จิตวิทยาบริหารคน ฉีกกฎทุกตำรา แก้ทุกปัญหาแบบ Copper

จิตวิทยา บริหารคน ฉีกกฎในตำรา ขจัดทุกปัญหาเรื่องคน!

Copper จิตวิทยาบริหารคน ฉีกกฎในตำรา ขจัดทุกปัญหาเรื่องคน!

พนักงานโกง บริการแย่ ไม่พัฒนาตัวเอง ลาออกบ่อย ทำงานไม่เต็มที่ ขาด ลา มาสาย ทะเลาะกัน ทำงานพลาดบ่อย ไม่รับผิดชอบ ใครเจอปัญหาเหล่านี้บ้าง? มาดู จิตวิทยาบริหารคน และวิธีแก้ปัญหาของพี่เกษม กุนซือใหญ่แห่ง Copper International buffet กัน

เพราะที่นี่ขึ้นชื่อว่าเป็นสังคมการทำงานร้านอาหารที่ดีที่สุด พนักงานมีความสุข บริการเยี่ยม เราถอดบทเรียนการใช้หลัก จิตวิทยาบริหารคน ของพี่เกษมออกมาได้ 5 ข้อห้ามหลักๆ ซึ่งแทบทุกข้อฉีกทุกกฎในตำราก็ว่าได้ !

1.อย่าขี้เหนียว! อยากได้คนดี คนเก่ง ต้องกล้าจ่าย !

“ตำราส่วนใหญ่บอกว่าต้นทุนพนักงานไม่ควรเกิน 15 – 20% แต่เวลาพี่จ้างพนักงาน ต้นทุนเป็นเรื่องสุดท้ายที่พี่นึกถึงเลย ไม่เคยมีกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ต้องทำงานกี่เดือนถึงได้ขึ้นเงินเดือน หรือต้องปรับเงินเดือนปีละกี่ครั้ง

ถ้าเราเห็นแววว่า เฮ้ย! เด็กคนนี้ทำงานดี โอเคมาก เราขึ้นเงินให้เลย เพราะถ้าเรามัวแต่รอสิ้นปีตามกฎ ถ้ามีที่อื่นที่ได้เงินมากกว่าแค่เดือนละ 2000 บาท คุณเสียคนดีๆ ไปเลยนะ

และไม่ว่าร้านจะขาดทุน – กำไร เราต้องขึ้นเงินเดือน ต้องมีโบนัส เพราะเรารู้ว่าทั้งปี เขาหวังแค่นี้แหละ ได้จับเงินก้อน คุณต้องลองมาชั่งน้ำหนักกัน เงินเท่านี้ แต่เทียบกับงานที่เขาตั้งใจทำมากทั้งปี เขาทำเงินให้คุณได้มากกว่าแน่นอน”

เกษม Copper

2. อย่าปล่อยให้ลูกน้องจัดการปัญหาเรื่องคน เราต้องดูแลเอง

“สิ่งสำคัญของการบริหารคนคือ เราต้องเข้าใจมนุษย์ เข้าใจความต้องการของเขา คนทำงานมีแค่ 2 อย่างหลักๆ ที่อยากได้ หนึ่งคือ เงิน สอง คือ บรรยากาศการทำงานที่ดี ถ้าเขาได้สองสิ่งนี้ ยังไงเขาก็อยู่กับเรา

เจ้าของร้านส่วนใหญ่เวลาเจอปัญหาเรื่องพนักงาน ชอบส่งให้หัวหน้าพนักงานไปเคลียร์ เพราะมันเป็นงานที่คุณไม่อยากทำ เป็นปัญหาจุกจิก แต่อย่าลืมว่าลูกน้องเขาอาจจะไม่ได้เข้าใจปัญหาเหมือนคุณ มาตรฐานการทำงานก็ไม่เหมือนคุณ วิธีการแก้ปัญหาก็ไม่เหมือนคุณ

ฉะนั้นถ้าพี่สังเกตเห็นว่ากำลังจะมีปัญหา เช่น มีเจ้าพ่อ เจ้าแม่ แบ่งพรรค แบ่งพวก เด็กของคนนั้น เด็กของคนนี้ พี่จะเรียกมาคุยเองทันทีเลย เราต้องปราบตั้งแต่ต้น จะปล่อยไม่ได้

พี่ยอมรับว่าตัวเองดุ ถามว่าทำไมต้องดุขนาดนี้ เพราะเรารู้ว่าถ้าเราปล่อย ปัญหามันเกิดแน่ องค์กรไปต่อไม่ได้

3. อย่าสอนให้เขาเป็นลูกจ้าง แต่จงสอนให้เขาเป็นหัวหน้า

สิ่งที่เราสอนพนักงานเสมอคือ เราสอนให้เขาเป็นหัวหน้า ไม่ได้สอนให้เขาเป็นลูกน้องตลอดชีวิต ไม่งั้นคุณก็ต้องสอนเขาตลอดไป ต้องสั่งเขาตลอดไปและก็เหนื่อยตลอดไป แต่ถ้าเราสอนให้เขาโตขึ้น สุดท้าย เขาก็จะทำงานเก่งขึ้น คุณก็สบาย

ทุกวันนี้ผู้ช่วยผู้จัดการของพี่ ก็เคยเป็นเด็กวิ่งอาหาร อยู่ในตำแหน่งต่ำสุดในร้านมาก่อน พนักงานรปภ. ก็เลื่อนมาเป็นเชฟ เด็กพาร์ทไทม์ที่ตอนนี้เคยเก็บจาน เราเห็นแววว่าเขามีไหวพริบ เราก็จับมาให้เป็นพนักงานดูแลเรื่องตัวเลข เรื่องสต๊อก ดูงานหลังร้าน

4. อย่าใส่ใจแค่เรื่องงาน เรื่องส่วนตัวก็ต้องดูแล

“เจ้าของร้านหลายคนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เรื่องความเป็นอยู่ บ้านอยู่ที่ไหน ครอบครัวทำอะไร พี่ถามหมด คนไหนบ้านอยู่ไกล เห็นนั่งรอรถเมล์อยู่ ถ้าพี่ว่างก็ไปส่ง เพราะว่าเรารู้ว่าถ้าเขากลับเอง กว่าจะถึงนานแน่ จะนั่งแท๊คซี่ ก็ 200 – 300 บาท แค่ค่ารถไป – กลับก็ไม่เหลือแล้ว พี่ไม่มีตังมาก่อน เลยเข้าใจ

อาหารของเราเลี้ยงอย่างดี วันไหนลูกค้าเยอะ เหนื่อยมาก ก็ปิดร้านเลี้ยง ให้เขากินอาหารในร้าน และเขาจะกินแค่พออิ่ม ป้องกันการขโมยได้ ที่ร้านนี้ไม่เคยเจอปัญหาเรื่องขโมยหรือทุกเดือนพี่จะพาน้องๆ ไปดูหนัง ไปกินข้าว คนเหนื่อยก็อยากพักผ่อน อยากผ่อนคลาย บรรยากาศการทำงานมันก็จะดี”

5. อย่าเอาแต่ออกกฎ แต่ต้องทำให้เขามีส่วนร่วม

การทำงานที่นี่ เราไม่เอาแต่ออกกฎเองว่าต้องทำอะไร ยังไง เราให้เขาเขียนขั้นตอนการทำงานมาเอง ให้เขาใช้เวลานั่งเขียน แต่ละแผนก เดือนนึงเลยว่าหน้าที่ของตัวเองต้องทำอะไรบ้าง เราก็ให้หัวหน้าไปคุม เขียนผิด ก็ทำใหม่

สุดท้ายเราก็ได้ SOP (Standard Operation Procedures) เป็นคู่มือการทำงานของร้านที่ทุกคนมีส่วนร่วม แน่นอนว่าการที่เราเขียนให้ง่ายกว่า ทุกอย่างจบ ไม่ต้องเสียเวลา แต่ทุกอย่างมันถูกบังคับ ทุกคนก็เป็นเหมือนหุ่นยนต์ ไม่มีความรู้สึกนึกคิด ทำตามคำสั่งอย่างเดียว แต่พอเขาเขียนเอง เขาถึงรู้ว่า แต่ละขั้นตอนมันต้องทำ มันสำคัญ เพราะมันออกมาจากตัวเขาเอง

หลังจากรู้หลักการบริหารพนักงานของพี่เกษมไปแล้ว มาฟังความรู้สึกของพนักงานในร้านที่ได้ทำงานกับ Copper กัน

การะเกด สิริวรามาศ (ต้นหลิว)

หนูเคยทำงานมาหลายที่ แต่ที่นี่ไม่เหมือนที่อื่น รู้สึกว่าสนุก มาทำงานไม่ได้รู้สึกเหนื่อย เหมือนมาเจอเพื่อนๆ แถมยังได้เงินด้วย หัวหน้าก็เหมือนเป็นพี่ ผู้จัดการก็เป็นเหมือนพ่อ เราคุยกันได้หมด ช่วยเหลือกัน ทุกคนเหมือนครอบครัว

ถึงเราจะเป็น Part Time ก็รู้สึกว่าต้องทำงานให้เต็มที่ เพราะเขาก็จ่ายเงินให้เราเหมือนกัน ลูกค้ามาที่ร้าน เขาแยกไม่ออกหรอกว่าใครเป็นประจำ ใครเป็น Part Time เขาก็ต้องคาดหวังว่าจะได้รับบริการที่ได้มาตรฐานเดียวกัน ฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกว่าต้องทำงานให้ดีที่สุด

ธัญพร สังวรราชทรัพย์ (น้ำฝน)

หนูเพิ่งมาทำงานที่นี่ได้ 3 เดือน แต่ได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก ได้รู้ว่าต้องเสิร์ฟยังไง เข้ากับลูกค้ายังไง รับออร์เดอร์ยังไง หนูรู้สึกว่าสังคมการทำงานที่นี่ดีมาก พี่พนักงานก็ดี พี่เกษมก็ใจดี ทุกคนช่วยเหลือกัน เป็นจุดที่ทำให้เราอยากมาทำงาน

พี่เกษมเป็นคนระเบียบเยอะ แต่เพื่อร้าน เราก็เข้าใจ หลังเวลางานเขาก็ใส่ใจพนักงาน บางครั้งเรากลับบ้านดึก เขาก็ไปส่งที่บ้าน พอมันเริ่มด้วยการให้ เริ่มจากการใส่ใจ เราก็รู้สึกว่าต้องให้ตอบ ถ้าพี่เกษมใส่ใจเรา เราก็ใส่ใจกับงานต่อ ใส่ใจลูกค้าต่อ เพื่อตอบแทนสิ่งที่เขาให้มา


“กลยุทธ์บุฟเฟ่ต์ เผยเคล็ดลับ ทำบุฟเฟ่ต์ให้มีกำไร รุ่นที่ 2”
.
++แชร์ทุกปัญหาที่ร้านบุฟเฟ่ต์ต้องเจอ++

++เผยทุกเคล็ดลับที่จะช่วยให้ร้านอยู่รอดและมีกำไร++
.
จาก 3 เซียน ธุรกิจบุฟเฟ่ต์ ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนี้!
.
คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้าน Penguin Eat Shabu
คุณสุรเวช เตลาน เจ้าของร้าน Mo-Mo Paradise
คุณเกษม สัตยารักษ์ General Manager ร้าน Copper International Buffet

รายละเอียดเพิ่มเติม
http://amarinacademy.com/1193/course/buffet-course/

เรื่องแนะนำ

สูตรลับทำร้านอาหารอย่างเป็นระบบ…บริหารง่าย กำไรพุ่ง

สูตรลับที่ 1 :  จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน SOP  (Standard operating procedure) การจัดการร้านอาหารให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานและจัดทำเอกสารเพื่อควบคุมทุกอย่างให้ดี SOP นั้นมีหลายหัวข้อที่จะต้องกำหนด เช่น หัวข้อการบริการ, การเสิร์ฟอาหาร  , การรับ order ,  การต้อนรับลูกค้า ควรมี SOP สำหรับการจัดการเมนูอาหาร  เพื่อควบคุมมาตรฐานของรสชาติ และการบริหารจัดการวัตถุดิบที่ดี แก้ไขปัญหารสชาติที่ไม่นิ่ง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังจะขยายสาขา มาตรฐานการปฏิบัติงาน ยังหมายรวมถึง การจัดทำ Job Description ของพนักงาน การกำหนดตำแหน่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานเกิดระบบ และสามารถวางแผนเรื่องกำลังคนได้ สุดท้ายคือ ระบบ Point of Sales (POS)  การจัดการด้านแคชเชียร์ ซึ่งในปัจจุบันมีฟังค์ชั่นการใช้งานที่ช่วยสนับสนุนการจัดการร้านอาหารที่ค่อนข้างครอบคลุม โดยเฉพาะการคำนวณต้นทุน การจัดเก็บข้อมูลลูกค้าซึ่งถือเป็นประโยชน์สำหรับการทำการตลาดร้านของคุณอีกด้วย   สูตรลับที่ 2  : ระบบการจัดการในครัว             ร้านอาหารจะไม่มีทางประสบความสำเร็จเลย หากขาดระบบครัวที่มีประสิทธิภาพ […]

ลูกค้าทำของหายในร้าน

เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย

เจ้าของร้านอาหารหลายราย คงเคยเจอเหตุการณ์ ลูกค้าทำของหายในร้าน กันใช่ไหมครับ หลายๆ คนก็มีวิธีแก้ไขสถานการณ์แตกต่างกันไป นี่ก็เป็นอีกวิธีที่อยากแชร์ให้ฟัง

เบื้องหลัง การทำร้านกาแฟ กับดักที่คุณอาจจะไม่เคยรู้

ปัจจุบันร้านกาแฟกลายเป็นสินค้าที่ขายไลฟ์สไตล์มากกว่าแค่เครื่องดื่ม ลูกค้าจึงต้องการมากกว่ารสชาติ แต่ต้องการประสบการณ์การดื่มที่ดีด้วย ไม่ว่าคุณจะ ทำร้านกาแฟ ร้านเล็กๆ หรือร้านกาแฟที่ติดตลาดมีลูกค้าขาประจำ ก็อาจพลาดท่าเสียทีกับดักเหล่านี้ได้เหมือนกัน มาดูกันว่า อะไรบ้างที่ทำให้ร้านกาแฟไม่โตได้อย่างที่หวัง เบื้องหลังการ ทำร้านกาแฟ กับดักคุณที่อาจจะไม่เคยรู้ กับดัก…ลูกค้า เมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดกรณีเจ้าของร้านกาแฟไล่ลูกค้า เนื่องจากลูกค้านั่งนาน ทำให้เกิดความเห็นแตกต่างกันจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายที่โทษลูกค้าว่าเอาเปรียบร้าน และอีกฝ่ายที่โทษร้านว่าใจแคบและโต้ตอบกับลูกค้าเกินกว่าเหตุ คำถามคือ คุณจะทำอย่างไรหากสถานการณ์นี้เกิดขึ้นกับร้านของคุณ คำตอบก็คือ การบริหารจัดการลูกค้า ที่ทำให้หลายร้านติดกับดัก.. ในความเป็นจริงเราไม่สามารถกำหนดว่า ลูกค้าต้องซื้อเครื่องดื่มขั้นต่ำเท่าไหร่ นั่งได้ครั้งละกี่ชั่วโมงเสมอไป โดยเฉพาะร้านกาแฟดี ๆ ย่อมหลีกเลี่ยงกรณีแบบนี้ได้ยาก แต่คุณสามารถทำได้ 3 อย่าง คือ       1. การเรียนรู้พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร       2. การออกแบบการบริการที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้น       3 .การจัดการเมื่อเกิดปัญหาด้านบริการ  เพราะฉะนั้นในกรณีที่ลูกค้ากลุ่มหลัก เป็นกลุ่มที่มาใช้ร้านกาแฟเพื่อนั่งทำงานระยะเวลา 2-3 […]

เจาะกลุ่มลูกค้า

เจาะกลุ่มลูกค้า ร้านอาหาร บริการให้ตรงใจ ❤︎

ในยุคที่ธุรกิจร้านอาหารมีการแข่งขันสูง ทางร้านย่อมจะต้องหาวิธีดึงดูดและจูงใจลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ แต่ผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การทำความเข้าใจลูกค้าแต่ละกลุ่มจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยให้พนักงานบริการลูกค้าที่ต่างกันอย่างเหมาะสม ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากร้าน ในบทความนี้เราจึง เจาะกลุ่มลูกค้า แต่ละแบบในร้านอาหาร เพื่อแนะนำแนวทางในการบริการให้เหมาะสม และเพิ่มโอกาสในการขายของร้านอาหารครับ เจาะกลุ่มลูกค้า ในร้านอาหาร บริการให้ตรงใจ 1. ลูกค้าที่มาเป็นคู่ ลูกค้าที่มากันสองคนหรือเป็นคู่รัก มักจะต้องการใช้เวลาด้วยกันมากกว่าต้องการให้พนักงานบริการเพิ่มเติม ดังนั้น พนักงานควรจะเลือกที่นั่งที่ให้ความรู้สึกค่อนข้างส่วนตัว เช่น โต๊ะที่อยู่ด้านในของร้าน หรือโต๊ะที่ห่างออกไปจากกลุ่มลูกค้าที่มาด้วยกัน เพื่อลดเสียงรบกวน หลังจากลูกค้าสั่งอาหารแล้วก็คอยสังเกตห่างๆ ว่าลูกค้าต้องการบริการใดเพิ่มเติมแล้วค่อยเข้าไปบริการ โดยเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารหลักใกล้เสร็จ อาจจะขออนุญาตเข้าไปเก็บจานที่ไม่ใช้แล้ว พร้อมกับแนะนำเมนูของหวานเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้านอาหารได้ 2. กลุ่มคนทำงาน พนักงานออฟฟิศ สำหรับร้านที่อยู่บริเวณที่ทำงานในเมือง พนักงานออฟฟิศคงเป็นกลุ่มลูกค้าหลักในร้าน  ส่วนใหญ่จะมาในเวลาพักกลางวัน หรือหลังเลิกงานในตอนเย็น จากเวลาพักที่ใกล้เคียงกันของพนักงานออฟฟิศ ทำให้ร้านอาหารต้องบริหารจัดการโต๊ะให้ดีเพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าต่อวันให้มากขึ้น และหาวิธีทำงานที่รวดเร็วขึ้น เช่น อาจจะปรุงวัตถุดิบบางส่วนล่วงหน้าไว้ เพื่อลดระยะเวลาการทำอาหาร หรือมีกระดาษให้เลือกเมนูอยู่ที่โต๊ะเพื่อลดภาระของพนักงาน ลูกค้ากลุ่มนี้มักจะมาเป็นกลุ่มย่อยๆ ประมาณ 3-4 คน โดยสั่งอาหารจานหลักคนละจาน และอาจจะสั่งเมนูอื่นๆ มาแชร์กัน พนักงานอาจจะแนะนำเมนูทานเล่นอื่นๆ ที่มีขายภายในร้านนอกเหนือจากอาหารจานหลัก เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอยากสั่ง […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.