เมื่อ ลูกค้าเมา ร้านอาหารควรทำอย่างไร - Amarin Academy

เมื่อ ลูกค้าเมา ร้านอาหารควรทำอย่างไร

เมื่อ ลูกค้าเมา ร้านอาหารควรทำอย่างไร

ร้านอาหารหลายๆ ร้านมักจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ลูกค้า เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ทำกำไรสูง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าลูกค้าดื่มมากไปจนมึนเมา แล้วพนักงานจะต้องเข้าไปจัดการกับเขาอย่างไรนี่สิ ปัญหา เพราะถ้าแก้ไขไม่ดี อาจเกิดปัญหาใหญ่โตตามมาทีหลังได้ วันนี้เราจึงมีข้อแนะนำดีๆ สำหรับการ จัดการกับ ลูกค้าเมา มาแนะนำครับ

1.สังเกต

พนักงานเสิร์ฟต้องคอยสังเกตว่า ลูกค้าที่ดื่มมากๆ เริ่มมีอาการมึนเมาหรือยัง โดยสังเกตจากสีหน้า ท่าทาง คำพูด ของลูกค้า อย่าประเมินเพียงแค่ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ลูกค้าดื่มไปเท่านั้น เพราะแต่ละคนมีความสามารถในการทนต่อแอลกอฮอล์ไม่เท่ากัน

2.หยุดเสิร์ฟ เสนออย่างอื่นแทน

เมื่อสังเกตว่าลูกค้าเริ่มมึนเมา พนักงานต้องหยุดเสิร์ฟเครื่องดื่มให้ลูกค้าทันที (อย่ามัวแต่เสียดายรายได้ เพราะถ้าลูกค้าเมาอาละวาดขึ้นมา จะได้ไม่คุ้มเสีย) แต่การหยุดเสิร์ฟไปเฉยๆ อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจได้ ฉะนั้นแทนที่จะรอให้ลูกค้าสั่งแอลกอฮอล์เพิ่ม อาจจะลองเข้าไปเสนอเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น ชา กาแฟ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการมึนเมาได้บ้าง หรือถ้าลูกค้ายังคงไม่ยอมอาจจะเสนอเครื่องดื่มตัวอื่นที่มีแอลกอฮอล์เจือจางแทน และทางที่ดี อย่าปฏิเสธลูกค้าแบบตรงๆ แต่พูดในเชิงแนะนำว่า ตอนนี้ทางร้านมีสูตรเครื่องดื่มตัวใหม่ อยากให้ลูกค้าลองดื่ม เป็นต้น

แต่ถ้ายังไม่ยอม หรือแสดงอาการโวยวาย เริ่มส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น เจ้าของร้านหรือผู้จัดการ อาจจะต้องพาลูกค้าออกไป สงบสตินอกร้าน หรือหากเกินกว่าที่จะจัดการได้จริงๆ อาจจะต้อง แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ

3.บริการด้วยความสุภาพ

ร้านอาหารหลายร้าน คงเจอลูกค้าที่เริ่มเมาแล้ว โวยวาย พูดจาไม่สุภาพ แต่พนักงานทุกคน ต้องจำไว้เสมอว่า อย่าใช้อารมณ์ในการตอบโต้กับลูกค้าที่เมาโดยเด็ดขาด เพราะอาจยิ่งทำให้ สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น ดังนั้นควรส่งพนักงานที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง เข้าไปจัดการแทน โดยพยายามพูดคุยด้วยถ้อยคำที่สุภาพ ทำให้เขาพึงพอใจมากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เชื่อว่าเหตุการณ์น่าจะดีขึ้นแน่นอน โดยร้านอาหารที่เปิดบริการในเวลากลางคืนส่วนใหญ่ เช่น ข้าวมันไก่โกอาง ประตูน้ำ ก็ใช้วิธีนี้ในการแก้ปัญหา

4.ส่งกลับบ้านอย่างปลอดภัย

หากลูกค้าดื่ม ในปริมาณเกินกว่ากฎหมายกำหนด และเดาได้ว่าหากปล่อยเขากลับตามลำพัง มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุแน่นอน พนักงานต้องแนะนำให้เขากลับโดยรถแท็กซี่แทน โดยเสนอให้เขาจอดรถไว้ที่ร้าน แล้ววันรุ่งขึ้นค่อยมาขับกลับไป หากเขายังยืนยันที่จะขับกลับ หรือ ปฏิเสธการนั่งรถแท็กซี่ เจ้าของร้าน จำเป็นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะหากปล่อยให้เขา ขับรถกลับอาจเป็นอันตรายต่อตัวเขาเอง หรือผู้อื่นอีกด้วย หน้าที่นี้นับเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่เจ้าของร้านไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด

วิธีที่แนะนำมานี้ เป็นเพียงเทคนิคการจัดการกับลูกค้าเมาเบื้องต้นเท่านั้น เพราะสถานการณ์แต่ละสถานการณ์นั้นแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นเจ้าของร้านอาจจะต้องนำเทคนิคเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อไป

เรื่องแนะนำ

ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน

เพราะอะไร ร้านอาหาร ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน

ปัญหาหลักของร้านอาหารหลายๆ ร้านคือ ขายได้มาก แต่ได้กำไรเพียงน้อยนิด รู้ไหมว่า ปัญหานี้เกิดจากต้นทุนวัตถุดิบ ที่ส่งผลให้ร้านอาหาร ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน

วิเคราะห์ ปัญหาร้านอาหาร ทำการตลาดดีแต่ไม่มีลูกค้าประจำ

เชื่อไหมว่า… ปัญหาร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านประสบชะตากรรมยอดขายตก มักจะมีคำถามว่าทำการตลาดอย่างไรดีช่วงนี้ให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะ ๆ แทนที่จะตั้งคำถามว่า Operation อย่างไรให้ดี จนลูกค้าบอกต่อโดยไม่ต้องทุ่มงบทำการตลาด ซึ่งเจ้าของร้านอาหารบางท่าน ก็ไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า Operation ทำหน้าที่ไล่ลูกค้าไปกี่คนแล้วต่อเดือน !   ทำไมการตลาดเรียกลูกค้า Operation ไล่ลูกค้า ?             ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การจัดทำโปรโมชั่น ล้วนเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับร้าน ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และตัดสินใจลองใช้บริการมากขึ้นในช่วงนั้น ๆ ซึ่งร้านอาหารมีโอกาสที่จะเปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้เป็นลูกค้าประจำ และทำให้ลูกค้าประจำมีการซื้อมากขึ้นได้ ในทางกลับกันถ้า Operation มีจุดบอดก็จะเปิดโอกาสให้ลูกค้ามาเจอกับประสบการณ์ที่ไม่ดีได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริการไม่ดี อาหารออกช้า ความไม่คงที่ของรสชาติและปริมาณ แทนที่จะเพิ่มยอดขาย กลับทำให้ร้านเกิดผลกระทบด้านลบในระยะยาวแทน เช่นเดียวกัน ถ้าหากร้านของคุณยังมีปัญหาด้าน Operation ก็ยากที่จะครองใจลูกค้าไว้ได้ แม้จะดันการตลาดมากแค่ไหนก็ตาม   การตลาดที่ดีต้องคำนึงถึงการ Operation หน้าร้านด้วย             กรณีศึกษา เกิดขึ้นกับร้านอาหารในประเทศจีน ทำการตลาดกินฟรี โดยกำหนดช่วงเวลา เพื่อหวังให้ร้านเป็นที่รู้จักในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ปรากฏว่าการจัดการหน้าร้านไม่สามารถรองรับจำนวนลูกค้าที่ล้นหลามได้ และยังทำให้ร้านอาหารประสบกับปัญหาขาดทุนจากการจัดการต้นทุนที่ผิดพลาด แทนที่ร้านจะมีชื่อเสียงกลับทำให้เจ้าของร้านต้องตัดสินใจปิดร้านในเวลาอันรวดเร็ว การทำการตลาดจึงต้องคำนึงถึงความพร้อมของการจัดการหน้าร้านด้วย […]

ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด

กำไรที่เกิดขึ้นจากร้านอาหาร จะมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากความสามารถในการจัดการต้นทุนได้อย่างดีด้วย ต้นทุนที่เรากำหนดไว้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริหารจัดการ หรือต้นทุนทางการตลาดก็ตาม มักจะมี ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ที่เกิดขึ้นด้วย หากไม่โฟกัสให้ดีก็ส่งผลให้ร้านสูญเสียค่าใช้จ่าย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจโดยไม่จำเป็น    ต้นทุนแฝงร้านอาหาร โฟกัสให้ดี ถ้าไม่อยากผิดพลาด  ต้นทุนจากการสูญเสียวัตถุดิบ           ต้นทุนวัตถุดิบเป็นต้นทุนที่มากที่สุดของร้านอาหารที่เรียกว่า Prime Cost ซึ่งส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของร้านมากที่สุด ต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร โดยเฉลี่ยร้านอาหารทั่วไปจะควบคุมต้นทุนให้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานแล้วไม่ควรจะเกิน 45 – 60 % เพื่อควบคุมให้กำไรต่อเดือนเมื่อหักค่าใช้จ่ายภาษีและค่าเสื่อมแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์           การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ อาจจะต้องวิเคราะห์ต้นทุนอาหารแต่ละเมนู ปริมาณการจัดเสิร์ฟ จัดการสต๊อกสินค้าให้ดี โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละครั้ง ต้องดูความพร้อมในการจัดเก็บวัตถุดิบของร้านด้วย นอกจากวัตถุดิบเสียแล้วการจัดเก็บยังเป็นภาระต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้น ซึ่งร้านอาหารใหม่ ๆ ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพฤติกรรมของลูกค้าเพียงพอจะสามารถคาดเดายอดขายได้   ต้นทุนค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนแรงงานเป็นต้นทุนที่อยู่ใน Prime Cost เช่นเดียวกัน กระทบต่อค่าใช้จ่ายเป็นอันดับรองลงมาจากต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งควรควบคุมให้ไม่เกิน […]

ร้านอาหาร ประเภท

ร้านอาหาร ประเภท ไหน เหมาะกับเรามากที่สุด

ร้านอาหารแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน อย่างนั้นลองมาดูลักษณะของร้านอาหารแต่ละประเภทกันดีกว่า จะได้รู้ว่า ร้านอาหาร ประเภท ไหนเหมาะกับเรามากที่สุด

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.