6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม - Amarin Academy

6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม

6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม

หลายคนที่ฝันอยากเปิดร้านอาหาร แน่นอนว่าสิ่งที่ทำอย่างแรก ก็คือหยิบกระดาษและเครื่องคิดเลขขึ้นมา ทั้งจดทั้งกดคำนวณดูว่า “เงินที่คิดว่าจะขายได้” จะมากกว่า “เงินลงทุนที่ต้องใช้” หรือไม่? ถ้าเลขสุดท้ายออกมาเป็นบวก แสดงว่าไอเดียการเปิดร้านอาหารของเรา น่าสนใจไม่น้อย แต่หลายครั้ง การคำนวณเพื่อประเมินความเป็นไปได้ ต้นทุนหลายอย่าง มักจะไม่ได้ถูกรวมเข้าไปหรือถูกรวมไม่ครบ ผลก็คือ ทุกเช้าคุณตื่นขึ้นมาพลิกป้ายหน้าประตูเป็นร้านเป็น “เปิด” ด้วยรอยยิ้ม แต่พอถึงสิ้นเดือนที่ทำบัญชี รอยยิ้มกลับหายไปเพราะขาดทุน วันนี้ผมมี 6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม มาแชร์ให้ฟังกัน

  1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเทคโนโลยี

ในยุคที่เทคโนโลยีเกือบจะเป็นเหมือนอีกหนึ่งอวัยวะที่ขาดไม่ได้ แม้ว่าร้านอาหารที่เรากำลังจะเปิดไม่ได้ใหญ่โตเหมือนร้านอาหารตามห้างใหญ่ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องคำนึงถึง

ค่าใช้จ่ายที่ผมพูดถึง เช่น ราคาเครื่องเก็บเงินสด ถาดใส่เงิน เครื่องพิมพ์สลิป ค่าระบบ POS หรือกล้องวงจรปิด ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์เหล่านี้มีตั้งแต่ราคาหลักพันบาท จนถึงหลายๆ หมื่น เพราะฉะนั้น ดูให้ละเอียดสักนิด ว่าร้านเราต้องการสิ่งไหนบ้าง และราคาเท่าไรที่เหมาะสมกับการใช้งาน รวมๆ ขึ้นมาก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยอยู่นะครับ

  1. การทำโฆษณา

ลองเริ่มจากการตอบคำถามว่า “คุณจะทำยังไงให้คนรู้ว่ามีร้านอาหารเปิดใหม่และอยากมาลองชิม?” วิธีเริ่มต้นก็มีมากมาย ตั้งแต่ แจกใบปลิว ลงโฆษณาในสื่อต่างๆ ทำโปสเตอร์หน้าร้าน ทำโปรโมชั่นฉลองเปิดร้านใหม่ หรือใช้การตลาดออนไลน์ เจ้าของร้านอาหารต้องประมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นค่าทำใบปลิว แค่แรงคนแจกใบปลิว ค่าลงโฆษณาตามสื่อ รวมถึงต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการทำเพจของร้านด้วย

  1. ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค

ร้านอาหารบางประเภทใช้ไฟค่อนข้างมาก เช่น ร้านประเภทชาบู ปิ้งย่าง ในขณะที่บางประเภทก็จะหนักไปที่ค่าน้ำ ลองประเมินดูว่าพื้นที่ของร้าน จำนวนจานชาม (ถ้าร้านบุฟฟเฟ่ต์ก็ล้างกันมันเลยนะครับ) และรูปแบบการตกแต่งที่คิดไว้ จะมีผลอย่างไรต่อค่าใช้จ่ายส่วนนี้บ้าง ที่สำคัญ หากกำลังจะเช่าพื้นที่ร้านต่อจากคนอื่น อย่าลืมเด็ดขาดนะครับ !!! เช็คให้มั่นใจว่าไม่มีค่าสาธารณูปโภคอะไรที่ยังค้างจ่ายอยู่ ไม่อย่างนั้นละก็ ยังไม่ทันเปิดร้านเลย ก็มีภาะต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ซะแล้ว

  1. ค่าเพลงต่างๆ ที่จะใช้เปิดในร้าน

ข้อนี้แล้วแต่รูปแบบร้าน บางร้านที่ไม่ได้ต้องการสร้างบรรยากาศเพิ่มเติมก็ไม่จำเป็นต้องมี แต่สำหรับใครที่คิดอยู่ว่า อยากจะมีวงดนตรีสด ก็อย่าลืมดูค่าใช้จ่ายด้วยว่า วงดนตรีที่ชอบคิดค่าใช้จ่ายวันละเท่าไร เล่นกี่ชั่วโมง กี่เบรค รวมเครื่องดนตรีครบเซ็ทหรือไม่ ทางร้านต้องเตรียมจัดเตรียมบางส่วนหรือเปล่า

แต่บางคนคิดว่า ไม่ต้องขนาดนั้น เดี๋ยวใช้วิธีเปิดเพลงแทน ก็อย่าลืมดูเรื่องค่าลิขสิทธิ์เพลงด้วยนะครับ ตอนนี้เจ้าของค่ายเพลงเริ่มเอาจริง เดี๋ยวจะเป็นเรื่องบานปลาย

  1. ค่าธรรมเนียมกรณีรับชำระลูกค้าเป็นบัตรเครดิต

สมัยนี้ลูกค้าพกเงินสดน้อยลงเรื่อยๆ และบัตรเครดิตก็เป็นตัวเลือกสำคัญที่เขานิยมใช้ เพราะฉะนั้นการรับบัตรเครดิตอาจจะไม่ใช่จุดเด่นของธุรกิจอีกต่อไป แต่แทบจะเป็นสิ่งพื้นฐานที่ร้านอาหารต้องมีเพื่อบริการลูกค้า

อย่าลืมว่าการรับบัตรเครดิต เราจะถูกคิดค่าธรรมเนียม 2-3% จากทางบัตรเครดิต ดังนั้น เผื่อค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย และที่สำคัญ เตรียมเงินหมุนเวียนให้เพียงพอนะครับ เพราะการรับชำระเงินทางบัตรเครดิต ร้านอาหารไม่ได้รับเงินสดในทันที แต่ใช้เวลาอีกอย่างน้อยเกือบ 1 สัปดาห์ที่จะได้รับเงิน

ความคิดเห็น ถามอีก กับอิก เรื่องลงทุน

การวางแผนให้ดี มีชัยไปกว่าครึ่งครับ แต่อีกครึ่งหนึ่งก็อยู่ที่การแก้ปัญหาของเรา ไม่มีใครรู้หรอกว่าระหว่างทางเราจะเจออะไรบ้าง หรือจะมีปัจจัยอะไรที่ทำให้แผนที่วางไว้อย่างดี ไม่เป็นไปตามนั้น แต่ที่แน่ๆ คือความมุ่งมั่น และพยายาม จะทำให้เราผ่านมันไปได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

5 ต้นทุนในการทำร้านอาหาร ที่เจ้าของกิจการควรรู้!

5 เทคนิค ลดต้นทุน เพิ่มกำไร แต่มาตรฐานเท่าเดิม!

เรื่องแนะนำ

ถอดบทเรียน ทำไมสุกี้ตี๋น้อยถึงเปิดร้านสาขาใกล้กัน ไม่ถึง 5 กม.?

ทำไม สุกี้ตี๋น้อย ถึงเปิดร้านสาขาใกล้กัน ไม่ถึง 5 กม.! ถ้าเราลูกค้าเยอะ เปิดเพิ่มอย่างเขาได้ไหม ? เชื่อว่าใครที่เป็นชาวธนบุเรี่ยน หรือคนฝั่งธนฯ น่าจะต้องเคยเห็นหรือได้ยินว่าตอนนี้เขามีตลาดมาเปิดใหม่ตรงถนนบรมฯ ชื่อ “ตลาดธนบุรี” อยู่แถว ๆ พุทธมณฑลสาย 2 ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ และรวมร้านเด็ด ร้านดังทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงแบรนด์ร้านอาหารมากมายไว้ที่นี่ หนึ่งในนั้นก็คือ “ สุกี้ตี๋น้อย ” แต่ทว่าใกล้ ๆ นี้ ที่ The Paseo Park กาญจนาภิเษก ก็มีสาขาของ สุกี้ตี๋น้อย อยู่นี่นา ลองเปิด Google Map ดู ก็คืออยู่ห่างกันไม่ถึง 5 กิโลเมตรเลยนะ เพราะอะไร ทำไม สุกี้ตี๋น้อย ถึงเลือกเปิดสาขาใกล้ ๆ กันขนาดนี้ล่ะ เราลองมาวิเคราะห์กัน   กฎการเลือกทำเลของ “สุกี้ตี้น้อย”ถ้าใครเคยได้ฟังบทสัมภาษณ์ของคุณเฟิร์น นัทธมน […]

ขายอาหารในศูนย์การค้า

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร?

เชื่อว่ามีร้านอาหารมากมาย ที่เคยคิดอยากจะเปิดร้านอาหารภายในศูนย์การค้า รวมถึงร้านที่ไม่ใช่แบรนด์ดัง ก็อยากจะพาร้านตัวเองเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็มีหลายคำถามมากๆว่า ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มาให้คำตอบแบบ Step by Step ให้เจ้าของร้านให้ทราบกันเลย   10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า Step by Step ขั้นตอนแรก เจ้าของร้านต้องโทรเข้ามาที่ศูนย์การค้าเพื่อ ติดต่อฝ่ายขาย ว่ามีความประสงค์ต้องการจะเปิดร้านอาหาร ทีมฝ่ายขายจะมีการสอบถามเบื้องต้นว่า ต้องการเปิดร้านอะไร พื้นที่เท่าไหร่ จากนั้นก็จะให้ทางร้านส่ง Brand Profile มาให้พิจารณาเป็นลำดับถัดไป เจ้าของร้านส่ง Brand Profile ให้ศูนย์การค้าพิจารณา จุดนี้สำคัญมาก เจ้าของร้านต้องทำโปรไฟล์ร้านของตัวเองก่อน เพื่อให้รู้ว่าร้านของคุณเป็นอย่างไร ขายอาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทใด หรือแม้กระทั่งมีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ ยิ่งหากไม่ใช่ร้านดัง Brand […]

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจ กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต

ทำไมต้องล้าง “วุ้นเส้น” ก่อนใช้! อวสานสายขี้เกียจ กินไม่ล้าง อาจอันตรายถึงชีวิต ทุกคนล้างวุ้นเส้นก่อนนำมาทำอาหารไหม? แอดได้เห็นเพื่อนในเฟซบุ๊กคนหนึ่งได้โพสต์ตั้งคำถามประมาณว่า “วุ้นเส้นห่อ ๆ นี่แกะแล้วลวกได้เลยไหม หรือต้องล้างก่อน?” ซึ่งก็ได้มีเพื่อน ๆ เข้ามาคอมเมนต์ในโพสต์นั้นกันเยอะมาก โดยส่วนใหญ่ก็บอกว่า “แกะแล้วก็โยนลงหม้อ ลงกระทะเลย มันต้องล้างด้วยหรอ” ซึ่งส่วนตัวแอดก็ล้างนะ เพราะปกติใช้วุ้นเส้นสด และข้างห่อมันก็บอกให้ล้าง แอดเลยไปหาข้อมูลมา แล้วก็พบว่า เห้ย มันต้องล้างจริง ๆ ต้องที่แบบว่า “ต้อง” เลยนะ!!! โดยเฉพาะเส้นสดๆ เนี่ย . ทำไมต้องล้าง ? . จากที่แอดได้ไปหาข้อมูลมา เพจ “เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว” ได้อธิบายถึงเหตุผลที่เราต้องล้างวุ้นเส้นได้อย่างเข้าใจง่ายว่า เนื่องจากอาหารที่เป็นเส้นสด ไม่ได้อบแห้ง อย่างวุ้นเส้นสด เส้นหมี่สดนั้นจะมีการเติมสารประกอบ Sulfite เพื่อต้านการหืน และป้องกันการเกิด Oxidation ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย เอกลักษณ์ของสารกลุ่มนี้ เมื่อโดนความชื้นหรือน้ำร้อน หรือมีสภาวะที่เป็นกรดจะส่งกลิ่นเหม็นของแก๊ส Sulfur […]

พีคไทม์ ออเดอร์แน่น! ร้านอาหารรับมืออย่างไร?

Host จัดคิว ให้เหมาะสมกับที่นั่ง การทำยอดขายขึ้นอยู่กับการจัดที่นั่ง การจัดการด้านที่นั่งให้เพียงพอกับลูกค้าตามจำนวนที่คาดการณ์ การจัดสรรที่นั่ง และรับออเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยลดระยะเวลาในการบริการหน้าร้าน ส่งผลให้ร้านสามารถทำรอบได้สูง ในช่วงเวลาพีคไทม์ ร้านอาหารหลายแห่งจะมีการจ้าง Host ในการรับหน้าที่ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปยังที่นั่ง แต่หากร้านของคุณเป็นร้านเล็ก ๆ ก็สามารมอบหน้าที่ให้กับหัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ หรือผู้จัดการร้านอาหารในการดูแล โดยจะต้องมีทักษะในการวางแผนจัดการที่นั่ง การสื่อสารกับลูกค้า  รวมถึงประสานกับพนักงานส่วนบริการเพื่อรับหน้าที่ต่อได้เป็นอย่างดี   อุปกรณ์ วางแผนให้เหมาะกับ Turn ถ้าหากอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อจำนวนลูกค้า อาจส่งผลโดยตรงกับประสบการณ์ในการรับบริการ การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณอาจจะคาดการณ์ได้จากจำนวนลูกค้าที่สูงสุดที่รับในช่วงพีคไทม์ ว่าจะใช้ได้กี่รอบ ยกตัวอย่าง ร้านอาหาร 40 ที่นั่ง คาดการณ์ว่าจะรับลูกค้าได้ 2 รอบในช่วงพีคไทม์ อุปกรณ์สำหรับลูกค้าจะต้องมี 80 ชุด  และคุณอาจจะบวกจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่านั้นสัก 1 เปอร์เซนต์ โดยคำนวณให้เพียงพอ ไม่ควรเผื่อการนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ไปล้างเพื่อใช้ในช่วงเวลานี้   เตรียมอาหารให้พร้อม มีคนรอซื้อแต่ไม่มีของขาย มีขายแต่ขายช้า ลูกค้าต้องรอเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้รับลูกค้าได้น้อยรอบ  รวมถึงประสบการณ์ยอดแย่อันดับต้น ๆ ที่ลูกค้าร้านอาหารเจอและทำให้ไม่กลับไปกินร้านอาหารนั้น ๆ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.