ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร - Amarin Academy

ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

สิ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดหวังเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเข้าไปใช้บริการร้านอาหาร คือ การบริการ เขาไม่สนหรอกว่า ร้านจะตกแต่งสวยงาม หรูหราแค่ไหน อาหารจะอร่อยเพียงใด ถ้าบริการแย่ ทุกอย่างก็จบ นอกจากจะไม่ประทับใจในมื้ออาหารนั้น และไม่คิดจะกลับมาใช้บริการอีกแล้ว ยังอาจบอกต่อเพื่อนๆ หรือคนรู้จักไม่ให้มากินร้านอาหารของคุณอีกต่างหาก ฉะนั้นเจ้าของร้านต้องเอาใจใส่ในการบริการให้มากเป็นพิเศษ จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง อย่างนั้นลองมาดูเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ กันดีกว่าว่า ร้านอาหารบริการดี เป็นอย่างไร

1.ลูกค้าถูกเสมอ

นี่คือกฎข้อสำคัญในการทำธุรกิจทุกประเภท แม้ว่าลูกค้าจะผิดจริงๆ ก็ตาม คุณไม่ควรพูดออกไป เพราะนั่นอาจส่งผลเสียต่อร้านโดยตรง

ก่อนอื่นเจ้าของร้านต้องเข้าใจธรรมชาติของลูกค้าว่า เขาต้องการบริการที่ดีที่สุด หากมีส่วนใดขาดตกบกพร่องไปจากที่คาดหวัง ถือว่าเป็นความผิดของร้าน ฉะนั้นหากลูกค้าไม่พอใจ ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม สิ่งแรกที่พนักงานบริการควรทำคือ รับฟังคำตำหนิหรือข้อแนะนำอย่างเต็มใจ กล่าวคำขอโทษ และรีบแก้ไขข้อผิดพลาดโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้วิธีที่คุณนำมาใช้จัดการปัญหาที่เกิดขึ้น จะเป็นตัวตัดสินเลยว่า ลูกค้าจะกลับมาเป็นลูกค้าประจำ หรือไม่กลับมาที่ร้านคุณอีกเลย

2.บริการที่ดี ต้องดีแบบครบวงจร

เริ่มตั้งแต่พนักงานต้อนรับ ซึ่งเป็นเหมือนหน้าตาของร้านอาหาร พนักงานเสิร์ฟ พนักงานในครัว ไปจนถึงพนักงานทำความสะอาด ทุกคนในร้านต้องเต็มใจบริการ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า

เช่น เมื่อลูกค้าเข้ามาในร้าน พนักงานต้องต้อนรับด้วยรอยยิ้ม สอบถามข้อมูลและความต้องการเบื้องต้น เช่น มากี่ท่าน หากมีเด็กมาด้วย ต้องการเก้าอี้เสริมหรือไม่ จากนั้นจึงพาเข้าไปในร้าน ดูแลการนั่งให้เรียบร้อย และส่งเมนูอาหารให้เลือก รอสักพัก พนักงานจึงรับออร์เดอร์ โดยคอยให้คำแนะนำและใส่ใจสิ่งที่ลูกค้าพูดตลอดเวลา ไม่หันไปคุยกันเองหรือผละไปทำงานอื่นๆ

เมื่อลูกค้าสั่งเสร็จ ต้องทวนรายการอาหาร จากนั้นจึงส่งออร์เดอร์เข้าครัว  โดยพนักงานในครัวควรตรวจสอบรายการอาหารก่อนลงมือทำ และต้องสังเกตว่ามีคำขอพิเศษอื่นๆ หรือไม่ เช่น ไม่ใส่ผัก ไม่ใส่กระเทียม เป็นต้น เพื่อจะได้ทำอาหารให้ตรงตามที่สั่ง จากนั้นจึงนำมาเสิร์ฟ อย่างรวดเร็ว ไม่ใช่ปล่อยให้อาหารเย็นชืด หมดความอร่อย

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของขั้นตอนการบริการเท่านั้น  จริงๆ แล้วยังมีขั้นตอนอีกมาก เจ้าของร้านควรสร้างวัฒนธรรมภายในร้านให้พนักงานบริการดีที่สุด เพื่อจะได้ทำให้ลูกค้าประทับใจมากที่สุด

3.อย่าเปิดให้จองโต๊ะเกินจำนวน

หากร้านอาหารของคุณมีบริการจองโต๊ะ สิ่งสำคัญคือ ต้องแน่ใจว่า คุณมีที่พอสำหรับช่วงเวลานั้นจริงๆ ไม่ใช่ลูกค้าจองโต๊ะตอน 6 โมงเย็น เมื่อเขาเดินทางมาถึงกลับบอกว่าต้องรอประมาณ 30 นาที แบบนี้เป็นใครก็ไม่ชอบใจจริงไหม

ทั้งนี้หากเจ้าของร้านบริหารจัดการการจองโต๊ะได้ดี จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น จัดสรรโต๊ะอย่างเป็นระบบ พนักงานครัวรู้ว่าต้องเตรียมอาหารสำหรับคนลูกค้ากี่ที่ เป็นต้น

กลับกันหากวางแผนการจองที่ไม่ดี ก็อาจทำให้ร้านวุ่นวาย ที่นั่งไม่พอ ลูกค้าไม่พอใจ คนในครัวทำอาหารไม่ทัน เป็นต้น

สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ คุณควรสร้างสมดุลระหว่างคนที่จองโต๊ะกับแขกที่ Walk-in ด้วย โดยไม่ควรเปิดให้จองโต๊ะทั้งหมด โดยไม่เหลือที่สำหรับลูกค้า walk-in เลย เพราะถ้ามาถึงแล้วมีโต๊ะว่างเต็มไปหมด แต่กลับเข้าไปนั่งกินไม่ได้ เขาต้องอารมณ์เสียแน่นอน

 

6.ใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของลูกค้าประจำ

ร้านอาหารหลายร้านคงมีลูกค้าประจำที่มาร้านคุณบ่อยมากๆ (แต่อาจจะไม่ได้สั่งอาหารมาก) เช่น คู่รักที่มากินมื้อเย็นที่ร้านคุณทุกสัปดาห์ พนักงานออฟฟิศที่มานั่งดื่มเบียร์ร้านคุณทุกเย็น เจ้าของร้านอาหารควรลองสังเกตว่าพวกเขาชอบรับประทานอะไร มาเวลากี่โมง เมื่อเขามาครั้งถัดไป อาจลองทักทายว่า วันนี้มาตรงเวลาเหมือนเดิมเลยนะครับ หรือพวกพูดว่า เมนู…เหมือนเดิมใช่ไหมครับ พร้อมรอยยิ้ม เพื่อแสดงให้เขาเห็นว่า คุณจำเขาได้และใส่ใจเขาจริงๆ

5.เงินทิป บอกอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด

เงินทิป คือเครื่องมือที่บ่งชี้ว่าลูกค้าประทับใจในร้านอาหารของคุณมากน้อยแค่ไหน การที่ร้านคุณได้ทิปน้อย ไม่ได้หมายความว่า บริการของพนักงานเสิร์ฟย่ำแย่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจหมายถึงเขาไม่พอใจในรสชาติอาหาร ไม่พอใจเรื่องความสะอาดของร้าน หรือไม่พอใจเรื่องราคา ก็เป็นได้ ฉะนั้น แทนที่คุณจะไล่บี้กับพนักงานเสิร์ฟเพียงอย่างเดียว ต้องลองสังเกตส่วนอื่นๆ ของร้านประกอบด้วย

6.สอบถามความพึงพอใจจากลูกค้าเสมอ

ทุกครั้งที่ลูกค้าเรียกเก็บเงิน ควรสอบถามความพึงพอใจจากเขา เช่น รสชาติอาหารเป็นอย่างไรบ้างครับ การบริการเป็นอย่างไร อยากให้ปรับปรุงอะไรเพิ่มเติมหรือเปล่าครับ เป็นต้น แต่ลูกค้าบางคนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็น คุณอาจใช้วิธีให้เขียน Comment แทน

เมื่อรวมรวม Feedback แล้ว ไม่ว่าดีหรือแย่ ควรแจ้งพนักงานทุกครั้ง แม้ว่าคำตำหนิจะเป็นสิ่งที่พวกเขา หรือแม้แต่คุณเองไม่อยากได้ยิน แต่มันคือเครื่องมือชิ้นสำคัญในการพัฒนาร้านอาหารให้ดีขึ้น

7.รู้วิธีจัดการกับลูกค้าที่ “มีปัญหา”

หากร้านอาหารของคุณเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขอฟันธงเลยว่า ต้องเจอปัญหาลูกค้า “ดื่มมากเกินไป” อย่างแน่นอน ดังนั้น คุณต้องเทรนด์พนักงานทุกคนให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวให้ได้ เพื่อที่ลูกค้าคนนั้นจะได้ไม่สร้างความรำคาญใจให้พนักงานคนอื่น

อย่างแรก คุณต้องงดเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเสนอเครื่องดื่มอื่นๆ หรือให้เขาแทน โดยใช้การเจรจาอย่างสุภาพ แต่ถ้าเขาเริ่มโวยวายหรือส่งเสียงดัง ควรพาเขาออกนอกร้านโดยเร็ว และสุดท้ายหากควบคุมสถานการณ์ไม่ได้จริงๆ อาจต้องแจ้งตำรวจให้มาจัดการแทน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกการกระทำต้องทำอย่างสุภาพ และให้เกียรติลูกค้าให้มากที่สุด

8.ใช้สื่อโซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์

หากร้านอาหารของคุณมีเพจในเฟซ์บุ๊ก หรือ IG ลองใช้ช่องทางนี้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ตอบโต้กับเขาด้วยความเป็นกันเอง หากพวกเขาลงรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารของคุณ ก็ควรเข้าไปขอบคุณ กดไลค์ หรือแชร์ลงเพจ เพื่อให้ลูกค้าประทับใจ แม้ไม่ได้เดินทางมาใช้บริการที่ร้านก็ตาม

หากร้านอาหารไหน สามารถทำได้ตามนี้ รับรองว่าลูกค้าจะประทับใจในการบริการของคุณแน่นอน

เรื่องแนะนำ

วิธีคำนวณต้นทุนร้านอาหาร

วิธี คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้! by คุณ ธามม์ ประวัติตรี

การคำนวณต้นทุนร้านอาหาร ถ้ามองให้เป็นเรื่องใกล้ตัว พูดง่ายๆ ก็เหมือนเรามีเงินเดือน แล้วเราต้องรู้ว่าในแต่ละเดือนนั้น ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และมีเงินเหลือเก็บหรือไม่ เช่นเดียวกับการ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ มาดูคำแนะนำจาก คุณ ธามม์ ประวัติตรี Managing Director, Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์   “ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ไม่ใช่การเดา แต่ต้องทำให้เป็นระบบ แล้วผลประกอบการก็จะดีขึ้น ” เจ้าของธุรกิจบางรายมักใช้ความรู้สึก ในการวัดผลการดำเนินงาน เช่น วันที่ลูกค้าเต็มร้าน คาดว่าน่าจะมีรายได้มาก และน่าจะมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจมากตามไปด้วย แต่คำว่ามากนั้น คงไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าธุรกิจของคุณเป็นไปด้วยดีจริงหรือไม่ ทั้งนี้เจ้าของร้านจะต้องสามารถระบุได้ว่ามาตรฐานของร้าน หรือระดับรายได้ที่ควรจะได้คือเท่าไหร่ หรือมากกว่าคู่แข่งเท่าไหร่ หรือบางร้านอาจจะมีการจดบันทึกที่ละเอียดขึ้น คือมีการบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นเงินสด ว่าวันนี้ขายได้กี่จาน จานละกี่บาท ก็จะบันทึกเป็นยอดขาย เพื่อนำมาคำนวณ ต่อวันจะขายได้เท่าไหร่ ต่อเดือนจะขายได้เท่าไหร่ แต่ความจริงแล้ว การคาดการณ์ที่กล่าวมาอาจไม่เพียงพอเท่าที่ควร และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระยะยาวได้ เพราะเจ้าของร้านต้องไม่ลืมว่ารายรับนั้น ยังไม่ได้หักต้นทุนใด ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าล่วงเวลาของพนักงาน […]

5 ขั้นตอน พัฒนาทีมงานแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกร้าน

เพราะปัญหาเรื่องทีมงาน เป็นปัญหาคลาสสิคของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านทุกคนพอเปิดไปสักพัก ก็ต้องเจอไม่ว่าจะเป็น พนักงานทำออเดอร์ผิด รสชาติหน้าตาอาหารผิดเพี้ยน เสริฟผิดโต๊ะ รับออเดอร์ตกหล่น ความสะอาดภายในร้านและในครัว จนถึงปัญหาการลาออกบ่อยของพนักงาน   ผมเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาเหล่านี้ไม่ถูกแก้ และกลับมาหาเราซ้ำๆ ไม่ใช่เพราะเราไม่สอน……… แต่ปัญหาคือ เราไม่มี Flow Chart หรือ SOP ของการพัฒนาความสามารถให้พนักงาน   เมื่อเราไม่ได้วางลำดับขั้นตอนของการสอนเพื่อประเมินพนักงานว่าเขาอยู่จุดไหนแล้ว  และจากนี้เขาควรจะไปไหนต่อ มันก็เลยทำให้เขาอยู่จุดเดิม พอเกิดปัญหา ก็เลยเป็นภาระของ เจ้าของร้านที่ต้องเข้ามาแก้อยู่เสมอ   ยกตัวอย่างปัญหาในครัว เช่น พนักงาน A หั่นผัก มาหลายเดือน ก็หั่นผักอยู่แบบนั้น ไม่เคยได้จับกระทะทำอะไรเลย ยิ่งกว่านั้นพอพนักงานรุ่นพี่ลาหยุด กลายเป็นว่าคนที่อยู่ คือพนักงาน A ที่ทำหน้าที่หั่นผัก จำเป็นต้องมาจับกระทะทำอาหาร แต่ทำไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาให้พนักงาน A ได้จับกระทะทำอาหารมาก่อน ทำงานครัวในวันนั้นไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น   แสดงว่าเจ้าของร้านไม่เคยตรวจสอบความสามารถของเขาเลยว่าเขาสามารถทำงานได้ด้วยตัวเองไหม อยู่ขั้นไหนแล้ว ดังนั้นเราควรจะตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพอย่างไร ต่อพนักงานหนึ่งคนเพื่อให้เขาเกิดผลสูงสุด   วันนี้ผมมี SOP […]

ปั้น พนักงานร้านอาหาร

ปั้น พนักงานร้านอาหาร ให้บริการลูกค้าเหมือนเจ้าของร้าน

ทำยังไงให้พนักงานบริการดี ? เรารวบรวมเทคนิคดีๆ จากการสัมภาษณ์เจ้าของร้านอาหาร ที่ใช้ในการ  ปั้น พนักงานร้านอาหาร ให้บริการดี เหมือนที่เราบริการลูกค้าเองมาฝาก

กรณีศึกษา ร้าน The Grouchy Chef ทำไมกฎร้านเยอะ แต่ดันลูกค้าแยะ?

กรณีศึกษา กฎร้านเยอะ แต่ดันลูกค้าแยะ ร้าน The Grouchy Chef เชฟขี้หงุดหงิด ร้านอาหารมีกฎการเข้าใช้บริการลูกค้าเยอะมาก แต่ทำไมลูกค้าถึงอยากมาใช้บริการ อาหารอร่อยแต่ร้านมี กฎ เยอะมากคุณจะยังอยากไปใช้บริการไหม ? เชื่อว่าเมื่อหลายคนจะไปใช้บริการร้านอาหารก็คงไม่อยากเจอร้านที่มี กฎ ยิบย่อย จุกจิกหรอกใช่ไหม ? มากินอาหารนอกบ้านทั้งทีก็อยากผ่อนคลาย จะให้มาทำตาม กฎ อะไรเยอะแยะมันเหนื่อยนะ แต่กับร้านนี้ไม่ใช่แบบนั้น!!! เพราะหลายคนที่เคยไปใช้บริการต่างยอมที่จะทำตาม กฎ ถึงแม้มันจะมีอยู่มากมายก็ตาม เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น เรามาหาคำตอบกัน! 🔸เชฟขี้หงุดหงิด🤯 . ร้านอาหารที่เรากำลังพูดถึงนี้มีชื่อว่า The Grouchy Chef หรือแปลเป็นไทยว่า “เชฟขี้หงุดหงิด” เป็นร้านอาหารฝรั่งเศส ที่บริหารโดย Takayuki Masumoto หัวหน้าเชฟชาวญี่ปุ่น โดยร้านนี้ตั้งอยู่ในเมืองวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา มีจุดเด่นในเรื่องของรสชาติที่หลาย ๆ ต่อหลายคนรีวิวว่าอาหารอร่อยมาก และที่สำคัญราคาถูก โดยราคาอาหารต่อจานของร้านนี้อยู่ที่ราว ๆ 11-30 ดอลลาร์ จึงถือว่าถูกมากถ้าหากเทียบกับราคาอาหารฝรั่งเศสของร้านอื่น ๆ ที่มักขายอยู่ที่ราคา […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.