รายจ่ายของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้ - Amarin Academy

รายจ่ายของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้

รายจ่ายของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้

เปิดร้านอาหารไม่ใช่เรื่องยาก แต่การจะทำให้ร้านอาหารอยู่รอดและทำกำไรได้ ถือเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการบริหารจัดการอย่างรอบคอบ และหนึ่งในสิ่งที่ต้องใส่ใจคือเรื่องเงิน เจ้าของร้านอาหารรายใหม่ๆ มักไม่ทราบว่า รายจ่ายของร้านอาหาร แต่ละเดือน มีอะไรบ้าง คิดเป็นสัดส่วนเท่าไร และต้องบริหารจัดการอย่างไร

ก่อนอื่นเจ้าของร้านอาหารต้องทราบว่าค่าใช้จ่ายในร้านอาหาร แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

ค่าใช้จ่ายคงที่

คือค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายในอัตราคงที่ ในทุกๆ เดือน / ปี ได้แก่ ค่าเช่าสถานที่ เงินเดือนพนักงาน ดอกเบี้ยเงินกู้ (ถ้ามี) ค่าประกันต่างๆ ค่าธรรมเนียม ฯลฯ นับเป็นเงินส่วนสำคัญที่เจ้าของร้านต้องกันเอาไว้ให้เพียงพอสำหรับชำระให้ตรงเวลา

ค่าใช้จ่ายผันผวน

คือค่าใช้จ่ายที่ผันผวนไปตามสถานะของธุรกิจ ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าพนักงาน part time ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น โดยในช่วงเริ่มต้นทำร้านอาหาร การประเมินค่าใช้จ่ายส่วนนี้นับว่าค่อนข้างยาก แต่หลังจากดำเนินกิจการไปได้สัก 2-3 เดือน หรือบางร้านอาจใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ เจ้าของร้านก็มักประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้บ้างแล้ว

หลังจากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายแล้ว เราจะมาเจาะลึกดูสิว่า ค่าใช้จ่ายหลักที่สำคัญ ควรมีสัดส่วนเป็นเท่าไร

ค่าวัตถุดิบและค่าพนักงาน

นับเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดสำหรับร้านอาหารทุกๆ  ร้าน แต่แทนที่เจ้าของร้านจะกำหนดว่า เดือนนี้ต้องจ่ายค่าอาหารกี่บาท ควรคิดคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อยอดขายแทน เช่น โดยปกติเจ้าของร้านอาจจะกำหนดค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบว่า ต้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ก็เปลี่ยนเป็นกำหนดว่า ไม่ควรเกิน 30 – 35% ของยอดขาย เพื่อจะได้เปรียบเทียบได้ว่าต้นทุนของคุณสูงเกินไปหรือไม่

ส่วนค่าพนักงานก็เช่นกัน ตามปกติแล้ว ค่าจ้างพนักงาน ควรน้อยกว่า 30 % ของยอดขาย เพื่อให้ร้านสามารถอยู่รอดและทำกำไรได้

ทั้งนี้หากร้านอาหารของคุณมีค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ส่วนมากเกินกว่าสัดส่วนที่เรากำหนดไปข้างต้น เจ้าของร้านตรวจสอบว่า เพราะเหตุใดค่าใช้จ่ายของทั้ง 2 ส่วนจึงสูงกว่าปกติ อาจเป็นเพราะคุณตั้งราคาขายต่ำเกินไป พนักงานมากเกินไป มีวัตถุดิบเหลือทิ้งจากการปรุงอาหารจำนวนมาก หรือยอดขายคุณต่ำจนไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย เป็นต้น

ตรวจสอบต้นทุนอยู่เสมอ

แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายของร้านอาหารแต่ละเดือนย่อมไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าเดือนนั้นขายดีหรือไม่ แต่หากร้านของเรามียอดขายเท่าเดิม แต่กำไรน้อยลงล่ะ จะทำอย่างไร

การแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดมี 2 ทาง คือการลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานและค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ เพื่อให้ต้นทุนต่อยอดขาย กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่การลดค่าใช้จ่ายใน 2 ส่วน ไม่ใช่การลดเงินเดือนพนักงานหรือปรับลดสวัสดิการลง เพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าคุณผลักภาระไปให้พวกเขา โดยอาจใช้วิธีลดการจ้างพนักงานพาร์ทไทม์ หรือลดการจ้างพนักงานในตำแหน่งที่ไม่จำเป็นลงแทน

ขณะเดียวกันการลดค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ ก็ไม่ใช่การลดคุณภาพวัตถุ เพราะถ้าทำอย่างนี้เท่ากับเจ้าของร้านอาหารกำลังก้าวเดินลงสู่ปากเหวเลยทีเดียว เพราะคุณภาพอาหารคือสิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้บริโภคต้องการ หากคุณปรับลดคุณภาพลง ลูกค้าที่มารับประทานร้านคุณเป็นประจำ จ่ายเงินให้คุณอย่างสม่ำเสมอ อาจจะหันไปใช้บริการร้านอื่นที่คุณภาพดีกว่า ในราคาใกล้เคียงกันแทน

ฉะนั้นเจ้าของร้านอาหารควรตรวจสอบว่า ต้นเหตุที่ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้นมาจากสาเหตุใด เช่น หลังครัวมีการบริหารจัดการการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่าแล้วหรือยัง มีวัตถุดิบเน่าเสียมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น หรือหากไม่ได้เกิดจาก 2 กรณีนี้ อาจเป็นเพราะปัจจัยภายนอก เช่น ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ นอกจากปรับตัวให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และหาวิธีบริหารจัดการร้านให้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

พอจะเห็นความสำคัญของการตรวจสอบรายจ่ายอยู่เสมอแล้วใช่ไหม อย่าลืมนำไปปรับใช้นะครับ ช่วยในการวางแผนธุรกิจได้มากทีเดียว

เรื่องแนะนำ

เทคนิค ลดต้นทุน เพิ่มกำไร

5 เทคนิค ลดต้นทุน เพิ่มกำไร แต่มาตรฐานเท่าเดิม!

ปัญหาส่วนใหญ่ที่ร้านอาหารมักเจอคือ แม้จะขายอาหารได้มาก แต่กำไรกลับน้อยจนน่าใจหาย วันนี้เราจึงมี เทคนิค ลดต้นทุน เพิ่มกำไร มาฝากครับ

คำนวณเงิน ลงทุนร้านอาหาร

เปิดร้านอาหารจะคืนทุนกี่ปี วิธี คำนวณการลงทุนร้านอาหาร อย่างง่าย

เปิดร้านอาหาร ควรมีรายได้เท่าไรถึงจะคุ้มค่าการลงทุน ต้องเปิดร้านกี่ปี ถึงจะคืนทุนและมีกำไร โดยวิธี คำนวณเงิน ลงทุนร้านอาหาร จะแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

เผยสูตรคำนวณ ต้นทุนร้านอาหาร คุมค่าใช้จ่ายให้เป๊ะก่อนเปิดร้าน

เพราะการทำร้านอาหารจะกำไรหรือขาดทุน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของร้านอาหารควบคุม ต้นทุนร้านอาหาร ได้ดีขนาดไหน การกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะช่วยทำให้ตั้งราคาขาย และกำหนดยอดขายในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม  ที่สำคัญยังช่วยให้ป้องกันปัญหาต้นทุนพุ่งจนกระทบยอดรายได้  เพราะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม   โครงสร้าง ต้นทุนร้านอาหาร ที่สำคัญมีอะไรบ้าง คำนวณอย่างไรไม่ขาดทุน   1.ต้นทุนอาหาร (วัตถุดิบ) ต้นทุนวัตถุดิบอาหาร หมายรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ปรุง การตกแต่งจาน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนวัตถุดิบที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25-30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ จะมีต้นทุนวัตถุดิบอยู่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ การทราบต้นทุนอาหาร ช่วยให้กำหนดราคาขายต่อเมนูได้อย่างแม่นยำ สูตรการคิดคำนวณต้นทุนอาหาร ต้องคำนวณจาก Yield หรือวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง เป็นหลัก เพราะฉะนั้นร้านอาหารจะต้องหา Yield ของวัตถุดิบทุกชนิด โดยขั้นตอนก็คือ การชั่งน้ำหนักวัตถุดิบ และทำการเตรียมวัตถุดิบพร้อมสำหรับการปรุง เช่น เนื้อปลา เมื่อหั่นให้ได้ขนาดชิ้นตามสูตร SOP ที่กำหนดแล้ว ให้นำเนื้อปลาหลังตัดแต่ง และเนื้อปลาส่วนที่ตัดทิ้ง มาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบเพื่อคำนวณ   ค่าเปอร์เซ็นต์ Yield =  ปริมาณหลังตัดแต่ง […]

รายจ่ายของร้านอาหาร

รายจ่ายของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้

เจ้าของร้านอาหารรายใหม่ๆ มักไม่ทราบว่า รายจ่ายของร้านอาหาร แต่ละเดือน มีอะไรบ้าง คิดเป็นสัดส่วนเท่าไร และต้องบริหารจัดการอย่างไร เรารวบรวมมาให้แล้ว

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.