วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ในสังคม New normal หลังวิกฤตโควิด - Amarin academy

วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ในสังคม New normal หลังวิกฤตโควิด

        การระบาดของโควิด-19 ทำให้การใช้ชีวิตของทุกคนเปลี่ยนไปในระยะเวลาอันสั้น เมื่อต้นปีใครจะเชื่อ ถ้าบอกว่าประเทศไทยจะต้องปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ หลายบริษัทจะยอมให้พนักงาน Work from home หรือร้านอาหารจะต้องหันมาขายผ่านเดลิเวอรี ทำการตลาดออนไลน์แข่งกันแบบทุกวันนี้
        ทุกอย่างนี้มีการระบาดของไวรัสมา Disrupt หรือเป็นตัวเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น และแม้ว่าโรคนี้จะสามารถควบคุมได้แล้ว พฤติกรรมบางอย่างของผู้บริโภคก็จะต้องเปลี่ยนไปแน่นอน เรียกได้ว่าเกิดเป็นพฤติกรรมปกติในรูปแบบใหม่ หรือที่เรียกว่า “New Normal” นั่นเอง

พฤติกรรมลูกค้าในสังคม New normal 

        พฤติกรรมเบื้องต้นของคนไทยที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน คือความร่วมมือกันดูแลสุขอนามัยของตัวเองและคนรอบข้าง เช่น การใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการออกไปทำงาน ซื้อของกินของใช้ต่างๆ ใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ส่วนของผู้ให้บริการตามบริษัท ร้านสะดวกซื้อ ธนาคาร หรือสถานที่ต่างๆ ก็มีการวัดอุณหภูมิผู้ที่มาใช้บริการ และมีเจลแอลกอฮอล์ให้ล้างมือ หรือแม้แต่บริษัทอนุญาติให้พนักงานลา หรือ ทำงานที่บ้านทันทีเมื่อมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม ที่ดูเป็นแค่อาการเล็กน้อยในภาวะปกติ 

New normal
        นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าอาหารก็เปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน โดยการรับประทานอาหารนอกบ้านลดลงอย่างชัดเจน ถึงแม้ต่อจากนี้รัฐบาลจะประกาศให้เปิดหน้าร้าน แต่ลูกค้าบางส่วนก็อาจจะยังคงกังวลต่อสุขอนามัยและไม่กล้ามาใช้บริการร้านอาหาร

        หลายคนเป็นห่วงว่าร้านอาหาร หรือห้างสรรพสินค้าจะไม่มีผู้มาใช้บริการ เพราะผู้บริโภคเคยชินกับการใช้บริการเดลิเวอรี หรือธุรกิจต่างๆ ผ่านทางออนไลน์แล้ว แต่ความเป็นจริงแล้วร้านอาหารเป็นธุรกิจบริการอย่างหนึ่ง การนั่งทานอาหารในบ้านและนอกบ้านนั้นให้ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และไม่สามารถทดแทนกันได้ รวมถึงมนุษย์เป็นสัตว์สังคม การได้ออกมาทำกิจกรรม พบเจอผู้คนนอกบ้านเป็นสิ่งที่เราโหยหามากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้านเป็นระยะเวลานาน

        ดังนั้น พฤติกรรมของผู้คนอาจไม่ได้เปลี่ยนโดยสิ้นเชิง ผู้บริโภคก็ยังคงต้องการเข้าร้านอาหาร หรือห้างสรรพสินค้าอยู่ แต่อาจจะไม่สามารถเทียบกับภาวะก่อนวิกฤตได้ และด้วยการแข่งขันที่สูงมากในธุรกิจร้านอาหาร ผู้ประกอบการร้านอาหารจะต้องติดตามเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปให้ทัน และวางแผนปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้เหมาะสม โดยพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารใน New Normal ที่น่าสนใจ ได้แก่


New normal

  • เทรนด์อาหารสุขภาพ (Healthy Food)

        ผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัส รวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ พฤติกรรมการกินเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ดังนั้น นอกจากผู้บริโภคจะใส่ใจกับสุขอนามัยของอาหารมากขึ้นแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่คํานึงถึงคุณค่าทางโภชนาการเป็นอันดับแรก รวมถึงอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันก็เป็นที่ต้องการมากขึ้น เพื่อรักษาสุขภาพตนเองไม่ให้ติดเชื้อได้ง่าย 

        ประโยชน์อีกด้านของอาหารสุขภาพ คือช่วยควบคุมน้ำหนักสำหรับคนที่ดูแลรูปร่าง ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้านได้ อาหารเพื่อสุขภาพจึงกลายเป็นตัวเลือกของผู้บริโภคในวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ 

        นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีความต้องการของกินเล่นหรือขนมขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น เช่น มีโปรตีนสูง ทำจากผัก ผลไม้ ธัญพืชที่มีวิตามินสูง เป็นสูตรหวานน้อย หรือใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติแทนน้ำตาล เป็นต้น จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการร้านอาหารที่จะนำเสนอเมนูอาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ รองรับการใช้ชีวิตแบบคนเมือง และสังคมที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย 

 

New normal

  • ยุคธุรกิจออนไลน์ (E-commerce)

        Social distance หรือการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ผู้บริโภคใช้บริการอาหารเดลิเวอรี หรือซื้อของผ่านทางออนไลน์มากขึ้น หลังจากวิกฤตนี้ผ่านไป ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยังคงนิยมซื้อสินค้าบางชนิดผ่านทางโลกออนไลน์ รวมถึงบริการจัดส่งอาหารเดลิเวอรี เนื่องจากช่วยอำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาได้มาก ตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทั้งระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นของคนทุกวัย การทำงานจากที่บ้าน นักศึกษาที่เรียนผ่านทางออนไลน์มากขึ้น และผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการซื้อสินค้าออนไลน์แล้ว

        ซึ่งการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์จะมีการพัฒนาให้หลากหลายมากขึ้น ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งแอปพลิเคชันที่มีให้บริการ ผ่านช่องทางที่ผู้ประกอบการร้านอาหารพัฒนาขึ้นเอง หรือตัวกลางอื่นๆ ในแต่ละพื้นที่ ธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่จึงก้าวเข้ามาอยู่ในทั้งโลกออนไลน์ร่วมกับออฟไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการธุรกิจ ช่องทางการขาย การทำตลาดและสื่อสารกับลูกค้า รวมถึงการชำระเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคมากที่สุด

 

New normal

  • ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession)

        ผลกระทบของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจทั่วโลกรุนแรงยิ่งกว่าวิกฤตการเงินที่ผ่านมาในอดีต  ทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2563 นี้ติดลบ และธุรกิจทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย แน่นอนว่าในภาวะเศรษฐกิจถดถอยและฟื้นตัวได้ช้าแบบนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงค่าอาหาร ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องลดค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารต่อมื้อลง รวมและลดความถี่ในการใช้บริการร้านอาหารตามความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ผู้บริโภคบางส่วนยังนิยมประกอบอาหารเองมากขึ้น และย่อมกระทบกับรายได้ของผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราทุกคนก็คงได้แต่ปรับตัวตามคามสามารถ และหวังว่าจะมีมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เหมาะสมและทันเวลา เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้

        ความสามารถในการปรับตัวของร้านอาหาร เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจร้านอาหารดำเนินต่อไปได้ ผู้ประกอบการจึงควรอัปเดตข่าวสารต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วหลังวิกฤตโควิด เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ทันเวลา

 

เรื่องแนะนำ

ร้านสตรีทฟู้ด

สถานการณ์ ร้านสตรีทฟู้ด อยู่รอดอย่างไรในวิกฤต?

         ร้านสตรีทฟู้ด (Street food) หรือร้านอาหารริมทาง ถือเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพ ฯ ที่เรียกได้ว่าเป็น “เมืองหลวงของสตรีทฟู้ด” เพราะสามารถหาซื้ออาหารรสชาติดี ราคาไม่แพงได้ในทุกพื้นที่ทั่วไป อีกทั้งยังสะดวกรวดเร็วไม่แพ้ฟาสฟู้ดต่างๆ           ซึ่งร้านอาหารแบบนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก ใช้อุปกรณ์ไม่มาก และเริ่มต้นธุรกิจได้ง่าย รวมทั้งยังมีหลายรูปแบบ ทั้งร้านแบบรถเข็นเล็กๆ แผงลอย รถขายอาหาร (Food Truck) แบรนด์ร้านอาหารใหญ่ ๆ ก็สนใจที่จะลงมามีบทบาทในตลาดสตรีทฟู้ดมากขึ้น หรือแม้แต่คนทั่วไปก็หันมาขายอาหารข้างทาง เพื่อหารายได้ชดเชยงานที่หายไปจากวิกฤตไวรัสอีกด้วย  สถานการณ์ ร้านสตรีทฟู้ด อยู่รอดอย่างไรในวิกฤต? วิกฤตโควิด-19 มีผลกระทบอย่างไรต่อตลาดสตรีทฟู้ด?           แน่นอนว่า ร้านสตรีทฟู้ด ที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว ย่อมได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวที่หายไป ทำให้ยอดขายลดลงอย่างมาก การประกาศเคอร์ฟิวทำให้ร้านอาหารต้องปรับเวลาเปิดปิดร้านใหม่ตามกำหนดเวลา และการสั่งปิดร้านตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ทำให้สามารถขายได้แค่แบบซื้อกลับบ้าน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของร้าน และต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน้าที่ของพนักงานบางส่วน ในมุมพนักงานก็มีทั้งโดนลดค่าแรง จนไปถึงโดนเลิกจ้างงาน   […]

สตาร์ทอัพ

SCG Bangkok Business Challenge at Sasin 2020 เปิดโอกาสนักศึกษาไทยสาย สตาร์ทอัพ

เป็นอีกหนึ่งเวทีระดับโลกที่เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาไทย มาร่วมแข่งขันประกวดแผนธุรกิจ สตาร์ทอัพ ระดับโลก SCG Bangkok Business Challenge at Sasin 2020 เพราะโอกาสทางธุรกิจนั้นเปิดกว้างมากขึ้น นักศึกษาไทยจำนวนมาก ก็มีความสามารถที่ก้าวไกลในการวางแผนธุรกิจสตาร์ทอัพได้ดีเช่นกัน ซึ่งปีนี้ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้เข้าร่วมการแข่งขันด้วย จากเดิมที่เป็นการแข่งขันเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาโทเท่านั้น   SCG Bangkok Business Challenge at Sasin 2020 โดยการประกวดในปีนี้ จัดขึ้นในหัวข้อ Sustainability (ความยั่งยืน) สำหรับนิสิต นักศึกษาปริญญาตรีและโทภาคภาษาอังกฤษ  ชิงชนะเลิศถ้วยรางวัล พร้อมทั้งรางวัลเงินสดรวมมูลค่ากว่า 1,800,000 บาท  การแข่งขันแผนธุรกิจ สตาร์ทอัพ SCG Bangkok Business Challenge at Sasin 2020 เป็นการแข่งขันที่สนับสนุนให้นักศึกษามีความเป็นผู้ประกอบการ กระตุ้นให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ เชื่อมโยง นวัตกรรม การวิจัย การสร้างสังคมและเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างประเทศ และเป็นแพลทฟอร์มที่ให้นักลงทุนค้นพบธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ และทีมงานที่มีคุณภาพสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจหรือลงทุนสร้างธุรกิจใหม่ได้แบบยั่งยืน เป็นโอกาสที่นักศึกษาสามารถพบเจอกับนักลงทุนที่มีคุณภาพ และสามารถช่วยกันผลักดันจากไอเดียดีๆ ให้กลายเป็นธุรกิจที่แท้จริงได้ ก่อนหน้านี้ช่วงปี 2002 […]

Hai di lao

หมัดเด็ด Hai di lao หม้อไฟสัญชาติจีน สู่การเป็นร้านอาหารระดับโลก

ถ้าพูดถึงร้านอาหารประเภท hot pot หม้อไฟ ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ จนคนต้องยอมต่อแถวรอคิวหลายชั่วโมงคงหนีไม่พ้น ร้านหม้อไฟสัญชาติจีนที่ชื่อว่า Hai di lao (ไห่-ตี้-เหลา) ร้านหม้อไฟที่โด่งดังในประเทศจีน รวมถึงอีกหลายประเทศ และเพิ่งมาเปิดสาขาในประเทศไทยได้ไม่นาน จนเกิดความสงสัยว่า ร้านนี้มีดีอะไร และทำไมลูกค้าถึงยอมที่จะรอคิวเพื่อให้ได้ทาน   ” Hai di lao “ จากความสงสัยก็ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมของร้าน Hai di lao ก็พบว่าธุรกิจนี้ไม่ธรรมดาเลย เพราะแบรนด์นี้มีต้นกำเนิดจากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน และก่อตั้งโดย Zhang Yong (จาง หย่ง) ซึ่งความน่าสนใจอยู่ที่การเริ่มต้นจากเชน Hotpot ในประเทศจีน แต่สามารถก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นเชนร้านอาหารระดับโลก ซึ่งปัจจุบันขยายไปแล้ว 400 กว่าสาขาทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น และมียอดขายในปี 2018 กว่า 17,000 ล้านหยวน ซึ่งถ้าเทียบกับร้านอาหารประเภทที่คล้ายกันในบ้านเราอย่าง MK Restaurant ที่คิดว่าใหญ่แล้ว มีทั้งร้านสุกี้และร้านอาหารญี่ปุ่น กว่า 600 สาขา […]

Wongnai

ชานมไข่มุก ยังมาแรง อัตราการเปิดร้านพุ่ง 700% : สรุปไฮไลท์งาน Wongnai for Business : Restaurant 2020

ทีมงาน Amarin Academy ไม่พลาดที่จะไปหาข้อมูลดีๆ ที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารมาฝากกันตลอด ล่าสุดเราได้มีโอกาสไปร่วมงาน Wongnai for Business : Restaurant 2020  เผยเทรนด์และเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจร้านอาหารแห่งอนาคต ในยุค O2O (Online to Offline) ซึ่งเราสรุปประเด็นที่น่าสนใจ มาให้เข้าใจง่ายๆ มีประเด็นอะไรบ้าง มาดูกันครับ   สรุปไฮไลท์จากงาน “ Wongnai for Business : Restaurant 2020 ” ⇒ ร้านอาหารเปิดใหม่ทั่วไทยในปี 2019 โตพุ่ง 97% จำนวนร้านอาหารเปิดใหม่ทั้งหมดในปี 2019 ทั่วประเทศ พุ่งเป็น 70,149 ร้าน โตขึ้นจากจำนวนร้านเปิดใหม่ในปี 2018 ถึง 97% สถิติในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีร้านอาหารที่เปิดใหม่เพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด ร้านขนาดเล็กถึง ร้านขนาดกลางเปิดใหม่เป็นสัดส่วนมากที่สุด ⇒ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.