให้ขั้นตอนการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   2.กำหนดรูปแบบ                         วัตถุประสงค์ของ  SOP คือการกำหนดการทำงานแบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง  รูปแบบที่นำมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเอกสาร  SOP ที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ เช่น  การเขียน SOP เป็นหัวข้อ  (Simply Format)  เน้นการสร้างความเข้าใจโดยภาพรวม เช่น ข้อกำหนดพนักงานร้านในการเข้างานก่อนการปฏิบัติงาน หรือขั้นตอนหน้าร้านที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนงานที่ต้องเน้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง […]

ลูกค้าล้นร้าน

ลูกค้าล้นร้าน ทำอาหารไม่ทัน ทำอย่างไรดี?

วันก่อนมีโอกาสไปกินข้าวที่ร้านอาหาร แล้วเจอเหตุการณ์คลาสิกคือ ลูกค้าล้นร้าน ทำอาหารไม่ทัน จึงอยากเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ทุกคนครับ

ต้นทุนในการทำร้านอาหาร

5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!

นอกจากต้นทุนด้านวัตถุดิบซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหารแล้ว ยังมี ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ด้านอื่นๆ ที่เราควรทราบอีกมาก แยกได้เป็น 5 ส่วนหลักๆ ดังนี้

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.