เปิดร้านเอง VS ซื้อแฟรนไชส์...แบบไหนดีกว่ากัน - Amarin Academy

เปิดร้านเอง VS ซื้อแฟรนไชส์…แบบไหนดีกว่ากัน

เปิดร้านเอง VS ซื้อแฟรนไชส์…แบบไหนดีกว่ากัน

หลายคนอยากเริ่มต้นธุรกิจ ด้วยการเปิดร้านอาหารแฟรนไชส์ขึ้นมาสักร้าน เพราะได้ยินใครต่อใครพูดให้ฟังว่า ซื้อแฟรนไชส์ มีเปอร์เซ็นต์ที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจรวดเร็วกว่าเริ่มต้นนับหนึ่งทำร้านอาหารด้วยตัวเอง เนื่องจากแบรนด์ร้านอาหารเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว ทำให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่า

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยหลายอย่างที่นักธุรกิจมือใหม่ต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินลงทุน ทำเลที่ตั้ง ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า รวมไปถึงกฎระเบียบยิบย่อย … ถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงระหว่างการตัดสินใจว่าจะซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารดีหรือไม่ ลองอ่านข้อดีข้อเสียเหล่านี้ เพื่อช่วยให้ตัดสินใจง่ายขึ้นกันดีกว่าครับ

ซื้อแฟรนไชส์

 ข้อดี ของการซื้อแฟรนไชส์

1. เปิดง่าย เริ่มได้ทันที ร้านอาหารแฟรนไชส์ มีทุกอย่างมาให้คุณเสร็พสรรพ ไม่ว่าจะเป็นชื่อร้าน อุปกรณ์ตกแต่ง เมนูอาหาร รวมไปถึงแผนการตลาด ทำให้คุณแทบจะเปิดร้านได้เลยทันที โดยไม่ต้องมีเรื่องจุกจิกให้ต้องมานั่งพะวง

2. มีคนคอยช่วยเหลือ สิ่งที่คุณจะได้รับพ่วงมากับธุรกิจแฟรนไชส์ ก็คือ การช่วยเหลือและสนับสนุนจากบริษัทแม่ หากคุณมีข้อสงสัย หรือพบเจอปัญหาใด ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจ ก็สามารถอุ่นใจได้เลยว่า มีคนคอยให้ความช่วยเหลือหรือเป็นที่ปรึกษาให้เสมอ

3. มีกำลังซื้อที่ดี ร้านแฟรนไชส์สามารถซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ ได้ในราคาถูกมากกว่าร้านอาหารทั่วไป นั่นเป็นเพราะ ร้านแฟรนไชส์มีกำลังซื้อที่มากกว่านั่นเอง คุณจึงตัดเรื่องปวดหัวออกไปได้แล้วอีกหนึ่งอย่าง

4. ชื่อร้านติดหู เจ้าของร้านแฟรนไชส์สามารถเปิดร้านได้อย่างสบายใจหายห่วง ไม่ต้องคอยกังวลว่า ทำอย่างไรให้ชื่อร้านเป็นที่รู้จัก และที่สำคัญไปกว่านั้น คุณไม่ต้องเสียเงินมหาศาล ไปกับการทำการตลาดในช่วงเริ่มต้น

ซื้อแฟรนไชส์

ข้อเสีย ของการซื้อแฟรนไชส์

1. เงิน (ไม่พอ) ปัญหาเรื่องเงินจัดเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของการซื้อแฟรนไชส์เลยก็ว่าได้ เพราะหากคุณต้องการซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ ๆ คุณจำเป็นต้องมีวงเงินไปค้ำประกันก่อนก้อนหนึ่ง (ซึ่งเป็นจำนวนที่มากเอาเรื่อง) แถมยังต้องกันอีกก้อนหนึ่งไว้เป็นเงินสำหรับลงทุนด้วย

2. จำกัดอิสรภาพทางความคิด ต้องทำใจยอมรับว่า การซื้อแฟรนไชส์จะทำให้คุณหมดสิทธิครีเอทเมนู ออกแบบป้ายร้านอาหาร จัดวางเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งร้านตามใจชอบ ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์จึงเหมาะกับคนที่พร้อมจะพับเก็บความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองเอาไว้

3. มีกฎระเบียบจุกจิก ร้านแฟรนไชส์มาพร้อมกับกฎระเบียบข้อบังคับมากมายที่เจ้าของร้านต้องทำตามอย่างเข้มงวด พนักงานร้านแฟรนไชส์หลายแห่งจะต้องเข้ารับการฝึกฝนอบรมจนกระทั่งสามารถดำเนินธุรกิจเหมือนกับบริษัทแม่ได้ เพื่อไม่ให้เสียมาตรฐานของแบรนด์ร้านอาหาร

4. เสียค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือ “ ค่ารอยัลตี้ ” (Royalty Fee) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างการดำเนินกิจการ ที่ต้องจ่ายให้แก่บริษัทแฟรนไชส์เป็นรายเดือน ดังนั้น คุณจำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และต้องแบ่งสรรเงินทุนอีกส่วนหนึ่ง ให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตามปกติด้วย

แน่นอนว่า ไม่มีธุรกิจใดที่มีแต่ข้อดีร้อยเปอร์เซ็นต์ สุดท้ายแล้วจะตัดสินใจเลือกแบบไหน ก็คงขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋า ความชอบ และความพร้อมของคุณแล้วละครับ

While the tips above give you a jump-start who can i pay to do my homework on the online portion of author branding, to get the most out of them you really need to have some basic branding already built.

เรื่องแนะนำ

จัดสต๊อกวัตถุดิบ

มือใหม่ต้องรู้! จัดสต๊อกวัตถุดิบ ฉบับเข้าใจง่าย

วัตถุดิบเป็นต้นทุนที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของร้านอาหาร ซึ่งทุกวัตถุดิบที่สูญเสียไป ถือเป็นต้นทุนที่คุณต้องจ่าย คุณจึงจำเป็นต้องใส่ใจ จัดสต๊อกวัตถุดิบ ห้ามละเลย

ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ

8 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ

เปิดร้านอาหารทั้งที ก็อยากทำให้ดีที่สุด แต่จะทำอย่างไรให้ลูกค้าชื่นชอบและประทับใจในทุกๆ ด้าน วันนี้เรามี 10 เทคนิค ทำร้านอาหารให้น่าประทับใจ มาแนะนำ

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ซื้อกลับบ้าน”

ถ้าตัดสินใจลุยต่อ! สิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง? ในวันที่ขายได้แค่ “ ซื้อกลับบ้าน ” วิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ดูจะไม่หายไปง่าย ๆ ถ้านับจากตอนระบาดใหม่ ๆ ก็กินเวลามาเป็นปี ๆ ทั่วโลกได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการก็ต่างอยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น  ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนการเงินในระยะยาวให้ธุรกิจของคุณยังคงไปต่อได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ลองมาดูสิ่งที่ต้องทำในวันที่ขายได้แค่ “สั่งกลับบ้าน” 1.ประเมินความพร้อม: จากบทเรียนการระบาดครั้งก่อน ร้านที่ได้ลองทำเดลิเวอรีแล้วก็พอจะเห็นสถิติและพอประเมินได้ว่า ถ้าต้องเปลี่ยนมาขายแบบซื้อกลับเป็นหลัก ร้านจะมีรายได้เท่าไหร่ พอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วคิดว่ารายได้โอเค สู้ไหว เปิดแล้วทำให้ร้านพอมีรายได้เข้าบ้างก็ไปข้อต่อไป 2.ต่อรองประนอมหนี้: “รายได้ลดลง รายจ่ายเท่าเดิม” สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการต้องทำ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้ได้มากที่สุด ให้ตัวเบาที่สุด โดยทำการพูดคุยตกลงกับเจ้าของที่เพื่อขอลดค่าเช่า หรือขอแบ่งเบาภาระหนี้สินกับธนาคาร อย่างน้อย 1 – 2 เดือน เพื่อลดรายจ่ายเท่าที่เป็นไปได้ 3.เอายังไงกับพนักงาน: แม้ร้านจะไม่เปิดให้บริการนั่งทานในร้าน แต่การจ่ายค่าจ้างพนักงานยังคงอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ คือ พยายามลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้ลดลง โดยการประเมินงานที่ต้องทำในแต่ละวันก่อนว่าร้านเราน่าจะใช้คนเท่าไหร่ ถ้าใช้คนน้อยให้ลองใช้วิธีแบ่งกะเวลาการทำงาน สลับเวลากันมาทำ แต่ต้องคุยกับพนักงานให้ชัดว่า ช่วงนี้อาจจะให้ค่าตอบแทนได้น้อยลง แต่อย่างน้อยก็มีงานทำอยู่ พร้อมทั้งวางแผนการทำงานให้ […]

5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง

ผู้จัดการร้าน เปรียบเสมือนตัวแทนของเจ้าของร้านอาหาร  ถ้าผู้จัดการร้านทำหน้าที่ได้อย่างดี เจ้าของร้านอาหารแทบจะไม่ต้องแก้ปัญหาจุกจิกใด ๆ เลย และยังมีส่วนสำคัญให้ร้านของคุณเติบโตได้ตามเป้าหมายอีกด้วย   5 คุณสมบัติที่ ผู้จัดการร้าน ต้องมี แล้วร้านคุณจะไม่มีวันเจ๊ง เก่งคน             การจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานให้เหมาะสม  ให้คำแนะนำในการทำงานแก่พนักงาน  ผู้จัดการที่ดีจะต้องเป็นตัวแทนในการคัดเลือก ฝึกอบรม จ้างพนักงาน รักษาพนักงานที่ดี และคัดพนักงานที่เป็นปัญหาออก รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานอีกด้วย ถ้าผู้จัดการร้านไม่สามารถจัดการทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าเกิดปัญหาหน้างานขึ้นมาแล้วก็เหมือนงูกินหาง ทำให้ร้านล้มเหลวไม่เป็นท่าในที่สุด   เก่งลูกค้า             ผู้จัดการร้านอาหารจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า ควบคุมและพัฒนาการบริการของพนักงานเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ   และฝึกให้สามารถรับมือกับลูกค้าเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะหากลูกค้าไม่พอใจด่านสำคัญที่จะต้องตัดสินใจแก้ปัญหาคือ ผู้จัดการร้าน  นอกจากกำหนดนโยบายในการรับมือถ้าหากลูกค้าไม่พอใจแล้ว เจ้าของร้านควรให้บทบาทที่เหมาะสมในการตัดสินใจแก่ผู้จัดการร้านไว้เป็นกิจจะลักษณะ เช่น สิทธิในการให้ส่วนลดเพื่อชดเชยความไม่พอใจแก่ลูกค้า   เก่งวางแผน             หน้าที่ในการตรวจเช็คของใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่ของเล็กน้อย อย่างกระดาษเช็ดปาก ที่รองจาน อุปกรณ์ตกแต่ง ของใช้จำเป็นอื่น ๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมในการใช้งาน การจัดทำสต็อกสินค้าเพื่อจัดซื้อตามรอบ ในบางร้านอาจต้องประสานกับทีมครัวเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นความละเอียดรอบคอบ และความสามารถในการคาดการณ์จำนวนให้เพียงพอต่อการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็น […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.