ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน - Amarin Academy

ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน

ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน

“กินอะไร กินอะไร กินอะไร ไปกิน MK” เชื่อว่าแทบไม่มีใครไม่เคยได้ยินเพลงนี้ เพราะในยุคหนึ่ง ถือเป็นเพลงยอดฮิตติดหูที่ใครๆ ก็ร้องได้ ปัจจุบัน MK สุกี้เปิดมานานกว่า 30 ปี มี 427 สาขาทั่วประเทศไทย ทั้งยังมีสาขาในประเทศญี่ปุ่น เวียดนาม และลาวอีกด้วย ซึ่งในปี 2560 MK มีรายได้รวมกว่า 16,000 บาท! เพราะอะไร ร้านอาหารง่ายๆ อย่างสุกี้ ถึงครองใจคนทั่วประเทศไทยมาได้นานขนาดนี้ แถมยังทำรายได้แตะหลักหมื่นล้าน! เราจะมา ถอดบทเรียน MK ให้ฟัง

1.กล้าคว้าโอกาส

MK เริ่มต้นธุรกิจในปี 2505 โดยคุณป้าทองคำ เมฆโต จากร้านอาหารเล็กๆ เพียง 1 คูหาที่สยามสแควร์ ซึ่งไม่ได้ขายแค่สุกี้เท่านั้น แต่ยังขายอาหารนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นข้าวมันไก่ เนื้อตุ๋น ผัดไท ฯลฯ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก จนในปี 2527 คุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ เครือเซ็นทรัลกรุ๊ปได้ชวนให้เปิดร้านอาหารในเซ็นทรัลลาดพร้าว ซึ่ง MK ก็ตอบรับ

จุดนี้เป็นจุดเปลี่ยนของ MK ก็ว่าได้ เพราะถ้าตอนนั้นไม่รับข้อเสนอ หรือกลัวว่าถ้าไปเปิดในห้างฯ (ซึ่งตอนนั้นถือว่าใหม่มากสำหรับเมืองไทย) แล้วจะบริหารจัดการไม่ได้ กลัวว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ ก็อาจจะไม่มี MK ในทุกวันนี้

แต่ความกล้าคว้าโอกาสในที่นี้ ก็ต้องประเมินศักยภาพตัวเองด้วยเช่นกัน ว่าพร้อมที่จะเติบโตแล้วหรือยัง

เคยเห็นไหม ร้านอาหารบางร้านที่เปิดสาขาแรกขายดีมาก คนต่อแถวเพียบ เลยตัดสินใจขยายสาขาหรือขยายแฟรนไชส์อย่างรวดเร็วเพราะคิดว่า “น้ำขึ้นให้รีบตัก” ไม่ขยายตอนนี้ก็ไม่รู้จะไปขยายตอนไหน

สุดท้าย…เจ๊งไม่เป็นท่า เพราะศักยภาพของธุรกิจยังไปไม่ถึง การบริหารจัดการยังไม่ดีพอ เทรนด์พนักงานไม่ทัน ฯลฯ

ดังนั้นความกล้า ต้องมาคู่กับความพร้อมด้วย ถ้าประเมินแล้วธุรกิจของคุณดีพอที่จะเติบโตได้ ถ้ามีโอกาสดีๆ เข้ามา ทำไมคุณไม่ลองคว้ามันดูล่ะ?

2.สร้างฐานลูกค้าประจำ “คุณภาพได้มาตรฐาน บริการไม่มีตก”

คุณภาพอาหาร ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอาหารยั่งยืน ข้อนี้เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ ร้านอาหารหลายๆ รายเลือกทำโปรโมชั่นที่หวือหวา ลด แลก แจก แถมสารพัด เพื่อดึงดูดคนเข้าร้าน

แต่ลองสังเกตดูว่า MK แทบไม่เคยออกโปรโมชั่นลดราคาเพื่อดึงดูดลูกค้าเลย แต่ก็ยังมีลูกค้าเข้าไปใช้บริการไม่ขาดสาย

ขณะเดียวกันตลอด 30 ปีที่ผ่านมา MK แทบไม่มีข่าวเรื่องสารปนเปื้อนในอาหารที่รุนแรงเลย และยังเป็นเจ้าแรกๆ ในประเทศไทยที่ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) มีการนำมาตรฐานด้านการผลิตอาหารระดับสากลมาใช้ควบคุมการทำงาน เช่น GMP และ HACCP เป็นต้น*

อีกข้อที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องบริการ อย่าลืมว่าร้านอาหารไม่ได้ขายอาหารเพียงอย่างเดียว แต่เรากำลังขายบริการด้วย ซึ่ง MK ให้ความสำคัญกับเรื่องบริการตั้งแต่การเทรนด์พนักงาน ที่มีศูนย์ฝึกอบรมพนักงานเป็นของตัวเอง การสร้างความประทับใจให้ลูกค้าในทุกๆ จุด (เคยมีร้านอาหารไหนพนักงานเต้นให้ลูกค้าดูบ้าง ?)

2 ข้อนี้ถือเป็นจุดแข็งหลักที่ทำให้ลูกค้าเชื่อใจ ประทับใจและกลับมาใช้บริการซ้ำ

*หมายเหตุ

  • GMP (Good Manufacturing Practice) ข้อกําหนดที่ต้องดําเนินการเพื่อให้ได้อาหารที่เหมาะสมสําหรับมนุษย์บริโภค
  • HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) มาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตราย ที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร

3.ค้นหา และพยายามเข้าใจความต้องการผู้บริโภค

ถ้าย้อนกลับไป MK นับเป็นเจ้าแรกๆ ที่มีแบบสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจมาตั้งที่โต๊ะ ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะการทำธุรกิจอาหาร ความต้องการของผู้บริโภคต้องมาเป็นอันดับแรก นับเป็นการทำงานแบบ Outside in คือมองจากภายนอก เพื่อนำมาพัฒนาภายใน จะทำให้เราพัฒนาได้ตรงจุดมากกว่านั่งคิดเอาเองว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไร

นอกจากนี้ยังมีการทำวิจัยผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ มีการสอบถามความคิดเห็นลูกค้าตลอดเวลา เพื่อนำไปปรับปรุงอาหารและการบริการ

ข้อนี้ถือเป็นสิ่งที่ร้านอาหารอื่นๆ ควรนำไปปรับใช้ เพราะจะทำให้เจ้าของรู้ว่าข้อบกพร่องที่แท้จริงของร้านคืออะไร และสมควรพัฒนาหรือปรับปรุงด้านไหนเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด

4.เทคโนโลยี ช่วยให้ก้าวได้ไกลกว่าคู่แข่ง

ถ้าบอกว่า MK ถือเป็นผู้นำเรื่องการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับร้านอาหารก็ถือว่าไม่ผิดนัก เพราะตั้งแต่ร้านอาหารอื่นๆ ยังใช้จดออร์เดอร์ลงบนกระดาษ แต่ MK นำเครื่อง PDA มาให้พนักงานใช้ซะแล้ว

“เราไปเห็นซุปเปอร์มาร์เก็ตในอเมริกา กำลังใช้เครื่อง PDA (Personal Digital Assistant ) ในการเช็คสต๊อก เราก็มาคิดว่าหากเอา PDA มาใช้รับออร์เดอร์จากลูกค้าแทนการจดลงบิลก็น่าจะดีไม่น้อย พอมาศึกษาโดยละเอียดแล้ว การใช้อุปกรณ์ตัวนี้เข้ามา จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างมาก เราก็เอามาใช้ ลูกค้าก็ชอบ เพราะบริการได้เร็วขึ้น”

ส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการและ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป

จนตอนนี้เริ่มให้ลูกค้าใช้ระบบจอสัมผัส ติดอยู่ตามโต๊ะ จะได้สั่งอาหารได้รวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น ไม่ต้องคอยเรียกพนักงาน ประหยัดทั้งเวลาและกำลังคน

เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ได้ดีต่อธุรกิจในแง่การบริหารจัดการ การเช็คสต๊อก การจัดทำบัญชีรายการต่างๆ เท่านั้น ยังถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ด้วย เพราะจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าร้านอาหารมีการบริหารจัดการที่ดี ทันสมัย และน่าเชื่อถืออีกด้วย

5.ระบบแข็งแกร่ง ขยายสาขาก็ราบรื่น

ปี 2529 MK เริ่มเปิดบริการร้านสุกกี้ที่ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว

  • ปี 2538 เปิดครบ 30 สาขา
  • ปี 2543 เปิดครบ 100 สาขา
  • ปี 2548 เปิดครบ 200 สาขา
  • ปี 2552 เปิดครบ 300 สาขา
  • ปี 2556 เปิดครบ 400 สาขา

จะเห็นว่าในช่วงปีให้หลัง MK มีการเติบโตและขยายสาขาแบบก้าวกระโดด ภายในระยะเวลาเพียง 4-5 ปี ขยายได้ถึง 100 สาขา!

การที่ขยายสาขาได้รวดเร็วขนาดนี้ ปัจจัยสำคัญที่สุดคือการวางระบบให้พร้อม ซึ่งปฏิเสธไมได้เลยว่า MK คือหนึ่งในร้านอาหารที่มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ฉะนั้นเมื่อขยายสาขาใหม่ก็แทบไม่จำเป็นต้องวางระบบใดๆ ใหม่เลย เพียงแค่ยกระบบเดิมที่ถูกออกแบบและพัฒนามาแล้ว ไปใช้ในสาขาใหม่ได้ทันที วิธีนี้จะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานและลดความผิดพลาดได้มากขึ้นด้วย

และแน่นอนว่า เมื่อขยายสาขาได้มากขึ้น ลูกค้าก็เข้าถึงธุรกิจได้มากขึ้น (ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเดินไปที่ห้างฯ ไหน จังหวัดอะไรก็ต้องเจอ MK) ยอดขายก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

6.แตกไลน์ธุรกิจ สร้างการเติบโต

Miyazaki / Hakata Raman / Yayoi / Le Siam / Le petit / ณ สยาม คือแบรนด์ลูกในเครือ MK ทั้งหมด เมื่อดูข้อมูลทางการเงินของ MK พบว่า

  • ปี 2558 มีรายได้ 14,478 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 1,856 ล้านบาท
  • ปี 2559 มีรายได้ 15,146 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 2,100 ล้านบาท
  • ปี 2560 มีรายได้ 16,073 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 2,425 ล้านบาท

ข้อมูลจาก ข้อมูลทางการเงิน MK

จะเห็นได้ว่ามีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องปีละประมาณ 1000 ล้าน และมีกำไรเพิ่มขึ้นปีละ 300 ล้านบาท! (อย่างเราแค่ล้านเดียวก็จะแย่แล้วจริงไหมครับ 555) นั่นเป็นเพราะเขาไม่ได้หยุดแค่การทำธุรกิจร้านสุกี้ แต่แตกไลน์ธุรกิจไปยังร้านอาหารประเภทอื่นๆ ด้วย

การมองหาโอกาสในการเติบโตอยู่เสมอ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจให้ยั่งยืน

พอจะทราบเหตุผลคร่าวๆ แล้วใช่ไหมครับ ว่าเพราะอะไร MK แบรนด์เก่าแก่ ที่ไม่แก่สมวัย สามารถทำกำไรได้มหาศาล แถมยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ร้านอาหารไหนอยากโตแบบนี้ ลองนำบทเรียนจาก MK ไปปรับใช้กันนะ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://mkrestaurant.com
http://www.pattanakit.net

เรื่องแนะนำ

เช็คลิสต์ความพร้อมร้านอาหาร ก่อนรบตลาด Delivery

  ร้านอาหาร Delivery ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น แต่ก็อาจตัดโอกาสในการขายเช่นกัน หากว่าร้านของคุณไม่พร้อมในการดำเนินการ มาลองตรวจสอบกันก่อนว่าร้านของคุณพร้อมหรือไม่ จากเช็คลิสต์ 5 ข้อ เหล่านี้   เจ้าของต้องริเริ่ม กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการเริ่มทำร้านอาหาร Delivery การใช้ Application ด้าน Delivery มีตัวเลือกอยู่หลายเจ้าทั้ง Grab, Get, FOODPANDA, lineman  ซึ่งไม่จำเป็นที่ร้านอาหารจะต้องใช้ทุกเจ้าที่มีอยู่ เพราะแทนที่จะส่งผลดี อาจส่งผลเสียต่อร้านมากกว่า เจ้าของควรคำนึงถึงเป้าหมายของร้าน และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของสินค้าที่ขายได้หลังหักต้นทุนแล้ว เช่น แอพพลิเคชั่นบางแห่งคิดค่าคอมมิชชั่นจากยอดการส่งเป็นเปอร์เซ็นต์ อาจจะไม่เหมาะกับร้านที่มีมาร์จินต่ำ  ทำให้ต้องขายลูกค้าในราคาที่สูง ลูกค้าสับสนราคาขาย และไม่ตัดสินใจซื้อ   ตลาดต้องรุก การใช้ Application ผู้ให้บริการ Delivery ยังช่วยให้การทำส่งเสริมการขายเป็นไปได้มากขึ้น การตลาดที่ดีจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า การเตรียมข้อมูล ภาพ การวางรูปแบบเมนูสินค้าใน Application เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเมนูที่ต้องการผลักดันยอดได้ในลำดับแรก ๆ   Application ส่วนใหญ่จะการทำโปรโมชันเพื่อแข่งขันกันเป็นเจ้าตลาด ร้านอาหาร Delivery จึงควรศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำโปรโมชั่นร่วมที่มีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการซื้อมากที่สุด […]

ต้นทุนในการทำร้านอาหาร

5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!

นอกจากต้นทุนด้านวัตถุดิบซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหารแล้ว ยังมี ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ด้านอื่นๆ ที่เราควรทราบอีกมาก แยกได้เป็น 5 ส่วนหลักๆ ดังนี้

6 เคล็ดลับ การเปิดร้านอาหาร ให้ “รอด” และ “รวย”

บางคนคิดว่า การเปิดร้านอาหาร เป็นเรื่องง่ายมีเงินก็สามารถเปิดร้านได้แล้ว แต่จะเปิดให้อยู่รอดได้นั้นยากมาก แล้วเคล็ดลับที่จะทำให้ร้านอาหารอยู่รอด คืออะไร? ” การเปิดร้านอาหาร นั้นง่าย แต่ให้อยู่รอดนั้นยาก” คำกล่าวที่ใครหลายๆคนพูดไว้ ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจสำหรับคนที่พอมีเงินลงทุน มักจะเลือกลงทุน เพราะคิดว่าเป็นธุรกิจที่ไม่ยุ่งยาก อย่างไรก็ตามกลับพบว่า ร้านอาหารที่เปิดขึ้นมากมายในแต่ละปีนั้น ปิดตัวลงไปหลายร้าน สาเหตุอาจมาจาก รายได้ไม่เป็นไปตามที่คิด เงินทุนสำรองไม่พอ ค่าใช้จ่ายสูง ในที่สุดก็ต้องปิดกิจการลง สำหรับมือใหม่ที่อยากมีอาชีพด้วยการเปิดร้านอาหาร วันนี้เรามีเคล็ดลับการเปิดร้านอาหาร ให้รอด และ รวย  มาฝากคนที่อยากทำร้านอาหารค่ะ   1.ทำเลที่ตั้ง คนที่อยากจะเปิดร้านอาหาร ไม่ว่าใครต่อใครก็อยากอยู่ในบริเวณแหล่งชุมชนคนเยอะๆ ถ้าจะให้ดีควรลงพื้นที่สำรวจและสังเกตว่ามีกลุ่มลูกค้ามากน้อยแค่ไหน ดูว่ากลุ่มคนแถวนั้นเป็นลูกค้ากลุ่มใด เช่น พนักงานบริษัท กลุ่มคนทำงานโรงงาน กลุ่มนักเรียน นักศึกษา หรือพ่อบ้านแม่บ้าน เพราะกลุ่มคนจะสัมพันธ์กับชนิดสินค้าและราคาที่เราจะขาย เช่น เราคงไม่เปิดร้านอาหาร Fine Dining ในย่านสถานศึกษาเพื่อขายนักเรียน แต่ควรขายของที่กินง่ายๆ อย่างไก่ป๊อบทอด เฟรนช์ไฟลส์ทอด ในราคาไม่แพง นอกจากนั้นต้องรู้ว่าเวลาเข้างาน พักเที่ยง เลิกงาน  เพื่อให้เรารู้ว่าเวลาไหนคนเยอะคนน้อย เตรียมของขายได้ถูกช่วงเวลา […]

ข้อพลาดของนักธุรกิจ

5 ข้อพลาดของนักธุรกิจ รุ่นใหม่

คนรุ่นใหม่ผันตัวมาเป็นเจ้าของธุรกิจมากขึ้น แต่ประสบการณ์อาจยังไม่มากพอ จนก้าวพลาด เราจึงขอยกตัวอย่าง ข้อพลาดของนักธุรกิจ ให้ทราบ เผือช่วยป้องกันปัญหาได้

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.