4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ - Amarin Academy

4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

4 สิ่งที่ควรเช็คก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

“ความอร่อยไม่ใช่จุดขาย แต่เป็นมาตรฐานต่ำสุด ที่ร้านอาหารพึงต้องทำให้ลูกค้า” นี่คือประโยคเด็ดของคุณต่อ ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้าน Penguin eat shabu ฉะนั้นก่อนเปิดร้านสิ่งที่เราต้องคิดให้หนัก คือการ จ้างเชฟ เพราะตำแหน่งนี้คือ คนสำคัญที่จะสร้าง “มาตรฐานต่ำสุด” ให้ร้านอาหารของเรา อย่างนั้นมาดูกันดีกว่าว่า ก่อนจ้างเชฟเราต้องเช็คอะไรบ้าง

1.เช็คโซเชียล

ทุกวันนี้โซเชียลมีเดียถือเป็นช่องทางหนึ่งในการเช็คข้อมูลเกี่ยวกับคนที่เราอยากรู้จัก (ไม่ใช่เอาไว้แอบส่องสาวๆ หรือหนุ่มๆ เพียงอย่างเดียวนะครับ) แม้อาจจะไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นทางการนัก แต่ก็ถือว่าครอบคลุมสิ่งที่เราอยากรู้ได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ทั้งประวัติการทำงาน ความสนใจ ไลฟ์สไตล์ แถมบางครั้งคุณอาจจะได้รับรู้ข้อมูลที่ตอนสัมภาษณ์เขาไม่เคยพูดอีกด้วย

อาจเริ่มจากการดูภาพถ่ายที่เขาอัพโหลดไว้ว่าสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ อ่านสเตตัสย้อนหลังว่าเขาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวต่างๆ อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้บอกได้ว่าบุคลิก ลักษณะ หรือนิสัยใจคอของเขาเป็นอย่างไร (หากเขาตั้งเสตัสตัสแสดงอาการ “หัวร้อน” บ่อยๆ ก็คงไม่ดีต่องานสักเท่าไรนัก

ฉะนั้นเจ้าของธุรกิจอาจเริ่มศึกษาข้อมูลส่วนตัวของเชฟที่เราสนใจ หรือเชฟมาสมัครงานจากโซเชียลมีเดียก่อนว่า ประวัติการทำงานหรือบุคลิกของเขาตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า

2.ซักประวัติเสียหน่อย

บางครั้ง Resume เพียงแผ่นเดียวอาจบอกอะไรได้ไม่มากนัก ทางที่ดีลองให้เขาเล่าประวัติการทำงาน ความสนใจ ความถนัดให้ฟังเสียหน่อย โดยคำถามพื้นฐานที่ควรสอบถาม เช่น

1.เมนูที่ดีที่สุดที่คุณเคยทำคืออะไร
2.เชฟคนไหนที่ถือว่าเป็นไอดอลของคุณ แล้วคุณเรียนรู้อะไรจากเขามาบ้าง
3.สิ่งที่คุณถนัดที่สุดคืออะไร
4.คุณมีวิธีในการควบคุมรายจ่ายในครัวอย่างไร
5.ถ้าตอนนี้คุณกำลังจะกินอาหารมื้อสุดท้าย คุณอยากให้ใครทำอาหารให้คุณกิน

ฯลฯ

คำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณวิเคราะห์ในเบื้องต้นได้ว่า เชฟของคุณมีทัศนคติ พฤติกรรม บุคลิกภาพและวิธีการทำงานอย่างไร เพื่อนำประกอบการตัดสินใจ เพราะหากร้านอาหารของคุณมีเชฟมือฉมัง โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็สูงตามไปด้วย

3.วัดทักษะด้านการทำธุรกิจ

ทำอาหารเป็น ไม่ได้หมายถึง ทำร้านอาหารได้ แน่นอนว่าเชฟทุกคนทำอาหารได้ แต่มีเชฟเพียงบางคนเท่านั้นที่สามารถนำพาร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จและมีกำไร

ขณะสัมภาษณ์คุณควรให้เขาลองวาง Concept เมนูให้ดูเป็นตัวอย่างสักหน่อย โดยคุณต้องอธิบายแนวคิดของร้านให้ชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบเมนูให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด

จากนั้นลองโยนโจทย์ให้เขาคิดคำนวณต้นทุนอาหาร โดยอาจยกตัวอย่างเมนูง่ายๆ และให้เขาคำนวณต้นทุนวัตถุดิบของเมนูนั้น

ขณะเดียวกันระหว่างที่คุณมอบหมายงาน อย่าลืมสังเกตปฏิกิริยาว่าเขารู้สึกอย่างไรกับการทำงานนี้ หากเขาตกใจ นั่นแปลว่าเขาอาจไม่เคยคำนวณต้นทุนมาก่อนเลย

การสัมภาษณ์งานอย่างนี้อาจจะดูโหดร้ายสำหรับเชฟไปสักหน่อย แต่มันส่งผลดีต่อร้านคุณในอนาคตแน่นอน เพราะการคำนวณต้นทุนจะส่งผลต่อการควบคุมปริมาณวัตถุดิบและรายจ่ายในครัว (ซึ่งเป็นรายจ่ายหลักของร้าน) หากกุนซือใหญ่ ไม่เคยรู้เรื่องนี้เลย ร้านของคุณต้องมีปัญหาแน่ๆ

หากเชฟไม่สามารถทำกำไรให้ร้านคุณได้ แม้เขาจะทำอาหารได้อร่อยขนาดไหนก็ไม่มีประโยชน์

4.เช็ครสชาติและวิธีการทำอาหาร

สิ่งสุดท้าย (แต่ไม่ท้ายสุด) ที่ควรทำ คือการเช็ครสชาติอาหารที่เขาทำว่าได้มาตรฐานหรือเปล่า โดยหลังจากการสัมภาษณ์ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะให้เชฟลองทำอาหารให้คุณลิ้มลอง

ทั้งนี้ก่อนเขาจะเริ่มทำอาหาร ลองพูดกับเขาว่า “หากคุณได้งานนี้ จงจำรสชาติและวิธีการทำเอานี้ไว้เสมอ และนำไปทำให้ลูกค้าคนอื่นๆ ได้กิน เพราะอาหารจานนี้คือจานที่คุณใส่ใจกับมันมากที่สุด เนื่องจากคุณอมีโอกาสพิสูจน์ตัวเองได้เพียงครั้งเดียว ฉะนั้นขอให้จำวันนี้เอาไว้ เพราะคุณก็มีโอกาสพิสูจน์ตัวเองกับลูกค้าครั้งเดียวเช่นกัน”

จากนั้นจึงปล่อยให้เขาเริ่มลงมือทำอาหาร พร้อมสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น สอบถามถึงขั้นตอนการทำอาหาร เทคนิคต่างๆ ถามถึงปริมาณส่วนผสม พร้อมทำท่าประเมินเขาไปด้วย สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้ เพราะต้องการให้เขาอยู่ในสภาวะกดดันที่สุด เพื่อดูว่าเขามีวิธีรับมือกับความกดดันอย่างไร

หากเขายังคงดูผ่อนคลายและทำงานไปตามปกติ สามารถสั่งงานพนักงานคนอื่นๆ ได้ ทำงานสะอาดเรียบร้อย และรสชาติอาหารออกมาดี ก็ถือว่าเชฟคนนี้น่าจะมีวุฒิภาวะสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ได้

พอจะทราบแล้วใช่ไหมว่าการเลือกเชฟนั้น ทดสอบแค่รสชาติอาหารอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องทดสอบด้านทัศนคติและอารมณ์ด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ร้านของคุณดำเนินงานได้อย่างราบรื่น ดังนั้นก่อนเลือกเชฟอย่าลืมเช็คตาม 4 ข้อนี้นะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก pos.toasttab.com

เรื่องแนะนำ

เปิดร้านอาหารวันแรก

เปิดร้านอาหารวันแรก ต้องเจอปัญหาอะไรบ้าง

เปิดร้านอาหารวันแรก หลายคนคงตื่นเต้นและดีใจที่ความฝันของตัวเองสำเร็จสักที แต่อย่าเพิ่งดีใจจนเกินไป เพราะบางครั้งวันแรกก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด

5 ปัญหาร้านอาหาร ยอดฮิต ที่เจ้าของมักเจอ

ปัญหากับร้านอาหารเป็นของคู่กัน ยิ่งช่วงเปิดร้านแรกๆ อาจต้องแก้ปัญหาเป็นรายวัน วันนี้เราจึงขอรวบรวม ปัญหาร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมักเจอมาแชร์ให้ทุกคนทราบกัน

พีคไทม์ ออเดอร์แน่น! ร้านอาหารรับมืออย่างไร?

Host จัดคิว ให้เหมาะสมกับที่นั่ง การทำยอดขายขึ้นอยู่กับการจัดที่นั่ง การจัดการด้านที่นั่งให้เพียงพอกับลูกค้าตามจำนวนที่คาดการณ์ การจัดสรรที่นั่ง และรับออเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการหน้าร้าน ส่งผลให้ร้านสามารถทำรอบได้สูง ในช่วงเวลาพีคไทม์ ร้านอาหารหลายแห่งจะมีการจ้าง Host ในการรับหน้าที่ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปยังที่นั่ง แต่หากร้านของคุณเป็นร้านเล็ก ๆ ก็สามารมอบหน้าที่ให้กับหัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ หรือผู้จัดการร้านอาหารในการดูแล โดยจะต้องมีทักษะในการวางแผนจัดการที่นั่ง การสื่อสารกับลูกค้า  รวมถึงประสานกับพนักงานส่วนบริการเพื่อรับหน้าที่ต่อได้เป็นอย่างดี   อุปกรณ์ วางแผนให้เหมาะกับ Turn ถ้าหากอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนลูกค้า อาจส่งผลโดยตรงกับประสบการณ์ในการรับบริการ การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณอาจจะคาดการณ์ได้จากจำนวนลูกค้าที่สูงสุดที่รับในช่วงพีคไทม์ ว่าจะใช้ได้กี่รอบ ยกตัวอย่าง ร้านอาหาร 40 ที่นั่ง คาดการณ์ว่าจะรับลูกค้าได้ 2 รอบในช่วงพีคไทม์ อุปกรณ์สำหรับลูกค้าจะต้องมี 80 ชุด  และคุณอาจจะบวกจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่านั้นสัก 1 เปอร์เซนต์ โดยคำนวณให้เพียงพอ ไม่ควรเผื่อการนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ไปล้างเพื่อใช้ในช่วงเวลานี้   เตรียมอาหารให้พร้อม มีคนรอซื้อแต่ไม่มีของขาย มีขายแต่ขายช้า ลูกค้าต้องรอเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้รับลูกค้าได้น้อยรอบ  รวมถึงประสบการณ์ยอดแย่อันดับต้น ๆ ที่ลูกค้าร้านอาหารเจอและทำให้ไม่กลับไปกินร้านอาหารนั้น ๆ […]

สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา

ร้านอาหารบางร้าน ตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปที่ร้าน แต่ก็ยังมีลูกค้าพยายามไปตามหาเพื่อไปกินให้ได้ หรือมีลูกค้าไปนั่งรอกินเป็นวันๆได้ นั่นเป็นเพราะร้านอาหารเหล่านี้มีเสน่ห์ดึงดูด ที่สามารถเรียกความสนใจลูกค้าได้มากพอ ซึ่งร้านของคุณก็สามารถทำได้เช่นกัน มาดูกันว่าจะมีวิธีใดบ้างที่จะช่วย สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ของคุณให้มีลูกค้าหลั่งไหลเข้ามา   สร้างเสน่ห์ร้านอาหาร ให้ลูกค้าไหลมาเทมา ‘จุดเด่น’ ที่มีแค่คุณเท่านั้นที่ให้ลูกค้าได้             เมนูซิกเนเจอร์ ไม่ใช่เมนูอะไรก็ได้ที่ร้านของคุณทำอร่อย แต่ต้องเป็นเมนูที่โดดเด่นพอที่ลูกค้าจะต้องสั่งทุกโต๊ะ หรือดั้นด้นมากิน เพราะฉะนั้นถ้าคุณขายแซลมอน แล้วเมนูซิกเนเจอร์เป็นแซลมอนคุณภาพดี อาจจะทำให้ร้านของคุณไม่ได้แตกต่างเมื่อเทียบกับร้านอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน วิธีสร้างจุดเด่นก็คือ สร้างเสน่ห์ให้กับเมนูนั้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นเมนูที่แปลกใหม่ รูปแบบการจัดจาน รูปแบบการเสิร์ฟ ชื่อของเมนู รวมถึงเรื่องราวที่คุณเล่าเกี่ยวกับเมนูนั้น ๆ เช่น กรณีแซลมอนที่เคยเสิร์ฟวางเป็นชิ้น ๆ อาจจัดวางเป็นทรงสูง ตกแต่งด้วยอุปกรณ์เพิ่มเติมเป็นภูเขาไฟ เสิร์ฟมาพร้อมกับควันของภูเขาไฟ แล้วตั้งชื่อว่า ฟูจิซังแซลมอน เป็นต้น ข้อคำนึงอีกประการก็คือ โดยปกติลูกค้าโดยทั่วไปจะมีค่ามาตรฐานในใจอยู่แล้ว เช่น ถ้าพูดถึงเป็ด คนจะนึกถึงเป็ดย่าง MK เพราะฉะนั้นถ้าร้านอาหารของคุณมีซิกเนเจอร์เป็นเป็ด ก็ควรจะต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า หรือดีกว่าไปเลย หากไม่สามารถทำได้ก็ใช้เทคนิคในการสร้างความโดดเด่นอย่างที่กล่าวมาแล้ว อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ  คือ ร้าน After You […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.