Specialty Coffee คืออะไร ? แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ?

Specialty Coffee คืออะไร ? แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ?

Specialty Coffee คืออะไร ?
แตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไปอย่างไร ?

แชร์มุมมองโดย คุณมิน เจ้าของร้าน
Gorilla Coffee&Bakery

ทุกวันนี้มีร้านกาแฟให้เราได้เลือกกินอยู่เต็มไปหมด ซึ่งก็มีทั้งร้านที่เป็นรูปแบบคาเฟ่ ร้านกาแฟทั่วไป รวมถึงร้านแบบ Specialty ที่หลายคนให้คำจำกัดความร้านรูปแบบนี้ว่าเป็นร้านกาแฟที่มี “ความพิเศษ” ที่ต่างออกไปจากร้านกาแฟแบบอื่น ๆ ว่าแต่มันพิเศษยังไงล่ะ ? ลองมาดูมุมมองต่อความเป็นร้านกาแฟ Specialty ของคุณมิน ธมลวรรณ เจ้าของร้าน Gorilla Coffee&Bakery ร้านกาแฟ Specialty ย่านลาดกระบังกัน!
.


🔸นิยามของ Specialty✨
.
ในมุมมองของเรา Specialty Coffee คือ กาแฟที่พิเศษแตกต่างจากกาแฟทั่ว ๆ ไป เพราะเราให้ความใส่ใจ สนใจตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่การเลือกสายพันธ์ุกาแฟ ประเทศที่ปลูก การชง คาแรกเตอร์ของกาแฟแต่ละแบบ เอามาให้ผู้บริโภคเลือกมากกว่าร้านที่ขายกาแฟแบบปกติ เพราะคาแรกเตอร์แต่ละประเทศก็จะแตกต่างกัน

เมื่อก่อนคนกินกาแฟ ก็อาจจะดูจากเรื่องความขม ให้ความกระปรี้กระเปร่า แต่เดี๋ยวนี้คนให้ความสนใจกับรสชาติ สุนทรียะด้วย ไม่ใช่แค่ร้านที่ Specialty แต่ลูกค้าก็มีความ Specialty ด้วย
.


🔸การเป็น Specialty😎
.
สำหรับร้านเรา เราให้ความสนใจในรายละเอียดตั้งแต่ต้นทาง green bean เมล็ดก่อนคั่ว แหล่งเพาะปลูก การคั่ว เราต้องเลือกเมล็ดกาแฟเป็น คัดเมล็ดกาแฟได้ มีความรู้ในการคั่ว การชง กว่าจะออกมาเป็นกาแฟแก้วนึง ไม่เกี่ยวว่าร้านมีเครื่องคั่วแล้วจะเป็น Specialty แต่มันให้เสน่ห์ว่าเราทำมาตั้งแต่ต้นทาง

ในมุมของเรา เรามองว่าเป็นการสนใจตั้งแต่ต้นทาง สนใจในที่นี้ คือเข้าใจในความเป็นกาแฟ การแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าในกรณีที่ลูกค้าต้องการกินแบบไหน เราทำให้ลูกค้าได้หรือเปล่า ในจุดที่เรามีอุปกรณ์เท่านี้ ทำได้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ไหม เรามองว่าในทุก ๆ ร้านก็ความ Special ในแบบของตัวเอง

เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็เป็น Specialty ได้ ถ้าเขียนต่อท้าย ซึ่งสำหรับเราที่เรียนมาจึงมั่นใจว่า เราก็เป็น Specialty ได้ เราเคยถามลูกค้าว่ามองอะไรถึงจะรู้ว่าร้านกาแฟนั้นเป็นแบบไหน ลูกค้าตอบว่าเขาดูร้านที่เป็น Specialty จากการที่ไม่เป็นแฟรนไชส์ เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ และกลิ่นไหม้ของกาแฟ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ๆ และยังนวมถึงการนำเสนอของบาริสต้าด้วย เช่นที่ร้านเราจะมีการแนะนำให้ลูกค้าได้เลือก บอกลูกค้าว่าเมล็ดแบบนี้ ก็จะกลิ่นแบบนี้นะ มีทางเลือกให้กับลูกค้า

เรามองว่าความเป็น Specialty ไม่ได้มีบรรทัดฐาน หรือนิยามไหนมาวัดได้ แต่เรารู้ว่าเราต่างจากร้านอื่นอย่างไร รู้สึกว่ามันพิเศษและแตกต่างไปจากร้านอื่นอย่างไร มีเมล็ดให้เลือกเยอะจนลูกค้าบอกว่าต้องโยนหัวก้อย
.


🔸ความยากของ Specialty✨
.
ในเรื่องของเทคนิคการทำกาแฟเรามองว่ามันไม่ได้ยากมาก แต่เรื่องที่ยากคือการเทรนพนักงาน การเข้าออกของพนักงาน ปัญหาคนเป็นเรื่องยากที่คน ๆ นึงต้องรับมือ อย่างเราต้องเทรนน้องไปด้วย และต้องทำงานไปด้วย ที่ร้านก็คนเข้า ๆ ออก อีกอย่างถ้าลูกค้าถามหรือขอคำแนะนำบางอย่างเขาก็ตอบไม่ได้ บางคนมาทำแล้วเขารู้สึกว่ายากเกิน เขาเหนื่อย เขาก็ออก ปัญหาเรื่องคนเป็นปัญหาที่เราหนักใจมากที่สุด
.
แล้ว Specialty Coffee สำหรับคุณต้องเป็นยังไง ? มาแชร์มุมมองต่อกาแฟแก้วโปรดกัน☕️💖
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

Cafe

ขายทั้งกาแฟและเมล็ด Roasted Coffee คาเฟ่ โมเดล “ทำของกินให้เล่นได้”

ขายทั้งกาแฟและเมล็ด Roasted Coffee คาเฟ่ โมเดล “ทำของกินให้เล่นได้” ร้าน Nap’s coffee x rama 2 ผู้ที่ลงมือทำทุกโอกาส ก่อนที่ใครจะมองเห็น . ในยุคที่ใครก็อยากเปิดร้านกาแฟ หรือที่เรียก ๆ กันว่าคาเฟ่ ทำให้เราสามารถเห็นร้านกาแฟได้ทุก ๆ มุมถนน แต่ละร้านก็ต่างพยายามหาจุดเด่นเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ ตั้งแต่ร้านเล็ก ๆ ไปจนถึงร้านที่มีโรงคั่วเป็นของตัวเองจริงจัง ซึ่งตรงนี้ก็ถือเป็นจุดขายที่สามารถดึงดูดผู้ที่หลงใหลในการเสพกาแฟให้มาลิ้มลองเพราะต้องการความรู้สึกพิเศษที่มากกว่าการไปร้านกาแฟทั่ว ๆ ไป . สำหรับใครที่กำลังสนใจการขายเมล็ดกาแฟ ลองมาดูประสบการณ์การขายกาแฟไปพร้อม ๆ กับเมล็ดกาแฟ จากเจ้าของคาเฟ่ตัวจริง! คุณนฤพล วงษ์สุข เจ้าของร้าน Nap’s coffee x rama 2 เพื่อช่วยในการตัดสินใจทำธุรกิจของคุณ! .ความต้องการทำให้เกิดโอกาส: เราเปิดร้านกาแฟไปพร้อม ๆ กับการขายเมล็ดกาแฟ เพราะมองว่ามันสามารถทำไปพร้อมกันได้ แต่ถ้าทำคนเดียวก็จะหนักหน่อย เพราะต้องทำงานหน้าร้าน ต้องคุยกับลูกค้า ต้องทำสินค้าแปรรูปให้กับลูกค้าด้วย อีกทั้งต้องผลิตสินค้าที่ลูกค้าอยากจะได้ในแต่ละฟังก์ชั่น สมมติลูกค้าบอกว่าอยากกินกาแฟแบบนี้ […]

โจนส์สลัด

โจนส์สลัด แชร์จุดอ่อนที่ ธุรกิจอาหารสุขภาพ ต้องระวัง!

โจนส์สลัด จะมาแชร์ว่า ธุรกิจอาหารสุขภาพ มีจุดอ่อนอะไรที่ต้องระวัง พร้อมเผยเคล็ดลับการสร้างแฟนเพจร้านอาหารให้ยอดไลก์เพียบ ยอดแชร์กระจาย (แถมรายได้เพิ่ม)

ขายอาหารในศูนย์การค้า

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร?

เชื่อว่ามีร้านอาหารมากมาย ที่เคยคิดอยากจะเปิดร้านอาหารภายในศูนย์การค้า รวมถึงร้านที่ไม่ใช่แบรนด์ดัง ก็อยากจะพาร้านตัวเองเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็มีหลายคำถามมากๆว่า ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มาให้คำตอบแบบ Step by Step ให้เจ้าของร้านให้ทราบกันเลย   10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า Step by Step ขั้นตอนแรก เจ้าของร้านต้องโทรเข้ามาที่ศูนย์การค้าเพื่อ ติดต่อฝ่ายขาย ว่ามีความประสงค์ต้องการจะเปิดร้านอาหาร ทีมฝ่ายขายจะมีการสอบถามเบื้องต้นว่า ต้องการเปิดร้านอะไร พื้นที่เท่าไหร่ จากนั้นก็จะให้ทางร้านส่ง Brand Profile มาให้พิจารณาเป็นลำดับถัดไป เจ้าของร้านส่ง Brand Profile ให้ศูนย์การค้าพิจารณา จุดนี้สำคัญมาก เจ้าของร้านต้องทำโปรไฟล์ร้านของตัวเองก่อน เพื่อให้รู้ว่าร้านของคุณเป็นอย่างไร ขายอาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทใด หรือแม้กระทั่งมีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ ยิ่งหากไม่ใช่ร้านดัง Brand […]

my little boss

My Little Boss อาหารเด็กพรีเมี่ยม ไม่มีหน้าร้าน แต่ขายได้ 400 กล่องต่อวัน

My little boss ธุรกิจอาหารเด็กระดับพรีเมี่ยม ส่งตรงถึงบ้าน เจาะตลาดกลุ่มคุณแม่ที่ไม่มีเวลาทำอาหารให้ลูกๆ และกลุ่มเด็กที่รับประทานยาก นับเป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในตลาดอาหารเด็กปรุงสด โดยแทบจะไม่มีคู่แข่งเลย!

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.