9 ปัจจัยในการ เลือกทำเลร้านอาหาร - Amarin Academy

9 ปัจจัยในการ เลือกทำเลร้านอาหาร

9 ปัจจัยในการ เลือกทำเลร้านอาหาร

นอกจากคุณภาพอาหาร รสชาติ และการบริการ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการที่เป็นตัวกำหนดชะตาของธุรกิจว่าจะไปรอดหรือไม่ ก็คือการ เลือกทำเลร้านอาหาร

รู้หรือไหมว่า ไม่ใช่ทุกพื้นที่จะเหมาะเป็นทำเลสำหรับร้านอาหาร ทำเลที่ดีนั้นหายากเย็นยิ่งกว่าที่หลายคนคิดไว้ บางครั้งพื้นที่ติดถนนบริเวณใจกลางเมืองที่จ้อกแจ้กจอแจ อาจจะเป็นจุดที่โดนคนเมินมากที่สุดก็เป็นไปได้ ขณะเดียวกันทำเลที่คุณคิดว่า อย่างไรก็ไม่น่าจะมีคนผ่าน ก็อาจกลับกลายเป็นพื้นที่ที่ทำกำไรให้กับเจ้าของร้านได้อย่างมหาศาล…ลองเก็บ 9 ปัจจัยในการเลือกที่ตั้งร้านเหล่านี้ไว้เป็นตัวเลือก ก่อนตัดสินใจจะเริ่มร้านกันดีกว่า

1.รู้รึยังลูกค้าเราคือใคร

ทำเลบางทำเลคนเยอะแต่อาจไม่เหมาะกับร้านของเราถ้าคนเหล่านั้นไม่ใช่กลุ่มลูกค้าที่เรามองหา ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่จะเลือกทำเลใดๆก็ตามเราต้องรู้ก่อนเสมอว่าเราจะขายใคร ในทำเลนั้นมีกลุ่มลูกค้าเราอยู่หรือไม่ พฤติกรรมเป็นยังไง การหาข้อมูลที่ดีที่สุดคือการเข้าไปนั่งในร้านอาหารที่คล้ายๆเราแล้วสังเกตุกลุ่มลูกค้า อีกอย่างคือการหาข้อมูลในบริเวณนั้นๆเช่น มีตึกออฟฟิศเยอะแค่ไหน กลางวันคนเหล่านี้ไปทานที่ไหนกัน คนผ่านหน้าร้านเยอะแค่ไหน

2.ที่จอดรถต้องพอ

คนเราทุกคนล้วนมีความขี้เกียจซ่อนอยู่ในตัว ลูกค้าของคุณก็เช่นกัน ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากเหนื่อยกับการเดินไกลๆ เพื่อไปกินอาหาร เราล้วนต้องเลือกความสะดวกสบายก่อนทั้งนั้น เว้นเสียแต่ว่า ร้านของคุณตั้งอยู่ในตัวเมืองที่มีรถสาธารณะวิ่งผ่าน หรือใกล้รถไฟฟ้า หรือเป็นย่านที่ผู้คนเดินกันคับคั่ง แต่ถ้าหากร้านอาหารของคุณอยู่แถบชานเมือง ที่จำเป็นต้องขับรถไปกินเท่านั้น การมีที่จอดรถก็ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง หรือถ้าร้านของคุณไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับทำเป็นลานจอดรถ ก็ให้ลองพิจารณาดูก่อนว่า แถวนั้นมีพื้นที่จอดรถที่สามารถไปจอดได้อยู่บ้างหรือเปล่า

3.สังเกตเห็น เป็นใช้ได้

ทำเลที่ดีคือที่ที่คนมักจะสังเกตเห็นได้ง่าย อาจจะเป็นสถานที่ที่คนเดินกันอย่างพลุกพล่าน หรือเป็นบริเวณที่รถสัญจรไปมาบ่อยๆ หรือหากร้านของคุณต้องเข้าซอยไปสักนิด ก็อาจใช้วิธีติดป้ายร้านขนาดใหญ่ไว้ริมถนน เพื่อให้คนผ่านไปมารู้สึกคุ้นตา แม้วันนี้เขาอาจจะยังไม่ตัดสินใจเข้าร้าน แต่อย่างน้อยๆ เขาก็สามารถจดจำชื่อและตำแหน่งร้านของคุณได้ไม่ยาก พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับการทำโฆษณาแบบไม่ต้องเสียเงินนั่นแหละ

ร้านอาหาร Outdoor
ร้านอาหารที่ตั้งอยู่โซน Outdoor ก็ข้อได้เปรียบคือมีโอกาสเห็นง่ายกว่า

4.ขนาด…ใครว่าไม่สำคัญ

แม้คุณต้องการทำแค่ร้านเล็กๆ อย่างร้านกาแฟ หรือเบเกอรี่ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ต้องแคร์เรื่องขนาดของร้านเลย คุณต้องไม่ลืมว่า ภายในร้านจะต้องแบ่งสัดส่วนให้เพียงพอต่อการทำครัว วางตู้เย็น ชั้นวางวัตถุดิบ รวมทั้งทำพื้นที่ออฟฟิศเล็กๆ สำหรับทำงานเอกสารของคุณด้วย หรือหากเป็นร้านอาหาร ก็ควรมีพื้นที่ไว้สำหรับนั่งรอคิว หรือพื้นที่บาร์ก่อนเข้าด้านในร้าน ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกทำเล ลองวางแผนให้ดีว่า พื้นที่เท่านี้พอแล้วจริงๆ หรือ

5. ทำความรู้จักเพื่อนบ้าน

ก่อนจะตัดสินใจเลือกทำเลใดๆ ก็ตาม คุณต้องไม่ลืมเก็บข้อมูลของร้านในละแวกนั้นด้วยว่า เขากำลังทำธุรกิจอะไรกันอยู่ หากว่ามีคนทำธุรกิจเดียวกับคุณอยู่แล้ว 5-6 ร้าน คุณก็ต้องกลับมาพิจารณาให้ดีแล้วว่า จะมีกำลังต่อสู้ร้านเหล่านั้นไหวหรือไม่ นอกจากนี้ต้องดูให้ดีกว่า ร้านค้าส่วนใหญ่แถวนั้นเงียบเหงาหรือคึกคัก หากว่าคึกคัก คุณก็มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จตามได้ง่ายๆ

6.หรูไปก็ไม่ดี

เจ้าของร้านหลายคนตัดสินใจเลือกทำเลร้านในที่ห่างไกลผู้คน เพื่อที่จะได้พื้นที่แบบกว้างขวาง ใหญ่โต สำหรับลงทุนเปิดร้านแบบหรูหรา ดูดีมีสไตล์ แต่รู้หรือไม่ว่า การลงทุนเช่นนี้อาจเสียเปล่าได้ เพราะลูกค้าคงไม่สามารถไปกินอาหารในร้านเช่นนี้ได้บ่อยๆ ส่วนใหญ่จะเลือกไปในโอกาสพิเศษเท่านั้น ดังนั้น ลองถามตัวเองดีๆ ว่า ลงทุนขนาดนี้ คุ้มหรือไม่

7.ระวังค่าเช่าที่งอกได้

หลายคนถึงกับถอดใจเมื่อมารู้ทีหลังว่า นอกจากค่าเช่าร้านที่ต้องจ่ายทุกเดือนแล้ว ยังมีรายจ่ายจิปาถะงอกขึ้นมาพร้อมค่าเช่าอีก โดยเฉพาะค่าส่วนกลาง ในกรณีที่เช่าร้านใต้อพาร์ทเมนต์หรือคอนโด ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเช่าที่ใดๆ คุณควรสอบถามให้ดีเสียก่อนว่า มีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มอีกไหม หากต่อรองได้ ก็ทำรีบซะ

  1. อย่าหุนหันพลันแล่น

หลายคนรีบตัดสินใจทันที หลังจากเห็นทำเลถูกใจเพียงแค่ที่เดียว การตัดสินใจด่วนจี๋เช่นนี้ อาจไม่ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณนัก คุณควรต้องพิจารณาทำเลนั้นๆ ในแต่ละช่วงเวลาของวันให้ดีเสียก่อน ค่อยๆ สังเกตว่า ช่วงไหนคนมักจะเดินผ่าน บางสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่านในช่วงวันทำงาน อาจจะหงอยเหงามากในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ก็เป็นไปได้ ดังนั้น ใจเย็นๆ ค่อยๆ ตัดสินใจจะดีกว่า

  1. วางแผนก่อนเซ็นสัญญา

ก่อนที่คุณจะเซ็นสัญญาเช่าพื้นที่ คุณต้องวางแผนให้ดีเสียก่อนว่า หากร้านอาหารของคุณไม่ได้ทำกำไรอย่างที่คิด คุณจะมีแผนสำรองในการจ่ายค่าเช่าให้ได้ครบตามสัญญาอย่างไร แม้จะฟังดูไม่เป็นมงคลเท่าไหร่ แต่ก็เป็นเรื่องประมาทไม่ได้เลย ทางที่ดีควรเริ่มต้นจากการเซ็นสัญญาแค่ปีหรือสองปีก่อน หากธุรกิจไปได้สวย ก็ค่อยเปลี่ยนมาเซ็นกันแบบยาวๆ

9 ข้อที่ยกมานี้ น่าจะเพียงพอสำหรับการตัดสินใจเลือกทำเลร้าน…เชื่อเถอะว่า แค่เริ่มต้นดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว

We do not work in isolation, seriöse ghostwriter agenturen but rather build networks with institutions and partners within and outside of the wwu.

เรื่องแนะนำ

ร้านฮิตสนั่นโซเชียล เจ้าของสูงวัย ทำอย่างไรได้ใจวัยรุ่น

ร้านฮิตสนั่นโซเชียล เจ้าของสูงวัย ทำอย่างไรได้ใจวัยรุ่น ร้านอาหารดังในตำนานหลายร้าน กำลังส่งต่อให้ลูกหลาน Gen ใหม่บริหารต่อ ในอีกด้านหนึ่ง มีคนวัยเกษียณที่ยังมีไฟ เพิ่งเริ่มมาเปิดร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเป็นของตัวเอง นอกจากทลายข้อจำกัดของวัยแล้ว ‘ความสูงวัยแต่ใจยังได้’ กลายมาเป็นจุดเด่น ที่ทำให้ร้านเหล่านี้เข้าถึงลูกค้าได้หลายกลุ่มอีกด้วย 1. ร้าน Mobidrip x Mother Roaster   คอนเซปต์ร้านกาแฟแบบ Slow Bar มีเมล็ดกาแฟให้เลือกหลากหลายชนิด อาจดูไม่แตกต่างจากร้านกาแฟหลายแห่งในปัจจุบัน แต่สิ่งที่ทำให้ร้านกาแฟ Mobidrip x Mother Roaster มีลูกค้าเวียนไปอุดหนุนไม่ขาดสาย เป็นเพราะร้านกาแฟแห่งนี้มีบาริสต้าเป็นคุณป้าวัย 70 ปี แทนที่จะเป็นบาริสต้าหนุ่ม สาวอย่างที่เราพบเห็นได้โดยทั่วไป           ร้านกาแฟ Mobidrip x Mother Roaster เกิดจากแรงบันดาลใจของคุณป้าพิณ ที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟเป็นทุนเดิมประกอบกับมีลูกชายที่มีความรู้ในด้านกาแฟและมักพาคุณแม่ไปดื่มกาแฟร้านใหม่ ๆ อยู่เป็นประจำ จึงมีความคิดที่อยากจะเปิดร้านขายกาแฟเป็นของตัวเองดูบ้างในวัย 70  ปี  โดยเริ่มต้นจากการออกบูธขายระยะสั้นซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี  ก่อนตัดสินใจเปิดหน้าร้านเพื่อที่จะสามารถขายได้ตลอดเวลา  ร้านกาแฟรูปแบบ […]

muji

ถอดบทเรียนความสำเร็จ ทำไม Muji ถึงครองใจคนทั่วโลก

Muji แบรนด์ค้าปลีกชื่อดังจากญี่ปุ่น เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2006 เพราะอะไร Muji จึงประสบความสำเร็จ ครองใจคนทั่วโลกถึงเพียงนี้ ไปติดตามกันเลย  

7 ขั้นตอนสุดง่าย เขียน SOP ร้านอาหารด้วยตัวเอง

1.ตั้งเป้าหมาย             คุณอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ทำอะไรก็ตามต้องรู้เป้าหมาย การเขียน SOP ก็เช่นกัน การกำหนดเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้คุณวางโครงร่างของ SOP ได้ง่าย และเกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คุณต้องการเขียน SOP ในการรับสินค้าจากซัพพลายเออร์ในแต่ละอาทิตย์ อาจกำหนดเป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้ได้มากที่สุด SOP ที่ดีจะไม่ได้เขียนขึ้นเพียงเพื่อบอกขั้นตอนในการวัตถุดิบทั่วไปเท่านั้น แต่ทุก ๆ ขั้นตอน จะต้องถูกคิดเพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน กระทบต่อการจัดการหน้าร้านให้น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การตั้งเป้าหมายของ SOP ง่ายที่สุด คือ การแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดไป และการพัฒนาให้ขั้นตอนการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   2.กำหนดรูปแบบ                         วัตถุประสงค์ของ  SOP คือการกำหนดการทำงานแบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ตามได้อย่างถูกต้อง  รูปแบบที่นำมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเอกสาร  SOP ที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ เช่น  การเขียน SOP เป็นหัวข้อ  (Simply Format)  เน้นการสร้างความเข้าใจโดยภาพรวม เช่น ข้อกำหนดพนักงานร้านในการเข้างานก่อนการปฏิบัติงาน หรือขั้นตอนหน้าร้านที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วนงานที่ต้องเน้นการปฏิบัติที่ถูกต้อง […]

แจก Checklist เซตอัพระบบร้านอาหาร จบ ครบ เปิดร้านได้เลย

การทำเช็คลิสต์ก่อนเปิดร้านอาหารเป็นสิ่งสำคัญของการเซตอัพระบบร้านอาหาร ที่จะช่วยให้เจ้าของร้านอาหารรู้ว่ามีสิ่งไหนที่ทำสำเร็จแล้ว เหลืองานส่วนไหนบ้างที่ต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่ร้านจะเปิดรับลูกค้าได้จริง   “เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ควรทำเช็คลิสต์เรื่องอะไรบ้าง”   1.งานออกแบบและตกแต่งภายในร้าน โครงสร้างและการตกแต่งร้าน ควรเป็นสิ่งที่แล้วเสร็จก่อนการเปิดร้าน เพราะการเพิ่มเติมหน้างานเมื่อร้านเปิดไปแล้วทำได้ยาก แต่ก็เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ของเจ้าของร้านอาหาร โดยเฉพาะปัญหาผู้รับเหมา เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ที่ทำโครงสร้างใหม่ทั้งหมดจึงควรเคร่งครัดให้ดำเนินงานตามแผนงานและเผื่อเวลาไว้สำหรับงานที่ไม่เป็นไปตามกำหนด การจัดทำเช็คลิสต์จะช่วยให้เจ้าของร้านวางแผนสำรองหากเกิดปัญหา   2.งานระบบ             ระบบน้ำ ไฟ แสงสว่าง การติดตั้งอุปกรณ์ครัวเรื่องสำคัญที่อาจส่งผลทำให้ร้านไม่สามารถเปิดได้ หรือถ้าหากเกิดปัญหาหน้างานก็แก้ไขค่อนข้างลำบาก จึงควรทดลองเดินระบบ จัดทำให้แล้วเสร็จเสียแต่เนิ่น ๆ   3.กฏหมาย และการเงิน อย่าลืม กำหนดการจัดทำเอกสารด้านการเงิน การขออนุญาตทางราชการที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร วางแผนรายรับรายจ่ายล่วงหน้า จัดระบบการเงินหลังร้านให้พร้อมสำหรับการเปิดร้าน   4.การสั่งซื้อวัตถุดิบ             ช่วงเปิดร้านแรก ๆ อาจจะมีปัญหาเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบ หากไม่เคยเปิดร้านขายอาหารมาก่อน การคำนวณปริมาณและการประสานงานกับซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นควรมีการพูดคุยกับซัพพลายเออร์ก่อนเปิดร้าน การเซตอัพระบบบริหารวัตถุดิบไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดซื้อ การรับสินค้า การจัดเก็บวัตถุดิบ การจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อให้พร้อมใช้งาน การมีระบบปฏิบัติงาน SOP จะช่วยให้ร้านจัดการเรื่องวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   5.อุปกรณ์หน้าบ้านและหลังบ้าน             […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.