4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ - Amarin Academy

4 สิ่งที่ควรเช็ค ก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

4 สิ่งที่ควรเช็คก่อนตัดสินใจ จ้างเชฟ

“ความอร่อยไม่ใช่จุดขาย แต่เป็นมาตรฐานต่ำสุด ที่ร้านอาหารพึงต้องทำให้ลูกค้า” นี่คือประโยคเด็ดของคุณต่อ ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้าน Penguin eat shabu ฉะนั้นก่อนเปิดร้านสิ่งที่เราต้องคิดให้หนัก คือการ จ้างเชฟ เพราะตำแหน่งนี้คือ คนสำคัญที่จะสร้าง “มาตรฐานต่ำสุด” ให้ร้านอาหารของเรา อย่างนั้นมาดูกันดีกว่าว่า ก่อนจ้างเชฟเราต้องเช็คอะไรบ้าง

1.เช็คโซเชียล

ทุกวันนี้โซเชียลมีเดียถือเป็นช่องทางหนึ่งในการเช็คข้อมูลเกี่ยวกับคนที่เราอยากรู้จัก (ไม่ใช่เอาไว้แอบส่องสาวๆ หรือหนุ่มๆ เพียงอย่างเดียวนะครับ) แม้อาจจะไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นทางการนัก แต่ก็ถือว่าครอบคลุมสิ่งที่เราอยากรู้ได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ทั้งประวัติการทำงาน ความสนใจ ไลฟ์สไตล์ แถมบางครั้งคุณอาจจะได้รับรู้ข้อมูลที่ตอนสัมภาษณ์เขาไม่เคยพูดอีกด้วย

อาจเริ่มจากการดูภาพถ่ายที่เขาอัพโหลดไว้ว่าสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ อ่านสเตตัสย้อนหลังว่าเขาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวต่างๆ อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้บอกได้ว่าบุคลิก ลักษณะ หรือนิสัยใจคอของเขาเป็นอย่างไร (หากเขาตั้งเสตัสตัสแสดงอาการ “หัวร้อน” บ่อยๆ ก็คงไม่ดีต่องานสักเท่าไรนัก

ฉะนั้นเจ้าของธุรกิจอาจเริ่มศึกษาข้อมูลส่วนตัวของเชฟที่เราสนใจ หรือเชฟมาสมัครงานจากโซเชียลมีเดียก่อนว่า ประวัติการทำงานหรือบุคลิกของเขาตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า

2.ซักประวัติเสียหน่อย

บางครั้ง Resume เพียงแผ่นเดียวอาจบอกอะไรได้ไม่มากนัก ทางที่ดีลองให้เขาเล่าประวัติการทำงาน ความสนใจ ความถนัดให้ฟังเสียหน่อย โดยคำถามพื้นฐานที่ควรสอบถาม เช่น

1.เมนูที่ดีที่สุดที่คุณเคยทำคืออะไร
2.เชฟคนไหนที่ถือว่าเป็นไอดอลของคุณ แล้วคุณเรียนรู้อะไรจากเขามาบ้าง
3.สิ่งที่คุณถนัดที่สุดคืออะไร
4.คุณมีวิธีในการควบคุมรายจ่ายในครัวอย่างไร
5.ถ้าตอนนี้คุณกำลังจะกินอาหารมื้อสุดท้าย คุณอยากให้ใครทำอาหารให้คุณกิน

ฯลฯ

คำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณวิเคราะห์ในเบื้องต้นได้ว่า เชฟของคุณมีทัศนคติ พฤติกรรม บุคลิกภาพและวิธีการทำงานอย่างไร เพื่อนำประกอบการตัดสินใจ เพราะหากร้านอาหารของคุณมีเชฟมือฉมัง โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็สูงตามไปด้วย

3.วัดทักษะด้านการทำธุรกิจ

ทำอาหารเป็น ไม่ได้หมายถึง ทำร้านอาหารได้ แน่นอนว่าเชฟทุกคนทำอาหารได้ แต่มีเชฟเพียงบางคนเท่านั้นที่สามารถนำพาร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จและมีกำไร

ขณะสัมภาษณ์คุณควรให้เขาลองวาง Concept เมนูให้ดูเป็นตัวอย่างสักหน่อย โดยคุณต้องอธิบายแนวคิดของร้านให้ชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบเมนูให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด

จากนั้นลองโยนโจทย์ให้เขาคิดคำนวณต้นทุนอาหาร โดยอาจยกตัวอย่างเมนูง่ายๆ และให้เขาคำนวณต้นทุนวัตถุดิบของเมนูนั้น

ขณะเดียวกันระหว่างที่คุณมอบหมายงาน อย่าลืมสังเกตปฏิกิริยาว่าเขารู้สึกอย่างไรกับการทำงานนี้ หากเขาตกใจ นั่นแปลว่าเขาอาจไม่เคยคำนวณต้นทุนมาก่อนเลย

การสัมภาษณ์งานอย่างนี้อาจจะดูโหดร้ายสำหรับเชฟไปสักหน่อย แต่มันส่งผลดีต่อร้านคุณในอนาคตแน่นอน เพราะการคำนวณต้นทุนจะส่งผลต่อการควบคุมปริมาณวัตถุดิบและรายจ่ายในครัว (ซึ่งเป็นรายจ่ายหลักของร้าน) หากกุนซือใหญ่ ไม่เคยรู้เรื่องนี้เลย ร้านของคุณต้องมีปัญหาแน่ๆ

หากเชฟไม่สามารถทำกำไรให้ร้านคุณได้ แม้เขาจะทำอาหารได้อร่อยขนาดไหนก็ไม่มีประโยชน์

4.เช็ครสชาติและวิธีการทำอาหาร

สิ่งสุดท้าย (แต่ไม่ท้ายสุด) ที่ควรทำ คือการเช็ครสชาติอาหารที่เขาทำว่าได้มาตรฐานหรือเปล่า โดยหลังจากการสัมภาษณ์ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะให้เชฟลองทำอาหารให้คุณลิ้มลอง

ทั้งนี้ก่อนเขาจะเริ่มทำอาหาร ลองพูดกับเขาว่า “หากคุณได้งานนี้ จงจำรสชาติและวิธีการทำเอานี้ไว้เสมอ และนำไปทำให้ลูกค้าคนอื่นๆ ได้กิน เพราะอาหารจานนี้คือจานที่คุณใส่ใจกับมันมากที่สุด เนื่องจากคุณอมีโอกาสพิสูจน์ตัวเองได้เพียงครั้งเดียว ฉะนั้นขอให้จำวันนี้เอาไว้ เพราะคุณก็มีโอกาสพิสูจน์ตัวเองกับลูกค้าครั้งเดียวเช่นกัน”

จากนั้นจึงปล่อยให้เขาเริ่มลงมือทำอาหาร พร้อมสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น สอบถามถึงขั้นตอนการทำอาหาร เทคนิคต่างๆ ถามถึงปริมาณส่วนผสม พร้อมทำท่าประเมินเขาไปด้วย สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้ เพราะต้องการให้เขาอยู่ในสภาวะกดดันที่สุด เพื่อดูว่าเขามีวิธีรับมือกับความกดดันอย่างไร

หากเขายังคงดูผ่อนคลายและทำงานไปตามปกติ สามารถสั่งงานพนักงานคนอื่นๆ ได้ ทำงานสะอาดเรียบร้อย และรสชาติอาหารออกมาดี ก็ถือว่าเชฟคนนี้น่าจะมีวุฒิภาวะสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ได้

พอจะทราบแล้วใช่ไหมว่าการเลือกเชฟนั้น ทดสอบแค่รสชาติอาหารอย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องทดสอบด้านทัศนคติและอารมณ์ด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ร้านของคุณดำเนินงานได้อย่างราบรื่น ดังนั้นก่อนเลือกเชฟอย่าลืมเช็คตาม 4 ข้อนี้นะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก pos.toasttab.com

เรื่องแนะนำ

เทคนิค ปรับร้านรับปีใหม่ เปรี้ยงกว่าเดิมชัวร์

ปีใหม่ทั้งที ร้านอาหารของเราจะทำเหมือนปีที่ผ่านมาได้อย่างไร วันนี้จึงขอแนะนำเทคนิค ปรับร้านรับปีใหม่ เพื่อที่ร้านของเราจะได้ยอดพุ่ง กำไรกระฉูดตลอดทั้งปี

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

ต้นทุนอาหารควบคุมได้ กำไรเห็น ๆ

  การกำหนดต้นทุนอาหารส่วนใหญ่จะกำหนดไม่เกิน 35-40 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมด โดยสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กันคือต้นทุน เท่ากับ ยอดขาย (ราคาขาย ) คูณด้วยเปอร์เซนต์ของต้นทุน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำหนดต้นทุนและยอดขายโดยประมาณไว้แล้ว เราก็จะได้จำนวนต้นทุนเพื่อควบคุมไว้ให้ไม่เกิน ยกตัวอย่าง ยอดขาย 90,000 คูณด้วย 35 เปอร์เซนต์ เท่ากับต้นทุนต้องไม่เกิน 31,500  บาท เป็นต้น ระบบการควบคุมต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ควรทำควบคู่กับระบบการจัดทำ Recipe  เพื่อกำหนดราคาขาย  และการกำหนด SOP เพื่อจัดการเมนูอาหาร   การจัดทำ  recipe เพื่อลงรายละเอียดของวัตถุดิบ   การจัดทำ recipe นั้นจะช่วยให้เรากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ประเมินงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบ และยังช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบ ยกตัวอย่าง ดังนั้น ข้าวไข่ข้นกุ้งเมนูนี้ จึงมีต้นทุนอยู่ที่ 14.4 % หากขายที่ราคา 90  บาท นอกจากนี้ การคำนวณวัตถุดิบควรลงละเอียดในเรื่องของ yield  (การหาค่าเฉลี่ยวัตถุดิบ) ลงไปด้วยเพื่อการกำหนดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของการจัดทำ Recipe […]

การจัดเก็บวัตถุดิบ

เทคนิค การจัดเก็บวัตถุดิบ สำหรับร้านอาหาร เพื่อลดการเสียต้นทุน

         ในช่วงวิกฤตนี้ ประชาชนส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้ออาหารและวัตถุดิบต่างๆ ตุนเอาไว้ ส่วนร้านอาหารต่างๆ ก็เน้นการขายแบบเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น ทำให้มีต้องมีการซื้อวัตถุดิบเพื่อรองรับการสั่งซื้อมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การจัดเก็บวัตถุดิบ จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรใส่ใจ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา คงคุณภาพของอาหาร และลดการสูญเสียต้นทุนวัตถุดิบให้น้อยที่สุด           ในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารควรยึดหลัก First In First Out (FIFO) หรือการใช้วัตถุดิบที่หมดอายุก่อน นอกจากนี้ วัตถุดิบแต่ละประเภทยังมีเทคนิคในการเก็บรักษาที่แตกต่างกันไป บทความนี้จึงขอรวมเทคนิคการยืดอายุวัตถุดิบอาหาร ให้สามารถเก็บได้นานที่สุด  เทคนิค การจัดเก็บวัตถุดิบ สำหรับร้านอาหาร เพื่อลดการเสียต้นทุน   เนื้อสัตว์           วัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ควรจะทำความสะอาด ตัดแต่งเนื้อตามลักษณะที่ต้องการ ซับให้แห้ง หลังจากนั้นอาจจะนำไปหมักกับเครื่องปรุง แล้วแบ่งเป็นสัดส่วนสำหรับใช้ในแต่ละครั้ง บรรจุใส่กล่องสำหรับแช่แข็ง หรือใส่ในถุงซิปล็อคแล้วกดให้แบน เพื่อให้ความเย็นเข้าถึงทั่วกันและจัดเก็บง่าย หรือจะห่อด้วยพลาสติกห่ออาหารก็ได้ หลังจากนั้นจึงนำไปแช่ในช่องแช่แข็ง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.