เคล็ดลับ การจัดการร้านอาหาร  ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้ - Amarin Academy

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร  ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้!

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้!

การจัดการร้านอาหารเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้ประกอบบางรายเลือกที่จะดูแลทุกอย่างด้วยตัวเอง หรือบางรายก็จ้างผู้จัดการร้านเพื่อแบ่งเบาภาระต่างๆ แม้ว่าเงินเดือนของผู้จัดการร้านจะค่อนข้างสูง แต่ก็มาพร้อมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความคาดหวังที่สูงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น

  • การควบคุมต้นทุน ยอดขายและกำไรของร้านอาหารให้เป็นไปตามเป้าหมาย
  • วางแผนสั่งวัตถุดิบเข้าร้านให้เหมาะสมกับยอดขาย
  • คอยดูแลมาตรฐานการทำงานของพนักงาน จัดตำแหน่งงานและตารางเวลาให้เหมาะสม
  • ดูแลความเรียบร้อยภายในร้าน แก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ
  • จัดประชุมวางแผนงาน แผนการตลาด และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ   
  • สรุปข้อมูลการขาย รายงานปัญหาต่างๆ แก่ผู้บริหาร 
  • รวมถึงหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของร้าน

จะเห็นได้ว่าบทบาทหน้าที่ของ ผู้จัดการร้าน นั้นสำคัญมาก หากคุณเป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือผู้จัดการร้านอาหาร เคล็ดลับเหล่านี้อาจจะช่วยพัฒนาทักษะการบริหารจัดการร้านของคุณได้ คือ

 

มีความหนักแน่น 

ปัญหาในร้านอาหารมีได้ทุกวันโดยไม่ซ้ำอย่าง สิ่งที่ผู้จัดการสามารถทำได้ในสถานการณ์เฉพาะหน้าคือ การใช้ความหนักแน่นในการคิดหาวิธีแก้ปัญหา โดยต้องคำนึงถึงในเรื่องต่างๆดังนี้

  • จะพูดคุยสื่อสารอย่างไร
  • ทำอย่างไรจึงจะรักษากฎของร้านไว้
  • ผลลัพธ์ที่คาดหวังคืออะไร

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านลูกค้าหรือพนักงาน คุณจะต้องคิดแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ สื่อสารอย่างมีเหตุผลและเหมาะสม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในฐานะผู้จัดการ และได้รับการยอมรับจากทีมงาน ทำให้พนักงานทำงานที่มีความกดดันสูงในร้านอาหารได้โดยไม่ลาออกง่ายๆ 

ผู้จัดการมือใหม่

การจัดการเชิงรุก

ในธุรกิจร้านอาหารที่มีการแข่งขันสูง และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การคิดล่วงหน้าและจัดการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ย่อมดีกว่าการตามแก้ปัญหาในภายหลัง ดังนั้น การวางแผนงานในร้านจะต้องไม่มองแค่ในปัจจุบัน แต่ควรมองให้ไกลกว่าเดิม และจัดการไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต ตัวอย่างเช่น

  • ความต้องการรับพนักงาน
  • การปรับปรุงและพัฒนาเมนูอาหาร
  • แผนการตลาด
  • การจัดการสต๊อกวัตถุดิบ
  • ศึกษาแนวโน้มของผู้บริโภค
  • เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งหากคุณไม่เป็นฝ่ายรุกเข้าจัดการปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น อาจจะทำให้เกิดความเสียหายให้กับร้านได้

 

รักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้าน

ปัญหาใหญ่ของร้านอาหาร คือเรื่องของ “พนักงาน”  ไม่ว่าจะเป็นพนักงานลาออก หาพนักงานทดแทนไม่ได้ หรือต้องเทรนพนักงานใหม่ ในฐานะผู้จัดการ หรือผู้ประกอบการเอง คุณจะต้องเป็นคนรับผิดชอบงานฝ่ายบุคคล (HR) ที่ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ 

 ดังนั้น ร้านควรจะต้องรักษาพนักงานที่ดีไว้กับร้านให้ได้ เพราะการหาพนักงานใหม่มาแทนคนเก่าเรื่อยๆ ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และงานในร้านติดขัด โดยทางผู้จัดการควรจะเปิดใจรับฟังความคิดใหม่ๆ ของทีมงาน ดูแลและให้เกียรติเพื่อให้พวกเขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของร้าน ไม่ใช่แค่คนที่ถูกจ้างมาใช้แรงงาน และจำนวนพนักงานจะต้องเหมาะสม เพื่อไม่ให้งานหนักจนเกินไป อย่าลืมว่าพนักงานคือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ร้านอาหารดำเนินงานต่อไปได้

 

ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ

การทำให้ลูกค้าประทับใจไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณภาพของอาหาร ความรวดเร็วในการทำงาน หรือการบริการจากพนักงาน หากมีปัญหาเกิดขึ้น สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกคือการทำให้ลูกค้าใจเย็นลง และทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจให้ได้มากที่สุด และที่สำคัญต้องแก้ปัญหาตั้งแต่ลูกค้าอยู่ในร้าน เพราะคุณไม่รู้ว่า ลูกค้าจะพูดถึงร้านคุณอย่างไรเมื่อออกไปนอกร้านแล้ว 

 

ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า

ลูกค้ามาที่ร้านอาหารไม่ใช่แค่เพื่อทานอาหาร ลูกค้าส่วนใหญ่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อประสบการณ์ใหม่ ๆ และน่าประทับใจ ไม่ว่าจะเป็นเมนูอาหารที่มีเอกลักษณ์ การบริการรูปแบบใหม่ที่ตื่นตา บรรยากาศร้านที่สวยงามและสะอาด ในฐานะผู้จัดการควรจะมองภาพรวมของร้าน ปรับปรุงจุดด้อยและพัฒนาจุดแข็งของร้านต่อไป

ผู้จัดการมือใหม่

เรียนรู้กระบวนการทำงานด้วยตัวเอง

ในฐานะผู้จัดการร้านอาหาร ยิ่งมีประสบการณ์จริงมากเท่าไหร่ คุณก็จะเข้าใจและจัดการกับปัญหาได้ดีขึ้น ลองพูดคุยกับพนักงานถึงวิธีทำงานและการแก้ปัญหาต่างๆ คุณจะได้รับทั้งความเคารพจากพนักงานของคุณ รวมถึงข้อมูลหรือความรู้บางอย่าง ที่นำมาปรับปรุงการจัดการภายในร้านได้มากกว่าที่คิด

 

ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบอกต่อ

วิธีที่ลูกค้านิยมเลือกร้านอาหารมากที่สุด คือ การบอกต่อจากเพื่อน และรีวิวจากโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณอาจจะควบคุมไม่ได้โดยตรง แต่หากคุณสามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้ลูกค้าในร้านได้ ลูกค้าก็จะเต็มใจบอกต่อร้านของคุณด้วยตัวเอง หรือจะแชร์ผ่านทางสื่อออนไลน์เพื่ออวดเพื่อนๆ ของพวกเขา สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ อย่าลืมตรวจดูสิ่งที่ลูกค้ารีวิวร้านอาหารของคุณ นำคำชมไปเป็นกำลังใจให้กับพนักงาน และนำคำวิจารณ์ด้านลบมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงร้านให้ดีขึ้น 

 

ลงทุนกับการตลาด

ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง หรือเพิ่งเปิดร้านอาหารใหม่ การตลาดแบบปากต่อปากอาจจะยังไม่เพียงพอ คงจะน่าเสียดายถ้าลงทุนเปิดร้านแต่ไม่มีคนเข้า เพราะขาดช่องทางการโปรโมทที่ดี ดังนั้น คุณควรจะต้องมีแผนการตลาดสำหรับโฆษณาออนไลน์ ซึ่งการกำหนดงบประมาณสำหรับการโฆษณา จะต้องคำนวณจากข้อมูลที่เหมาะสมกับร้านของคุณ เช่น

  • กลุ่มลูกค้าของร้าน เช่น ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณไหน อยู่ในช่วงอายุเท่าไหร่
  • ข้อมูลการขาย เช่น ช่วงเวลาที่ขายดีที่สุดในแต่ละวัน หรือในแต่ละเดือน
  • เทรนด์อาหารที่กำลังนิยม

รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่จะมีประโยชน์สำหรับการตัดสินใจ และจำเป็นต่อการกำหนดโฆษณาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของร้านอาหาร  

 

ดูแลสุขภาพของคุณ

สิ่งที่มักจะถูกลืมมากที่สุดคือ การดูแลตัวเอง การจัดงานร้านอาหารเป็นงานหนัก นอกเหนือจากความเหนื่อยล้าทางร่างกายแล้ว อาจจะทำให้คุณมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และจิตใจ ซึ่งจะทำให้งานของคุณยากยิ่งขึ้นไปอีก อย่าลืมดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้คุณสามารถเป็นจุดศูนย์กลางของร้านต่อไปได้

 

หาความรู้เพิ่มเติม

การเป็น ผู้จัดการมือใหม่ ควรจะมีการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ หรือศึกษาจากผู้ที่มีประสบการณ์จริงในธุรกิจร้านอาหาร เพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนาร้าน หาก ผู้จัดการร้าน เผชิญกับปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเอง อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยได้คือ การหาที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือ

 

ทั้งหมดนี้ คือสิ่งพื้นฐานที่ ผู้จัดการร้านมือใหม่ ควรทำและพัฒนาต่อไป เพื่อก้าวสู่การเป็น ผู้จัดการร้านมืออาชีพ ลูกน้องให้ความเคารพ และเป็นที่ไว้ใจของผู้บริหาร หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้จัดการมือใหม่ทุกท่านนะครับ

 


เพราะเรื่อง “คน” เป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจอาหาร หลีกสูตรนี้จึงกลับมาอีกครั้ง HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3 หลักสูตรที่จะทำให้ผู้ประกอบการเรียนรู้การบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ไขข้อข้องใจปัญหาเรื่องพนักงานลาออกบ่อย ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน การหาพนักงานที่ดี โครงสร้างเงินเดือน สัญญาจ้างงาน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างๆ ที่ต้องรู้ โดยวิทยากร คือ อาจารย์ พีรพัฒน์ กองทอง ผู้มีประสบการณ์จากธุรกิจอาหารเชนใหญ่อย่าง แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ที่จะมาพร้อมแขก สุดพิเศษ ร่วมแชร์ประสบการณ์การบริหารจัดการพนักงานในร้าน งานนี้จะจัดขั้นในวันอังคารที่ 31 มีนาคม – วันพุธที่ 1 เมษายน 2563  เวลา 9.00-17.00 น. 

 

คลิกสมัครด่วน! หลักสูตร HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

HR for Food Business บริหารคน สำหรับธุรกิจอาหาร รุ่นที่ 3

 

 

เรื่องแนะนำ

food delivery

5 สิ่งที่ร้านอาหารต้องปรับ เมื่อเริ่มทำ Food delivery

ธุรกิจ Food Delivery กำลังมาแรง แต่ปัญหาสำคัญคือ ร้านอาหารหลายๆ ร้านไม่รู้จะเริ่มปรับจากจุดไหน เพื่อให้ไม่กระทบต่อหน้าร้าน วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาฝาก

ลดต้นทุนวัตถุดิบ

7 วิธีสุดเจ๋ง ช่วย ลดต้นทุนวัตถุดิบ ได้ชัวร์!

ต้นทุนวัตถุดิบ หรือ food cost ถือเป็นค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในร้านอาหาร หากเจ้าของร้านสามารถ ลดต้นทุนวัตถุดิบ ได้มาก กำไรก็จะมากตามไปด้วย

7 ขั้นตอนสุดง่าย เขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

1.ตั้งเป้าหมาย             คุณอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ทำอะไรก็ตามต้องรู้เป้าหมาย การเขียน SOP ก็เช่นกัน การกำหนดเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้คุณวางโครงร่างของ SOP ได้ง่าย และเกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คุณต้องการเขียน SOP ในการรับสินค้าจากซัพพลายเออร์ในแต่ละอาทิตย์ อาจกำหนดเป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้ได้มากที่สุด SOP ที่ดีจะไม่ได้เขียนขึ้นเพียงเพื่อบอกขั้นตอนในการวัตถุดิบทั่วไปเท่านั้น แต่ทุก ๆ ขั้นตอน จะต้องถูกคิดเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน กระทบต่อการจัดการหน้าร้านให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การตั้งเป้าหมายของ SOP ง่ายที่สุด คือ การแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดไป และการพัฒนาให้ขั้นตอนการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   2.กำหนดรูปแบบ                         วัตถุประสงค์ของ  SOP คือการกำหนดการทำงานแบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง  รูปแบบที่นำมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเอกสาร  SOP ที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ เช่น  การเขียน SOP เป็นหัวข้อ  (Simply Format)  เน้นการสร้างความเข้าใจโดยภาพรวม เช่น ข้อกำหนดพนักงานร้านในการเข้างานก่อนการปฏิบัติงาน หรือขั้นตอนหน้าร้านที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนงานที่ต้องเน้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง […]

เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี!

หนึ่งในระบบเซตอัพร้านอาหารที่สำคัญ ก็คือการออกแบบเครื่องมือในการ ประเมินมาตรฐาน หรือผลการปฏิบัติงานของร้าน ที่เรียกว่า QSC  ถือเป็นคู่มือที่ใช้ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยจะครอบคลุม 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่   เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี! Q = Quality การประเมินด้านคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหารและการเสิร์ฟ ทั้งรสชาติ ปริมาณ หน้าตาอาหาร   S =Service การประเมินด้านการบริการ เริ่มตั้งแต่การต้อนรับลูกค้า การแนะนำรายการสินค้า ความเต็มใจบริการ ความสุภาพของพนักงาน ความถูกต้องในการรับรายการอาหาร   C = Cleanliness การประเมินด้านความสะอาด เริ่มประเมินตั้งแต่ การแต่งกายของพนักงาน ความสะอาดของหน้าร้านและหลังร้าน รวมไปถึงการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ครัว   ตัวอย่างการทำ QSC : ร้านกาแฟ มาดูกันว่าการทำ QSC ร้านกาแฟ จะกำหนดให้ควบคุมในเรื่องใดบ้าง ยกตัวอย่างเช็กลิสต์ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.