5 หนทาง เปิดร้านอาหารในงบประมาณจำกัด - Amarin Academy

5 หนทาง เปิดร้านอาหารในงบประมาณจำกัด

5 หนทาง เปิดร้านอาหารในงบประมาณจำกัด

หลายคนที่ฝันอยากมีร้านอาหาร อาจถูกดับฝันตั้งแต่ยังไม่เริ่ม เพราะมีเงินทุนไม่เพียงพอ ไหนจะค่าเช่าที่ ค่าตกแต่งร้าน ค่าจ้างเชฟ ค่าพนักงาน ฯลฯ แค่คิดก็ท้อแล้วใช่ไหม แต่รู้หรือไม่ว่า เราไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนมากมาย ก็เปิดร้านอาหารได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องเลือกรูปแบบร้านอาหารให้เหมาะสมกับขนาดกระเป๋าสตางค์เท่านั้นเอง วันนี้เราจึงขอนำเสนอ 5 รูปแบบร้านอาหาร ที่เหมาะกับคนเงินน้อย แต่ฝันใหญ่ ให้สามารถ เปิดร้านอาหารในงบประมาณจำกัด ได้ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1.Food Trucks

หนึ่งในเทรนด์ร้านอาหารที่กำลังมาแรงก็คือ Food Trucks หรือร้านอาหารเคลื่อนที่ ซึ่งใช้รถบรรทุกขนาดเล็กเป็นครัวและเป็นหน้าร้านไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ ไม่ต้องเสียค่าเช้าสถานที่ ไม่ต้องเลือกทำเล ไม่ต้องมีพนักงานมาก แถมยังสามารถเคลื่อนย้ายร้านไปตามสถานที่ต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

Food Trucks ส่วนใหญ่มักโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter Instagram เพื่อประชาสัมพันธ์เมนูใหม่ โปรโมชั่นและชี้จุดว่า ตอนนี้ร้านเปิดขายอยู่ที่ใด เพื่อให้ลูกค้ารับทราบและมาใช้บริการ ถือเป็นร้านอาหารรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ แถมยังลงทุนไม่มากอีกด้วย

2.Pop-Up Restaurants

หลายคนอาจสงสัยว่า Pop-Up Restaurants คืออะไร ลองสังเกตเวลาเดินเล่นตามห้างสรรพสินค้า งาน Event ต่างๆ แล้วเห็นร้านอาหารที่มาออกบูธจำหน่ายอาหารกันไหม นั่นแหละคือ Pop-Up Restaurants เป็นร้านอาหารชั่วคราว ที่เปิดตามช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากในขณะนี้ เนื่องจากใช้งบประมาณไม่สูงนัก ไม่ต้องจ้างพนักงาน ไม่ต้องเสียค่าบริหารจัดการอื่นๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น และถ้าเปิดในห้างฯ ก็การันตีได้ว่าจะมีลูกค้าเข้าร้านคุณแน่นอน

ยิ่งปัจจุบันห้างฯ หรือ Community mall นิยมจัด Event เช่นนี้บ่อยครั้ง ทำให้คุณสามารถเปิดร้านได้อย่างต่อเนื่อง แต่ข้อเสียสำคัญของการเปิดร้านเช่นนี้ คือ คุณจะไม่มีลูกค้าประจำ (เพราะต้องย้ายร้านไปเรื่อยๆ ) และคุณต้องทำตามกฎระเบียบของพื้นที่ที่คุณเข้าไปเช่าอย่างเคร่งครัด ยิ่งเป็นห้างฯ ยิ่งมีกฎระเบียบมาก (บางแห่งไม่อนุญาตให้นั่ง หรือกินข้าวในร้านด้วย) ฉะนั้นลองศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน แล้วค่อยตัดสินใจนะครับ

3.ร้านขนาดเล็ก

ร้านเล็ก ไม่ได้แปลว่าจะขายได้น้อยเสมอไป รู้หรือไม่ว่า โกอ่าง ข้าวมันไก่ประตูน้ำ ร้านของเขามีขนาดเพียง 22 โต๊ะเท่านั้น แต่มีลูกค้าเข้าร้านเฉลี่ยถึงวันละ 2,500 คน!

เห็นไหม ร้านเล็กไม่ใช่ปัญหาเลย แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องสถานที่ ค่าออกแบบตกแต่ง ค่าไฟ ค่าดูแลรักษาไปได้อีกเยอะ แถมยังสามารถบริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย

4.Catering

เรียกง่ายๆ ว่า บริการรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งานบวช งานประชุมสัมมนาต่างๆ การทำธุรกิจอาหารรูปแบบนี้น่าสนใจมาก เพราะไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเลยก็ได้ เพียงแค่ประชาสัมพันธ์บริการผ่านสื่อออนไลน์ (ซึ่งประหยัดกว่ามาก) แถมไม่ต้องกังวลเรื่องของเหลือหรือขายไม่ได้ เพราะจะผลิตตามออร์เดอร์เท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ คุณต้องแบรนด์ใหเติดตลาด และสร้าง Connection ให้ได้ เพราะยิ่งรู้จักคนมากเท่าไร โอกาสในธุรกิจนี้ก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย

5.จำหน่ายผ่าน Social Media

รูปแบบนี้ถือว่ามาแรงสุดๆ เพราะตอนนี้คนนิยมสั่งของออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ เคสมือถือ รองเท้า แม้กระทั่งต้นไม้! ขายกันมากมายขนาดนี้แล้ว ทำไมจะจำหน่ายอาหารไม่ได้ล่ะ เพียงแค่คุณเปิดเพจใน Facebook หรือ Instagram อัพโหลดรูปอาหาร พร้อมราคา และค่าจัดส่ง เท่านี้ก็เปิดร้านอาหารได้แล้ว ถือเป็นช่องทางสะแวก รวดเร็วและเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่อีกด้วย แต่อย่าลืมว่าเมื่อง่ายขนาดนี้ คนอื่นๆ ก็ทำได้เช่นกัน ฉะนั้น Concept ก็ต้องโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ด้วย

เห็นไหมว่า การเปิดร้านอาหาร ไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนมากเสมอไป เพียงแค่เลือกรูปแบบใหม่เหมาะ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจได้แล้ว

เรื่องแนะนำ

เปิดร้านอาหาร

เปิดร้านอาหาร ดูแลร้านเอง VS จ้างคนมาคุมร้าน

เปิดร้านอาหาร ควรดูแลร้านเองหรือควรจ้างผู้จัดการร้านมาคุม ? เราจะลองมาเปรียบเทียบให้ฟังว่า การดูแลร้านเอง กับ การจ้างคนมาคุมร้าน มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร

9 ขั้นตอนการ เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ

อยากเปิดร้านอาหาร แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี? เรามีขั้นตอน การเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร มาฝาก เผื่อจะเป็นแนวทางสำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไร

muji

ถอดบทเรียนความสำเร็จ ทำไม Muji ถึงครองใจคนทั่วโลก

Muji แบรนด์ค้าปลีกชื่อดังจากญี่ปุ่น เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2006 เพราะอะไร Muji จึงประสบความสำเร็จ ครองใจคนทั่วโลกถึงเพียงนี้ ไปติดตามกันเลย  

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.