แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ป้องกันอาการขายดีจนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร

ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

ขายดีจนเจ๊ง! เชื่อว่าสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารมือใหม่อยากจะเห็นก็คือภาพของลูกค้ามาใช้บริการเต็มร้าน ขายดี ขายหมดทุกวัน แต่ทว่าการที่ลูกค้าเยอะ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้กำไรเสมอไป ซึ่งกรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายร้านที่ขายดีแต่ไม่มีกำไร กว่าจะรู้ตัวว่าขาดทุนสะสมมานานก็เกือบเจ๊งแล้ว
ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การตั้งราคาอาหารผิด คำนวณต้นทุนผิดหรือตั้งราคาอาหารจากต้นทุนวัตถุดิบอย่างเดียว แล้วถ้าอยากขายดีและมีกำไรต้องทำยังไงลองมาดูวิธีการตั้งราคาที่ถูกต้องกัน!
.
📌ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าต้นทุนของราคาอาหารทุกจานล้วนมีต้นทุนแฝง ไม่ได้มีแค่ค่าวัตถุดิบอย่างเดียว ฉะนั้นจะเอาแค่ค่าวัตถุดิบมาใช้ในการตั้งราคาอาหารไม่ได้ ต้องเอามาทั้งโครงสร้าง โดยโครงสร้างต้นทุนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
🔸ต้นทุนวัตถุดิบ COG (cost of grocery) ควรอยู่ที่ 35-40%
🔸ต้นทุนค่าเช่าที่ COR (cost of rental) ควรอยู่ที่ 10-15%
🔸ต้นทุน พนักงาน COL (cost of labor) ควรอยู่ที่ 20%
🔸ต้นทุนอื่นๆ ETC (เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าทำการตลาดค่าเสื่อม) ควรอยู่ที่ 10-15%
📌โดยต้นทุนเหล่านี้จะรวมกันอยู่ที่ 80% ดังนั้นกำไรร้านอาหารจึงไม่ควรต่ำกว่า 20%
🔸ยกตัวอย่างการตั้งราคาเมนูราดหน้าหมูนุ่ม🐷
.
สมมติเรารู้แล้วว่าค่าวัตถุดิบทั้งหมดของเมนูราดหน้าหมูนุ่มคือ 20 บาท
ให้เราถือว่า 20 บาทคือสาม 15% ของยอดขาย วิธีก็คือให้นำ 20 หารด้วย 35% จะได้ราคาขายราดหน้าหมูนุ่มในเบื้องต้นคือ 57 บาท
โดยที่ใน 57 บาทนั้นประกอบไปด้วย
✨ต้นทุนวัตถุดิบ COG = 20 บาท
✨ต้นทุนค่าเช่าที่ COR = 5.7 บาท
✨ต้นทุน พนักงาน COL 11.4 บาท
✨ต้นทุนอื่นๆ ETC = 8.55 บาท
✨ต้นทุนรวม คือ 80% = 45.65 บาท
กำไร 20% = 11.35 บาท
📌ทั้งนี้เราอาจจะปัดให้ราคาขายจาก 57 บาทเป็น 60 บาทก็ได้
🔸Competitive Base และ Branding Base✨
นอกจากนี้การตั้งราคาขายยังต้องคำนึงถึง 2 ปัจจัยนั่นก็คือ Competitive Base หรือการตั้งราคาโดยคำนึงถึงการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคำนวณต้นทุนต่างๆ แล้วราคาขาย ราดหน้าหมูนุ่มของร้านเราสูงกว่าราคาขายของร้านคู่แข่ง
หากร้านเราไม่มีจุดดึงดูดอื่นที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าเมนูนี้จะสร้างยอดขายได้ ร้านอาจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์บางอย่างเพื่อลดต้นทุนหรือทำให้เมนูของเราสามารถแข่งขันกับร้านอื่นได้
.
และอีกปัจจัย คือ Branding Base การตั้งราคาเพื่อให้เกิดรับรู้ของแบรนด์ เช่น การที่ร้านอาหารญี่ปุ่นตั้งราคาอาหารทุกจานให้เท่ากันที่ 88 บาท หรือร้านติ่มซำตั้งราคาทุกเมนูอยู่ที่ 15 บาท ซึ่งเป็นการตั้งราคาให้ถูกหรือแพงอย่างมีนัยยะ เพื่อสื่อถึงการมอบประสบการณ์ที่พิเศษเหนือกว่าคู่แข่ง
.
การตั้งราคาอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดทิศทางของร้านอาหารว่าจะขาดทุนหรือมีกำไร จะเจ๊ง หรือไปต่อได้สวยๆ ดังนั้นหากจะตั้งราคาอาหาร อย่าลืมคำนวณโครงสร้างต้นทุน เพื่อให้ร้านคุณขายดีและมีกำไร ไม่ใช่ขายดีจนเจ๊งนะ❗️
.

เรื่องแนะนำ

5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

ร้านอาหารหลายร้านเปิดตัวมาอย่างดี แต่ต่อมามาตรฐานกลับลดลง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร หรือการบริการที่เกิดความล่าช้าจนลูกค้าเข็ดไม่มาอีกต่อไป สาเหตุสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การขาดประสิทธิภาพของทีมงานหลังร้าน บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนที่จำเป็นต่อการ เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องรู้   ขั้นตอน 1  รู้จักโครงสร้างทีมงานหลังร้าน ทีมงานหลังร้านและหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย หัวหน้าเชฟ /รองหัวหน้าเชฟ/หัวหน้าส่วนครัวต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการบริหารการบริการลูกค้า ร่วมวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับงานบริการด้านอาหาร ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของอาหาร รับผิดชอบเวลาออกอาหาร รวมถึงการเสิร์ฟให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องบริหารต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการสอนงาน มอบหมายงาน และดูแลทีมงานครัวด้วย พนักงานครัว หน้าที่หลัก ๆ คือการปฏิบัติงานครัว ควบคุมมาตรฐาน ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด ช่วยดูแลควบคุมปริมาณของเสีย ฝ่ายสนับสนุน แผนกที่ช่วยดูแลเรื่องเอกสารต่าง ๆ ของธุรกิจ การจัดการเงินและบัญชี ดูแลการตลาดของธุรกิจ  ดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานร้านอาหาร จะเห็นได้ว่าทีมงานครัวมีหน้าที่สำคัญคือการผลิต แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การปรุงอาหาร แต่ยังมีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงการกำหนดคุณภาพ การจัดสรร ควบคุมต้นทุน และช่วยส่งเสริมงานบริการหน้าร้าน ในขณะเดียวกันทีมงานหลังร้านก็ยังรวมไปถึงแผนกสนับสนุน ที่เตรียมความพร้อมด้านการเงิน การบริหารบุคคล บัญชีและการตลาดด้วย หากขาดระบบที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสองทีมหลักนี้ […]

ถอดบทเรียน MK

ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน

ในปี 2560 MK มีรายได้รวมกว่า 16,000 บาท! เพราะอะไร ร้านอาหารง่ายๆ ถึงครองใจคนไทยมาได้นานขนาดนี้ แถมยังทำรายได้แตะหลักหมื่นล้าน! เราจะมา ถอดบทเรียน MK ให้ฟัง

ข้อดีของการเปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า

รวม ข้อดีของการเปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า ที่คุณคาดไม่ถึง!

ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่เริ่มหันมาเปิดธุรกิจอาหารมากมาย ซึ่งภาพรวมตลาดอาหารในประเทศไทยยังคงเป็นธุรกิจที่น่าสนใจและมีแนวโน้มที่ยังไปต่อได้ในอนาคต และการเปิดร้านในศูนย์การค้า ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่เริ่มให้ความสนใจกันมาก เพราะเป็นสถานที่ ที่มีผู้มาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพบปะ สังสรรค์ ผักผ่อน และรับประทานอาหาร ศูนย์การค้าจึงเป็นอีกหนึ่งแหล่งรวมร้านอร่อย ร้านดังไว้มากมาย ข้อดีของการเปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า มีอะไรบ้าง? ทำไมถึงดึงดูดเจ้าของร้านอาหารได้ มาดูกัน   ข้อดีของการเปิดร้านอาหารในศูนย์การค้า Branding แน่นอนว่า เมื่อร้านของคุณได้เข้ามาเปิดขายภายในศูนย์การค้า ก็เหมือนเป็นการสร้าง Branding ให้กับร้าน เกิดภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ของคุณ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคได้ด้วย รวมถึง ผู้ใช้บริการมีโอกาสเห็นร้านของคุณได้มากกว่า ด้วยปริมาณผู้มาใช้บริการในศูนย์การค้าที่มีจำนวนมาก และมีมาใช้บริการในทุกๆวัน จึงอาจจะทำให้มีโอกาสที่ลูกค้าจะได้รู้จักร้านของคุณมากขึ้น   Traffic ศูนย์การค้าจะมีการเก็บข้อมูลในแง่ของ Traffic ในทุกๆโซน ดังนั้น ร้านค้าที่จะมาเปิดร้านก็จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าจะจับกลุ่มลูกค้าในโซนนี้ได้อย่างไร จำนวนลูกค้ากี่เปอร์เซ็นต์ที่มีโอกาสจะเข้ามาในร้านได้ เช่น เปิดร้านอาหาร ศูนย์การค้าก็จะมีข้อมูลซัพพอร์ท กับทางร้านว่า บริเวณโซนหน้าโรงภาพยนตร์มี Traffic ประมาณเท่าไหร่ ร้านก็จะสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อว่า จะจับกลุ่มลูกค้าให้ได้กี่เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าทั้งหมด ก็จะสามารถนำไปต่อยอดการประเมินยอดขายที่ควรได้ต่อวันอีกด้วย   Facility สิ่งอำนวยความสะดวกที่ว่านี้ ก็คือในแง่ของลูกค้าที่จะมาใช้บริการร้านของคุณ ซึ่งการที่ร้านอาหารของคูณอยู่ภายในศูนย์การค้านั้น ลูกค้าก็จะได้รับความสะดวกสบายไปด้วย เช่น […]

เรียนรู้นิสัยของทำเล ก่อนตัดสินใจเช่าพื้นที่

ย่านออฟฟิศ สำนักงาน (Office area) ทำเลย่านออฟฟิศ สำนักงานเป็นทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าชัดเจนคือ พนักงานออฟฟิศ แต่อาจมีกำลังซื้อแตกต่างกันในแต่ละทำเล ยิ่งเป็นทำเลที่อยู่ใจกลางเมืองอย่าง สาทร สีลม อโศก ฐานรายได้เฉลี่ยของกลุ่มลูกค้าก็อาจจะมากขึ้น ค่าเช่าก็อาจจะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ราคาขายของร้านอาหารจะสูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานที่อยู่ถัดออกมา เช่น ย่านพหลโยธิน ทาว์อินทาวน์ หรือแจ้งวัฒนะ ทำให้ร้านอาหารที่อยู่ในทำเลออฟฟิศ สำนักงานในเมืองส่วนใหญ่ จึงเป็นร้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน (Check Average) ที่สูงกว่าย่านออฟฟิศสำนักงานนอกเมือง วันธรรมดา ช่วงเช้า – อาจจะขายแบบ Grab and go ได้ ถ้าทำเลตรงนั้นเป็นทำเลที่อยู่ในหรือใกล้อาคารสำนักงาน  หรืออาจจะอยู่ระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับอาคารสำนักงาน เพราะพนักงานออฟฟิศโดยมากมักจะซื้อก่อนขึ้นไปทำงานตอนเช้า ช่วงกลางวัน – จะขายดีช่วง 11.30 – 13.30 น. โดยอาหารอาจจะต้องเป็นประเภทที่ใช้เวลาปรุงไม่นาน เพื่อที่ทางลูกค้าจะได้รีบทานและรีบกลับไปทำงาน ในอีกมุมหนึ่งก็จะทำให้ร้านอาหารสามารถทำรอบ ได้มากขึ้นด้วย ช่วงเย็น – ช่วงเวลาหลังเลิกงานคือ 17.30 – 20.00 น. […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.