- Page 4 of 24

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

เจาะกลุ่มลูกค้า

เจาะกลุ่มลูกค้า ร้านอาหาร บริการให้ตรงใจ ❤︎

ในยุคที่ธุรกิจร้านอาหารมีการแข่งขันสูง ทางร้านย่อมจะต้องหาวิธีดึงดูดและจูงใจลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ แต่ผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การทำความเข้าใจลูกค้าแต่ละกลุ่มจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยให้พนักงานบริการลูกค้าที่ต่างกันอย่างเหมาะสม ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากร้าน ในบทความนี้เราจึง เจาะกลุ่มลูกค้า แต่ละแบบในร้านอาหาร เพื่อแนะนำแนวทางในการบริการให้เหมาะสม และเพิ่มโอกาสในการขายของร้านอาหารครับ เจาะกลุ่มลูกค้า ในร้านอาหาร บริการให้ตรงใจ 1. ลูกค้าที่มาเป็นคู่ ลูกค้าที่มากันสองคนหรือเป็นคู่รัก มักจะต้องการใช้เวลาด้วยกันมากกว่าต้องการให้พนักงานบริการเพิ่มเติม ดังนั้น พนักงานควรจะเลือกที่นั่งที่ให้ความรู้สึกค่อนข้างส่วนตัว เช่น โต๊ะที่อยู่ด้านในของร้าน หรือโต๊ะที่ห่างออกไปจากกลุ่มลูกค้าที่มาด้วยกัน เพื่อลดเสียงรบกวน หลังจากลูกค้าสั่งอาหารแล้วก็คอยสังเกตห่างๆ ว่าลูกค้าต้องการบริการใดเพิ่มเติมแล้วค่อยเข้าไปบริการ โดยเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารหลักใกล้เสร็จ อาจจะขออนุญาตเข้าไปเก็บจานที่ไม่ใช้แล้ว พร้อมกับแนะนำเมนูของหวานเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้านอาหารได้ 2. กลุ่มคนทำงาน พนักงานออฟฟิศ สำหรับร้านที่อยู่บริเวณที่ทำงานในเมือง พนักงานออฟฟิศคงเป็นกลุ่มลูกค้าหลักในร้าน  ส่วนใหญ่จะมาในเวลาพักกลางวัน หรือหลังเลิกงานในตอนเย็น จากเวลาพักที่ใกล้เคียงกันของพนักงานออฟฟิศ ทำให้ร้านอาหารต้องบริหารจัดการโต๊ะให้ดีเพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าต่อวันให้มากขึ้น และหาวิธีทำงานที่รวดเร็วขึ้น เช่น อาจจะปรุงวัตถุดิบบางส่วนล่วงหน้าไว้ เพื่อลดระยะเวลาการทำอาหาร หรือมีกระดาษให้เลือกเมนูอยู่ที่โต๊ะเพื่อลดภาระของพนักงาน ลูกค้ากลุ่มนี้มักจะมาเป็นกลุ่มย่อยๆ ประมาณ 3-4 คน โดยสั่งอาหารจานหลักคนละจาน และอาจจะสั่งเมนูอื่นๆ มาแชร์กัน พนักงานอาจจะแนะนำเมนูทานเล่นอื่นๆ ที่มีขายภายในร้านนอกเหนือจากอาหารจานหลัก เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอยากสั่ง […]

ลดต้นทุน เพิ่่มกำไร

ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด

หัวใจของการลด ต้นทุน ในร้านอาหาร อยู่ที่การจัดการกับวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการเตรียมและปรุงอาหาร แม้จะเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ แต่เจ้าของร้านไม่ควรละเลย เพราะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับร้านได้จริง โดยไม่ต้องขึ้นราคาอาหารให้ลูกค้าหนีไปไหน  ลด ต้นทุน อย่างมืออาชีพ เพิ่มกำไรให้ร้านอาหารสูงสุด หากร้านของคุณยังมีปัญหาต้นทุนอาหารสูง วัตถุดิบขาดสต๊อกจนไม่พอขาย หรือมากเกินไปจนใช้ไม่ทัน จัดเก็บวัตถุดิบไม่ดีจนบางส่วนเน่าเสีย หรือลืมใช้วัตถุดิบจนหมดอายุ ทั้งหมดนี้เป็นเงินทุนของเราที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ทั้งนั้น ลองเอาวิธีการลดต้นทุนร้านอาหารเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ ใส่ใจการจัดการวัตถุดิบอาหาร เรียงลำดับการใช้วัตถุดิบ ทำ Tracking number หรือจัดเรียงวัตถุดิบแบบ FIFO (First In First Out) ให้วัตถุดิบที่หมดอายุเร็วกว่าให้ถูกหยิบไปใช้ก่อน ป้องกันไม่ให้วัตถุดิบเสื่อมคุณภาพหรือหมดอายุ สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) เช่น สเต็กหนึ่งจาน จะใช้เนื้อปริมาณกี่กรัม เพื่อเตรียมแบ่งวัตถุดิบเนื้อเป็นไซส์เท่าที่ต้องการเท่า ๆ กันไว้ให้พร้อมใช้งาน ช่วยควบคุมต้นทุนอาหาร และมาตรฐานของอาหารแต่ละจานให้คงที่ ทำให้เจ้าของร้านวางแผนได้คร่าวๆ ว่าควรสต๊อกวัตถุดิบไว้เท่าไหร่ และคำนวณต้นทุนได้ง่ายขึ้น   ปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม อาหารในแต่ละเมนูควรจะเสิร์ฟในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสังเกตจากปริมาณอาหารที่เหลือกลับมาในแต่ละเมนู ถ้าจานไหนมีอาหารเหลือบ่อยๆ อาจจะปรับปริมาณให้เหมาะกับการทานมากขึ้น หลักการปรุงแบบ […]

Ghost Kitchen ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน!

Ghost Kitchen ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน!!

สมัยนี้คนที่อยากเป็นเจ้าของร้านอาหาร ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง หรือลงทุนอะไรเพิ่มเลยด้วยซ้ำ ด้วย “Ghost.Kitchen” หรือร้านอาหารที่มองไม่เห็น ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมกับการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี ลองมาดูความเป็นมาและข้อดีข้อเสียของโมเดลร้านอาหารนี้กันครับ “Ghost Kitchen” ร้านอาหารยุคใหม่ ไม่ต้องมีหน้าร้าน ที่มาของครัวที่มองไม่เห็น “Ghost.Kitchen”  “Ghost.Kitchen” ก็คือการเปิด “ร้านอาหารที่มีแต่ครัว” โดยไม่ต้องเปิดขายหน้าร้าน แต่เน้นรับออเดอร์อาหารผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อจัดส่งเดลิเวอรี่เท่านั้น โดยเจ้าของร้านเหล่านี้อาจจะขายอาหารได้แม้จะอยู่ภายในบ้าน หรือคอนโดมิเนียมที่ใช้พื้นที่ขนาดเล็กภายในตัวเมือง แค่เชื่อมต่อร้านกับแอปลิเคชันเดลิเวอรีต่างๆ หรือรับออเดอร์ผ่านโซเชียลมีเดีย ถ้าใครสะดวกก็จัดส่งเองได้เลย หรือบางคนก็ใช้วิธีจัดส่งเป็นรอบๆ ในพื้นที่บริเวณที่กำหนด เทรนด์อาหารเดลิเวอรี่กับการเติบโตของ Ghost.Kitchen สถิติจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่มีเติบโตขึ้นราวปีละ 10% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวของร้านอาหารทั่วไปที่โตแค่ 3-4% ต่อปี สอดคล้องกับการโตของธุรกิจ Ghost.Kitchen โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิดที่กระตุ้นให้การเกิดเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นไปอีก จะเห็นได้ว่าแม้แต่คนรอบตัวของเรา ก็หันมาขายอาหารผ่าน application หรือออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันร้านอาหารแบรนด์ใหญ่ก็มีการแชร์ครัวประเภทนี้ร่วมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องลงทุนทำครัวของแต่ละร้านเอง ตัวอย่างเช่น Grab Kitchen ที่รวมเอาร้านอาหารยอดนิยม 12 ร้าน […]

4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!

เปิดร้านอาหาร เป็นหนึ่งในอาชีพแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เพราะสามารถเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก จึงไม่แปลกที่ในช่วงโควิด จะมีการขายของกินออนไลน์กันอย่างคึกคัก บางคนที่เริ่มทำเป็นรายได้เสริม อาจจะทำรายได้ดีกว่ารายได้หลักเสียอีก  ถ้าในอนาคตจะเปิดเป็นหน้าร้าน หรืออยากขยายกิจการต่อไป จะต้องทำอย่างไรต่อไป ลองมาดู 4 ขั้นตอนสำหรับการเริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ที่สรุปมาเพื่อให้ร้านของคุณโตได้โดยไม่ต้องเจ็บตัว และเป็นก้าวแรกที่มั่นคงของธุรกิจครับ  4 ขั้นตอนที่มือใหม่ควรรู้ เริ่มต้น เปิดร้านอาหาร ให้รุ่ง!   1.วางรูปแบบร้านให้ชัดเจน การวางรูปแบบของร้านอาหารให้ชัดเจน จะช่วยให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย เกิดความน่าสนใจมากกว่าร้านทั่วไป และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์  เริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อร้าน ควรเป็นชื่อที่มีเอกลักษณ์และจำง่าย เข้ากับประเภทของร้านอาหาร เมนูอาหารในร้าน รวมถึงสไตล์การตกแต่งภายใน ควรจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย  ขอยกตัวอย่างร้านกาแฟ ที่มีความหลากหลายมากในปัจจุบัน นอกจากรสชาติที่ดีของกาแฟแล้ว แต่ละร้านก็จะมีจุดขายที่แตกต่างกัน บางร้านก็ใช้การตกแต่งร้านและสวนให้สวยงาม เพื่อให้ลูกค้าได้มาถ่ายรูปเช็คอินลงในโซเซียลมีเดีย บางร้านก็เปิดเป็นคาเฟ่แมว เพื่อให้ลูกค้าได้ผ่อนคลายกับน้องๆ ในร้าน หรือแม้แต่การคิดเมนูที่สร้างสรรค์ต่างๆ ก็เป็นแนวทางในการสร้างจุดเด่น ที่ทำให้ลูกค้าจะเลือกมาที่ร้านของเรา และได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจกลับไป 2.เลือกทำเลที่เหมาะสม เพราะทำเลเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลประกอบการของร้าน การเลือกทำเลตั้งร้านอาหารจะต้องคำนึงถึงกลุ่มฐานลูกค้าเป้าหมาย คู่แข่งในละแวกเดียวกัน ที่จอดรถของร้าน ความสะดวกต่อการเข้าถึง และความสะดุดตาของร้าน […]

ผู้ประกอบการ

ใจเขา ใจเรา…สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

นี่ไม่ใช่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู หรือยุคที่อยากจับจ่ายของฟุ่มเฟือยอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทุกคนต่างตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ อยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น และเริ่มวางแผนการเงินระยะยาว เพราะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด วิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบทั่วประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหาร ต่างได้รับผลกระทบ ล้มเรียงต่อกันเป็นโดมิโน ไม่เพียงแต่เจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนที่บาดเจ็บ แต่พนักงานระดับล่างของระบบที่รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน อาจเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกจ้าง และหยุดชั่วคราว ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน   ธุรกิจร้านอาหาร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส หากลองมองในมุมของ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารในช่วงนี้ แต่ละเจ้าต่างพลิกวิกฤติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเริ่มนำกลยุทธิ์ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นช่องทางหลัก โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย มีการปรับแผนการดำเนินงาน เน้นการซื้ออาหาร เครื่องดื่มกลับบ้านมากขึ้น เปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟให้กลายเป็นพนักงานส่งของ หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้เข้างานเป็นกะ สลับการเข้าออฟฟิศ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบางวิธีการที่ ผู้ประกอบการ พยายามรักษาเงินทุนและรักษาพนักงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ประกอบการจะประคับประคองปัญหาเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเรื่องที่น่าคิดต่อจากนี้คือ หลังวิกฤติครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะมีวิธีบริหารและจัดการกับหน้าร้านของตัวเองอย่างไร ให้สามารถนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ โดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อย่าง Social Distancing เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า   […]

ร้านอาหารฟื้นตัว

พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

        ร้านอาหารฟื้นตัว จากวิกฤตได้หรือไม่? เนื่องจาก “อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ขาดไม่ได้ ธุรกิจอาหารจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ไม่มีวันตาย เพียงแต่ว่าธุรกิจนี้มีการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ประกอบการจำนวนมากในตลาด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจขาลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัวพัฒนาอยู่เสมอ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ ก็ทำให้ร้านอาหารหลายๆร้านสามารถคิดหาหนทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจ แบบที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ หรือไม่เคยลองทำมาก่อนในภาวะปกติ เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้หลายคนได้ลองเปิดประตูบานใหม่         ในด่านต่อไปที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องคิดวางแผนคือ หากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น และการแพร่ระบาดของไวรัสอยู่ในการควบคุมแล้ว ธุรกิจร้านอาหารจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไปต่อได้เร็ว และสามารถคว้าโอกาสได้ก่อน ลองมาดูปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว ได้เร็วหลังผ่านวิกฤตกันครับ   ปัจจัยสำคัญช่วยให้ “ร้านอาหารฟื้นตัว” เร็วหลังวิกฤต   1. สร้างฐานลูกค้าประจำให้กลับมาซื้อซ้ำ         การขายแบบเดลิเวอรีหรือทางออนไลน์มากขึ้น ย่อมทำให้ทางร้านเก็บข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลการขายเมนูอาหารต่างๆ ได้ง่ายขึ้นมาก กลุ่มเป้าหมายของร้านก็จะชัดเจนมากขึ้น ทางร้านก็ต้องสร้างช่องทางการติดต่อ และช่องทางการสั่งอาหารให้ครบถ้วน มีแผนการตลาดที่ช่วยรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาซื้ออาหารซ้ำอีก อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ หากได้รับคำติชมก็สามารถแสดงความรับผิดชอบ และปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว […]

น้ำแข็ง

“น้ำแข็ง” วัตถุดิบเล็กๆ ที่ร้านอาหารหลายร้านมักมองข้าม

        เครื่องดื่มอร่อยๆ ก็ต้องคู่กับ น้ำแข็ง เย็นๆ ชื่นใจ แต่ใครจะไปคิดว่าน้ำแข็งแต่ละรูปทรงก็ส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่มได้อย่างไม่น่าเชื่อ น้ำแข็งทุกก้อนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อย่าปล่อยให้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นี้ทำให้ร้านอาหารของคุณต้องมีเครื่องดื่มที่ไม่ได้คุณภาพ!         แต่ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า น้ำแข็ง เป็นน้ำที่นำมาผ่านกรรมวิธีทำให้เยือกแข็ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามกรรมวิธีการผลิตดังนี้  น้ำแข็งชนิดซอง เป็นน้ำแข็งที่ผลิตโดยวิธีการแช่แข็งในบ่อน้ำเกลือ มี 2 ชนิด คือ –  น้ำแข็งที่รับประทานได้ จะต้องใช้น้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพ แล้วนำไปผลิตเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่ จะมีขั้นตอนการเป่าลมเพื่อให้น้ำแข็งทั้งก้อนใส –  น้ำแข็งที่รับประทานไม่ได้ นิยมใช้ในทางการประมงเพื่อแช่อาหารทะเล แต่กรรมวิธีจะไม่มีขั้นตอนการเป่าลม ทำให้ก้อนน้ำแข็งมีสีขาวขุ่น  น้ำแข็งชนิดก้อนเล็ก เป็นน้ำแข็งที่ทำด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นก้อน, หลอด หรือเกล็ด โดยทั่วไปมักจะเรียกว่า น้ำแข็งหลอด ซึ่งจะนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพแล้ว เข้าเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ น้ำแข็ง ประเภทไหน เหมาะกับเครื่องดื่มอะไรบ้าง?         […]

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

ตั้งราคาขาย

ตั้งราคาขาย อย่างไร ให้ขายได้และร้านอยู่รอด

        ในช่วงวิกฤตแบบนี้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร้านอาหารอยู่รอดได้ คือการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี และการ ตั้งราคาขาย (Price Strategy) ของอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะในวงการอาหารเดลิเวอรีที่มีการแข่งขันสูง มีร้านอาหารแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการจะต้องใช้กลยุทธ์ทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อจากร้านของเรา ลองมาดูการตั้งราคาขายอาหารและกลยุทธ์ต่างๆ ที่อาจจะช่วยร้านของคุณได้ครับ ตั้งราคาขาย อย่างไร  ให้ขายได้และร้านอยู่รอด         พื้นฐานของการ ตั้งราคาขาย อาหาร ต้องคำนวณมาจากต้นทุนของร้าน เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ควรอยู่ที่ 30-35% ของยอดขาย ตัวอย่างเช่น ต้นทุนวัตถุดิบเท่ากับ 30 บาท ราคาขายก็ควรจะตั้งไว้ประมาณ 100 บาท เป็นต้น          แต่ไม่ใช่ว่าการคำนวณแบบนี้จะเหมาะสมกับทุกร้านอาหาร เพราะยังมีต้นทุนอื่นๆ ได้แก่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าที่ และค่าการตลาดอื่นๆ ส่วนใครที่นำร้านอาหารเข้าร่วมกับผู้ให้บริการเดลิเวอรีต่างๆ ก็อย่าลืมต้นทุนค่า GP […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.