ไขเคล็ดลับความสำเร็จของ CORO Field - Amarin Academy

ไขเคล็ดลับความสำเร็จของ CORO Field

ไขเคล็ดลับความสำเร็จของ CORO Field

“ผมกับน้องชายนิยามตัวเองว่าเป็นศิลปินเกษตร ผมอยากทำธุรกิจที่จะช่วยให้ชีวิตของใครบางคนดีขึ้น ไม่มากก็น้อย” เป็นคำพูดสั้นๆที่ทรงพลังมาก…แค่นี้ก็ทำให้ผมสนใจวิธีคิดของผู้ชายที่ชื่อว่า คุณพอท มิตรดนัย สถาวรมณี แล้ว คุณ พอท เป็นนักธุรกิจหนุ่มไฟแรง ที่สร้างชื่อจากการสร้างฟาร์มเกษตรสไตล์ญี่ปุ่น CORO Field ที่สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จากการต่อยอดธุรกิจครอบครัวที่ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์

“ข้อดีของการได้สัมผัสชีวิตของพี่น้องเกษตร คือทำให้เห็นสัจธรรมของชีวิต ทำให้เข้าใจความรู้สึกของกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ซึ่งชีวิตของใครบางคนที่ผมอยากทำให้ดีขึ้น ก็คือพี่น้องเกษตรกร” 

ผมนัดเจอกับคุณพอท ที่ร้านขนมหวานแห่งใหม่

“ผมให้นิยามร้าน CORO Field Dessert นี้ว่า เป็น Fresh Farm Dessert for CORO Field Farm”

แปลง่ายๆ คือ ร้านขนมหวานที่มีวัตถุดิบคุณภาพดีและสด ส่งตรงมาจากฟาร์มมาเสิร์ฟความอร่อยถึงใจกลางกรุงเทพฯ ที่นี่เมนูหลักๆ ทำมาจาก 2 อย่าง อย่างแรกคือเป็น โทมิเมล่อน และอีกชนิดคือ มันม่วงมุราซากิ ทั้งเมล่อนและมันม่วงที่ปลูกเอง ดูแลเอง และบางส่วนก็ซื้อจากสวนเกษตรกรในสวนผึ้ง ก่อนที่จะถูกรังสรรค์ให้เป็นเมนูขนมหวาน ไอศกรีม และเครื่องดื่ม ที่เป็นเอกลักษณ์ในราคาที่สามารถจับต้องได้

เมลอนคัตสึโอะ
เมลอนคัตสึโอะ : เมลอนหวานฉ่ำ เสิร์ฟพร้อมปลาแห้งคัตสึโอะ และซอสบัลซามิกรีดิ๊วส์

“สิ่งสำคัญสำหรับการทำธุรกิจร้านอาหาร คือ คุณต้องเข้าใจ 3 ขา นั่นคือ การเงิน, การตลาด และการบริหารจัดการ”

แต่ก่อนที่จะคุยถึงหลักคิด ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมคุณพอท ถึงเลือกวัตถุดิบมาแค่ 2 ชนิด ทั้งๆ ที่ ฟาร์มของเค้าก็ปลูกผลไม้หลายชนิดที่น่าจะเอามาทำขนมได้เหมือนกัน

“อะไรที่เข้าใจยาก มันเข้าใจยากจริงๆ หน้าที่ของเรา คือต้องทำให้ลูกค้าเข้าใจเราจริงๆ”

คุณพอท อธิบายเพิ่มเติมว่า เขาต้องการสร้างเอกลักษณ์ให้กับร้านขนม ถ้าลูกค้าเดินผ่านร้าน ภายใน 5-10 วินาที  ลูกค้าต้องเข้าใจทันทีว่ากำลังขายอะไร หรือนำเสนอคุณค่าอะไรให้

“เดี๋ยวนี้สิ่งรบกวนมันเยอะ หมายความว่าคนทำธุรกิจเยอะ ถ้าธุรกิจเราไม่ชัด ก็จะไม่เป็นที่จดจำในสายตาลูกค้า สำหรับผม… ถ้าลูกค้าอยากกินเมล่อน หรือมันม่วง ต้องนึกถึงร้านของผม”

มันม่วงปังลาวา coro field
มันม่วงปังลาวา coro field : ขนมปังเนื้อนุ่มหอมกลิ่นมันม่วง สอดไส้มันม่วงลาวาหวาน นุ่มละมุนลิ้น

มาลุยหลักคิด 3 ขากันทีละข้อกัน

1) การเงิน

“สิ่งที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะทำร้านอาหารหรือขนมหวาน ต้องทำ Feasibility* หมายถึง ต้องประเมินให้ได้ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่แย่ที่สุด เราจะยังอยู่รอดไหม”

ข้อนี้ผมเห็นด้วยมากครับ เพราะชีวิตจริงทำร้านอาหารกว่าจะติดตลาด หลายร้านต้องใช้เวลาเป็นปี นั่นหมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจริงอาจจะไม่เหมือนที่เราฝันไว้ ซ้ำร้าย เราอาจจะเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ภัยพิบัติ ความไม่สงบ หรือแม้กระทั่งเราอาจจะเลือกทำเลที่ตั้งผิด ลูกค้าอาจจะไม่เข้าร้านของเรา

คำถามคือ เราจะยังอยู่รอดได้หรือไม่ มีแผนรองรับอย่างไร

“และที่สำคัญ เราต้องประเมินด้วยว่า ขนาดของตลาดนั้นที่เราสนใจนั้น ใหญ่พอกับความต้องการของเราหรือป่าว”

หลายครั้งเราทำแทบตาย เราพัฒนาตัวเองสุดๆ แต่ถ้าตลาดเล็ก ความต้องการอาหารประเภทนี้ไม่มากพอ ก็จะไม่คุ้มค่ากับเวลาที่ทุ่มเทให้

* Feasibility คือการประเมินความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจว่าคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่ อธิบายง่ายๆ ว่า หากประเมินงบการลงทุน รายได้ที่คาดว่าจะได้รับ รวมทั้งความเสี่ยงด้านต่างๆ แล้ว ธุรกิจจะสามารถคืนทุนและทำกำไรได้ภายในกี่ปี ข้อมูลที่ได้จากการประเมินนี้จะใช้ในการประกอบการตัดสินใจว่า เราควรลงทุนในธุรกิจนี้หรือเปล่า เพราะบางครั้งการลงทุนอาจไม่คุ้มค่า เพราะต้องใช้ระยะเวลาคืนทุนนานเกินไป หรือมีความเสี่ยงมากเกินไป

2.การตลาด

“ทุกสิ่งที่ผมพูด ทุกสิ่งที่ผมให้นิยาม ผมทำมันจริงๆ” สิ่งที่คุณพอท อยากจะช่วยพี่น้องเกษตรกร ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น เขาก็ทำอย่างนั้นจริงๆ

โดยให้มองว่าร้านขนมของเขา จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกระจายสินค้าของเกษตรกร ไม่ต้องผ่านตัวกลางทำให้เกษตรกรได้รายรับไปเต็มๆ แถมไม่ต้องลุ้นว่าจะขายได้หรือไม่ เพราะยิ่งร้านของเค้าขายดีเท่าไหร่ เกษตรกรก็มีโอกาสขายของได้มากเท่านั้น

“และสิ่งที่สำคัญก่อนที่จะทุ่มเม็ดเงินทางการตลาด เราต้องรู้ก่อนว่า คนที่กินของแบบนี้เขาอยู่ที่ไหน”

สำหรับ CORO Field Dessert ลูกค้าของเราคือ ครอบครัว คู่รัก และแก๊งเพื่อน ทำให้เค้ามองว่าเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นสถานที่ที่ใช่ เพราะเป็นสถานที่รวมตัวกันของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

ถ้าเรารู้ว่ากลุ่มลูกค้าของเราอยู่ตรงไหน เราก็แค่หาเครื่องมือการตลาดที่จะทำให้เราไปอยู่ตรงนั้น เพื่อให้ลูกค้าได้มาทดลองทานขนมที่ร้านของเรา

กลุ่มลูกค้าของ coro field
กลุ่มลูกค้าของ CoroField dessert คือ ครอบครัว คู่รัก และแก๊งเพื่อน ดังนั้นจึงตัดสินใจเปิดร้านที่ Central world

3.บริหารจัดการ

“การทำธุรกิจ ต้องอย่าลืมคำนึงถึงจุดคุ้มทุนหรือ Break even ต่อวันด้วย” คุณพอทเสริมว่า เราควรคำนวณต้นทุนให้รอบด้าน ต้องคิดให้หมด ทั้งค่าเช่า ค่าวัตถุดิบ ค่าการตลาด ค่าพนักงาน ฯลฯ

แล้วลองคำนวณต่อวันว่าเราต้องทำยอดขายให้ได้เท่าไหร่ถึงจะถึงจุดคุ้มทุน ให้เร็วที่สุดในแต่ละวัน

ตัวแปรที่สำคัญที่สุดที่หลายคนทำไม่ได้ดี และมักจะเป็นจุดตายของธุรกิจร้านอาหารและขนมหวานคือ “ต้นทุน”

ต้นทุนไหนที่ลดได้ ก็ต้องลด ถ้าลดไม่ได้ก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพ นี่คือหลักคิด

การที่คุณพอท เลือกเอาวัตถุดิบเพียงแค่สองชนิด คือ เมล่อน และมันม่วง นอกจากจะมีข้อดีด้านการตลาดแล้ว บริหารจัดการวัตถุดิบก็ง่าย และยังมีข้อดีด้านการบริหารจัดการต้นทุนด้วยครับ

“งานหลังบ้านจะง่ายขึ้นเยอะ ทั้งการขนส่ง หรือการที่ได้ Economy of scale ต้นทุนโดยรวมก็ยิ่งถูกลง ผมควบคุมต้นทุนทุกอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ยอมไม่ได้คือ ต้นทุนวัตถุดิบ”

คุณพอทจะรับซื้อเฉพาะวัตถุดิบที่มีคุณภาพเท่านั้น แม้ว่าจะต้องจ่ายแพงก็ตาม

“เหตุผลคือ ทุกวันนี้ลูกค้าฉลาด ถ้าพบว่าวัตถุดิบไม่ดีก็จะมาแค่ครั้งเดียว ต่อให้เรามีการตลาดดีแค่ไหน บริหารจัดการดีเพียงใด แต่ถ้าสินค้าไม่ดีลูกค้าเค้าก็มาทานแค่ครั้งเดียว ไม่คุ้ม”

ความเห็นของถามอีก กับอิก เรื่องลงทุน

คุยกับคุณพอทแล้ว ทำให้ผมได้เห็นอีกมุมหนึ่งของการทำร้านอาหารและร้านขนม

ผมว่าสิ่งที่จะปรุงให้ธุรกิจร้านอาหารและร้านขนมประสบความสำเร็จได้ นอกจากหลักการพื้นฐาน เช่น การทำตลาด หรือการคำนวณด้านตัวเลขแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ “ความฝัน”

ความฝันของศิลปินเกษตรอย่างคุณพอท คือทำให้ธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ชีวิตเกษตรดีขึ้น

ความฝันนี้ทำให้ COROField มีภาพใหญ่ที่ต้องการเป็นเหมือน “เป้าหมาย” สิ่งที่ตามมาก็คือแนวทางการทำธุรกิจและภาพลักษณ์ที่ชัดเจน กลั่นมาออกเป็นหลักความคิดที่คุณพอทเล่าให้ผมฟังในวันนี้

แล้วคุณละครับ ความฝันของการทำร้านอาหารหรือร้านขนมของคุณคืออะไร?

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก Coro field


บทความที่เกี่ยวข้อง

เปิดร้านอาหาร แล้วไม่เจ๊ง ต้องทำอย่างไร?

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ!

9 ขั้นตอนการ เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ

เรื่องแนะนำ

ธุรกิจเดลิเวอรี่ เพื่อสุขภาพ

Thank God It’s Organic ธุรกิจเดลิเวอรี่ เพื่อสุขภาพ

ผู้บริโภคเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงเกิดธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพมากมาย หนึ่งในนั้นคือ Thank God It’s Organic ธุรกิจเดลิเวอรี่ เพื่อสุขภาพ

Food safety culture

Food safety culture มาตรฐานใหม่ของธุรกิจอาหาร by สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่

        ความสะอาดของอาหาร เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการร้านอาหารทุกคนต้องใส่ใจ แต่ Food safety culture หรือวัฒนธรรมความปลอดภัยของธุรกิจอาหารนี้ จะมีวิธีสร้างขึ้นได้อย่างไร และจะมีประโยชน์แค่ไหน คุณจันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จะมาแชร์ให้ฟังกันค่ะ Food safety culture ทางสู่ความยั่งยืนของธุรกิจอาหาร         Foodssafety culture: ก่อนและหลังวิกฤตไวรัส         Foodssafety culture เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ก่อนที่จะมีวิกฤต COVID-19 อาจารย์มองว่าเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหารยังเป็นอะไรที่ไม่ชัดเจน ในภาคฝั่งรัฐบาลเริ่มมีการพัฒนากฎหมายรองรับ ออกเป็นกฎกระทรวงในปี 2561 เกี่ยวกับเรื่องของสุขลักษณะในการให้บริการอาหารออกมา แต่ในด้านของผู้ประกอบการอย่างแท้จริงแล้ว พฤติกรรมของคนทั่วไปค่อนข้างจะยังละเลย ยังไม่ให้ความสำคัญมากนัก          แต่ธุรกิจที่ให้ความสำคัญมากๆ น่าจะเป็นกลุ่มของธุรกิจร้านอาหารเครือข่าย (Food chain) ซึ่งมีบริษัทแม่ที่มีนโยบายชัดเจน หรือว่ากลุ่มของโรงแรมห้าดาว […]

Class café

ถอดบทเรียน Class Cafe แบรนด์กาแฟที่ “เกิด” จาก “สื่อออนไลน์”

เมื่อนักการตลาดจากองค์กรยักษ์ใหญ่ ผันตัวมาเป็นเจ้าของร้านกาแฟ ชื่อว่า Class cafe โดยตั้งเป้ายอดขายปีละ 50 ล้าน! เขามีมุมมองการทำธุรกิจอย่างไร ไปติดตามกัน

BRIX Dessert Bar เสิร์ฟความพรีเมี่ยมแบบไร้รอยต่อด้วย OMNI Media

เมื่อพูดถึงร้านขนมหวานเท่ห์ๆแบบพรีเมี่ยม ย่านใจกลางเมือง ที่ใช้แนวทางนี้ในการ “เสิร์ฟประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า” BRIX Dessert Bar เป็นตัวเลือกที่สำคัญที่อยู่ในใจผู้บริโภค ด้วยความที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความใส่ใจในเสียงของลูกค้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด   1.เริ่มต้นด้วยคุณภาพ ส่งมอบคุณค่าผู้นำเทรนด์    ช่วงเริ่มต้นผมกับพี่ชายไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจอาหารมาก่อน โมเดลธุรกิจในช่วงแรกของเราคือ อะไรที่ดีที่สุดสำหรับเรา น่าจะดีที่สุดสำหรับลูกค้า เราเน้นเรื่องคุณภาพเป็นหลัก ตั้งแต่วัตถุดิบ เช่น แป้ง เนย ผลไม้ ไปจนถึง ภาชนะที่ใช้จัดเสิร์ฟ จาน ชาม ต่างๆ เน้นสื่อถึงความพรีเมี่ยมเป็นหลัก การตลาดในช่วงแรกของเรา จะเป็นแบบง่ายๆที่ใช้ต้นทุนไม่สูงมากนัก คือให้ลูกค้า Like, ถ่ายรูปสินค้า Share เฟสบุ๊ค เพื่อรับส่วนลดเครื่องดื่ม และมีจ้าง Influencer มารีวิวเพื่อสร้าง Awareness ให้กับลูกค้าบ้าง เพราะร้านเราเป็นร้านใหม่   จนกระทั่ง Positioning ชัดเจนขึ้น การทำการตลาดจึงไม่ใช่แค่การทำโปรโมชั่นหรือส่วนลดเพียงอย่างเดียว​ แต่เราเน้นเพิ่มเมนูใหม่เรื่อยๆ โดยพี่ชายซึ่งเป็นเชฟของร้าน มักจะบินไปต่างประเทศเพื่อชิมขนมหวานตามที่ต่างๆ พอทราบว่าเทรนด์ไหนที่น่าสนใจ และเห็นแนวโน้มว่าจะเกิดเป็นกระแสในเมืองไทย ก็จะนำเทรนด์เหล่านั้นมาคิดค้นพัฒนาสูตรขนมในแบบของ BRIX […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.