กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR วิธีรับมือกับความกดดันเมื่อลูกค้าต้องรอนาน

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR
แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ
เหตุทำกาแฟอยู่ แต่ก็ออเดอร์อื่นก็รอนาน
แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย

ทุกคนเคยมีความรู้สึกแบบนี้ไหม❓ รู้สึกกดดันจังเลยเวลาลูกค้ามายืนจ้อง… แม่ค้าร้านกาแฟรายหนึ่งได้มาโพสต์แชร์ความรู้สึกพร้อมขอคำแนะนำในการรับมือกับความกดดันเมื่อลูกค้าเยอะ ในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เนื่องจากเธอรู้สึกกดดันมาก เมื่อลูกค้ามาสั่งเครื่องดื่มแล้วต้องรอนาน
.
1- เธอได้โพสต์ว่า “ขอ HOW TO ทำยังไงไม่ให้กดดันตามลูกค้า เรารู้ ลูกค้ากาแฟรู้ ว่านี่มันคือ SLOW BAR COFFEE แต่บางครั้งคนที่ไม่ได้สั่งกาแฟไม่เข้าใจ งื้ออออ คือแบบ ทำกาแฟอยู่ แล้วลูกค้ามาสั่งเมนูที่ไม่ใช่กาแฟ แล้วรอนาน เพราะติดออร์เดอร์กาแฟ แล้วเราเลยกดดันตามลูกค้าไปด้วย ”
.


2- ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเหล่าคนทำร้านกาแฟต่างเข้ามาให้คำแนะนำแม่ค้ารายนี้พร้อมแชร์ประสบการณ์ที่ตนเองเจอกันอย่างไม่มีกั๊ก โดยส่วนใหญ่ให้คำแนะนำว่าให้ใช้วิธีติดป้ายแจ้งหรือบอกลูกค้าไว้ก่อนว่าเครื่องดื่มมีคิวก่อนหน้าอยู่กี่คิว ต้องรอประมาณกี่นาที แล้วถามว่าลูกค้าสะดวกรอไหม เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจได้ว่าจะรอหรือจะไม่รอ เช่น

“ลองบอกเขาไหมคะ ว่ามีคิวอยู่เยอะ รอได้ไหม รอประมาณกี่นาที บางคนคิดว่าของฉัน 1 แก้วเอง แต่ถ้าร้านแจ้งก่อน ว่ามีคิวอยู่ก่อน ต้องรอนาน รอ 15 นาที รอ 20 นาที เขาก็เข้าใจนะคะ” “ทำ Slowbar ใจต้องนิ่ง อย่างแรกบอกลูกค้าก่อนว่ามีกี่คิว ใช้เวลาประมาณกี่นาที แล้วลูกค้าสะดวกรอไหม ชวนคุย เดี๋ยวลูกค้าจะบอกเองสะดวกรอหรือไม่ พูดคุยตรง ๆ อย่าเสียดายออเดอร์ลูกค้าจนกลายเป็นคิวล้น ลูกค้าหัวเสีย เราจะปวดหัวครับ” “แจ้งเวลาลูกค้าค่ะ และอธิบายว่าทำไมถึงช้า หากลูกค้าต้องการที่จะรอ ก็ชวนคุยไปพลาง ๆ ทำเสร็จก็เสิร์ฟ พร้อมขอบคุณ และก็ต้องขอโทษที่ทำให้รอนานค่ะ ยิ้มอ่อน” 😅

3- บ้างก็แนะนำว่าทางร้านอาจใช้การเพิ่มอุปกรณ์การชงเข้ามา หรือใช้การเพิ่มพนักงานเพื่อให้ชงได้ทัน เช่น “ลดเมนูที่ต้องกด f ลง เลือกเฉพาะตัวคราฟท์ๆ” “ต้องรู้จักประเมินสถาณการณ์ จะเลือกลูกค้า หรือจะคงความเป็นตัวตนของร้าน หรือจะแก้ด้วยการเพิ่มคนชง คงต้องประเมินเองครับ แต่การขายของกินไม่ควรปล่อยลูกค้ารอออเดอร์นาน”

4- ไปจนถึงบางคนก็ได้แชร์ประสบการณ์การทำร้านของตัวเองว่า “หัวอกสถานการณ์คล้ายกันเลย… ของเรามีทำของกินเล่นกับกาแฟแบบทำสดเพิ่มด้วยหลายอย่าง แถมทำเค้กวันเกิดตามสั่งอีก พอลูกค้ามาพร้อมกัน ตู้มเดียวช่วงพีคไทม์ แต่ละคนสั่งกาแฟ และขนมหลายอย่างพร้อมกัน ออร์เดอร์เค้กที่รับทำก็รอกองอยู่ ลูกค้าสายเม้าท์ก็รอคุยอยู่ ก็ต้องเทคแคร์ แม่ค้ามีคนเดียวไฟบนหัวลุกเป็นซุปเปอร์ไซย่าเลย ทำคนเดียวรีบจนเหนื่อย กลายเป็นช้าไป เพราะระบายลูกค้าไม่ทัน ช่วงนี้เลยพักยาวเลยค่ะ เหนื่อยจนน็อตหลุด สำหรับตัวเราเองคงโลภไปหน่อย เปิดร้านรอบหน้าคงต้องวางแผนจัดระบบใหม่ ตัด product ของกินเล่นออกบ้าง ไม่งั้นน็อคอีกแน่ๆ เลย” “ที่ร้านทำสโลบาร์ใช้ mokapot แต่ช่วงเร่งด่วนต้องต้มให้ทัน 1 ชั่วโมง 20แก้ว ขายคนเดียวแทบร้อง ขอโทษลูกค้าทุกคน” เป็นต้น
.
5- โดยตามธรรมชาติแล้วมนุษย์เราไม่ได้ชอบการรอคอย แต่ชอบที่จะมีอะไรทำอยู่ตลอด ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจบริการอย่างร้านอาหาร ร้านกาแฟจึงควรให้ความสำคัญกับการเข้าใจพฤติกรรมนี้ เพื่อที่จะสามารถจัดการกับการรอคอยของลูกค้าให้รู้สึกว่าใช้เวลาน้อยที่สุดได้ และสร้างมูลค่าความรู้สึกประทับใจให้กับลูกค้า ซึ่งทางร้านอาจใช้วิธีหาอะไรให้เขาทำ เช่น การมีจออะไรสักอย่างให้ดู หรือมีอาหารว่างให้กิน

6- อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “อีกสักครู่” กับลูกค้า❗️ เพราะทางจิตวิทยาแล้ว คำนี้เป็นคำที่บั่นทอนจิตใจคนรอมาก ๆ เพราะเขาไม่สามารถรู้ได้เลยว่าคำว่าอีกสักครู่เนี่ย มันนานเท่าไหร่ ดังนั้นร้านควรมีการอัปเดทสถานการณ์ให้ลูกค้าที่รอได้รู้ว่าเขาต้องรออีกนานเท่าไหร่ อาหารใกล้เสร็จแล้วหรือยัง เพื่อคลายความกังวลของลูกค้า


7- สุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ การที่ลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีคุ้มค่ากับการรอคอย เช่น อาหารที่อร่อยวัตถุดิบคุณภาพดี บริการสุดประทับใจ บรรยากาศดี ลูกค้าก็มีแนวโน้มที่จะลืมการรอคิวนาน ๆ นั้นไปเลย เพราะสิ่งที่ได้รับมันเพอร์เฟคสุด ๆ ในทางตรงกันข้ามถ้าหากลูกค้าได้รับในสิ่งที่ไม่น่าประทับใจ เขาก็จะรู้สึกเสียดายเวลานั้นไปเลยเช่นกัน
.
Reference: https://www.facebook.com/groups/259809032544230/permalink/439171567941308/
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

 

เรื่องแนะนำ

ยอดเดลิเวอรี่ดี๊ดี แต่ทำไมร้านขาดทุน!!!

คนส่วนใหญ่ใช้งาน Social Media และพวกเขาค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ใน Facebook โดยเฉพาะข้อมูลร้านอาหาร ถ้าหากคุณยังไม่ได้เริ่มทำ หรือ Facebook ร้านของคุณยังเงียบ นี่คือ 4 เคล็ดลับ ที่จะพัฒนาให้คุณเป็นโปรการตลาด Facebook ได้โดยง่าย     1.อะไรคือ Key Selling point ที่โดนใจลูกค้า             ไม่ใช่เพียงแค่การมีจุดขาย แต่จุดขายที่ดีจะต้องแตกต่างและสามารถโดนใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ การทำความเข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ยังมีส่วนสำคัญต่อการกำหนด Keyword ในการทำแคมเปญโฆษณา สำหรับการทำการตลาดออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ   2.Value Content ที่รักษาลูกค้าไม่ให้ไปไหน คนทั่วไปเลือกที่จะฟังสิ่งที่ตรงกับปัญหาที่เขามีอยู่ มีแนวโน้มที่จะให้ความสนใจถ้าหากว่าสิ่งนั้นทำให้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ดีขึ้น และที่สำคัญตอบโจทย์ความต้องการในชีวิตในขณะนั้น ซึ่งนำมาปรับใช้กับการสร้าง  Content ที่มีคุณค่าต่อลูกค้าได้ Content ที่มีประสิทธิภาพควรสร้าง Engagement ระหว่างลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง การให้ความสำคัญกับเรื่องราวที่ใกล้ตัว รวมถึงการวิเคราะห์ให้ได้ว่าคุณค่าอะไรที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ความสำคัญบ้าง รวมถึงคาดการณ์ความต้องการที่จะเกิดขึ้น เป็นการทำให้ลูกค้าใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ร้านของคุณได้สื่อสารออกไป    3.Photo Content ที่ดึงดูดใจ […]

ลูกค้าไม่พอใจ

เมื่อ ลูกค้าไม่พอใจ เราจะทำอย่างไรดี

แม้ว่าจะบริการดีสักแค่ไหน ก็อาจเกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ ลูกค้าไม่พอใจ เจ้าของร้านก็ต้องหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้ เราจึงมี 4วิธี ที่ช่วยให้สถานการณ์ผ่อนคลายลงมาแนะนำ

ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ซื้อวัตถุดิบเอง VS ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier

ร้านอาหารส่วนใหญ่มัก ซื้อวัตถุดิบเอง มากกว่า ซื้อวัตถุดิบจาก Supplier เพราะคิดว่าราคาถูกกว่า แต่จริงๆ แล้วการซื้อวัตถุดิบเอง มีต้นทุนบางอย่างที่คุณอาจมองข้ามไป

เจ๊จง หมูทอด

ถอดบทเรียน เจ๊จง หมูทอด ร้อยล้าน !

เจ๊จง หมูทอด เป็นร้านอาหารไม่กี่แห่งที่ขายดีมากอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีโอกาสคุยกับเจ๊จง เลยอดไม่ได้ที่จะชวนคุยถึงข้อคิดที่ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.