รวม บทเรียนสำคัญ ! ที่คนทำร้านอาหารอยากบอกคุณ (2) - Amarin Academy

รวม บทเรียนสำคัญ ! ที่คนทำร้านอาหารอยากบอกคุณ (2)

รวม บทเรียนสำคัญ ! ที่คนทำร้านอาหารอยากบอกคุณ (2)

ยุคนี้ใครๆ ก็อยากทำธุรกิจของตัวเอง เนื่องด้วยเหตุผลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอยากมีอิสระ ไม่อยากเป็นลูกน้องใคร อยากทำตามความฝัน หรืออยากรวยเร็วๆ โดยธุรกิจอันดับต้นๆ ที่ทุกคนคิดถึง คงหนีไม่พ้นการทำร้านอาหารหรือเปิดคาเฟ่เล็กๆ แต่หลายคนก็ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร วันนี้เราจึงขอรวบรวม บทเรียนสำคัญ จากผู้ประกอบการร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจมาฝากกัน

ปลูกปั่น

ปลูกปั่น

ธุรกิจที่ดี ต้องดีทั้งต่อตัวเอง ดีต่อผู้ซื้อ และดีต่อสังคม

แนวคิดทางธุรกิจของเราคือ

1.ต้องไม่มีบรรจุภัณฑ์เหลือทิ้ง เราจึงเลือกใช้ขวดแก้วเนื้อดี ไม่แตกง่าย ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร มาตรฐานสูง และปากขวดกว้างเพื่อให้ล้างง่าย โดยเราจะให้นักปั่นไปส่งที่บ้านลูกค้าทุกวัน เมื่อดื่มเสร็จก็ล้างให้สะอาด นักปั่นก็จะเก็บแก้วกลับมา นำมาทำความสะอาด ฆ่าเชื้ออีกรอบ แล้วบรรจุใหม่ ไปส่งในวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นคนที่ซื้อน้ำเรา กินแล้วต้องล้างเอง เราคิดว่าการล้างแก้วสะท้อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองทำ อาจจะลำบากบ้าง แต่เป็นความลำบากที่คุณจะรู้สึกดี

2.ไม่มีของสดในร้านให้เน่าเสีย เราเคยเห็นเค้กในห้างตอน 2 ทุ่ม ยังเหลือเต็มตู้ แล้วหลังจากห้างปิดล่ะ ขนมพวกนั้นไปไหน ต้องเอาไปทิ้งแน่นอน เราเลยรู้ว่าสาเหตุที่เค้กราคาแพง เพราะต้องบวกต้นทุนค่าของเสียเข้าไปด้วย จึงคิดว่าธุรกิจของเราจะต้องไม่มีของเสีย จะได้ขายในราคาที่ไม่แพง ฉะนั้นถ้าจะซื้อน้ำของเราต้องสั่งล่วงหน้า จะได้คำนวณปริมาณวัตถุดิบได้ และจะปั่นสูตรเดียวต่อวัน ไม่ตามใจลูกค้า เพราะจุดประสงค์ของการทำธุรกิจนี้คืออยากให้เขากินแล้วมีสุขภาพดี

Kuppadeli

kuppadeli

ทำธุรกิจต้อง เข้าใจตัวเอง เข้าใจตลาด และบริหารคนเป็น

ทุกวันนี้ ใครๆ ก็อยากเปิดร้านอาหาร เพราะมันเปิดง่าย แต่ประเด็นคือ ถ้าคุณไม่มีประสบการณ์ ไม่มีการบริหารจัดการที่ดี มันก็เจ๊ง โลกทุกวันนี้ ธุรกิจ retail มันกำลังตายละเรื่อยๆ เมื่อตายแล้วก็เกิดพื้นที่ว่าง นำไปทำอะไร ส่วนใหญ่ก็เอามาเปิดร้านอาหาร คือพื้นที่ที่ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรส่วนใหญ่ทำเป็นร้านอาหารหมด การแข่งขันมันจึงสูง เราเปิดอยู่ดีๆ มีอยู่ร้านเดียว ผ่านไปไม่กี่ปีเพิ่มขึ้นอีกหลายร้าน กลายเป็นว่า ค่าเช่าเราเท่าเดิม แต่คู่แข่งมากขึ้น

แล้วธุรกิจร้านอาหารวงจรชีวิตมันสั้นมาก เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ยกเว้นว่าคุณจะเป็น Top Brand ที่ทุกคนรู้จักหมดแล้ว อายุก็อาจจะยืนหน่อย

ฉะนั้นถ้าคุณจะทำธุรกิจ ต้องเข้าใจตัวเอง เข้าใจตลาด และบริหารคนเป็น หมายถึง ต้องรู้ก่อนว่าจุดยืนของตัวเองคืออะไร รู้ว่าตัวเองเก่งด้านไหน และมี passion กับอะไร จากนั้น ต้องดูว่าตลาดต้องการอะไร กลุ่มลูกค้าของคุณเป็นรูปแบบไหน ควรจะทำ research ให้ดีก่อน เมื่อทำการบ้าน 2 ข้อนี้แล้ว ค่อยมาดูว่า จุดตัดหรือ Cross over ของ 2 สิ่งนี้อยู่ตรงไหน คุณก็นำเสนอสิ่งนั้น จะเอาแต่ใจตัวเองก็ไม่ได้ เอาแต่ใจตลาดก็ไม่ได้ มันต้องหาจุดเชื่อมให้เจอ จากนั้นก็ต้องมาเรียนรู้การบริหารคน เพื่อให้เขาช่วยทำให้มันสำเร็จ

Guss damn good

guss damn good

การทำธุรกิจต้อง “ใส่ใจ” ในทุกๆ ด้าน

คนส่วนใหญ่มองว่า ร้านภายนอกดูสนุก ดูไม่ตั้งใจ แต่จริงๆ หลังบ้านเราตั้งใจมาก เนี้ยบมาก ทำงานกันหนัก ต้องจัดเทรนด์พนักงานให้เขาเข้าใจความเป็นมา ให้เขารักในสิ่งที่ทำ

แค่การตักไอศกรีมลูกหนึ่งก็ต้องใส่ใจ เราไม่อยากให้พนักงานคิดว่าก็แค่ตักไอศกรีม แต่พยายามทำให้เขารู้สึกว่า คุณกำลังส่งความสุขให้ลูกค้า ต้องตักอย่างไรให้ลูกนี้อร่อยที่สุด สมมติตักเครื่องเยอะไปก็หวานเกิน ตักน้อยไปลูกค้าก็ไม่ประทับใจ บราวนี่หายไปไหน คือทุกคำที่เขากิน ต้องได้กินบราวนี่

หรือถ้าเขาสั่ง 2 ลูก รสไหนต้องวางล่าง รสไหนต้องวางบน ลูกค้าต้องกินอันไหนก่อน ถ้ากินสลับกัน รสชาติจะเปลี่ยน อย่าง Don’t Give Up 18 ไม่ว่ากินกับรสอะไรก็ตาม ลูกนี้ต้องอยู่ข้างบน เพราะรสบางกว่ารสอื่นๆ หรือถ้ากินรสอื่นก่อน ความเป็นพระเอกของรสนี้จะหายไปแล้ว

หรือถ้าเขาสั่งให้ไปส่ง นอกเหนือจากชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เราจะถามด้วยว่า กินตอนไหน ถ้าตอนเที่ยง โอเค เดี๋ยวใกล้ๆ เที่ยงเราเอาไปส่ง จะได้กินเลย หรือจะหิ้วกลับบ้าน กลับกี่โมง เดี๋ยวเย็นๆ เราค่อยไป เราซีเรียสเรื่องนี้มาก เพราะว่าถ้าเกิดมันละลาย เอาไปแช่ใหม่ รสชาติ เนื้อสัมผัสจะไม่เหมือนเดิม

ดีเทลแบบนี้บางครั้งลูกค้าไม่รู้ แต่เราใส่ใจกับมันทุกอนูจริง ๆ

GISMO

ธุรกิจอาหารคือ งานที่ไม่มีวันสิ้นสุด

ผมมองว่าธุรกิจบริการ เป็นธุรกิจที่หยุดไม่ได้ เพราะเมื่อไรที่คุณหยุด ร้านไม่เดิน คนอื่นแซงทันที ฉะนั้นเราต้องคิดอะไรใหม่ๆ ตลอด ทำอย่างไรก็ได้ ให้ลูกค้ารู้สึกสนุกกับเราไปเรื่อยๆ ไม่ใช่มากินทีไรก็เหมือนเดิม เมนูเดิม ข้าวผัดเหมือนเดิมตลอด ถ้าเป็นอย่างนั้นสักวันหนึ่ง ถ้ามีร้านข้าวผัดมาเปิดใหม่ เขาไปกินร้านอื่นก็ได้

ฉะนั้นถ้าจะทำร้านอาหาร คุณต้องอย่าทำให้เขาเบื่อ ทำให้เขารู้สึกมีอะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ขยันออกเมนูใหม่ ทำโปรโมชั่นใหม่ ทำกิจกรรมต่างๆ ทุกเดือน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำไม่ได้ ปีหนึ่งมีตั้ง 12 เดือน เดือนนี้ไม่ได้ เดือนหน้าก็ต้องได้ เดือนหน้าไม่ได้ อีกเดือนก็ต้องได้

ธุรกิจที่เล่นกับจิตใจคนมันยากที่สุดแล้ว ต้องเล่นกับความรู้สึกเขาว่า กินแล้วถูกปากไหม เข้ามาที่ร้านแล้วถูกใจบรรยากาศรึเปล่า ซึ่งความต้องการของคนมันไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้นเราต้องพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดด้วย

อ่านเพิ่มเติม รวม บทเรียนสำคัญ ! ที่คนทำร้านอาหารอยากบอกคุณ (1)

เรื่องแนะนำ

อาหารเหนือแมสน้อยกว่าภาคอื่น? ปัจจัยต่อ “ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ”

ทำไม อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์ความเห็นเพราะ รสชาติจืด ไม่ถูกปาก ปัจจัยที่มีผลต่อ “ความนิยมและรสชาติของ อาหารเหนือ” อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้แชร์ความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามจากประสบการณ์ส่วนตัว ประมาณว่าเขารู้สึกว่า อาหารเหนือ ได้รับความนิยมน้อยกว่าอาหารภาคอื่นๆ โดยเขายังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตนเองก็รู้สึกว่ารสชาติ อาหารเหนือ ถูกปากน้อยกว่าอาหารภาคอื่น . 1- ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้แชร์ว่า “ทำไมอาหารเหนือถึงไม่แมสเท่าอาหารอีสาน หรืออาหารใต้นะ แต่ส่วนตัวก็รู้สึกว่าอาหารเหนือรสชาติถูกปากน้อยกว่าอาหารใต้จริงๆ” . 2- ซึ่งเมื่อทวีตนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม โดยหลายคนที่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์นี้ ล้วนให้เหตุผลว่าอาหารเหนือรสชาติจืดและไม่ค่อยถูกปากเท่าไหร่ เช่น “ถ้าเป็นอาหารเหนือแบบรสชาติเหนือแท้ๆ ส่วนตัวรู้สึกว่าจืดมากกกก จืดๆ เผ็ดๆ ไม่อร่อยเลย ส่วนมากที่เขาว่าอร่อยๆ จะเป็นอาหารเหนือที่เขาเอามาดัดแปลงรสชาติให้ออกมากลางๆ เช่น ร้านหนึ่งที่คนเจียงใหม่แต๊ๆ ไปกินจะไม่ถูกปากเลย” “รสชาติมันต๊ะต่อนยอน ไม่จัดจ้านเหมือนอาหารใต้ จริงๆ ส่วนผสมอาหารเหนือแต๊ๆ มันเป็นอะไรที่ exotic มากๆ คนกินได้ก็กินได้ ไม่ได้ก็คืออ้วกเลย รสมันแปร่งๆ ไม่คุ้นปาก” 3- ในขณะที่คนอื่น ๆ […]

ขายขนมสุขภาพ

Meloliz healthy อยาก ขายขนมสุขภาพ ต้องทำยังไง ?

แทนที่จะขายอาหารสุขภาพ ที่เน้นผักเหมือนร้านทั่วๆ ไป ซึ่งการแข่งขันสูงมาก Meloliz healthy กลับเลือก ขายขนมสุขภาพ เพื่อเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงแทน

ขายอาหารในศูนย์การค้า

10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร?

เชื่อว่ามีร้านอาหารมากมาย ที่เคยคิดอยากจะเปิดร้านอาหารภายในศูนย์การค้า รวมถึงร้านที่ไม่ใช่แบรนด์ดัง ก็อยากจะพาร้านตัวเองเข้าสู่ศูนย์การค้า เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็มีหลายคำถามมากๆว่า ขายอาหารในศูนย์การค้า ต้องเริ่มอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่ คุณประภา จิตวิวัฒน์พร Leasing Manager Business Development Group ศูนย์การค้า Seacon Square มาให้คำตอบแบบ Step by Step ให้เจ้าของร้านให้ทราบกันเลย   10 ขั้นตอน ขายอาหารในศูนย์การค้า Step by Step ขั้นตอนแรก เจ้าของร้านต้องโทรเข้ามาที่ศูนย์การค้าเพื่อ ติดต่อฝ่ายขาย ว่ามีความประสงค์ต้องการจะเปิดร้านอาหาร ทีมฝ่ายขายจะมีการสอบถามเบื้องต้นว่า ต้องการเปิดร้านอะไร พื้นที่เท่าไหร่ จากนั้นก็จะให้ทางร้านส่ง Brand Profile มาให้พิจารณาเป็นลำดับถัดไป เจ้าของร้านส่ง Brand Profile ให้ศูนย์การค้าพิจารณา จุดนี้สำคัญมาก เจ้าของร้านต้องทำโปรไฟล์ร้านของตัวเองก่อน เพื่อให้รู้ว่าร้านของคุณเป็นอย่างไร ขายอาหาร หรือเครื่องดื่มประเภทใด หรือแม้กระทั่งมีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ ยิ่งหากไม่ใช่ร้านดัง Brand […]

4 fingers

4 Fingers ขั้นตอนนำแฟรนไชส์ต่างชาติ สร้างตลาดในเมืองไทย

กระแสการซื้อแฟรนไชส์ต่างชาติมาตีตลาดในเมืองไทยกำลังมาแรง และล่าสุด 4 Fingers จะมาเปิดเผยขั้นตอน และเทคนิคดีๆ ของการซื้อแบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศให้ทราบกัน

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.