เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ - Amarin Academy

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

วัตถุดิบกับร้านอาหารถือเป็นของคู่กัน และเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารแทบทุกคนต้องเคยปวดหัวกับเรื่องวัตถุดิบไม่สดใหม่ หรือซื้อมาไม่นานก็เน่าเสีย ทำให้สูญเสีย ต้นทุนวัตถุดิบ ไปโดยเปล่าประโยชน์ เราจึงขอแนะนำ เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

1.เนื้อสัตว์

ก่อนอื่นต้องนำเนื้อมาล้างให้สะอาด ซับให้แห้ง จากนั้นใส่ภาชนะที่มีฝาปิดนำเข้าตู้เย็น หากใส่ในตู้เย็นช่องธรรมดาที่อุณหภูมิประมาณ 0-4 องศาเซลเซียส เนื้อจะอยู่ได้ประมาณ 2 วัน แต่หากอยากยืดอายุให้นานกว่านั้น ต้องใส่ในช่องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าลบ 18 องศาเซลเซียส โดยการใส่ช่องแช่แข็งนี้ ควรแบ่งปริมาณเนื้อ ให้พอดีกับการใช้งาน ไม่ควรนำออกมาวางให้ละลายแล้ว กลับไปแช่ใหม่ซ้ำๆ เพราะจะทำให้เนื้อหมูไม่สด ซ้ำยังสูญเสียความหวานไปด้วย เมื่อต้องการใช้ก็หยิบออกมาวางไว้ที่อุณภูมิห้อง ไม่ควรแช่น้ำ เพราะจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารและความอร่อยไป

ส่วนเนื้อที่ต้องหมักหรือปรุงรส เช่น สเต็ก หมูนุ่ม ควรล้างเนื้อให้สะอาด ปรุงรสและหมักให้เรียบร้อย จากนั้นนำเข้าตู้เย็นช่องธรรมดา และหยิบใช้เมื่อต้องการ วิธีนี้นอกจากจะสะดวกในการใช้งานแล้ว ยังทำให้เครื่องปรุงต่างๆ ซึมเข้าเนื้อได้ดียิ่งขึ้น ทำให้รสชาติดีขึ้นด้วย

2.ผักสด

วิธีเก็บผักสดไม่ยากเลย หากเป็นผักใบควรตัดแต่งใบที่เน่าเสียออกให้หมดเสียก่อน โดยไม่ต้องล้างน้ำ จากนั้นใช้พลาสติกแรปคลุมผักให้ทั่ว นำเข้าตู้เย็น โดยพลาสติกแรปจะช่วยคงความชุ่มชื้นของผักเอาไว้ได้ และควรแยกเก็บตามชนิดของผัก เพราะผักบางชนิดหากอยู่ได้กันอาจปล่อยสารบางอย่างทำให้เน่าเสียเร็วขึ้น เมื่อจะหยิบใช้ค่อยนำมาล้าง หรือหากเก็บพริก ควรเด็ดขั้วแล้วห่อกระดาษทิชชู่ไว้ จะช่วยให้เก็บได้นานขึ้น

ส่วนผักประเภทหัว เช่น หัวไชเท้า หัวบีท เผือก ให้ตัดใบออกให้หมดก่อนเก็บ มิฉะนั้นความหวานในหัวจะลดลง และสิ่งสำคัญที่สุดคือ ไม่ควรเก็บผักไว้ใกล้ผลไม้ เพราะผลไม้สุกจะปล่อยก๊าซเอธิลีนออกมา ทำให้ผักที่ว่างอยู่ใกล้ๆ เสียเร็ว

อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ปรุงอาหารได้สะดวกขึ้นคือ ถ้าผักที่จำเป็นต้องปรุงสุก เช่น แครอท บล็อกโคลี ข้าวโพดอ่อน ควรนำไปลวกให้พอสุกก่อน จากนั้นเก็บใส่กล่องแช่ตู้เย็นไว้และหยิบใช้ตามต้องการ

3.อาหารทะเล

อาหารทะเลเป็นวัตถุดิบที่เน่าเสียง่าย ฉะนั้นจึงไม่ควรสั่งสต็อกมาเยอะจนเกินไป ควรกะปริมาณให้พอเหมาะ และใช้ให้หมดภายใน 2 วัน เมื่อซื้อมาแล้วควรล้างให้สะอาด จากนนั้นนำเข้าตู้เย็นให้เร็วที่สุด โดยหลีกเลี่ยงการนำเข้าช่องแช่แข็ง เพราะจะทำให้สูญเสียรสชาติไป

4.ของแห้ง

เนื่องจากเมืองไทยอากาศร้อนชื้น วัตถุดิบที่เป็นของแห้งจึงเสี่ยงต่อการขึ้นรา ทางที่ดีที่สุดคือการนำเข้าตู้เย็นเพื่อป้องกันการเน่าเสีย เช่น กุ้งแห้งหรือปลาหมึกแห้ง อาจนำไปตากแดดอีกครั้งให้แห้งสนิทเสียก่อน จากนั้นนำใส่ภาชนะหรือถึงที่ปิดสนิท แล้วนำเข้าตู้เย็น หากใส่ช่องแช่แข็งจะช่วงให้เก็บได้นานขึ้น เมื่อจะใช้งานก็วางทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง เท่านี้ก็ไม่ต้องกลัวเชื้อราอีกต่อไป

5.ทำสูตรให้ได้มาตรฐาน

เคล็ดลับสุดท้ายที่ช่วยให้รสชาติอาหารคงที่และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปรุงคือ การปรุงน้ำซอสสำหรับเมนูต่างๆ เอาไว้ให้พร้อม เช่น ซอสผักกระเพรา ซอสผัดพริกแกง เป็นต้น โดยกำหนดสัดส่วนให้แน่นอน เมื่อต้องการทำเมนูนั้นๆ ก็ไม่ต้องเสียเวลาใส่เครื่องปรุงมากมาย เพียงแค่ตักซอสที่ปรุงไว้ใส่ลงไปตามสัดส่วนที่กำหนด ก็ได้จะรสชาติอาหารที่อร่อยคงที่แล้ว โดยวิธีนี้เป็นที่นิยมใช้ในร้านอาหารใหญ่ๆ แทบทุกร้าน เพื่อให้รสชาติได้มาตรฐาน

รู้อย่างนี้แล้ว เปิดร้านครั้งหน้าคงรู้วิธีจัดการวัตถุดิบให้สดใหม่ น๊านนานกันแล้วไช่ไหมล่ะ

เรื่องแนะนำ

มือใหม่เปิดร้านอาหาร …สร้างจุดขายในโลกออนไลน์อย่างไรให้ปัง!

หากคุณเปิดร้านอาหาร และต้องการทำตลาดออนไลน์ให้สำเร็จ ก็ต้องเริ่มต้นสร้างตัวตนในใจลูกค้าให้ได้ก่อน ร้านค้าเกือบทุกร้านใช้วิธีการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และแข่งกันด้วยการทำ Content Marketing จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ร้านของคุณจะสามารถเป็นหนึ่งในร้านที่ลูกค้าเลือก มาดูกันว่ามีเทคนิคอะไรที่น่าสนใจ และนำไปปรับใช้กับร้านของคุณได้บ้างสำหรับ มือใหม่เปิดร้านอาหาร  มือใหม่เปิดร้านอาหาร …สร้างจุดขายในโลกออนไลน์อย่างไรให้ปัง! ทำให้….เหนือความคาดหมาย การสื่อสารที่ดีอย่างเหนือความคาดหมาย จะทำให้ลูกค้าจดจำคุณได้เพียงข้ามคืน  ยกตัวอย่างร้านอาหารเรือนจรุง ร้านอาหารไทยในจังหวัดอยุธยา สามารถรับลูกค้าได้เพียงโต๊ะเดียว การที่ลูกค้าจดจำว่าเป็นร้านที่จองยาก เป็นจุดขายที่แตกต่างก็จริง แต่ก็อาจจะทำให้ลูกค้าปัจจุบันที่ชอบความสะดวก ไม่ชอบรอนานจนถอดใจ แต่ร้านนำตรงนี้มาเป็นจุดแข็ง โดยกำหนดให้ลูกค้าอยากจะกินจริง ๆ เขียนจดหมายมาเพื่อบอกเหตุผลว่าทำไมถึงควรได้คิวที่ร้านไป การเขียนจดหมายเป็นรูปแบบวิธีการสื่อสารแบบเดิมขัดกับพฤติกรรมคนปัจจุบัน เป็นวิธีการที่เหนือความคาดหมาย แต่ยังสามารถบอกตัวตนของร้านที่เน้นการอาหารตำรับไทย ปรุงด้วยกรรมวิธีแบบเดิม ๆ อีกด้วย เห็นได้ว่า การทำให้เกิดการแชร์ Content เป็นเรื่องยากในปัจจุบัน แต่คนแชร์ที่เรื่องราวเหล่านี้ออกไปเพราะอยากแชร์ โดยไม่คำนึงว่ากำลังโฆษณาให้กับร้านนี้เลย จึงทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น   ทำให้รู้… Right Time Right Target           การสื่อสารว่าคุณเป็นร้านอาหารที่สามารถตอบความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการเป็นการสื่อสารกับลูกค้าทั่วไปที่อยากกินอาหารอยู่แล้ว มันจึงไม่เพียงพอ  การศึกษาความต้องการเชิงลึกของลูกค้าให้ได้ รู้ว่าลูกค้ามีปัญหาอะไร อยากได้อะไร และสามารถนำเสนอมันได้อย่างถูกเวลา จะทำให้ลูกค้าจดจำร้านของคุณได้มากกว่า เช่น ร้านอาจจะพบว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นหัวหน้าครอบครัว […]

5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

ร้านอาหารหลายร้านเปิดตัวมาอย่างดี แต่ต่อมามาตรฐานกลับลดลง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร หรือการบริการที่เกิดความล่าช้าจนลูกค้าเข็ดไม่มาอีกต่อไป สาเหตุสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การขาดประสิทธิภาพของทีมงานหลังร้าน บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนที่จำเป็นต่อการ เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องรู้   ขั้นตอน 1  รู้จักโครงสร้างทีมงานหลังร้าน ทีมงานหลังร้านและหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย หัวหน้าเชฟ /รองหัวหน้าเชฟ/หัวหน้าส่วนครัวต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการบริหารการบริการลูกค้า ร่วมวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับงานบริการด้านอาหาร ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของอาหาร รับผิดชอบเวลาออกอาหาร รวมถึงการเสิร์ฟให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องบริหารต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการสอนงาน มอบหมายงาน และดูแลทีมงานครัวด้วย พนักงานครัว หน้าที่หลัก ๆ คือการปฏิบัติงานครัว ควบคุมมาตรฐาน ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด ช่วยดูแลควบคุมปริมาณของเสีย ฝ่ายสนับสนุน แผนกที่ช่วยดูแลเรื่องเอกสารต่าง ๆ ของธุรกิจ การจัดการเงินและบัญชี ดูแลการตลาดของธุรกิจ  ดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานร้านอาหาร จะเห็นได้ว่าทีมงานครัวมีหน้าที่สำคัญคือการผลิต แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การปรุงอาหาร แต่ยังมีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงการกำหนดคุณภาพ การจัดสรร ควบคุมต้นทุน และช่วยส่งเสริมงานบริการหน้าร้าน ในขณะเดียวกันทีมงานหลังร้านก็ยังรวมไปถึงแผนกสนับสนุน ที่เตรียมความพร้อมด้านการเงิน การบริหารบุคคล บัญชีและการตลาดด้วย หากขาดระบบที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสองทีมหลักนี้ […]

แจก Checklist เซตอัพระบบร้านอาหาร จบ ครบ เปิดร้านได้เลย

การทำเช็คลิสต์ก่อนเปิดร้านอาหารเป็นสิ่งสำคัญของการเซตอัพระบบร้านอาหาร ที่จะช่วยให้เจ้าของร้านอาหารรู้ว่ามีสิ่งไหนที่ทำสำเร็จแล้ว เหลืองานส่วนไหนบ้างที่ต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่ร้านจะเปิดรับลูกค้าได้จริง   “เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ควรทำเช็คลิสต์เรื่องอะไรบ้าง”   1.งานออกแบบและตกแต่งภายในร้าน โครงสร้างและการตกแต่งร้าน ควรเป็นสิ่งที่แล้วเสร็จก่อนการเปิดร้าน เพราะการเพิ่มเติมหน้างานเมื่อร้านเปิดไปแล้วทำได้ยาก แต่ก็เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ของเจ้าของร้านอาหาร โดยเฉพาะปัญหาผู้รับเหมา เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ที่ทำโครงสร้างใหม่ทั้งหมดจึงควรเคร่งครัดให้ดำเนินงานตามแผนงานและเผื่อเวลาไว้สำหรับงานที่ไม่เป็นไปตามกำหนด การจัดทำเช็คลิสต์จะช่วยให้เจ้าของร้านวางแผนสำรองหากเกิดปัญหา   2.งานระบบ             ระบบน้ำ ไฟ แสงสว่าง การติดตั้งอุปกรณ์ครัวเรื่องสำคัญที่อาจส่งผลทำให้ร้านไม่สามารถเปิดได้ หรือถ้าหากเกิดปัญหาหน้างานก็แก้ไขค่อนข้างลำบาก จึงควรทดลองเดินระบบ จัดทำให้แล้วเสร็จเสียแต่เนิ่น ๆ   3.กฏหมาย และการเงิน อย่าลืม กำหนดการจัดทำเอกสารด้านการเงิน การขออนุญาตทางราชการที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร วางแผนรายรับรายจ่ายล่วงหน้า จัดระบบการเงินหลังร้านให้พร้อมสำหรับการเปิดร้าน   4.การสั่งซื้อวัตถุดิบ             ช่วงเปิดร้านแรก ๆ อาจจะมีปัญหาเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบ หากไม่เคยเปิดร้านขายอาหารมาก่อน การคำนวณปริมาณและการประสานงานกับซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นควรมีการพูดคุยกับซัพพลายเออร์ก่อนเปิดร้าน การเซตอัพระบบบริหารวัตถุดิบไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดซื้อ การรับสินค้า การจัดเก็บวัตถุดิบ การจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อให้พร้อมใช้งาน การมีระบบปฏิบัติงาน SOP จะช่วยให้ร้านจัดการเรื่องวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   5.อุปกรณ์หน้าบ้านและหลังบ้าน             […]

เรียนรู้นิสัยของทำเล ก่อนตัดสินใจเช่าพื้นที่

ย่านออฟฟิศ สำนักงาน (Office area) ทำเลย่านออฟฟิศ สำนักงานเป็นทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าชัดเจนคือ พนักงานออฟฟิศ แต่อาจมีกำลังซื้อแตกต่างกันในแต่ละทำเล ยิ่งเป็นทำเลที่อยู่ใจกลางเมืองอย่าง สาทร สีลม อโศก ฐานรายได้เฉลี่ยของกลุ่มลูกค้าก็อาจจะมากขึ้น ค่าเช่าก็อาจจะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ราคาขายของร้านอาหารจะสูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานที่อยู่ถัดออกมา เช่น ย่านพหลโยธิน ทาว์อินทาวน์ หรือแจ้งวัฒนะ ทำให้ร้านอาหารที่อยู่ในทำเลออฟฟิศ สำนักงานในเมืองส่วนใหญ่ จึงเป็นร้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน (Check Average) ที่สูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานนอกเมือง วันธรรมดา ช่วงเช้า – อาจจะขายแบบ Grab and go ได้ ถ้าทำเลตรงนั้นเป็นทำเลที่อยู่ในหรือใกล้อาคารสำนักงาน  หรืออาจจะอยู่ระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับอาคารสำนักงาน เพราะพนักงานออฟฟิศโดยมากมักจะซื้อก่อนขึ้นไปทำงานตอนเช้า ช่วงกลางวัน – จะขายดีช่วง 11.30 – 13.30 น. โดยอาหารอาจจะต้องเป็นประเภทที่ใช้เวลาปรุงไม่นาน เพื่อที่ทางลูกค้าจะได้รีบทานและรีบกลับไปทำงาน ในอีกมุมหนึ่งก็จะทำให้ร้านอาหารสามารถทำรอบ ได้มากขึ้นด้วย ช่วงเย็น – ช่วงเวลาหลังเลิกงานคือ 17.30 – 20.00 น. […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.