เพราะอะไร ร้านอาหาร ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน - Amarin Academy

เพราะอะไร ร้านอาหาร ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน

เพราะอะไร ร้านอาหาร ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน

หนึ่งในปัญหาหลักของร้านอาหารหลายๆ ร้านคือ ขายได้มาก แต่กลับได้กำไรเพียงน้อยนิด หรือบางครั้งอาจถึงขั้นขาดทุนเลยก็มี ต้นเหตุของปัญหานี้มาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่เราจะยกมาพูดในวันนี้คือ ด้านต้นทุนวัตถุดิบ ที่ไม่ใช่แค่ราคาวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น ยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เราอาจมองข้ามอีกมากมาย  วันนี้เราจะขอแจกแจงประเด็นสำคัญๆ ให้ทราบว่า ปัญหาด้านต้นทุนวัตถุดิบ ที่ส่งผลให้ร้านอาหาร ยิ่งขาย ยิ่งขาดทุน มีอะไรบ้าง

1.ไม่ผสมผสานระหว่างวัตถุดิบราคาแพงกับวัตถุดิบราคาถูก

หากคุณต้องการกำไร ก็ต้องนำวัตถุดิบราคาแพงกับวัตถุดิบราคาถูกมาอยู่ในอาหารจานเดียวกันให้ได้ เช่น พาสต้าและมันฝรั่งมีราคาถูก ขณะที่อาหารทะเลจำพวก กุ้ง ปู มีราคาแพง ก็ควรสร้างสรรค์เมนู เช่น พาสต้ากุ้งซอสมะขาม เนื้อปูคลุกมันฝรั่งทอด เป็นต้น การผสมผสานเมนูเช่นนี้ จะทำให้คุณตั้งราคาอาหารได้สูงขึ้นโดยที่ลูกค้าไม่รู้สึกว่าแพงจนเกินไป เพราะในจานนั้นก็มีวัตถุดิบราคาแพง เป็นส่วนผสม

ขณะเดียวกัน หากคุณไม่ผสมผสานวัตถุดิบ นำวัตถุดิบราคาแพงมาอยู่ในเมนูเดียวกัน ก็อาจทำให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นจนลูกค้าไม่กล้าสั่ง หรือหากตั้งราคาต่ำลงคุณก็ได้กำไรน้อยลงตามไปด้วย

ทั้งนี้การตั้งราคาอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยหลักการคิดง่ายๆ คือ ค่าวัตถุดิบต้องไม่เกิน 30-35 % ของราคาอาหาร เช่น ถ้าต้นทุนวัตถุดิบของคุณคือ 100 บาท คุณต้องขายอาหารจานนั้นในราคา 300-350 บาท เพื่อความคุ้มค่า แม้จะดูเหมือนได้กำไรมาก แต่อย่าลืมว่าคุณกำไรจากอาหารหนึ่งจาน คุณไม่ได้นำมาจ่ายแค่ค่าวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว แต่ต้องจ่ายให้เชฟ พนักงานเสิร์ฟ เด็กล้างจาน เจ้าของที่ที่คุณเช่าอยู่ จ่ายค่าระบบบริหารจัดการร้าน ค่ากระดาษทิชชู่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ

ฉะนั้นก่อนจะออกแบบเมนูและตั้งราคาอาหาร ต้องคำนึงถึงปัจจัยข้อนี้ด้วย

2.ไม่กำหนดสัดส่วนของวัตถุดิบ

ปัญหาหลังครัวของร้านอาหารส่วนใหญ่คือ ปรุงโดยใช้วิธีกะปริมาณเอา ซึ่งโอกาสที่ปริมาณวัตถุดิบในอาหารแต่ละจานจะเท่ากันเป๊ะๆ นั้นเป็นไปได้ยากมาก บางจานอาจมีกุ้ง 6 ตัว อีกจานมีกุ้ง 7 ตัว ซึ่งตัวที่ 7 อาจมีขนาดเล็กหน่อย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าทำทุกวัน เสิร์ฟทุกโต๊ะ ก็ถือเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างมาก ฉะนั้นระบบการชั่ง ตวง วัด และกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

แบรนด์ขนาดใหญ่หรือแฟรนไชน์ ประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้ก็เพราะมีการกำหนดสัดส่วน และปริมาณวัตถุดิบอย่างชัดเจน ฉะนั้นหากร้านคุณยังช้วิธีดั้งเดิมคือ อาศัยประสบการณ์ จงเปลี่ยนระบบเสียใหม่ เพราะวิธีนี้นอกจากจะทำให้คุณรู้ว่าอาหารหนึ่งจาน มีต้นทุนวัตถุดิบเท่าไรแล้ว ยังเป็นการสร้างมาตรฐานให้ลูกค้ารับทราบด้วยว่า ไม่ว่าจะมาวันไหน กินเมื่อไร สาขาไหนคุณภาพก็ยังคงเดิม

3.มี food waste มากเกินไป

ขยะ ไม่ใช่ “เรื่องขยะ” แต่เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ ถ้าคุณสามารถลดปริมาณของเสียในร้านลงได้ กำไรจะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยละ แต่การลดของเสียในร้าน ไม่ใช่การสั่งวัตถุดิบให้น้อยลง แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบที่มีให้ได้มากที่สุด เช่น เมนูสเต็ก ที่มีการตัดแต่งเนื้อออกบางส่วน แทนที่จะทิ้งเนื้อส่วนนั้นไป ก็นำมาทำเป็นเบอร์เกอร์เนื้อบดแทน หรือกระดูกไก่ที่เหลือจากการเลาะ ผักสลัดที่ไม่สดพอที่จะเสิร์ฟในจาน ก็นำมาทำน้ำสต็อก ไว้ใช้ในเมนูอื่นๆ ได้

แต่หากคุณไม่รู้จะสร้างสรรค์เมนูอย่างไร วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การจ้างเชฟที่มีประสิทธิภาพมาช่วยแบ่งเบาภาระในเรื่องนี้

4.ซื้อวัตถุดิบจากร้านสะดวกซื้อและตลาด

ถ้าร้านอาหารของคุณกำลังทำอย่างนี้ หรือว่าแผนจะทำเช่นนี้อยู่ ขอให้หยุดความคิดและพฤติกรรมไว้ตรงนั้นเลย เพราะต้นทุนวัตถุดิบของคุณจะสูงขึ้นมาก ทางที่ดีคุณควรสั่งซื้อจาก supplier ที่สามารถหาวัตถุดิบให้คุณได้ทุกอย่างจะดีกว่า ไม่ต้องเสียเวลาไปเดินเลือกซื้อ ไม่ต้องจ่ายเงินสด (ส่วนใหญ่ใช้ระบบเครดิต) แถมยังได้ส่วนลดพิเศษจากการสั่งปริมาณมาก หรือเป็นลูกค้าประจำอีกต่างหาก

5.พนักงานขาดความรู้ ทักษะ และความชำนาญ

เรื่องนี้ก็น่าปวดหัวพอสมควร เพราะแทนที่คุณจะวางใจให้ทุกคนทำตามหน้าที่ ส่วนคุณก็เอาเวลาไปบริหารจัดการร้านหรือหาทางพัฒนา เพิ่มคุณภาพร้านอาหารของตัวเอง กลับต้องมาคอยตามแก้ปัญหาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพนักงานในครัวขาดทักษะ ปรุงอาหารเสียบ่อยครั้ง ชั่ง ตวง วัดไม่เป็น (หรือขี้เกียจ) มันจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของคุณแน่นอน ฉะนั้นทางที่ดี ป้องกันตั้งแต่เริ่มแรกโดยการจัด training เพื่อฝึกให้เขาชำนาญก่อนทำงานจริง

6.ซื้อวัตถุดิบจาก supplier เจ้าเดียว

อย่ามัวแต่สั่งวัตถุดิบจากผู้ส่งสินค้าเพียงเจ้าเดียว ลองหาข้อมูลเจ้าอื่นๆ ดูบ้าง ว่าวัตถุดิบชนิดเดียวกัน เขาขายราคาเท่าไร ลองตรวจสอบราคาจากหลายๆ แหล่ง โดยไม่ต้องเกรงใจว่าไปซื้อเจ้าอื่นๆ เจ้าประจำของเราจะโกรธเคือง เพราะมันคือต้องทุนที่คุณต้องแบกรับ

7.พนักงานแอบขโมย

เชื่อว่าข้อนี้เป็นสิ่งที่เจ้าของร้านทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด เพราะถึงจะมีสิบตา มีกล้องวงจรปิดสิบตัว บางครั้งก็ไม่สามารถป้องกันได้ เพราะพนักงานบางคนอาจมีเทคนิคการแอบขโมยที่เหนือชั้น ฉะนั้นแทนที่เราจะไปนั่งจับผิด ก็เปลี่ยนมาเป็นการสร้างระบบที่สามารถป้องกันการขโมยได้ดีกว่า เช่น การใส่ tracking number ให้วัตถุดิบแต่ละชนิด เพื่อจะได้ตรวจสอบได้ว่า อันไหนหยิบใช้จริง อันไหนหายไปโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ นอกจากนี้การทำ tracking number ยังช่วยให้เรารู้ว่าวัตถุดิบชิ้นใดมาก่อน ก็ควรใช้ก่อน เพื่อป้องกันการหมดอายุ

7 ข้อนี้คือสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบของร้านอาหารหลายร้านสูงเกินความจำเป็น ลองนำไปปรับปรุงแก้ไข ทำงานหนักตอนนี้ แล้วคุณจะยิ้มออกเมื่อเห็นตัวเลขตอนสิ้นเดือน

เรื่องแนะนำ

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

5 สิ่งอย่าทำ สำหรับร้านอาหารเปิดใหม่

5 สิ่งอย่าทำ สำหรับร้านอาหารเปิดใหม่ การเปิดร้านอาหารเป็นธุรกิจปราบเซียน ที่มีผู้เล่นเกิดใหม่ และดับได้ในทุกวัน จึงไม่แปลกใจว่า หลายร้านสามารถติดตลาดได้อย่างรวดเร็วจนต้องจองคิวล่วงหน้าเป็นเดือน แต่กลับพบว่าต้องปิดตัวลง นี่คือหลุมพราง 5 ข้อ ที่หลายร้านเจอมาแล้วเจ็บจนต้องเจ๊ง ไม่กล้าบอกใคร 1.โปรโมชั่นกระตุ้นยอด… ดีแต่อายุสั้น ร้านค้าเปิดใหม่จำเป็นต้องทำการส่งเสริมการตลาด เพื่อให้ลูกค้ารู้จักและตัดสินใจมาลองกิน เมื่อร้านขายดีหลายร้านเลือกลงทุนเพิ่ม สต็อกของเพิ่ม แต่พบว่าร้านกลับเงียบหลังจากนั้น เพราะยอดขายที่เกิดจากการทำโปรโมชั่นในช่วงแรกนั้นคือภาพลวง และเกิดจากลูกค้าขาจรโดยส่วนใหญ่ การทำโปรโมชั่นบ่อย ๆ อาจทำให้ลูกค้าเคยชินที่จะซื้อแค่ระยะเวลาโปรโมชั่นเท่านั้น เพราะฉะนั้นควรเลือกทำโปรโมชั่นที่เหมาะสมกับทิศทางของร้านที่จะช่วยเปลี่ยนลูกค้าขาจรให้เป็นลูกค้าประจำ เตรียมความพร้อมการจัดการหน้าร้านเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า และโปรโมชั่นที่เลือกทำต้องสามารถวัดพฤติกรรมของลูกค้าได้ เพื่อส่งเสริมร้าน ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนในการทำการตลาดได้ดียิ่งขึ้น    2.ดังแค่ไหน,,,ทะเลาะกับลูกค้าคุณไม่มีวันชนะ ทุกวันนี้ลูกค้าสามารถคอมเพลนร้านอาหารได้โดยตรง และการคอมเพลนของลูกค้านั้นกระจายถึงลูกค้าคนอื่นได้ง่ายและกว้าง ร้านอาหารบางร้านมีชื่อเสียงขายดีย่อมถูกคาดหวังสูงจากลูกค้า การตอบโต้กลับเมื่อถูกคอมเพลนจึงส่งผลเสียมากกว่า ร้านอาหารควรรู้จักการบริหารวิกฤตที่เกิดขึ้น คือ ขอโทษ เยียวยา แก้ไข และพลิกวิกฤตนั้นให้เป็นโอกาส   3.ไม่อยากพลาด…ไล่ตามกระแส การจับกระแสได้เร็ว อาจทำให้คุณเป็นที่สนใจของลูกค้า มียอดเพิ่มมากขึ้นจากสินค้าใหม่ แต่ก่อนจะทำควรตอบให้ได้ว่า จุดยืนของร้านคืออะไร ชัดเจนว่าจะเป็นร้านแบบไหนในใจของลูกค้า ไม่ว่าจะอยู่ในกระแส นำกระแส หรือตามกระแส ก็ประสบความสำเร็จได้ […]

ยอดเดลิเวอรี่ดี๊ดี แต่ทำไมร้านขาดทุน!!!

คนส่วนใหญ่ใช้งาน Social Media และพวกเขาค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ใน Facebook โดยเฉพาะข้อมูลร้านอาหาร ถ้าหากคุณยังไม่ได้เริ่มทำ หรือ Facebook ร้านของคุณยังเงียบ นี่คือ 4 เคล็ดลับ ที่จะพัฒนาให้คุณเป็นโปรการตลาด Facebook ได้โดยง่าย     1.อะไรคือ Key Selling point ที่โดนใจลูกค้า             ไม่ใช่เพียงแค่การมีจุดขาย แต่จุดขายที่ดีจะต้องแตกต่างและสามารถโดนใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ การทำความเข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ยังมีส่วนสำคัญต่อการกำหนด Keyword ในการทำแคมเปญโฆษณา สำหรับการทำการตลาดออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ   2.Value Content ที่รักษาลูกค้าไม่ให้ไปไหน คนทั่วไปเลือกที่จะฟังสิ่งที่ตรงกับปัญหาที่เขามีอยู่ มีแนวโน้มที่จะให้ความสนใจถ้าหากว่าสิ่งนั้นทำให้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ดีขึ้น และที่สำคัญตอบโจทย์ความต้องการในชีวิตในขณะนั้น ซึ่งนำมาปรับใช้กับการสร้าง  Content ที่มีคุณค่าต่อลูกค้าได้ Content ที่มีประสิทธิภาพควรสร้าง Engagement ระหว่างลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง การให้ความสำคัญกับเรื่องราวที่ใกล้ตัว รวมถึงการวิเคราะห์ให้ได้ว่าคุณค่าอะไรที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ความสำคัญบ้าง รวมถึงคาดการณ์ความต้องการที่จะเกิดขึ้น เป็นการทำให้ลูกค้าใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ร้านของคุณได้สื่อสารออกไป    3.Photo Content ที่ดึงดูดใจ […]

ธุรกิจ ขายดี

ธุรกิจ ขายดี ที่สุด ไม่จำเป็นต้องราคาถูกที่สุด

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบาง ธุรกิจ ขายดี มาก ทั้งๆ ที่ราคาสูงกว่าเจ้า นั่นเป็นเพราะเขาไม่ได้ขายแค่สินค้าหรือบริการ แต่ขายประสบการณ์ให้ลูกค้าด้วย

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.